โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ คืออะไร

แต่การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพียงในชั้นเรียนตามเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเท่านั้น ไม่อาจช่วยให้จุดมุ่งหมายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ได้ ทั้งนี้เพราะครูจำเป็นจะต้องสอนเนื้อหาต่าง ๆ ในหลักสูตรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด นักเรียนจึงไม่ค่อยมีโอกาสมีประสบการณ์ตรงในการใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนในกระบวนการเรียนรู้

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ คืออะไร

การให้นักเรียนกระทำกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะในการทำโครงงาน นักเรียนจะได้มีโอกาสดำเนินการศึกษา จะศึกษาเอง การวางแผนการศึกษาเพื่อตอบปัญหานั้น ๆ ด้วยตนเอง ออกแบบการทดลองหรือวิธีการศึกษาด้วยตนเอง ลงมือทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน

ตลอดจนสรุปผลของการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาและชี้แนะ สรุปได้ว่านักเรียนจะมีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงในกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ทุกขั้นตอน มีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณสมบัติอื่น ๆ ให้แก่นักเรียนด้วย เช่น ความเป็นคนช่างสังเกต มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีวินัยและซื่อสัตย์ในการทำงาน มีความละเอียดรอบคอบ มีความรับผิดชอบ ยอมรังฟังคำติชมและความคิดเห็นของผู้อื่น มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ รู้จักแบ่งเวลาในการทำงานและการกระทำกิจกรรมอื่น ๆ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นต้น

4. ประเภทต่าง ๆ ของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

  • 4.1 โครงงานประเภทการสำรวจ
  • 4.2 โครงงานประเภทการทดลอง
  • 4.3 โครงการประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์
  • 4.4 โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหรือ คำอธิบายสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือทฤษฎีอื่น ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ สนับสนุน ทฤษฎีหรือคำอธิบายดังกล่าวอาจใหม่ หรือขัดแย้ง หรือขยายแนวความคิด หรือคำอธิบายเดิมที่มีผู้ให้ไว้ก่อนแล้วก็ได้ อาจเป็นการอธิบายปรากฏการณ์เก่าในแนวใหม่ อาจเสนอในรูปของคำอธิบาย สูตร หรือสมการก็ได้ แต่จะต้องมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง

               โครงงาน เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอนมีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

             การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือการจัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่เด็กเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหารู้จักรู้จักการทำงานอย่างมีระบบ รู้จักการวางแผนในการทำงาน ฝึกการคิดวิเคราะห์และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

              โครงงานจัดเป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนรู้เรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นขั้นตอนและใช้ความรู้ที่ตนเองได้มาบูรณาการ

     ประเภทโครงงาน       

    แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

    ๑. โครงงานตามสาระการเรียนรู้   เป็นการใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้ ทักษะและเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ

    ๒. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณาการเป็นโครงงานและปฏิบัติ

    สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ ตามวัตถุประสงค์

    1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
    2. โครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลอง
    3. โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ๆ
    4. โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์ คิดค้น

    • โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล 

    โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก เป็นต้น

    • โครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลอง

    เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยออกแบบในรูปผลการทดลอง เพื่อศึกษาตัวแปรหนึ่ง จะมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาอย่างไร ด้วยการควบคุมตัวแปร

    • โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ๆ 

    เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ หรือหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ ซึ่งต้องผ่านการพิสูจน์อย่างมีหลักการก่อน

    • โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์ คิดค้น 

    เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ทฤษฎี หลักการ มาประยุกต์ใช้ โดยประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่างๆ หรืออาจเป็นการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้นก็ได้

    โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างเป็นกระบวนการ เพื่อตอบปัญหาที่สงสัยโดยปัญหานั้นเกิดจากความสนใจของผู้ทำโครงงาน ดังนั้นผู้ที่จะศึกษาและทำโครงงานจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มีการสังเกต จดบันทึก และวางแผนรูปแบบขั้นตอนในการทำโครงงานอย่างเป็นระบบ
    ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
        นักการศึกษาได้แบ่งโครงงานวิทยาศาสตร์ออกเป็นหลายประเภท ตามลักษณะกิจกรรมการศึกษาค้นคว้า สำหรับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2529) ธีระชัย ปูรณโชติ (2531) และ Sherburne (1975) ได้กล่าวถึงประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ในลักษณะที่สอดคล้องกันว่า โครงงานวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
        1.      โครงงานประเภททดลอง
        2.      โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
        3.      โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์
        4.      โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือคำอธิบาย
    1.     โครงงานประเภททดลอง
        ลักษณะของโครงงานประเภททดลองนี้ต้องมีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของ ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่ไม่ต้องการศึกษาที่จะส่งผลให้ผลการศึกษาคลาดเคลื่อน ขั้นตอนการทำโครงงานประเภทนี้จะต้องมีการกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐาน ออกแบบการทดลอง ดำเนินการทดลองเพื่อหาคำตอบของปัญหา หรือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ แปรผล และสรุปผล การทำโครงงานประเภททดลองนี้ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องทำการทดลองเพื่อศึกษา ความเป็นไปได้เบื้องต้น (preliminary study) เสียก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลบางประการมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของการศึกษาค้นคว้าจริงต่อไป
        การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งตัวแปรออกเป็น 3 ประเภท คือ
        1.     ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) คือสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดผลต่างๆ หรือสิ่งที่เราต้องการศึกษาทดลองดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้น จริงหรือไม่
        2.      ตัวแปรตาม (dependent variable) คือสิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุเปลี่ยนไปตัวแปรตามหรือสิ่งที่เป็นผลก็ จะเปลี่ยนไปด้วย
        3.      ตัวแปรที่ต้องควบคุม (controlled variable) คือสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะมีผลต่อการทดลองซึ่งจะต้องควบคุมให้เหมือนกัน เพราะอาจทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน

        เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรง่ายขึ้น จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า
        -    ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระคือสิ่งที่เราต้องการจะศึกษา
        -    ตัวแปรตามคือสิ่งที่เราต้องการจะวัดหรือผลการทดลอง
        -    ตัวแปรที่ต้องควบคุมคือสิ่งที่ไม่ต้องการจะศึกษาแต่สิ่งนั้นจะไปมีผลทำให้ตัวแปรตามคลาดเคลื่อน
        ตัวอย่างเช่น ต้องการจะศึกษาว่าแสงสีอะไรเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า ก็อาจจะกำหนดสีของแสงนั้นขึ้น 5 สี ได้แก่ แดง ม่วง เหลือง เขียว และน้ำเงิน ดังนั้น การออกแบบการทดลองก็ต้องปลูกผักคะน้า 5 แปลง แต่ละแปลงก็ให้แสงแต่ละสี จากตัวอย่างนี้
        -    ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ สีของแสง
        -    ตัวแปรตาม คือ การเจริญเติบโต ซึ่งอาจใช้เกณฑ์วัดความสูง นับจำนวนใบ ชั่งน้ำหนักในวันสุดท้ายของการทดลอง
        -    ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ พันธุ์ผักคะน้า ปริมาณน้ำที่รด ฤดูกาลที่ปลูก ดิน ระยะห่างระหว่างต้น ขนาดของแปลง จำนวนต้นต่อแปลง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน จึงจำเป็นต้องให้ทุกกลุ่มที่ทดลองเหมือนกัน
        ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของโครงงานประเภททดลอง ซึ่งโครงงานประเภทนี้ทำกันอย่างแพร่หลายมาก ข้อดีของโครงงานประเภทนี้จะมีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ครบทั้ง 5 ขั้น คือ ตั้งแต่การกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐาน วางแผนทดลอง รวบรวมข้อมูล และสรุปผล  นอกจากนั้นโครงงานประเภททดลองยังเป็นโครงงานที่ฝึกทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ ในด้านการกำหนดและควบคุมตัวแปรอีกด้วย  ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้นักเรียนทำโครงงานประเภทนี้ให้มากๆ
    2.     โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
        ลักษณะของโครงงานประเภทนี้เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ในธรรมชาติ แล้วนำมาจัดจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ โดยไม่มีการกำหนดตัวแปร ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ ได้แก่
        -    การศึกษาลักษณะของอากาศในท้องถิ่น
        -    การศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชิวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง
        -    การศึกษาการเจริญเติบโต หรือวงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งในสภาพธรรมชาติหรือในห้องทดลอง โดยไม่มีการกำหนดตัวแปร
        -     การสำรวจสารพิษ การสำรวจหิน แร่ และสิ่งมีชีวิตในบางท้องที่
        -     การศึกษาสมบัติของสารบางชนิด
        -     การศึกษาโครงสร้างภายในของสิ่งมีชีวิตบางชนิด ฯลฯ

        โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่นำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเพื่อตอบคำถามหรือเพื่อรู้เท่านั้น การนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนั้น และจุดอ่อนของโครงงานประเภทนี้อยู่ตรงที่ไม่ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยา ศาตร์ด้านการกำหนดและควบคุมตัวแปร
    3.     โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์
        ลักษณะโครงงานประเภทนี้จะต้องมีการกำหนดตัวแปรที่ต้องศึกษาเหมือนกับ โครงงานประเภททดลอง แต่ผลของโครงงานประเภทนี้จะได้อุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์และมีข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วย ซึ่งต่างจากโครงงานประเภททดลองตรงที่ผลของโครงงานประเภททดลองจะมีแต่เฉพาะ ข้อมูล โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์นี้จะมีการกำหนดตัวแปรที่จะศึกษาซึ่งมีทั้งตัวแปร ต้น หรือตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุม เช่นเดียวกับโครงงานประเภททดลอง โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ ส่วนใหญ่จะกำหนดตัวแปรที่จะศึกษาดังนี้
        ตัวแปรต้น  ส่วนใหญ่จะศึกษาในด้าน
        -    รูปทรงหรือโครงสร้างที่เหมาะสมของสิ่งประดิษฐ์
        -    ชนิดของวัสดุที่เหมาะสมในการทำสิ่งประดิษฐ์ ฯลฯ
        ตัวแปรตาม ส่วนใหญ่จะวัดคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งกำหนดเกณฑ์การวัดต่างๆ กันออกไปตามชนิดของสิ่งประดิษฐ์
        ส่วนตัวแปรที่ต้องควบคุมนั้นจะควบคุมในสิ่งที่จะทำให้ผลการวัดตัวแปรตาม คลาดเคลื่อน จะควบคุมอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งประดิษฐ์
        เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างโครงงานสิ่งประดิษฐ์เรื่องหนึ่งคือ "โครงงานเรื่องเครื่องฟักไข่แบบประหยัด"
        สมมติว่าโครงงานเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อหารูปทรงและวัสดุที่เหมาะสมของเครื่องฟักไข่ ดังนั้นโครงงานเรื่องนี้จึงมีการศึกษา 2 ขั้นตอน คือ
        ขั้นตอนที่ 1 หารูปทรงที่เหมาะสม
        1)    ตัวแปรต้น คือ รูปทรงของเครื่องฟักไข่แบบต่าง ๆ
        2)    ตัวแปรตาม คือ ความสะดวกของการใช้งาน การประหยัดไฟ ค่าร้อยละของไข่ที่ฟักออก เป็นต้น
        3)    ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ ขนาดของขดลวดความร้อนต้องเท่ากัน ไข่ที่ฟักต้องเหมือนกัน คือมีเชื้อและเกิดจากแม่พันธุ์ อายุ และการเลี้ยงเหมือนกัน วัสดุที่ทำเครื่องฟักเหมือนกัน วัสดุที่ใช้เป็นฉนวนเหมือนกัน
        ขั้นตอนที่ 2
        1)    หาวัสดุที่เหมาะสมสำหรับเป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อนของเครื่องฟัก
            -    ตัวแปรต้น คือ วัสดุชนิดต่างๆ ที่ใช้เป็นฉนวน
            -    ตัวแปรตาม คือ การรักษาอุณหภูมิ การประหยัดไฟ ค่าร้อยละของไข่ที่ฟักออก เป็นต้น
        -     ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ ขนาดของขดลวดความร้อนเท่ากัน ไข่ที่ใช้ฟักต้องเหมือนกัน คือมีเชื้อและเกิดจากแม่พันธุ์ อายุ และการเลี้ยงดูเหมือนกัน รูปทรงเครื่องฟักเหมือนกัน และวัสดุที่ทำเครื่องฟักเหมือนกัน
        2)    หาความต้านทานของขดลวดที่เหมาะสม
        -    ตัวแปรต้น  คือ  ขนาดของขดลวดที่มีความต้านทานต่างๆ กัน
        -    ตัวแปรตาม  คือ  อุณหภูมิของเครื่องฟัก การประหยัดไฟ เป็นต้น
        -    ตัวแปรที่ต้องควบคุม  คือ  รูปทรง ฉนวน เป็นต้น
        จากตัวอย่างที่กล่าวไปแล้วนั้นเป็นเพียงตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์จะต้องมีการกำหนดและควบคุมตัวแปรเช่นเดียวกับ โครงงานประเภททดลอง ถ้าการทำสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาโดยไม่ได้มีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เราจะไม่จัดว่าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์แต่จัดว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ซึ่ง ได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในเรื่องลักษณะของโครงงาน โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์นี้อาจจะมีลักษณะเป็นแบบจำลองก็ได้ แต่ต้องแสดงให้เห็นการทำงานของแบบจำลองนั้นจริงๆ ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์นี้ นอกจากจะมีข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาทดลองขั้นต้นเพื่อนำมาใช้ประกอบงานได้จริงๆ หรือแบบจำลองที่แสดงการทำงานได้ ซึ่งมองเห็นประโยชน์ของการนำไปใช้ได้ชัดเจน จึงเป็นโครงงานที่น่าสนใจกับผู้ชมมาก
        4.     โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือคำอธิบาย
        ลักษณะโครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่อธิบายทฤษฎีเก่าในแนวใหม่ หรือสร้างทฤษฎีใหม่เพื่อล้มล้างทฤษฎีเก่า หรือนำทฤษฎีเก่ามาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาในเรื่องที่ต้องการหาคำตอบ ผู้ทำโครงงานประเภทนี้จะต้องมีความรู้เรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง จึงมีนักเรียนทำโครงงานประเภทนี้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือดาราศาสตร์ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
        -    โครงงานคลื่นการเดินของกิ้งกือ ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
        -    โครงงานการใช้สมการการวิเคราะห์ถดถอย (multiple regression) ในการประมาณพื้นที่รา บนขนมปังพ่นด้วยสารละลายพาราเซตามอล ของโรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์  สิงหเสนี) กรุงเทพมหานคร

    โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองมีความสําคัญอย่างไร

    4.2 โครงงานประเภทการทดลอง เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยการออกแบบการทดลอง และดำเนินการทดลอง ลักษณะสำคัญของโครงการประเภทนี้คือ มีการออกแบบทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่มีต่อตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ ตัวอย่างของโครงงานประเภทนี้ ได้แก่

    โครง งาน วิทยาศาสตร์ ประเภท สิ่ง ประดิษฐ์ มี อะไร บ้าง

    3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ ได้แก่ - แนวคิดในการจัดระบบจราจรบริเวณทางแยก - เครื่องหยอดปุ๋ยเพื่อสุขภาพ - การประดิษฐ์เครื่องห่อผลไม้ - การสร้างหรือพัฒนาระเบียบวิธีจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือผลิตผล

    โครงงานใดเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

    โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่ประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์เข้าสู่กระบวนการปฏิบัติ โดยอาศัยเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อประดิษฐ์ชิ้นงานใหม่ อาจเป็นของใช้ เครื่องประดับจากวัสดุเหลือใช้ หรือนำวัสดุท้องถิ่นที่มีมากมายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น โครงงานการประดิษฐ์เครื่องจักสานจากผักตบชวา โครงงานการประดิษฐ์เครื่อง ...

    ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

    โครงงานประเภทการทดลอง.
    โครงงานประเภทการสำรวจรวบรวมข้อมูล.
    โครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์.
    โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีและหลักการ.