การนำ ความรู้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้สำหรับการสร้างเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ คืออะไร

News Other

  • True Innovation Awards The New Era Season 2 เริ่มต้นขึ้นแล้ว
  • งานแถลงข่าว ทรู อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ เดอะ นิว อีร่า
  • ทรูอินโนเวชั่นมอบทุนสนับสนุน ทีม Clever Mind
  • งานเปิดตัว Truelab@Mahidol
  • งานแถลงข่าว ทรู อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2012
  • ประมวลภาพงานแถลงข่าว วันที่ 8 สิงหาคม 2555
  • ประมวลภาพบรรยากาศ 2012รอบ 20 ทีมสุดท้าย
  • ประมวลภาพการประกวด ปี 2011
  • วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม(ตอนที่3)
  • การแบ่งความใหม่ของนวัตกรรม
  • วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม(ตอนที่4)
  • วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม(ตอนที่1)
  • วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม(ตอนที่2)
  • ตารางการตัดสินการประกวด

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม(ตอนที่2)

การนำ ความรู้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้สำหรับการสร้างเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ คืออะไร

 

เทคโนโลยีคืออะไร
                  เทคโนโลยี (Technology) เป็นคำที่มักนิยมใช้ร่วมกับคำว่า วิทยาศาสตร์ รวมเป็น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อมีการกล่าวถึงเรื่องของเทคโนโลยี คนส่วนมากก็จะนึกถึงเครื่องจักร หรือหุ่นยนต์ที่ทันสมัย เป็นอันดับแรก แต่ความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เราสามารถให้คำนิยามได้ว่า “เทคโนโลยี คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนถึงผลงานทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบการทำงาน เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมให้กับมวลมนุษย์”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2539) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม" หรือจะกล่าวได้อย่างง่ายๆ ก็คือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้นั่นเอง

                  ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญ ทำให้มนุษย์สามารถควบคุมและปรับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติ ทำเกิดสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายมหาศาลต่อการดำรงชีวิต เช่น ไฟฟ้า เครื่องยนต์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยี จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. เกิดประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานได้ผลตามเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
2. เกิดผลิตภาพ (Productivity) ทำให้เกิดผลผลิตสูงสุด ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3. เกิดการประหยัด (Economy) ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก
ประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การตราพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พ.ศ. 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2522 (วิชาการ, 2554)   ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย พอสรุปได้ดังนี้
1. เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุน และรักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีสำคัญที่มีบทบาทต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง และโลหะ เป็นต้น
2. เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก

สิ่งประดิษฐ์คืออะไร

สิ่งประดิษฐ์ หรือ Invention เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจ หรือความบังเอิญ โดยมีจุดประสงค์หลักที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์เพื่อใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์หรืออำนวยความสะดวกสบายต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจะเรียกว่านักประดิษฐ์ (Inventor) เราสามารถแบ่งยุคของการประดิษฐ์ออกได้เป็น 3 ยุคตามสิ่งประดิษฐ์ ได้แก่

1. ยุคต้น (ก่อนคริสศักราชถึงต้นปี500)
มนุษย์เรียนรู้การใช้ไฟและในการหลอมโลหะ ตีอุปกรณ์ ทำแก้ว ยุคนี้เป็นยุคเฟื่องฟูของศาสนาและการทำมาค้าขาย ในยุคที่มีการแบ่งชนชั้นมากเช่นนี้ ผู้คนจำเป็นต้องมี การนำของไปถวายหรือบูชา ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาหรือว่าการบูชาทำนาย ทำให้มีการทำเหมืองแบบเก่าเป็นจำนวนมาก เพื่อขุดทอง เงินและทองแดง ในการทำเครื่องประดับต่างๆ นอกจากนี้เรื่องของเครื่องแต่งการยังเป็นยุคที่เฟื่องฟูอีกด้วย เชื่อกันว่าผู้คนรู้จักการย้อมผ้าและ แล้วทักยอแบบหยาบๆ แล้ว โดยอาศัยตัวไหมและยางจากต้นไม้ ในทางเขตยุโรปผู้คนนิยมทำเครื่องเกราะ ดาบ เครื่องเงิน มงกุฎและอุตสาหกรรมต่อเรือยังเป็นอะไรที่เฟื่องฟูอีกด้วย
2. ยุครุ่งเรือง (ช่วงกลาง 500-1350)
นักประดิษฐ์ทางยุโรปเริ่มรู้จักการใช้ไฟฟ้า อาชิพนักวิทยาศาสตร์ เจริญเติบโตอย่างมากทำให้การประดิษฐ์ก้าวหน้าไปด้วย มีการค้นพบคุณสมบัติของไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ทำให้มีการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆมากมาย เช่นการค้นพบคลื่นวิทยุ มอเตอร์ สนามพลัง ทำให้มีการสร้างรถยนต์ หลอดไฟ วิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งของลิเลคทรอนิคอีกมากมาย ทางทวีปแถบเอเชียได้รับอิทธิพลจากทางแถบยุโรปทำให้เจริญตามด้วย แต่ไม่มีเรื่องของการประดิษฐ์แต่จะเน้นเป็นผู้บริโภค ส่วนทางแถบอเมริกาเริ่มมีคนจากทางแถบยุโรปย้ายเข้าไปอยู่ในเขตของชนชาวพื้นเมืองซึ่งนำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆมากด้วย ทำให้สิ่งประดิษฐ์เริ่มมีการกระจาย และแพร่หลาย
3. ยุคปัจจุบัน (1350-ปัจจุบัน)
 มนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ชิป มีการสร้างอุปกรณ์อิเลคทรอนิคขึ้นมามากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ จรวด เรือดำน้ำ อุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ มีการใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ และกระจายไปทั่วโลก แต่ก็ยังไม่ทั่วถึงและเท่ากันทั่วประเทศ โดยเฉพาะ มหาอำนาจอย่างอเมริกา ที่มีนักประดิษฐ์มากกว่าและมีความพร้อม ได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลทำให้เกิดความก้าวหน้าเร็วขึ้น แล้วเปลี่ยนการทำงานเป็นการทำงานแบบองค์กร หรือทีม
 

การนำความรู้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้สำหรับการสร้างเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์คือข้อใด *

7. เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการเพื่อแก้ปัญหาและสนอง ตอบความต้องการของมนุษย์

ข้อใดจัดเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนพลังงาน

เทคโนโลยีการฝังกลบ และระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ (Landfill Gas to Energy) เทคโนโลยีการเผาขยะ (Incineration) เทคโนโลยีการผลิตก๊าชเชื้อเพลิงจากขยะชุมชน (Municipal Solid Waste or MSW)โดยการแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification) เทคโนโลยีย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) หรือการหมัก

ข้อใดเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้จัดการโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์

ข้อใดคือความสําคัญของเทคโนโลยี

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี มีความสำคัญ 3 ประการ คือ 1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว 2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด 3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก

การนำความรู้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้สำหรับการสร้างเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์คือข้อใด * ข้อใดจัดเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนพลังงาน ข้อใดเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้จัดการโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ข้อใดคือความสําคัญของเทคโนโลยี ข้อใดคือจุดประสงค์ของการสร้างชิ้นงาน ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อใด ไม่ใช่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในข้อใด วัสดุในข้อใดที่สร้างขึ้นใหม่จากวัสดุตั้งแต่ 2 ชนิดและมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากเดิม