การพัฒนาสติปัญญามีอะไรบ้าง

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น หมายถึง การพัฒนาทางร่างกายและสติปัญญาในช่วงอายุประมาณ 12-18 ปี โดยผู้หญิงมักจะเจริญเติบโตทางร่างกายเร็วกว่าผู้ชายประมาณ 2 ปี ในขณะที่พัฒนาการด้านสติปัญญานั้นอาจใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ การช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของวัยรุ่นอย่างเหมาะสม ถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้วัยรุ่นเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มีการเจริญเติบโตทางร่างกายและทางสติปัญญา ดังนี้

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น ทางร่างกาย

ร่างกายของวัยรุ่นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งกล้ามเนื้อและรูปร่าง แต่ผู้หญิงกับผู้ชายอาจมีพัฒนาการทางร่างกายที่แตกต่างกัน ดังนี้

วัยรุ่นหญิง ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 8-13 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วระหว่างอายุ 10-14 ปี โดยผู้หญิงจะเริ่มมีการเปลี่ยนทางร่างกายหลายส่วน ได้แก่

  • ความสูงของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • หน้าอกเริ่มใหญ่ขึ้นและสะโพกเริ่มมีส่วนเว้าส่วนโค้งมากขึ้น
  • เริ่มมีขนรักแร้ ขนที่อวัยวะเพศ โดยปกติจะเริ่มมีขนภายใน 6-12 เดือนหลังจากเต้านมเริ่มขยาย
  • ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก คลิตอริส ช่องคลอด เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก อาจมีประจำเดือนตอนอายุประมาณ 13 ปี

เมื่อผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน การพัฒนาของความสูงอาจเพิ่มขึ้นอีก 1-2 นิ้วและการพัฒนาของความสูงอาจค่อย ๆ ช้าลงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย

วัยรุ่นชาย ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 10-14 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนอายุประมาณ 16 ปี ซึ่งการเจริญเติบโตของเด็กผู้ชายมักช้ากว่าผู้หญิง 2 ปี โดยส่วนใหญ่เมื่อผู้ชายอายุ 16 ปี ร่างกายจะหยุดเติบโตแต่กล้ามเนื้อยังคงพัฒนาต่อไป โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้ชาย ได้แก่

  • องคชาตและอัณฑะมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • เริ่มมีขนรักแร้ หนวด เครา ขนบนใบหน้า และขนที่อวัยวะเพศ
  • เสียงเริ่มแตกหนุ่มและเข้มขึ้น
  • ลูกอัณฑะเริ่มผลิตอสุจิ อาจเริ่มมีฝันเปียก
  • ผู้ชายบางคนอาจมีลูกกระเดือกใหญ่ขึ้นจนมองเห็นได้ชัด

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น ทางสติปัญญา

วัยรุ่นเริ่มมีพัฒนาการและความสามารถทางความคิดอย่างมีระบบ ลึกซึ้งและซับซ้อนมากขึ้น รู้จักการจัดการกับอารมณ์และการแก้ปัญหา ซึ่งช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจที่นำไปสู่การพัฒนาทางปัญญาของวัยรุ่น การเจริญเติบโตของวัยรุ่นทางสติปัญญาแต่ละช่วงวัย มีดังนี้

วัยรุ่นตอนต้น เริ่มมีความคิดที่ซับซ้อนมากขึ้นและรู้จักตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น

  • เริ่มพูดและแลกเปลี่ยนความเห็นในมุมมองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตัวเอง เช่น ควรเข้ากลุ่มกับเพื่อนคนไหนดี ควรเล่นกีฬาชนิดไหนดี ควรสร้างบุคลิกแบบไหนถึงน่าดึงดูด
  • เริ่มแสดงความคิดเห็น แนะนำ โต้ตอบในเรื่องการเรียน
  • เริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมและมาตรฐานทางสังคมมากขึ้น

วัยรุ่นตอนกลาง เริ่มมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องอนาคตมากขึ้น เช่น

  • เริ่มคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกของตัวเองในอนาคต
  • เริ่มคิดและวางแผนการใช้ชีวิต และตั้งเป้าหมายของตัวเองในอนาคต
  • เริ่มคิดถึงการกระทำและผลของการกระทำในระยะยาวมากขึ้น
  • เริ่มคิดถึงการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น

วัยรุ่นตอนปลาย เริ่มมีกระบวนการความคิดที่ซับซ้อน คิดถึงความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและอาจสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น เช่น

  • เริ่มให้ความสนใจในการเรียนต่อ และตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคต
  • แสดงความคิดเห็นและโต้ตอบเมื่อไม่เห็นด้วยในสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวคิดของตนเอง
  • เริ่มมีแนวคิดและให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวมากขึ้น เช่น การเมือง กฎหมาย ความยุติธรรม สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางเพศ

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น มีวิธีส่งเสริมได้อย่างไรบ้าง

การส่งเสริมสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและทางสติปัญญาของวัยรุ่น สามารถทำได้ดังนี้

  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วัยรุ่นควรนอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง/วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ วัยรุ่นควรรับประทานอาหารที่หลากหลายทั้งผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีน และอาหารไขมันต่ำ ไม่ควรรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดบ่อยเกินไป
  • การออกกำลังกาย วัยรุ่นควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 60 นาที เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและการเจริญเติบโตที่ดี อาจเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ว่ายน้ำ เตะฟุตบอล เต้น
  • ส่งเสริมให้วัยรุ่นแบ่งปันความคิดเห็นกับผู้ใหญ่ ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อ ประเด็น และเหตุการณ์ปัจจุบันที่หลากหลาย และแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ตัดสิน เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นมีอิสระทางความคิด และฝึกใช้เหตุและผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว
  • ส่งเสริมและช่วยวัยรุ่นในการกำหนดเป้าหมายของตนเองในอนาคต เช่น การเรียนต่อ การทำงาน หากวัยรุ่นทำสิ่งใดผิดพลาด อาจช่วยสอน ตักเตือน และหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ทำผิดพลาดซ้ำ
  • ชมเชยและยกย่องวัยรุ่นที่ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างรอบคอบ หรือทำสิ่งที่ดีต่อตนเองและสังคม เช่น การทำความดี การช่วยเหลือผู้อื่น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

การพัฒนาสติปัญญามีอะไรบ้าง

ทำไมเราจึงไม่ควรเร่งรัดลูกให้เร็วกว่าพัฒนาการที่ควรจะเป็น? นั่นเป็นเพราะว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีการพัฒนาตามวัยเป็นลำดับขั้น และเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งการเร่งรัดจะทำให้เกิดผลเสียแก่ตัวของเด็กมากกว่า แต่เราสามารถพัฒนาสติปัญญาของลูกให้เหมาะสมตามแต่ละวัยได้ หากเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการตามวัย ด้วยทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ค่ะ

การพัฒนาสติปัญญามีอะไรบ้าง

เพียเจต์ (Jean Piaget) เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา เขากล่าวว่าเด็กจะสร้างความรู้หรือพัฒนาสติปัญญาผ่านการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และมีพัฒนาการทางสติปัญญาตามช่วงวัยด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้น

โดยกระบวนการทางสติปัญญาของเด็กจะเกิดขึ้นจากการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอยู่ 2 แบบ คือ การซึมซับประสบการณ์ (Assimilation) และการปรับโครงสร้างสติปัญญา (Accommodation) ตามสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลในความคิดความเข้าใจ (Equilibration) อธิบายง่ายๆ คือ เด็กๆ จะซึมซับประสบการณ์ที่เขาได้รับ แล้วมารวมเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดกระบวนการคิดเกิดขึ้น มีการเชื่อมโยงระหว่างเรื่องเก่าที่เคยเรียนรู้มา ผสมกับเรื่องใหม่เข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความคิดและความเข้าใจของเด็กนั่นเองค่ะ

เช่น แรกเริ่มที่เด็กได้รับของเล่นที่เป็นแท่งแม่เหล็กมา สิ่งแรกที่เขาจะทำกับแท่งแม่เหล็กนั้น คือ การกัดหรือเขย่า เพราะของเล่นที่เขาเคยได้รับมักจะเล่นในลักษณะนี้ แบบนี้เรียกว่าการซึมซับประสบการณ์ พอเห็นว่าการเล่นแบบนี้ไม่ถูก เขาก็จะค่อยๆ ทดลองหาวิธีเล่นที่ถูกต้องไปเรื่อยๆ จนพบว่าแท่งแม่เหล็กสามารถดูดของบางอย่างได้ เด็กก็จะค่อยๆ ปรับความคิดว่าของเล่นอันนั้นไม่ได้มีไว้กัดหรือเคาะ แต่มีไว้ดูดสิ่งต่างๆ นั่นคือการปรับโครงสร้างสติปัญญาให้เหมาะสมจากการใช้ประสบการณ์เดิมมาเข้าร่วม

สำหรับพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่

ขั้นของการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage)

การพัฒนาสติปัญญามีอะไรบ้าง

ช่วงอายุแรกเกิด – 2 ขวบ คือ ระยะที่ 1 เรียกว่า ขั้นของการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage) พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู เด็กจะพัฒนาการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อ เพราะจะแสดงออกในรูปของการการกระทำแทน เป็นช่วงเริ่มต้นที่จะเรียนรู้ในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม  เด็กมักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ ซึ่งเกิดจากการเลียนแบบ และจะพยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ดังนั้น การให้ลูกได้ลองทำอะไรด้วยตัวเองจะเป็นการพัฒนาสติปัญญาของเด็กวัยนี้

ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage)

การพัฒนาสติปัญญามีอะไรบ้าง

ช่วงอายุ 2-7 ปี คือ ระยะที่ 2 เรียกว่า ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล หรือการคิดก่อนปฏิบัติการ (Preoperational Stage) พัฒนาการเชาว์ปัญญาของเด็กวัยนี้เน้นไปที่การเรียนรู้ และเริ่มมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้นด้วย โดยสามารถพูดได้เป็นประโยค มีการสร้างคำได้มากขึ้น แต่เด็กยังไม่สามารถใช้สติปัญญาคิดได้อย่างเต็มที่ แบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ

  • ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) สังกัปคือการนึกคิด เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี ซึ่งเขาจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ความคิดของเขาคือ จะโยงความสัมพันธ์ของแต่ละเหตุการณ์มาเกี่ยวโยงกัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง จะมีความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ในเบื้องต้น เช่น จะเรียกสัตว์ที่มี 4 ขาทั้งหมดว่า หมา ซึ่งนั่นเป็นเพราะเขามีขีดจำกัดในการเรียนรู้ และเข้าใจอะไรได้ในมิติเดียว สำหรับสิ่งที่จะทำให้เด็กในวัยนี้มีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดีก็คือ การเล่นบทบาทสมมติ
  • ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ขวบ ขั้นนี้ ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการคิด รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหาแต่ไม่ได้วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ดีขึ้น แต่การคิดหาเหตุผลและการตัดสินใจของเด็กยังคงขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้

การเล่นสำหรับเด็กวัยนี้คือ รูปแบบการเล่นที่มีกฎเกณฑ์และขั้นตอนเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมไปถึงการเล่นบทบาทสมมติที่มีเรื่องราว ที่สอดคล้องกันอย่างมีเหตุมีผล

ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage)

การพัฒนาสติปัญญามีอะไรบ้าง

ช่วงอายุ 7-11 ขวบ คือ ระยะที่ 3 เรียกว่า ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage) เด็กในวัยนี้จะสามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาหลายด้าน คือ สามารถสร้างจินตนาการในความคิดของตนขึ้นมาได้ สามารถคิดเปรียบเทียบได้ เรียงลำดับสิ่งต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยีงมีความสามารถในการคิดย้อนกลับ สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การแบ่งแยกประเภทของสัตว์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี ที่สำคัญคือความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น 

ขั้นของการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage)

การพัฒนาสติปัญญามีอะไรบ้าง

ช่วงอายุตั้งแต่ 11 ขวบขึ้นไป คือ ระยะที่ 4 เรียกว่า ขั้นของการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage) ในวัยนี้เขาจะไม่คิดจากสิ่งที่เห็นหรือได้ยินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะคิดถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและคาดเดาถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า เพื่อให้ได้สมมติฐานที่สมเหตุสมผลมาสนับสนุนความคิด ซึ่งนั่นหมายถึงเด็กจะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ได้ เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระ ไม่ยึดตนเป็นศูนย์กลาง รู้จักการใช้เหตุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลอ้างอิง

  • https://ams.kku.ac.th/
  • http://ir.swu.ac.th/
  • https://www.baanjomyut.com
  • https://sites.google.com/

พัฒนาการทางด้านสติปัญญามีอะไรบ้าง

2.พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 2 ปี ด้านสติปัญญา เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น สนใจค้นคว้าสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เรียนรู้สิ่งต่างๆโดยการเลียนแบบผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือเด็กอื่น มีช่วงความสนใจกับบางอย่างได้นาน3-5 นาที ชอบดูหนังสือภาพ ฟังบทกลอน นิทาน คำคล้องจอง รู้จักซักถามสิ่งที่สงสัยโดยใช้ประโยคคำถาม ว่า “อะไร

พัฒนาการด้านสติปัญญาหมายถึงอะไร

2. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ กับตนเอง เป็นกระบวนการทางจิตใจ (mental processes) ที่เราใช้คิด เรียนรู้ หาเหตุผล แก้ไขปัญหา และสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านภาษา (Language Development) และพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)

นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดี

4 กิจกรรมง่ายๆ ที่ช่วยลูกเล็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) ที่ดี.
1. ชวนกันร้องเพลง ... .
2. ฝึกลูกให้นับเลขกับสิ่งของต่างๆ ... .
3. เปิดโอกาสให้ลูกเลือกสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ... .
4. ลองให้ลูกบอกเสียงของสิ่งต่างๆ.

ช่วงอายุ 1

วัยเด็กหมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 2-12 ขวบโดยสามารถแบ่งออกเป็น 2ช่วงใหญ่ๆ คือ ช่วงเด็กวัยเรียน ซึ่งแต่ละช่วงวัยนั้นจะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการแตกต่างกัน ดังนี้ 1.1 ระยะแรก อายุ 2-3 ปีหรือเรียกว่า วัยเด็กเล็ก หรือเตาะแตะ 1.2 ระยะที่สองอายุ 4-5 ปีเรียกว่า วัยเด็กหรือ วัยอนุบาล