Design thinking เปรียบเหมือนอะไร

หากติดตาม SALIKA อยู่ก่อนแล้ว จะพบว่าเรานำเสนอแนวคิด Design Thinking และตัวอย่างการปรับใช้เอาไว้หลายบทความ แต่ในวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น คนในแวดวงธุรกิจรู้ดีว่า อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เจ็บหนักไม่แพ้อุตสาหกรรมอื่น เราจึงนำกรณีศึกษาของ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) หรือ SAMCO ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยืนหยัดอยู่ในตลาดมานาน 50 ปี ซึ่งเลือก Design Thinking มาเป็นหลักยึดในปี 2020 เพื่อพาพนักงานและองค์กรเดินหน้าฝ่าคลื่นดิสรัปชันและวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่


Design Thinking คิดเพื่อคนทำงาน & คนอยู่อาศัย

ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาฯ มีผลิตภัณฑ์เป็น ที่อยู่อาศัย มานำเสนอให้แก่ผู้ใช้งาน (End User) แต่ก่อนที่จะนำเสนอเพื่อชักจูงใจได้นั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องเข้าใจก่อนว่า ลูกค้ามีไลฟ์สไตล์ด้านการอยู่อาศัยอย่างไร ให้ความสำคัญกับอะไร
Design thinking เปรียบเหมือนอะไร
ณพน เจนธรรมนุกูล
ณพน เจนธรรมนุกูล รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) อธิบายก่อนว่า แนวคิด Design Thinking คือ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาหรือโซลูชันใหม่ๆ ให้เหมาะกับการนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างรอบด้าน
โดย แนวคิด Design Thinking ของบริษัทเริ่มต้นจากเทรนนิ่งให้กับ “พนักงานทุกระดับ” ขององค์กร เพื่อเติมเต็มเรื่องความคิดสร้างสรรค์และเสริมกระบวนการคิดการทำงานให้ดีขึ้น เพราะมองว่าพนักงานเป็นฟันเฟืองหลักของบริษัท และเมื่อพัฒนา พนักงาน ให้มีศักยภาพมากขึ้น ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งต่อสินค้าที่ดีสู่ลูกค้า 
“Design Thinking เป็นการทำความเข้าใจ (Empathy) วิธีคิดและความต้องการของลูกค้าในทุกมิติ ซึ่งถ้าปลูกฝังแนวคิดนี้ให้เป็น ‘วัฒนธรรมองค์กร’ ซึ่งจะต่อยอดให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การดำเนินชีวิต ไปจนถึงการพัฒนาสินค้าที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น และจะส่งผลให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืน” ณพนกล่าว

Design thinking เปรียบเหมือนอะไร

Design thinking เปรียบเหมือนอะไร

แม้โควิด-19 ทำให้แผนการขยายธุรกิจในปีนี้ต้องเปลี่ยนไป แต่ ณพน เลือกพลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการ เร่งสร้างการเติบโตให้กับพนักงานและองค์กร ในช่วงเวลานี้โดย
  • หนึ่ง ให้พนักงานนำ ปัญหาจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ ทั้งของแผนกตัวเองหรือแผนกอื่น มาร่วมกันคิดเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการทำงานมากขึ้นผ่านการเทรนนิ่ง
ซึ่งการเทรนนิ่งในรูปแบบนี้เปรียบเหมือนกระบวนการที่ทำให้พนักงานรู้สึกถึง “ความเป็นเจ้าของบริษัท” เมื่อพนักงานรู้ว่าองค์กรมีปัญหาตรงไหนก็จะช่วยกันอุดรอยรั่วตรงนั้น เป็นการขับเคลื่อนองค์กรจากทีมงานภายในให้สามารถเดินหน้าร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ราบรื่น ตลอดจนช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายของบริษัทได้

ถ้าทุกคนผ่านการหล่อหลอมด้วย Design Thinking แนวทางการแก้ปัญหาก็จะไม่ยึดติดกับแนวทางเดิม และกล้าหาหนทางใหม่ๆ ซึ่งเป็นการพัฒนามุมมองและความคิดให้มองไกลมากขึ้น ทำให้เวลาทำงานจะมีการเช็กตัวเองอยู่ตลอดว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้นดีแล้วหรือยัง มีประสิทธิภาพมากที่สุดหรือไม่ หรือมีวิธีไหนอีกบ้างที่จะพัฒนาการทำงานให้มีศักยภาพ คือเมื่อพนักงานเกิดความตระหนักแล้วก็จะหาเครื่องมือใหม่ๆ มาเสริมการทำงานของเขา ซึ่งผมมองว่ารูปแบบการทำงานอย่างนี้จะเป็นกลไกที่ทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน” ณพนกล่าว

  • สอง เติมเต็มเรื่อง การสื่อสารภายในองค์กร เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อนร่วมงาน ผ่านกิจกรรม Design Thinking ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการส่งต่องานที่เป็นไปอย่างราบรื่น ไร้อุปสรรค
Design thinking เปรียบเหมือนอะไร
หนึ่งในกิจกรรม Design Thinking ที่สัมมากรนำมาใช้ คือ โปรเจ็กต์ออกแบบออฟฟิศใหม่ โดยการแบ่งพนักงานเป็นทีม แล้วให้ไปสัมภาษณ์เพื่อนแต่ละแผนกว่า มีความต้องการใช้งานหรือมีปัญหาอะไรในการทำงานบ้าง หลังจากนั้นกลับมาออกแบบเป็นห้องทำงานในสไตล์ที่คิดว่า ตอบโจทย์มากที่สุด และบริษัทก็นำข้อมูลเชิงลึกที่ได้ไปใช้ในการออกแบบออฟฟิศใหม่ต่อไป

เนื่องจากสัมมากรมีแผนจะปรับปรุงออฟฟิศใหม่อยู่แล้วเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขยายธุรกิจ และมองว่าหากได้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่จะกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกแอ็คทีฟ ช่วยเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้าง Ecosystem ให้พนักงานช่วยกันคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ตลอดจนสามารถดึงทุกปัญหาที่เป็น Pain Point ของลูกค้าออกมา และสร้างสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้นได้


Design thinking เปรียบเหมือนอะไร

ประเมินเพื่อเดินหน้า ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

สำหรับการดำเนินงานไตรมาส ของปี 2563 ทางสัมมากร ประเมินความต้องการซื้อที่แท้จริง (Real Demand) ในตลาด แล้วพบว่า หลายคนมีความพร้อมและวางแผนที่จะซื้อบ้านไว้อยู่แล้ว
ยิ่งเมื่อเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด–19 ระบาด ส่งผลให้คนต้องทำงานจากบ้าน (Work from Home) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เห็นชัดมากขึ้นในอนาคต ทำให้คนต้องการพื้นที่ใช้สอยมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของการอยู่คนเดียว หรือพื้นที่ส่วนกลางเพื่อการอยู่ร่วมกัน ตลอดจนให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการทำงานด้วย
เนื่องจากสัมมากรมีโครงการเปิดขายอยู่ 3 รูปแบบ คือ บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม และโฮมออฟฟิศ แต่ด้วยความต้องการ “พื้นที่ใช้สอย” คาดว่า “บ้าน” เป็นคำตอบของการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้นนับจากนี้ไป ดังนั้น โครงการใหม่ๆ ที่จะออกมา บริษัทจึงเน้นไปที่ “โครงการแนวราบ” เพราะมีพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยที่เปลี่ยนไปได้
“หากทุกคนในบริษัทใช้ Design Thinking ก็สามารถเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน และเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างวิกฤตไวรัสโควิด-19 เราก็ยังคงประคองยอดขายได้ เพราะสินค้าของเราทำมาแล้วตอบโจทย์ลูกค้าณพนกล่าวปิดท้าย

สนใจ Design Thinking อยู่ใช่ไหม ตามอ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

จาก Design Thinking ถึง Creativity 5.0 Fiona O’Leary ตัวแม่ Innovative Designer

เติมเต็มศักยภาพ Healthcare Innovation ด้วย Design Thinking (ตอนแรก)

Design Thinking สุดยอดเคล็ดลับสร้างแบรนด์ Nike, Google, Apple ให้ผงาด


Post Views: 3,164

การคิดเชิงออกแบบมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของ Design Thinking พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียในการทำงานร่วมกันเป็นทีม รู้จักการคิดวิเคราะห์ ทำให้มีไอเดียที่หลากหลาย และมีทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดกระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ในการทำงานได้ มีแผนสำรองในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

แนวคิดในการออกแบบคืออะไร

การคิดเชิงออกแบบ (อังกฤษ: design thinking) เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เน้นมุมมองของผู้ใช้ (user-centered) และมีเจตนาในการสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์

การคิดเชิงออกแบบ มีอะไรบ้าง

Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ นำเสนอทางแก้ไข ปัญหาแบบใหม่ที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่การเข้าใจ นิยาม สร้างสรรค์ จำลอง และ ทดสอบ (Empathize Define Ideate Prototype & Test) โดย Design Thinking ถือว่าเป็นกระบวนการ สร้างนวัตกรรมอย่างหนึ่ง

Design Mindset คือทักษะด้านใด

Design Thinking มีคนแปลเป็นภาษาไทยเอาไว้ว่า คือ การคิดเชิงออกแบบ เป็นวิธีการที่เริ่มต้นจากการคิดที่ไม่มีกรอบ ไม่ใช่มาเริ่มต้นจากการตั้งโจทย์ในเรื่องของปัญหาเป็นที่ตั้ง เหมือนวิธีการแก้ปัญหาในแบบที่เราเห็นทั่วๆ ไป