กรมศุลกากร มีหน้าที่เก็บภาษีอะไรบ้าง

เขตประกอบการเสรี (IEAT-FREE ZONE)

หลักการทั่วไป

           พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ได้มีการจัดตั้ง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้น

เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมมีชื่อย่อว่า “กนอ.” มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหลายประการ โดยเริ่มจากการจัดหาที่ดิน

ที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้ง หรือขยายนิคมอุตสาหกรรม หรือเพื่อดำเนินธุรกิจอื่นที่จะเป็นประโยชน์ ดำเนินการปรับปรุงที่ดินเพื่อให้บริการ

ตลอดจนจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน รวมทั้งสาธารณูปโภคต่างๆให้แก่ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมใน

เขตนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

          พื้นที่เขตอุตสาหกรรมทั่วไป อันเป็นเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรมและกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือ

เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรม

          พื้นที่เขตประกอบการเสรี (เขตอุตสาหกรรมส่งออกเดิม)  อันเป็นเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับ การประกอบอุตสาหกรรม

พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือ   พาณิชยกรรม เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

การรักษาความมั่นคงของรัฐ สวัสดิภาพของประชาชน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หรือความจำเป็นอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

โดยของที่เข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายบัญญัติ

          ในปัจจุบันเขตประกอบการเสรี ที่มีสำนักงานศุลกากรตั้งอยู่มี 12 แห่ง ได้แก่
              1.  นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (กรุงเทพฯ)
              2.  นิคมอุตสาหกรรมบางปู (สมุทรปราการ)

             3.  นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (ลำพูน)
             4.  นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง (ชลบุรี)
             5.  นิคมอุตสาหกรรมเหมราช (ชลบุรี)
             6.  นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (อยุธยา)
             7.  นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน (อยุธยา)
             8.  นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ (ฉะเชิงเทรา)
             9.  นิคมอุตสาหกรรมส่งออกภาคใต้ (สงขลา)
             10.  นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร (พิจิตร)
             11. นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี (กรุงเทพฯ)
             12. นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี (ฉะเชิงเทรา)
 

         เพื่อการส่งเสริมการส่งออกแก่ผู้ประกอบการทั้งในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป และเขตประกอบการเสรี การนิคมอุตสาหกรรม

แห่งประเทศไทยได้ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี และเขตอุตสาหกรรมทั่วไป

ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยกรมศุลกากรจะเป็นผู้กำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติในเขตประกอบการเสรี

ตามบทบาทหน้าที่ในการควบคุมดูแล และรับผิดชอบในเรื่องภาษีอากรของรัฐ


• กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเขตประกอบการเสรี

          1. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
          2. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
          3. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 25504

          4. ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ 63/2551 เรื่อง แบบคำขอ แบบใบรับรอง แบบรายงาน และหนังสือรับรอง

การขอรับสิทธิประโยชน์
         5. ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ 96/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นค่าธรรมเนียม

พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับของเพื่อใช้ใน

การผลิตสินค้า หรือเพื่อพาณิชยกรรมในเขตประกอบการเสรี
         6. ประกาศกรมศุลกากรที่ 43/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 สิทธิประโยชน์สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรในเขตประกอบการเสรี            (1) ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรม ทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างด้าวอาจได้รับอนุญาต ให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

ในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อประกอบกิจการได้ตามจำนวนเนื้อที่ที่คณะกรรมการเห็นสมควร แม้ว่าจะเกินกำหนดที่จะพึงมีได้

ตามกฎหมายอื่น
           (2) ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรม จะได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ คู่สมรส

และบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรตามจำนวน และภายในกำหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควร
          (3) คนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 2. ได้รับอนุญาต

ให้ทำงานเฉพาะตำแหน่งที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
          (4) ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรม ซึ่งมิภูมิลำเนานอกราชอาณาจักรจะได้รับอนุญาตให้นำหรือส่งเงิน

ออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้ เมื่อเงินนั้นเป็นเงินทุนที่นำเข้ามา เงินปันผล หรือผลประโยชน์

ที่เกิดจากเงินทุนนั้น เงินกู้ต่างประเทศที่นำมาลงทุน และเงินที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบการพาณิชยกรรม

มีข้อผูกพันกับต่างประเทศตามสัญญาเกี่ยวกับการใช้สิทธิ และบริการต่างๆ

 สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรในเขตประกอบการเสรี          (1) ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มและ

ภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งของดังกล่าวที่จำเป็นในการผลิต

และของที่ใช้ในการสร้างโรงงาน หรืออาคาร
           (2) ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งอากรขาเข้าภาษีมูลค่าเพิ่ม

และภาษีสรรพสามิตสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า หรือเพื่อพาณิชยกรรมสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร

และนำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี
          (3) ได้รับยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตสำหรับของซึ่งได้นำเข้ามา ตามมาตรา 48

แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 รวมทั้งผลิตภัณฑ์ สิ่งพลอยได้ และสิ่งอื่นที่ได้

จากการผลิตแล้วส่งออก

          (4) ได้รับยกเว้นหรือคืนค่าภาษีอากรสำหรับของที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ได้รับยกเว้น หรือ   คืนค่าภาษีอากร

เมื่อได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ หากผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นอากรสำหรับวัตถุดิบตามพระราชบัญญัติ

ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 หรือผู้ประกอบการที่เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าตามมาตรา 8 ทวิ (2)

แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 หรือผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร

(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 ส่งของเข้าไปในเขตประกอบการเสรี จะได้รับยกเว้นค่าภาษีอากรหรือคืนค่าภาษีอากรเช่นเดียวกับการส่งออก

ไปนอกราชอาณาจักร
          (5) ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับเขตปลอดอากร
          (6) ของ ผลิตภัณฑ์ สิ่งพลอยได้ และสิ่งอื่นที่ได้จากการผลิตในเขตประกอบการเสรีที่นำออกจากเขตประกอบการเสรี

และต้องเสียภาษีอากร ไม่ต้องนำราคาของวัตถุดิบภายในราชอาณาจักรที่นำเข้าเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อผลิต ผสม

ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดที่ไม่มีสิทธิได้รับการคืน หรือ ยกเว้นอากร มาคำนวณค่าภาษีอากรตามมาตรา 52/1

แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
            (7) การนำของเข้ามาในประเทศ หรือวัตถุดิบภายในประเทศ และนำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อผลิต ผสม ประกอบ

บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออก ให้ยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการนำเข้า

การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครอง หรือ การใช้ประโยชน์ การควบคุมมาตรฐาน หรือคุณภาพ การประทับตรา

หรือเครื่องหมายใด ๆ แก่ของนั้น แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร แต่ถ้าของดังกล่าวก่อให้เกิด หรืออาจก่อให้เกิด

ผลกระทบต่อความมั่นคง สุขภาพอนามัยของประชาชน สิ่งแวดล้อม หรือมีพันธกรณีตามข้อผูกพันตามสัญญาหรือ

ความตกลงระหว่างประเทศ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดชนิด หรือประเภทของของนั้นมิให้ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย

ดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522

พิธีการศุลกากรที่ควรทราบสำหรับผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรี

(1) พิธีการศุลกากรในเขตประกอบการเสรี (เขตอุตสาหกรรมส่งออกเดิม)           
          1.1 ผู้ประกอบการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อนำของเข้าไปในเขตประกอบการเสรี โดยต้องมีหนังสือรับรองจากการนิคม

อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ว่าเป็นผู้ประกอบการในเขตประกอบการเสรีแนบมาด้วย ส่วนกรณีเป็นการนำเข้าตามมาตรา48

แห่งพ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ต้องมีหนังสือยกเว้นอากรจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เพิ่มเติมด้วย
           1.2 ผู้นำของเข้าซึ่งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม

ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนย้ายสินค้า จะต้องทำหนังสือสัญญาประกันไว้กับกรมศุลกากรตามแบบที่กำหนด และการขนส่งต้องไปตาม

เส้นทางที่กรมศุลกากรกำหนดด้วย

(2) พิธีการศุลกากรในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป            ถ้าผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปประสงค์จะปฏิบัติพิธีการ ณ สำนักงานศุลกากรประจำนิคมอุตสาหกรรม

ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับพิธีการศุลกากรในเขตประกอบการเสรี โดยมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ประกอบการเขตอุตสาหกรรมทั่วไป

ของการนิคมอุตสาหกรรม มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

(3) ความรับผิดชอบในการขนส่งออกจากท่าหรือที่นำเข้ามายังนิคมอุตสาหกรรม          ผู้นำของเข้าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดความเสียหายต่อค่าภาษีอากร ค่าภาระติดพันหรือความเสียหายอื่นใด

ตามที่ได้ทำสัญญาประกันไว้ต่อกรมศุลกากร

(4) การนำของออกจากเขตประกอบการเสรีเพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศ          4.1 ผู้ประกอบการสามารถนำของออกจากเขตประกอบการเสรี เพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศได้ โดยผู้มีภาระหน้าที่

ในการชำระค่าภาษีอากรต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า และหนังสืออนุญาตการนำของออกจากเขตประกอบการเสรี เพื่อใช้

หรือจำหน่ายในประเทศของ กนอ. ต่อสำนักงานศุลกากรประจำนิคมฯ
          4.2 สำหรับบัญชีราคาสินค้า ให้สำแดงราคาซื้อขายเป็นเงินบาท โดยกรมศุลกากรจะดำเนินการกับใบขนสินค้า

ขาเข้าเสมือนหนึ่งการนำของเข้าจากต่างประเทศ และของนั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วย

การส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า และภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่มตามสภาพ ราคา

และอัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำของออกจากเขตประกอบการเสรี โดยถือเสมือนว่าได้นำเข้ามา

ในราชอาณาจักรในวันที่นำออกจากเขตประกอบการเสรี
           4.3 ราคาพึงประเมินหรือราคาที่ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณค่าภาษีอากร สำหรับของที่นำออกจากเขตประกอบการเสรี

เพื่อใช้หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรนั้น ให้ใช้ราคาศุลกากร ตามมาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469

(5) การส่งของออกจากเขตประกอบการเสรีไปแสดงต่างประเทศโดยส่วนราชการ          5.1 ผู้ประกอบการสามารถนำของออกจากเขตประกอบการเสรี เพื่อส่งออกไปแสดงต่างประเทศ

โดยส่วนราชการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจาก กนอ. ให้ส่งของไปแสดง ณ ต่างประเทศ

ในนามของส่วนราชการ และยื่นคำขอตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด พร้อมสำเนา 1 ฉบับ ต่อหน่วยงานศุลกากร

ประจำนิคมฯ ตรวจสอบ พร้อมทั้ง ทำสัญญาประกันต่อกรมศุลกากรตามแบบที่กำหนด ทั้งนี้ เงินประกัน

ตามสัญญาประกันจะต้องให้คุ้มค่าภาษีอากรของของตามรายการ ในหนังสือที่ยื่นต่อกรมศุลกากรโดยบวกเพิ่มอีก

ร้อยละ 20 และให้ผู้ประกอบการค้ำประกันตนเองได้

          5.2 เมื่อสำนักงานศุลกากรประจำนิคมอุตสาหกรรม พิจารณาอนุญาตแล้วจะคืนต้นฉบับหนังสือให้คืนแก่ผู้ประกอบการ

เพื่อใช้กำกับของที่นำออกจากเขตประกอบการเสรีนำส่งมอบต่อส่วนราชการเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
          5.3 เมื่อส่วนราชการนั้นๆ ได้ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ผู้ประกอบการต้องยื่นหนังสือรับรองของส่วนราชการนั้น

ว่าได้ส่งของออกไปจริงต่อสำนักงานศุลกากรประจำนิคมอุตสาหกรรม ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ส่วนราชการนั้นๆ ได้ส่งของออก

มิฉะนั้น ให้ถือว่าผิดสัญญาประกันและกรมศุลกากรจะดำเนินการบังคับสัญญาประกันทันที

(6) การนำของออกจากเขตประกอบการเสรีเพื่อการอื่นเป็นการชั่วคราว           6.1 ผู้ประกอบการสามารถนำของในเขตประกอบการเสรีออกจากเขตประกอบการเสรีเป็นการชั่วคราว เพื่อซ่อมแซม

ดัดแปลง ปรับปรุง หรือเพื่อการอื่นตามความจำเป็น ได้โดยยื่นคำร้องต่อสำนักงานศุลกากรประจำนิคมอุตสาหกรรม

และทำสัญญาประกันต่อกรมศุลกากรตามแบบที่กำหนด ทั้งนี้ เงินประกันตามสัญญาประกันจะต้องให้คุ้มค่าภาษีอากร

ของตามรายการในคำร้อง โดยบวกเพิ่มอีกร้อยละ 20
           6.2 กรณีผู้ประกอบการไม่สามารถนำของที่นำออกไปจากเขตประกอบการเสรี กลับเข้าไปในเขตประกอบการเสรี

ตามคำรับรองที่ให้ไว้ ผู้ประกอบการนั้นสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลานำของกลับเข้ามาในเขตประกอบการเสรี

ได้เพียงครั้งเดียว และมีระยะเวลาไม่เกินกว่าที่ขอนำของออกไปในครั้งก่อนเว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันสมควรก็ให้

ขยายระยะเวลาเกินกว่า 1 ครั้ง
          6.3 ถ้าผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติตามคำรับรองที่ให้ไว้ ผู้ประกอบการรายนั้นต้องชำระค่าภาษีอากรพร้อมเงินเพิ่ม

ร้อยละ 1 ต่อเดือน นับจากวันที่นำของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนด

(7) การนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตประกอบการเสรี            ผู้ประกอบการสามารถการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตประกอบการเสรี ได้โดยยื่นคำร้องขอนำสินค้า

ในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตประกอบการเสรี (กศก.122) ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำนิคมอุตสาหกรรม

(8) ของที่นำเข้าเขตประกอบการเสรีเพื่อซ่อมและนำกลับออกไปโดยยกเว้นอากรตาม พ.ร.บ. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530

ภาค 4 ประเภท 2          จะต้องเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชำระภาษีอากรครบถ้วนแล้ว และจะต้องได้รับอนุญาตจาก

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ด้วย

(9) ของที่นำเข้าเขตประกอบการเสรี และนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับยกเว้นอากร            ของในราชอาณาจักรหรือของจากต่างประเทศที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและได้ชำระอากรแล้ว หากนำเข้าใน

เขตประกอบการเสรี และภายหลังนำออกจากเขตประกอบการเสรีกลับเข้ามาใช้ในราชอาณาจักร โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ

หรือรูปร่างแต่อย่างใด จะได้รับการยกเว้นอากร ทั้งนี้จะต้องมีหนังสืออนุญาตจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมาแสดงด้วย

กรมศุลกากรมีหน้าที่ตามกฏหมายในการดูแลการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ป้องกันการลักลอบสินค้า ดูแลของต้องห้ามต้องกำกัดตามกฏหมายต่างๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่อผู้ประสงค์จะเดินทางเข้า-ออก นักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไป กรมศุลกากรจึงมีความยินดีที่จะให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางเข้า-ออกซึ่งควรทราบในเว็บไซต์นี้เป็นความรู้
ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักรมีดังนี้
-ก่อนการเดินทางท่านจะต้องเตรียมเอกสารการเดินทางให้พร้อม พึงสนใจศึกษาระเบียบศุลกากร เรื่องของด่านกักกันโรค การตรวจคนเข้าเมือง ชนิดของเงินตราของประเทศที่จะเดินทาง ไปและอัตราแลกเปลี่ยนตลอดจน ชนิดและปริมาณของที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับยกเว้น ภาษีอากรเมื่อนำเข้ามา

-หากมีของเกินกว่าปริมาณที่ได้รับยกเว้นภาษีอากร ให้สำแดงต่อศุลกากรเพื่อชำระภาษีอากรให้ถูกต้อง ในกรณีที่ท่านสงสัยในชนิดและปริมาณของที่ได้รับยกเว้นอากรที่แจ้งไว้ในแบบสำแดงการนำเข้า ซึ่งท่านจะได้รับก่อนเดินทางเข้าถึงประเทศ โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำการ
-อย่ารับฝากของใดๆจากบุคคลอื่น เนื่องจากท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบถ้าเป็นของผิดกฏหมาย
-พึงสังวรว่าโทษในการครอบครองเป็นเจ้าของยาเสพติดมีโทษหนักมาก ทั้งค่าปรับ การถูกจำคุก หรืออาจถึงขั้นประหารชีวิต
กฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่ผู้เดินทางเข้า?ออกประเทศไทย ทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศควรทราบ มีดังต่อไปนี้
1. การเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ถ้าผู้โดยสารต้องการนำของใช้ส่วนตัวติดตัวออกไประหว่าง การเดินทาง เช่น นาฬิกา สร้อยคอ แหวน กล้องถ่ายวีดีโอ กล้องถ่ายรูป วิทยุเทป คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา ฯลฯ และประสงค์จะนำกลับมาภายในประเทศโดยได้รับยกเว้นอากร ผู้โดยสารจะต้องนำของดังกล่าว พร้อมบัตรที่นั่งบนเครื่องบิน (Boarding Pass) หนังสือเดินทาง และตั๋วโดยสาร มาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนเดินทางเพื่อบันทึกรายละเอียดและรับสำเนาเอกสารไว้ สำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำช่องตรวจสีแดงในวันเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
-เป็นของเก่าใช้แล้วและมีจำนวน / ปริมาณพอสมควรแก่ฐานะ
-มีเครื่องหมาย เลขหมายให้ตรวจสอบได้ง่าย

หากผู้โดยสารมีของที่มิใช่ของใช้ส่วนตัว แต่มีลักษณะเป็นสินค้า โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรล่วงหน้าเพื่อแนะนำไปปฏิบัติพิธีการศุลกากรก่อนการเดินทาง
2. ของต้องห้ามต้องกำกัด
2.1 ของต้องห้าม หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น
-ยาเสพติดให้โทษ
-วัตถุระเบิด
-สิ่งพิมพ์หรือวัตถุลามก
-สัตว์ป่าสงวน

2.2 ของต้องกำกัด หมายถึงของบางชนิดที่มีกฎหมายควบคุมการนำเข้าและส่งออกผู้ที่ประสงค์จะนำเข้าหรือส่งออกไป ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและนำมาแสดง ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรในขณะนำเข้าและส่งออกด้วยเช่น
-พระพุทธรูป ศาสนาวัตถุ โบราณวัตถุ (กรมศิลปากร)
-สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์เลี้ยง เช่น นก ลิง แมว ฯลฯ(กรมป่าไม้หรือกรมปศุสัตว์)
-สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ (กรมปศุสัตว์)
-พันธุ์พืช เช่น ทุเรียน ลำไย ฯลฯ (กรมวิชาการเกษตร)
-อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ กระทรวงกลาโหม)
-ยาและเคมีภัณฑ์บางชนิด (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)


3. การนำเงินตราเข้า-ออกประเทศ
ผู้โดยสารสามารถนำเงินตราไทย-เงินตราต่างประเทศหรือปัจจัยการชำระเงินตราต่างประเทศเข้ามา หรือออกไปนอกราชอาณาจักรไทยได้ตามมูลค่าที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้
3.1 เงินไทย ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวเดินทางไปต่างประเทศได้ คนละไม่เกิน 50,000 บาท ยกเว้นนำออกไปยังประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย เช่น พม่า สปป ลาว เขมร มาเลเซียและเวียดนาม นำออกได้คนละไม่เกิน 500,000 บาท ในกรณี การนำเข้า ผู้โดยสารสามารถนำเงินตราไทยนำเข้าได้ไม่จำกัดมูลค่า
3.2 เงินตราต่างประเทศหรือปัจจัยการชำระเงินตราต่างประเทศ ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวไปต่างประเทศหรือนำเข้ามาได้ไม่จำกัดมูลค่าและ ผู้เดินทางผ่านหรือผู้ที่เข้ามาในราชอาณาจักรชั่วระยะเวลาที่กำหนด ในตั๋วเดินทางผ่านหรือตั๋วเดินทางไปกลับก็สามารถนำเงินตราต่างประเทศ ติดตัวเข้ามาในประเทศไทยไม่จำกัดมูลค่าเช่นกัน
3.3 หากผู้โดยสารต้องการนำเงินตราไทยออกนอกราชอาณาจักรมูลค่าเกินกว่า ที่กฎหมายกำหนด ต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย และ นำหลักฐานการได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธต.5) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศในขณะเดินทางออกนอกประเทศ
4. การสำแดงกระเป๋าและสัมภาระในการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
(1) ผู้โดยสารต้องกรอกรายการในแบบสำแดงสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร (แบบ 211) และยื่นแบบฟอร์มดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขณะนำกระเป๋า สัมภาระผ่านเจ้าหน้าที่ศุลกากร
(2) ผู้ไม่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัดให้ยื่นแบบสำแดงสิ่งของติดตัวผู้โดยสารแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร ในช่องเขียวซึ่งมีป้ายเขียนไว้ว่า"ไม่มีของสำแดง"
(3) ผู้ที่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือไม่แน่ใจว่าของที่นำเข้ามานั้น ต้องเสียภาษีอากรหรือไม่ ให้ยื่นแบบสำแดงสิ่งของติดตัวผู้โดยสารแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่องแดง ซึ่งมีป้ายเขียนไว้ว่า "มีของต้องสำแดง"
5. การชำระอากรปากระวาง
ของทุกชนิดที่นำเข้ามาในประเทศไทยต้องชำระค่าภาษีอากรและปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับการชำระอากรปากระวางสำหรับ ของติดตัวผู้โดยสารมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
-เป็นของที่นำเข้ามาใช้เอง และมีจำนวนเห็นได้ชัดว่ามิใช่เพื่อการค้า
-ของมูลค่าไม่เกิน 80,000 บาท
-ผู้โดยสารสามารถชำระค่าภาษีอากรได้เป็นเงินสด ณ วันนำเข้า

กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งของทั้งหมด ไปปฏิบัติพิธีการศุลกากรที่งานของติดตัวผู้โดยสารฝ่ายตรวจสินค้า
ขาเข้าที่ 1 ส่วนการนำเข้า โดยผู้โดยสารจะได้รับใบส่งของ (แบบ 466) ไว้เป็นหลักฐาน
6. การยกเว้นภาษีอากรขาเข้าของติดตัวผู้โดยสาร ของดังต่อไปนี้ที่ผู้โดยสารนำติดตัวเข้ามาจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
-บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือซิการ์และยาเส้น น้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม
-สุรา 1 ลิตร
-ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพและ จำนวนพอสมควรแก่ฐานะและมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท และไม่มีลักษณะเป็นการค้า เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง เครื่องประดับ รองเท้า นาฬิกา แว่นตา น้ำหอม
เป็นต้น ทั้งนี้ผู้โดยสารต้องมี เอกสารใบเสร็จรับเงินมาแสดงเป็นหลักฐานประกอบด้วย หากไม่มีเอกสารใบเสร็จรับเงิน เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้ หลักฐานอื่นประกอบ
-ของใช้ในบ้านเรือนเก่าใช้แล้วที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเนื่องจาก การย้ายภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ
7. การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
ผู้โดยสารที่นำสัตว์เลี้ยงติดตัวเข้ามาพร้อมกับตนโดยไม่มีลักษณะทางการค้า หรือนำสุนัขและแมวเข้ามาในราชอาณาจักร ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพและภูมิภาค ทั้งแบบที่ไม่นำติดตัวเข้ามา (UNACCOMPANIED BAGGAGE) แต่นำเข้ามาในระวางบรรทุก (CARGO FREIGHT) และแบบนำติดตัวเข้ามา (ACCOMPANIED BAGGAGE) มีข้อแนะนำในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ดังนี้
11.1 เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
(1) ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ (กศก.102)
(2) หนังสือเดินทาง (PASSPORT)
(3) ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (AIR WAYBILL)ในกรณีที่ยังไม่ได้รับต้นฉบับ AWB ให้ใช้เอกสารอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
สำเนา AIR WAYBILL ฉบับผู้โดยสาร หรือ
สำเนา AIR WAYBILL ฉบับที่บริษัทตัวแทนสายการบินรับรอง หรือ
สำเนา AIR WAYBILL ฉบับ SHIPPER หรือ
HEALTH CERTIFICATE หรือ
PEDIGREE หรือ
ใบเสร็จค่าระวางบรรทุก หรือ
หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงความเป็นเจ้าของ
(4) ใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร (ร.6) และ/หรือใบอนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร(ร.7) ในกรณีที่ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศด่านศุลกากรทางอากาศกองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์ ได้ออกเฉพาะใบแจ้งอนุมัตนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร (ร.6) เท่านั้น กรมศุลกากรจะตรวจปล่อยและส่งมอบสัตว์มีชีวิตให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำด่าน กักกันสัตว์ระหว่างประเทศ
(5) คำร้องขอยกเว้นอากร (กรณีนำเข้าชั่วคราว)
(6) สัญญาประกันทัณฑ์บน (กรณีนำเข้าชั่วคราว)

11.2 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรการนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
(1) ผู้โดยสารหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องยื่นต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ (กศก.102) และเอกสารประกอบตามข้อ 11.1 พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุดต่อฝ่ายตรวจสินค้าขาเข้าของสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานที่นำเข้า
(2) กรณีการนำเข้าชั่วคราว กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเอกสารเสนอขอยกเว้นอากร ตรวจสอบการคำนวณราคาของ และค่าภาษีอากรเพื่อวางประกันและทำสัญญาประกันทัณฑ์บนไว้หากถูกต้อง จะออกเลขที่ยกเว้นอากรและสั่งการตรวจ หลังจากนั้นจะมอบเอกสารทั้งหมดคืนให้ผู้นำเข้า
(3) กรณีการนำเข้าถาวร กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเอกสาร การคำนวณราคาของ หากถูกต้องจะออกเลขที่ใบขนสินค้า และมอบเอกสารทั้งหมดคืนให้ผู้นำเข้าเพื่อนำไปชำระภาษีอากรที่ฝ่ายบัญชีและอากร
(4) ผู้นำของเข้านำใบขนสินค้าฯ พร้อมเอกสารและหลักฐานการชำระอากร หลักฐานการชำระประกันค่าภาษี (แล้วแต่กรณี) ไปแสดงที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อขอรับของออกจากอารักขาศุลกากร
(5) กรณีการนำเข้าชั่วคราว เมื่อกรมศุลกากรทำการการตรวจปล่อยเรียบร้อยแล้วจะมอบสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า พิเศษและสำเนาสัญญาประกันทัณฑ์บนแก่ผู้โดยสารหรือตัวแทน เพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานประกอบการส่งออก
11.3 ข้อควรทราบในการนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
(1) การนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิตชั่วคราว ผู้โดยสารหรือตัวแทนต้องทำสัญญาประกันและทัณฑ์บนกับกรมศุลกากรว่าจะส่งออกไปภายใน 6 เดือนนับแต่วันนำของเข้าตามแบบที่กำหนดโดยให้ระบุด่านศุลกากร ที่จะส่งกลับออกไปและใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือบุคคลที่เชื่อถือได้
(2) การไม่นำสัตว์ที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราวกลับออกไป ผู้นำของเข้าต้องชดใช้เงินตามสัญญาประกันที่ให้ไว้ และอาจถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากร และ/หรือ หลีกเลี่ยงข้อกำกัดของกฎหมายอันมีโทษปรับ หรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับตามกฏหมายศุลกากรอีกด้วย
8. การลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผู้โดยสารที่นำของต้องชำระค่าภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัดเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่สำแดงหรือสำแดงไม่ถูกต้อง จะได้รับโทษตามกฎหมายศุลกากร ดังนี้
14.1 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาขณะอยู่ในช่องเขียว (Green Channel) จะถูกปรับ 1 เท่าของราคาของบวกค่าภาษีอากรกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย (ถ้ามี) และผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน
14.2 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาภายหลังผ่านพ้นช่องเขียว (Green Channel) และขณะที่ นำของผ่านออกไปนั้นมิได้เข้ามาในลักษณะซุกซ่อนเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตรวจพบผู้ต้องหาจะถูกปรับ 2 เท่าของของราคาของบวกค่าภาษีอากรกับอีก 1เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีสรรพสามิตภาษีเพื่อมหาดไทย(ถ้ามี)แล ะผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดินในกรณีที่นำเข้ามาในลักษณะซุกซ่อนให้ปรับ 4 เท่าของของราคาของบวกค่าภาษีอากรและผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน
14.3 ในกรณีของที่ลักลอบนำเข้ามาเป็นของที่ไม่ต้องชำระอากรศุลกากร ไม่ว่าจะตรวจพบในช่องเขียว (Green Channel) หรือผ่านพ้นช่องเขียวไปแล้วก็ตาม ถือเป็นของซึ่งมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน
9. ของต้องห้าม หมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะ มีความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าต้องห้ามในการนำเข้า-ส่งออก มีดังนี้

1.1 วัตถุลามก การนำเข้าและส่งออกวัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ
ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุลามกอื่น ๆ
1.2 สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ
1.3 ยาเสพติดให้โทษ
1.4 เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลง เหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริต
ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการอันเป็นของปลอม
1.5 สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรม
คอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
1.6 สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
10. ของต้องกำกัด หมายถึงสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ กระทรวงพาณิชย์ จัดระเบียบเพื่อควบคุมการนำเข้าหรือส่งออก มีดังนี้
2.1 เงินตราไทยและเงินตราต่างประเทศ
2.2 พันธุ์ยางและยางธรรมชาติ
2.3 ยาสูบ รวมถึงต้นยาสูบและใบยาเส้น
2.4 สัตว์และซากสัตว์
2.5 เครื่องวิทยุคมนาคม และส่วนแห่งเครื่องวิทยุคมนาคม
2.6 อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
2.7 วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
2.8 ยา เชื้อโรค และพิษจากสัตว์
2.9 สุรา
2.10 สินค้าประเภทอาหารที่มีความหวานเจือปน
2.11 เครื่องชั่ง ตวง วัด

กรมศุลกากรมีหน้าที่ป้องกันการนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านสินค้าต้องห้าม ส่วนสินค้าต้องกำกัด กรมศุลกากรมีหน้าที่ต้องตรวจสอบว่า การนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านแดนได้รับอนุญาตและปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ครบถ้วนหรือไม่ สำหรับบัญชีรายชื่อสินค้าต้องห้ามต้องกำกัด สามารถตรวจสอบได้จาก กระทรวงพาณิชย์

กรมศุลกากรมีหน้าที่อะไรบ้าง

กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานภาครัฐ สังกัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติภารกิจหลักเกี่ยวกับการ อำนวยความสะดวกทางการค้า การควบคุมทางศุลกากรเพื่อปกป้องสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม จัดเก็บ ภาษีอากรจากการนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก และการให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากรเพื่อส่งเสริมการค้าและ

กรมศุลกากรมีอะไรบ้าง

หน่วยงานในสังกัด.
กองสืบสวนและปราบปราม.
กองบริหารทรัพยากรบุคคล.
กองตรวจสอบอากร.
กองพิกัดอัตราศุลกากร.
กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร.
กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร.
กองกฎหมาย.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

ภาษีอากรประเภทใดที่กรมสรรพากรมีหน้าที่จัดเก็บ

กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานในสังกัด กระทรวงการคลัง มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยจัดเก็บจากประชาชน หรือผู้ประกอบการ ผู้มีเงินได้ ซึ่งมีภาษีที่จัดเก็บอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม