จิตสาธารณะต่อสังคมมีอะไรบ้าง

จิตสาธารณะ หมายถึง ความรู้สึกตระหนักของบุคคลถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกที่ปรารถนาจะร่วมและมีส่วนช่วยเหลือสังคม โดยรับรู้ถึงสิทธิควบคู่ไปกับหน้าที่และความรับผิดชอบ สำนึกถึงพลังของตนว่าสามารถร่วมแก้ไขปัญหาได้ และลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ โดยการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกันกับคนในสังคมเพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมทุกวันนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความมีน้ำใจไมตรีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่หวังผลตอบแทน การดำรงชีวิตในสังคมที่มีการช่วยเหลือกันถึงแม้ว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรา หรือเราไม่ได้เดือดร้อนด้วย แต่ก็เต็มใจที่จะแบ่งปันให้การช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน นั่นคือ การแสดงความมีจิตสาธารณะนั่นเอง

จิตสาธารณะมีความสำคัญอย่างไร?
การที่มนุษย์ในสังคมจะแสดงออกซึ่งการมีจิตสาธารณะนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หากไม่ได้รับการเลี้ยงดูมาแบบส่งเสริมหรือเอื้อต่อการเกิดพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะ สังคมก็จะเป็นไปแบบเห็นแก่ตัว คือ ตัวใครตัวมัน ไม่สนใจสังคมรอบข้างคิดแต่ประโยชน์แห่งตนเท่านั้น ชุมชนอ่อนแอ ขาดการพัฒนา เพราะต่างคนต่างอยู่ สภาพชุมชนมีสภาพเช่นไรก็ยังคงเช่นนั้น ไม่เกิดการพัฒนา และยิ่งนานไปก็มีแต่เสื่อมทรุดลง อาชญากรรมในชุมชนอยู่ในระดับสูง ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะคนในชุมชนมองปัญหาของตัวเองเป็นเรื่องใหญ่ ขาดคนอาสานำการพัฒนา เพราะกลัวเสียทรัพย์ กลัวเสียเวลา หรือกลัวเป็นที่ครหาจากบุคคลอื่น ดังนั้น การศึกษาแนวทางและความสำคัญของการมีจิตสาธารณะเพื่อให้เกิดในจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรกระทำ เพื่อสังคมที่น่าอยู่ต่อไป ทั้งนี้เพราะเด็กช่วงแรกเกิดจนถึงก่อน 10 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการรับการปลูกฝัง และส่งเสริมจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กยังเป็น “ไม้อ่อนที่ดัดง่าย” ฉะนั้นการปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการด้านสังคมและด้านจิตใจของเด็กจะเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม จะส่งผลให้ การเมือง เศรษฐกิจ ศีลธรรมในสังคมนั้นดีขึ้น

ลักษณะของการมีจิตสาธารณะ
คิดในทางบวก (Positive thinking) คือ คิดในทางที่ดีต่อคนอื่น
มีส่วนร่วม (Participation) คือ การมีส่วนร่วมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน เกื้อกูล เป็นธรรมชาติ
ทำตัวเป็นประโยชน์ (Useful) คือ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสาธารณะ ต่อสังคม ไม่นิ่งดูดาย อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแม้เพียงเล็กน้อยก็จะทำ
ไม่เห็นแก่ตัว (Unselfish) คือ การฝึกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน แบ่งปันของเล่น ของใช้ให้เพื่อน รู้จักให้ทาน
มีความเข้าใจ (Understand) คือ เข้าใจผู้อื่น (Empathy) ไม่ทับถมผู้อื่น ไม่ซ้ำเติมผู้อื่น
มีใจกว้าง (Broad Mind) คือ มีจิตที่กว้างใหญ่ เปิดกว้าง ไม่คับแคบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รับฟังข้อมูล แสวง หาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
มีความรัก (Love) คือ รักเพื่อน รักผู้อื่น เมตตาต่อสัตว์ และพืช
มีการสื่อสารที่ดี (Communication) คือ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เล่น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

จิตอาสา คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ ให้กับส่วนรวม...อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัว เป็นตน ของตนเองลงได้บ้าง

ตัวอย่างโครงการจิตสาธารณะต่างๆ
- พี่สอนน้อง (สอนหนังสือเด็กเล็ก / ชวนน้องเล่นเกม)
-พี่ดูแลน้อง (ช่วยตัดผม / กำจัดเหา / ตัดเล็บ)
- เก็บขยะในชุมชน
- ทำความสะอาดวัด
- ดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล
- อาสาจราจร
- เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กพิการ
- ปลูกต้นไม้ / ปลูกป่า
- ซ่อมแซมสถานที่สาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ป้ายรถเมล์ ฯลฯ
- ดูแลคนชรา
- อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

อ้างอิงจาก
1. http://taamkru.com/th/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0% B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0/
2.
http://ammppwee.blogspot.com/2013/05/blog-post_26.html
3.
https://www.gotoknow.org/posts/307795

 

จิตสาธารณะต่อสังคมมีอะไรบ้าง

สังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตเพิ่มมากขึ้น ผู้คนก็ยึดติดวัตถุนิยมอย่างมากเสียจนบางครั้งเราลืมให้ความสำคัญในด้านจิตใจ ด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมามากมาย ซึ่งเราก็ได้พบเห็น อยู่บ่อยๆ เช่น การทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง ปัญหาเรื่องยาเสพติด ฯ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดจิตสำนึกที่ดีทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ดังนั้นการปลูกฝังให้คนมีจิตสำนึกที่ดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การปลูกฝังจิตสำนึกในที่นี้คือ การปลูกฝังจิตใจให้มีความรับผิดชอบ รู้จักเสียสละ ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม หรือเรียกง่ายๆ ว่า การสร้างจิตสาธารณะ

ความหมายของ จิตสาธารณะนั้น ได้มีหลายท่านให้ความหมายไว้มากมาย สรุปใจความสำคัญได้ว่า จิตสาธารณะ หมายถึง จิตสำนึกที่ดีในการรู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบ เสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ยึดมั่นทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย

ลักษณะของผู้ที่มีจิตสาธารณะ จะต้องเป็น ผู้ที่ให้และคอยช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนด้วยความเต็มใจ ไม่หวังผลตอบแทน ไม่เห็นแก่ตัว เข้าใจผู้อื่น ไม่เป็นคนใจแคบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

จิตสาธารณะต่อสังคมมีอะไรบ้าง

แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ เป็นการสร้างความรับผิดชอบในตัวเอง หากเราขาดหรือบกพร่อง ก็จะส่งผลกระทบเกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย การสร้างจิตสาธารณะสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเราก่อน  ดังนี้

  1. สร้างวินัยในตัวเอง เราต้องรู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในสังคมด้วยความเต็มใจ มองผู้อื่นในแง่ดี
  2. ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เราต้องคิดเสมอว่า เราคือส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นต้องรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้
  3. คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ทั้งในด้านที่ดีและไม่ดี ให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความเต็มใจ
  4. ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมะ ทุกศาสนาต่างสอนให้เป็นคนดี ถ้าเราสามารถปฏิบัติตามหลักธรรม คำสั่งสอนได้ นอกจากตัวเราจะมีความสุขแล้ว ยังทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นอีกด้วย

นอกจากการสร้างจิตสาธารณะแล้วเรายังจำเป็นต้องมีการพัฒนาจิตสาธารณะด้วย ซึ่งต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเราควรปลูกฝังให้เขาได้มีความรู้ ความเข้าใจ และนึกถึงความสำคัญของการมีจิตสาธารณะ  คอยชี้แนะในสิ่งที่ถูกที่ควร นอกจากการปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะแล้ว ควรปลูกฝังให้เด็กมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในหน้าที่ รู้จักการเสียสละ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ครูหรือผู้ใหญ่ต้องเป็นอย่างที่ดีให้กับเด็กด้วย เพื่อที่เด็กจะได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม betflik123

ผู้มีจิตสาธารณะสำคัญอย่างไรต่อสังคม

– ทำให้เราเป็นคนที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี – ทำให้เป็นที่รักใคร่จากผู้คนรอบข้าง และได้รับความเมตตา – ทำให้เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว คิดถึงส่วนรวมเป็นหลักมากกว่าประโยชน์ส่วนตน – ทำให้เป็นคนเข้าใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

จิตสาธารณะมีอะไรบ้าง ตัวอย่าง

จิตอาสา หรือ มีจิตสาธารณะ” ยังหมายรวมถึง จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทาประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อ เป็นหลักการในการดาเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแล รักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงใน ...

จิตสาธารณะมีด้านอะไรบ้าง

จิตสาธารณะคืออะไร.
สร้างวินัยในตัวเอง เราต้องรู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในสังคมด้วยความเต็มใจ มองผู้อื่นในแง่ดี.
ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เราต้องคิดเสมอว่า เราคือส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นต้องรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้.

การมีจิตสาธารณะมีคุณค่าต่อตัวเราอย่างไรมากที่สุด

1. ท าให้บุคคลมีความคิดขั้นสูง ช่วยยกระดับจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา เพราะจิต สาธารณะมุ่งเน้นการให้มากกว่าการรับ 2. บุคคลที่มีจิตสาธารณะย่อมเป็นที่รักใคร่ของบุคคลรอบข้าง เพราะมองเห็น คุณค่าในความดีที่มีอยู่ในบุคคลนั้นมากกว่ามูลค่าของทรัพย์สินใด ๆ ความส าคัญของจิตสาธารณะ