ภูมิปัญญาไทยสร้างสรรค์ขึ้นเพื่ออะไร

พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน
        2. สร้างความภาคภูมิใจ และเกียรติภูมิศักดิ์ศรีของความเป็นไทย
         มวยไทย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ปัจจุบันมีค่ายมวยอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก
         ภาษาและวรรณกรรม ไทยมีภาษาผูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง วรรณกรรมเป็นที่รู้จัก
มีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ สุนทรภู่เป็นนักปราชญ์ทางวรรณกรรมบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจาก
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒฯธรรมแห่งประชาชาติ (ยูเนสโก) เป็นกวีเอกของโลก
         อาหารไทย เป็นอาหารที่ชาวต่างชาติชื่นชอบและรู้จักกันแพร่หลาย อาทิเช่น ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ เป็นต้น
         สมุนไพรไทย เป็นที่รู้จักและยอมรับจากนานาประเทศ จนบาง ประเทศนำสมุนไพรไทยไปจดเป็น
ลิขสิทธิ์ของตนเอง
         3. การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตอย่างเหมาะสม ทำให้รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน ให้อภัยกัน
         4. การนำธรรมชาติมาใช้ในการดำรงค์ชีวิต เช่น อาหารไทย มักเป็นอาาหาร หวาน มันมีกะทิเป็น
ส่วนประกอบ หากรัปทานมากก็จะทำให้เกิดท้องอืดได้ ดังนั้น จึงมีการนำพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกูดมาใส่เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
       5. การพัฒนาชีวิตให้เหมาะสมกับยุคสมัย 

                                                                                                                                           











ส่วนบนของฟอร์ม






ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย ได้แก่

ด้านภาษา และวรรณธรรม ได้แก่ สุภาษิต คำพังเพย เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคำทายต่างๆ

ด้านประเพณี ได้แก่ กิจกรรมที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ชุมชน
โดยการแสดงออกทางประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวันลอยกระทง วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้าน
เช่น การระบำรำฟ้อนประเภทต่างๆ เซิ้ง กลองยาว เพลงอีแซว หมอลำ มโนราห์

ด้านศิลปวัตถุและศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ การทำเครื่องปั้นดินเผาไปแกะสลัก
หนังตะลุง เป็นต้น

ด้านการแต่งกาย ได้แก่ การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะและความสวยงาม
ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

ด้านอาหาร ได้แก่ การจัดประดับตกแต่งอาหารให้มีความสวยงาม ด้วยการแกะสลักด้วยความประณีต
การจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตกของทางเหนือ ด้านอาหารที่ขึ้นชื่อของไทย คือ ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเลียง
ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวซอย ส้มตำ เป็นต้น

ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ได้แก่ การทำระหัดน้ำ การประดิษฐ์กระเดื่องสำหรับตำข้าว
การทำเครื่องมือจับสัตว์ เช่น แห อวน ยอ เป็นต้น

ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ การคิดรูปแบบและวัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านที่สัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศ
และลักษณะภูมิอากาศ เช่น รูปแบบบ้านทรงไทยโบราณ ซึ่งมีใต้ถุนสูง และหลังคามีหน้าจั่วสูง
ซึ่งเหมาะกับภูมิอากาศในประเทศไทย เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การคิดค้นนำส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพร
นอกจากมาเป็นอาหารแล้ว ยังนำมาใชสกัดเป็นยารักษาโรค เช่น ขิง กระชายดำ พริกไทย เป็นต้น
นอกจากนี้พืชสมุนไพรยังนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลง เช่น เปลือก ใบและผลสะเดา ตะไคร้หอม
นอกจากนี้การแพทย์แผนไทยแต่ดั้งเดิมมามีการนวดจุดเพื่อรักษาโรคต่างๆ หรือแม้แต่ท่าฤาษีดัดตน เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เป็นต้น




ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย
     ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการใช้ความรู้  ความคิด  และทักษะการปฏิบัติเป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของตนเองและชุมชน  จึงมีการเปลี่ยนแปลงให้สมดุลกับการพัฒนาทางสังคมอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง  ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา  พอสรุปได้  ดังนี้

     1.  การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาที่เกิดจากการดำรงชีวิต          คนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ มีวิถีการดำรงชีวิต  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน  แต่ก็ล้วนมีความผูกพันและพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ  เรียนรู้จากธรรมาชาติ  ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับการทำมาหากิน  และการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ
          ปัญหาด้านต่าง ๆ ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องปรับตัว  และสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเพื่อความอยู่รอด  และอยู่อย่างมีความสุข  สะดวกสบาย  รวมทั้งเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  โดยคิดประดิษฐ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์  เช่น  การนำพืชพรรณธรรมชาติมาปรุงเป็นอาหาร  ทำยารักษาโรค  การนำเส้นใยจากพืช  เช่น  ปอ  ฝ้าย  ป่าน  มาประดิษฐ์เป็นเสื้อผ้า  กระเป๋า  และยังประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้แก่  การทำเครื่องมือดักจับสัตว์ป่า  สัตว์น้ำ  เครื่องมือทุ่นแรงในการทำไร่ทำนา  การปลูกพืช  และการหาของป่า  เป็นต้น

     2.  การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาที่เกิดจากความเชื่อและศาสนา          คนไทยมีความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องของการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  หรือสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ  เช่น  ผีบ้านผีเรือน  ผีฟ้า  เจ้าป่า  เจ้าเขา  เจ้าที่  เจ้าทาง  เทวดา  แม่โพสพ  แม่คงคา  พระภูมิ  ต้นไม้ใหญ่ ๆ  เช่น  ต้นโพธิ์  ต้นไทร  เป็นต้น  ซึ่งเชื่อว่ามีเทวดาหรือนางไม้พักอาศัยอยู่  ถ้าใครไปตัดต้นไม้ใหญ่  หรือทำสกปรกรอบ ๆ บริเวณนั้น  อาจถูกลงโทษถึงแก่ชีวิตได้  นับได้ว่าเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยทางอ้อมอย่างหนึ่ง
          อนึ่ง  คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา  จึงนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต  เช่น  การไม่ทำความชั่ว  การทำความดี  และการทำจิตใจให้ผ่องใส
          ภูมิปัญญาที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  เช่น
          -  การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์  ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ  ชาดก  สวรรค์  นรก  เป็นต้น
          -  การสร้างประติมากรรม  เช่น  พระพุทธรูป
          -  การสร้างสถาปัตยกรรม  เช่น  โบสถ์  เจดีย์ตามยุคสมัยต่าง ๆ
          -  การแสดงออกของศิลปิน  เช่น  การแต่งคำประพันธ์  บทเพลง  การแสดงละคร  ลิเก  ลำตัด  ที่นำหลักคำสอนหรือชาดกมาสร้างเป็บบทประพันธ์  โดยสมมุติตัวละครให้แสดงออกทั้งทางด้านผลของกรรมดีและกรรมชั่ว

     3.  การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาที่เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม          ประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย  ทำให้มีการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาที่แตกต่างกัน  เช่น
          -  บริเวณภาคกลางของประเทศเป็นที่ราบลุ่ม  มีแม่น้ำลำคลองหลายสาย  บางพื้นที่มีน้ำท่วมในฤดูฝน  ทำให้มีการแก้ปัญหาด้วยการสร้างบ้านเรือนที่ยกพื้นสูงขึ้น  เพื่อป้องกันน้ำท่วม  ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ริมน้ำก็จะสร้างเรือนแพ  หรือต่อเรือไว้เป็นพาหนะในการเดินทาง
          -  บริเวณทางภาคเหนือเป็นเทือกเขา  มีที่ราบระหว่างหุบเขาที่แม่น้ำไหลผ่าน  ทำให้เกิดภูมิปัญญาในการสร้างฝาย  เพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ราบ  มีการปลูกพืชตามไหล่เขาแบบขั้นบันได  ซึ่งทำให้สามารถรักษาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไว้ได้ในขณะที่มีฝนตก  นับว่าเป็นการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาดและคุ้มค่า  เพราะสามารถใช้ที่ดินได้ทุกพื้นที่  ไม่เพียงแต่ที่ราบเท่านั้น

     4.  การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยที่เกิดจากอิทธิพลภายนอก          การที่ประเทศไทยมีสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์  ทั้งด้านการเมืองการปกครอง  ด้านเศรษฐกิจ  เช่น  มีการติดต่อค้าขาย  การร่วมลงทุนหรือร่วมส่งเสริมกิจกรรมทางด้านต่าง ๆ ทำให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรม  มีการผสมผสานวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เรื่อยมาจนกระทั่งในปัจจุบัน  การติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
          ความรู้ด้านวิชาการ  วัฒนธรรมและรูปแบบของการดำเนินชีวิตจากภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก  หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว  ทำให้มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยให้เหมาะสมกับยุคสมัย  เช่น
          -  การใช้เครื่องทุ่นแรงมาใช้ในการเกษตร  เช่น  การใช้รถไถแทนการใช้ความไถนา  การใช้เครื่องมือนวดข้าวแทนการนวดด้วยมือ  การใช้เครื่องแยกเมล็ดฝ้ายแทนการแยกด้วยมือ
          -  การนำเครื่องยนต์มาติดตั้งกับพาหนะ  เช่น  การใช้เรือยนต์แทนเรือพาย  การใช้รถสามล้อเครื่องแทนรถสามล้อถีบ
          -  การใช้เครื่องไฟฟ้าเข้ามาประกอบอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน  ได้แก่  การใช้กระเช้าไฟฟ้ารับส่งคนและของขึ้นลงในที่สูง
          -  การแปรรูปผลิตภัณฑ์  เช่น  ฟ้าทะลายโจรอัดใส่แคปซูลใช้รักษาโรคได้  ยาสระผมว่านห่างจระเข้ผสมดอกอัญชัย  ครีมนวดผมที่ทำจากประดำดีควาย  สบู่สมุนไพร  เครื่องดื่มที่ทำจากสมุนไพร  เป็นต้น

     5.  การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาโดยอาศัยประสบการณ์  เช่น
          -  หมั่นศึกษาแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ  โดยเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบ
          -  ลงมือทดลองความรู้ตามที่เรียนมา  และสอบถามปรึกษาผู้รู้
          -  ลงมือทำงาน  และผลิตผลงานอยู่เสมอ  ปรับปรุงและพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพมากขึ้น  อีกทั้งมุ่งทำงานของตนอย่างต่อเนื่อง  จนเกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม  สามารถถ่ายทอดความรู้ได้
          จึงสังเกตได้ว่า  ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นมานั้น  มักจะมีเหตุปัจจัยมาจากสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ  และสภาพสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยนั้น ๆ รวมทั้งการติดต่อสื่อสาร  ผสมผสานวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในยุคสมัยนั้น ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ปัญหาชีวิตที่เหมาะสมนั่นเอง










 ปัจจัยพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
     ผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละภาค  เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของคนเราที่ใช้ในการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิต  เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  มีความสะดวกสบาย  ซึ่งผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นจะมีรูปแบบอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย  ดังนี้

          1.  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์  เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของคนเราอย่างยิ่ง  เพราะคนเราจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์  เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้  การปรับตัวในการดำรงชีวิตนี้เอง  ก่อให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
               -  การสร้างที่อยู่อาศัย  พื้นที่ในภาคกลางเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง  คนในสมัยก่อนจึงได้สร้างเรือนให้ยกพื้นสูง  เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือนมีหลังคาทรงสูง  เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก  เมื่อมีฝนตก  น้ำฝนไหลลงได้เร็ว  ไม่ค้างอยู่บนหลังคา
                  ส่วนทางภาคใต้มีสภาพภูมิประเทศเป็นคาบสมุทร  และมีทะเลขนาบทั้งทางด้านตะวันตกและมีทะเลขนาบทั้งทางด้านตะวันตกและด้านตะวันออก  ทำให้มีฝนตกชุกและประสบภัยจากลมพายุอยู่บ่อยครั้ง  คนในภาคนี้จึงปลูกเรือนที่มีหลังคาทรงเตี้ยและลาดชันเพื่อไม่ให้ด้านลม  เสาเรือนไม่นิยมฝังลงดิน  แต่จะวางบนฐานที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง  (ปัจจุบันนิยมใช้แท่งซีเมนต์หล่อ)  เพื่อไม่ให้เสาผุพังเร็ว
               -  การสร้างเครื่องมือเครื่องใช้  พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง  มีแหล่งน้ำหลายแห่ง  จึงเกิดภูมิปัญญาในการคิดเครื่องมือจับสัตว์น้ำรูปแบบต่าง ๆ เช่น  แห  อวน  ลอบ  ยอ  ไว้สำหรับดักจับสัตว์น้ำ  ส่วนภาคใต้มีฝนตกชุก  ในพื้นที่นาจึงมีระดับน้ำสูง  จึงมีการประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่า  แกระ  ซึ่งใช้สำหรับตัดรวงข้าว

          2.  ทรัพยากรธรรมชาติ  นับเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เพราะคนเราจะนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
               -  นำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาจักรสานเป็นภาชนะหรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
               -  ในแหล่งที่มีดินเหนียว  จะนำดินาเหนียวจะมาทำเครื่องปั้นดินเผา
               -  นำพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่นมาประกอบอาหารและทำยารักษาโรค
          ตัวอย่างเช่นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น  เช่น
               -  คนในแต่ละท้องถิ่นรู้จักนำวัสดุท้องถิ่นมาจักสานเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต  เช่น  คนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  นิยมกินข้าวเหนียว  จึงมีการสานกระติบข้าวเหนียว  เพื่อใช้เก็บข้าวเหนียว  โดยนำไม้ไผ่ที่มีมากในท้องถิ่นมาเป็นวัสดุ
               -  คนไทยในสมัยก่อนประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ซึ่งต้องทำงานกลางแจ้งจึงมีการสานงอบไว้ใช้ใส่บังแดด  วัสดุที่นำมาทำ  ได้แก่  ใบจาก  ใบลาน  ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น  งอบนี้คนไทยมีใช้กันทั่วทุกภาค  เพียงแต่รูปร่างแตกต่างกันไป

          3.  ศาสนา  ที่คนในสังคมนับถือ  เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ เช่น  ภาคเหนือมีความเชื่อเรื่องการนับถือผี  จึงมีประเพณีหรือพิธีกรรมเกี่ยวกับผี  ภาคกลางทำเกษตรกรรมมีความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่โพสพ  จึงมีประเพณีเกี่ยวกับพระแม่โพสพ  ทางภาคอีสานมักเกิดภาวะฝนแล้งจึงมีประเพณีแห่นางแมว  ประเพณีบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน
               ดังนั้นจากปัจจัยพื้นฐานที่กล่าวมาจึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาของคนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน

สร้างสรรค์ภูมิปัญญามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

การสืบสานมรดกทางภูมิปัญญาไทย จะทำให้มนุษย์มีความรู้ เข้าใจถึงความเชื่อมโยงของ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม เข้าใจถึงคุณค่าของเรื่องภูมิปัญญา นำไปสู่การ กำหนด ทิศทางและสาระของการพัฒนาสังคมไทยให้สอดคล้องกับพื้นฐานทาง วัฒนธรรมในอนาคต

ประโยชน์ของภูมิปัญญาไทย มีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงสร้างความภาคภูมิใจ และ ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ แก่คนไทยสามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับชีวิตได้อย่างเหมาะสม สร้างความสมดุลระหว่างคนกับสังคม และธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ช่วยเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิถีชีวิตของคน ไทยให้เหมาะสมได้ตามยุคสมัยที่เปลี่ยน ...

ภูมิปัญญาไทยมีคุณค่าด้านใดมากที่สุด

ภูมิปัญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องของการยอมรับนับถือ และให้ความสำคัญแก่คน สังคม และธรรมชาติอย่างยิ่ง มีเครื่องชี้ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากมาย เช่น ประเพณีไทย ๑๒ เดือน ตลอดทั้งปี ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ทำใน ฤดูร้อนซึ่งมีอากาศร้อน ทำให้ ...