ธนาคารแห่ง ประเทศไทย คือ อะไร

"บทบาทหน้าที่ " ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551

1. ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร
เป็นผู้ออกธนบัตรของรัฐบาล ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเงินตรา และมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะออกบัตรธนาคารในราชอาณาจักร

2. กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน
ดำเนินนโยบายการเงินตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด ได้แก่ รับเงินฝาก กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต กู้ยืมเงินตราต่างประเทศเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งค่าของเงินตรา กู้ยืมเงินเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์เท่าที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ รวมถึงยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ตามที่กำหนดโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน

3. บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท.
บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. (ไม่รวมสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา) การนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์ โดยคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง ผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ และความเสี่ยงในการบริหารจัดการ

4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล
เป็นนายธนาคารของรัฐบาล โดยมีอำนาจหน้าที่ในการรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ของรัฐบาล การเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการซื้อขายโลหะทองคำและเงิน การซื้อขายและโอนตั๋วแลกเงิน หลักทรัพย์และใบหุ้น การควบคุมและการรวมไว้ในแหล่งกลางซึ่งเงินปริวรรตต่างประเทศ หรืออาจเป็นนายธนาคารของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ นอกจากนี้ อาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล โดยมีอำนาจกระทำการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของรัฐบาล จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย หรืออาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน โดยมีอำนาจหน้าที่ในการให้กู้ยืมเงินหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงิน การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน รวมถึงการสั่งให้สถาบันการเงินส่งรายงานหรือชี้แจงเพื่ออธิบายเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน หรือภาระผูกพันได้

6. จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน
จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน ระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน และบริหารจัดการระบบดังกล่าวให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

7. กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะและการดำเนินงาน ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีเสถียรภาพ

8. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

9. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​ศคง. คือใคร​

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. หรือแบงก์ชาติ) ได้จัดตั้ง ศคง. หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน​​ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินแก่ผู้ใช้บริการทางการเงิน

ธนาคารแห่ง ประเทศไทย คือ อะไร
 

ทำไมต้องคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการแข่งขันการให้บริการทางการเงินที่เข้มข้นขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนยิ่งขึ้น ผู้ใช้บริการทางการเงินในยุคปัจจุบันจึงจำเป็นต้องเข้าใจบริการทางการเงินเพื่อให้สามารถเลือกใช้บริการทางการเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง ลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้บริการ รวมทั้งรู้เท่าทันการหลอกลวงทางการเงินจากกลุ่มมิจฉาชีพ ​เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อภัยทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย

​นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ใช้บริการทางการเงินมีความคาดหวังที่จะได้รับการคุ้มครองและปกป้องสิทธิทางการเงินมากขึ้น ประกอบกับ ธปท. เองก็มีหน้าที่​หรือพันธกิจที่จะต้องดูแลให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. มากที่สุด ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ธปท. จึงต้องคุ้มครอง​ผู้ใช้บริการทางการเงิน 

​โครงสร้างอ​งค์กร​​

ศคง. มีบทบาทหน้าที่อย่างไร

​ศคง. มีบทบาทหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ​

ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับบริการทางการเงิน

เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เบื้องต้นทางการเงินอย่างเพียงพอที่จะดูแลตัวเองได้ เข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รู้จักวางแผนการเงินสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสมและรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง โดยดำเนินการผ่านสื่อความรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ​ๆ​​​​

ส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของ ธปท.

ในการกำกับดูแลให้สถาบันการเงินให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม โดยการส่งผ่านข้อมูลปัญหา ข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดนโยบายตรวจสอบและกำกับดูแลสถาบันการเงินให้ดำเนินการ​อย่างถูกต้องและคำนึงถึงสิทธิขั้น​พื้นฐานของผู้ใช้บริการทางการเงินต่อไป

​ ​​ ​

จะติดต่อกับ ศคง. ได้อย่างไร (คลิก)

ธนาคารแห่ง ประเทศไทย คือ อะไร



ธนาคารแห่งประเทศไทยมีชื่อว่าอะไร

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นองค์กรของรัฐที่มี บทบาทหน้าที่ หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย โดยผ่านการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพในอัตราที่เหมาะสมกับศักยภาพของประเทศ ซึ่งถือเป็นการร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ...

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่และเป้าหมายอย่างไร

ภารกิจที่สำคัญของ ธปท. ได้แก่ การดูแลเสถียรภาพ​ทางการเงินของประเทศ ผ่านอัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาท ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงบริหารจัดการธนบัตรหมุนเวียนภายในประเทศ และดูแลระบบการชำระเงินด้วย นอกจากนี้ ธปท. ยังมีหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และให้ ...

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่อะไร และเกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์อย่างไร

ธปท. มีหน้าที่ก ากับดูแลสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูก ของธนาคารต่างประเทศ สาขาของธนาคาร ต่างประเทศ รวมทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย และบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมายจาก กระทรวงการคลังให้ช่วยก ากับดูแล

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ธนาคารแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Bank of Thailand) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและ ...