นิยามความหมาย ของคำว่า ประวัติศาสตร์ คืออะไร

มนุษย์ผูกพันกับประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด จนไม่อาจจะแยกจากกันได้นั้น คือจะพยายามเรียนรู้และเข้าใจตนเอง

โดยมีประวัติศาสตร์เป็นเครื่องนำทางมุ่งศึกษาพฤติกรรมมนุษย์แล้วให้ความ สำคัญแก่ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือพฤติกรรมนั้นๆ มาก

คนทั่วไปมักจะมีความเข้าใจว่าประวัติศาสตร์คือ “อดีต” หรือ “ส่วนหนึ่งของอดีต” แต่ในความเป็นจริงนั้น “อดีต”

ก็คือ “เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่าน” และ “ส่วนหนึ่งหรือเสี้ยวเล็กๆ เสี้ยวหนึ่งของอดีต” จะเป็นประวัติศาสตร์ได้ก็ต่อเมื่อนักประวัติศาสตร์

สนใจและเห็นความสำคัญ มีประโยชน์ ต่อมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ คือ การสืบสวนสอบสวนค้นคว้า เรื่องราวของมนุษย์ในอดีต

และเรื่องราวนั้นมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม

เนื่องจากวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีขอบข่ายเนื้อหากว้าง ดังนั้นจึงมีนักประวัติศาสตร์ได้ให้ความหมายไว้หลายๆ ทัศนะ

แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงทัศนะของนักประวัติศาสตร์บางท่านไว้ดังนี้

1. เซอร์ ชาร์ลส์ โอมัน มีความเห็นในทำนองเดียวกับ อาร์เอฟ อารากอน ว่า ประวัติศาสตร์ คือ

“การตรวจสอบหลักฐานทั้งประเภทเอกสารและวัตถุ เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดต่อเนื่องกันแล้วหาข้อสรุปเป็นไปไม่ได้

ที่เราจะสามารถได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ แต่เราอาจจะสามารถอธิบายข้อเท็จจริง

บางอย่างที่ได้จากการตรวจสอบ และวิเคราะห์หลักฐานเหล่านั้น ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่พอจะยอมรับกันได้”

2. จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า “วิชาประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยความชัดเจนในการต่อสู้ ทางสังคมมนุษย์

ซึ่งวิชานี้เสมือนตัวอย่างของการต่อสู้ทางสังคมแห่งชีวิตของชนรุ่นหลังการศึกษาประวัติศาสตร์จึงเป็นหัวใจแห่งการศึกษา

ความเป็นมาของสังคม เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่การปฏิบัติอันถูกต้อง”

3. ดร. วิจิตร สินสิริ ได้แสดงทัศนะไว้ว่า “ประวัติศาสตร์คือบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต เกี่ยวด้วยเรื่องเหตุการณ์ทางสังคม

เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ปรัชญาที่มนุษย์ได้คิดได้สร้างไว้ถือเป็นความเจริญรุ่งเรือง และเป็นรากฐานของความเจริญสมัยต่อๆมา

ดังนั้นเราจึงมีประวัติศาสตร์หลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์อวกาศ ประวัติศาสตร์การเมืองฯลฯ

จากความหมายดังกล่าวข้างต้นของนักประวัติศาสตร์พอจะสรุปได้ว่า ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษา

เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีตซึ่งต้องอาศัยการค้นคว้าหาหลักฐาน การวิเคราะห์ การตีความ การสังเคราะห์

โดยอาศัยข้อมูล ร่องรอยหลักฐานต่างๆมาพิจารณา เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

จะเห็นได้ว่าประวัติศาสตร์มีความหมายหลายนัย เช่น เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในอดีต เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์

และมีวิธีการบันทึกอย่างเป็นระบบ รวมทั้งประวัติศาสตร์สามารถเกิดขึ้นทุกขณะ ฯลฯ

ความสำคัญของประวัติศาสตร์

· ประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับขอบเขตของตน ขณะเดียวกันก็รู้เกี่ยงกับขอบเขตของคนอื่น

กล่าวคือช่วยให้มนุษย์รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น รวมทั้งเข้าใจสังคมของมนุษย์โดยส่วนรวม

· ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ ความรู้ ความคิดอ่านกว้างขวาง ทันเหตุการณ์

ทันสมัย ทันคน และสามารถเข้าใจคุณค่าสิ่งต่างๆในสมัยของตนได้

· ประวัติศาสตร์ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฝึกฝนความอดทน ความสุขุมรอบคอบ

ความสามารถในการวินิจฉัย และมีความละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจปัญหาสลับซับซ้อน

· ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน ให้แก่ปัจจุบัน โดยบทเรียนประวัติศาสตร์

อาจใช้เป็นประสบการณ์พื้นฐานการตัดสินใจ เหตุการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออนาคต และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา

และวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ทั้งนี้เพื่อสันติสุขและพัฒนาการของสังคมมนุษย์เอง

· ประวัติศาสตร์สอนให้คนรู้จักคิดเป็น ไม่หลงเชื่อสิ่งใดง่าย ๆ โดยมิได้ไตร่ตรองพิจารณาให้ ถี่ถ้วนเสียก่อน

ประวัติศาสตร์ของชาติย่อมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ ในตระกูล และในความ เป็นชาติประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความรักชาติ

และช่วยกันรักษาชาติบ้านเมืองให้คงอยู่ ทั้งก้าวไปสู่ความเจริญ

ประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ด้วยองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ สังคมมนุษย์ หลักฐาน มิติของเวลา และวิธีการทางประวัติศาสตร์

โดยขั้นแรกต้องมีเหตุการณ์หรือพฤติกรรมในสังคมมนุษย์เกิดขึ้น แต่เนื่องจากสังคมมนุษย์เกิดขึ้นมากว่า 500,000 ปีมาแล้ว

ความจริงในอดีตจึงต้องอาศัยร่องรอยหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจเกิดจากธรรมชาติหรืออาจเกิดจากสิ่งที่มนุษย์ตั้งใจหรือ

อาจไม่ตั้งใจจะสร้างหลักฐานขึ้น และเมื่อเกิดหลักฐานขึ้นแล้วต้องอาศัยนักประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ทำหน้าที่รวบรวม

ตรวจสอบ พิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ ตีความ วินิจฉัย และเรียบเรียงข้อเท็จจริงที่ค้นพบ เพื่ออธิบายเรื่องราวในสังคมนั้น ๆ ว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุใด

และผลของเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ใดสามารถจำลองอดีตได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ฉะนั้นเหตุการณ์ที่เรียบเรียงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์นี้

จึงเป็นเรื่องราวเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์ในอดีตเท่านั้น โดยผู้ศึกษาเห็นว่าเหตุการณ์นั้นมีความสำคัญต่อสังคม และควรเรียนรู้

ถือเป็นบทเรียนของอดีตที่มีผลถึงปัจจุบันและอนาคต การสืบค้นอดีต เพื่อเข้าใจสังคมปัจจุบันและเห็นแนวทางปฏิบัติในอนาคตคือ คุณค่าสำคัญของ

ประวัติศาสตร์
นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ยังช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ ความรัก และความภูมิใจในชาติของตน เข้าใจลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม

ของสังคมมนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ กัน และที่สำคัญผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ การแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูล

หลักฐานที่หลากหลาย ได้ฝึกฝนการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่อง และการนำเสนออย่างมีเหตุผล อันเป็นกระบวนการสร้างภูมิปัญญาอย่างแท้จริง