หนังสือราชการ ใช้ font อะไร ขนาดเท่าไหร่

หนังสือราชการ ใช้ font อะไร ขนาดเท่าไหร่
FONTภาษาไทยและอังกฤษ เป็นรูปแบบเดียวกันรึเปล่าครับ ท่านใดพอจะทราบบ้างครับ ว่าชื่อชนิดของ Font คืออะไร

แก้ไขข้อความเมื่อ

0

หนังสือราชการ ใช้ font อะไร ขนาดเท่าไหร่


คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้

ความคิดเห็นที่ 3

ทำงานกับราชการอยู่ กราฟฟิค, อินโฟกราฟฟิค, หนังสือ ผมใช้ ฟอนต์ TH Sarabun psk หน่วยงานนี้ (พช.) เค้ากำหนดเลยว่าต้องฟอนต์นี้เท่านั้น

0

หนังสือราชการ ใช้ font อะไร ขนาดเท่าไหร่

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

สำนักหอสมุดได้รับเกียรติจากอาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ รักษาการหัวหน้างานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติบรรยายและแนะนำวิธีการพิมพ์หนังสือราชการตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในวันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2554 เวลา 13.30 น.

บทสรุปจากการบรรยายและ workshop บุคลากรสำนักหอสมุดมีดังนี้

ประเด็นพิจารณาเพื่อดำเนินการสนับสนุนประกาศ ครม.

1. ประกาศให้ทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักหอสมุดติดตั้งฟอนต์มาตรฐานราชการไทยโดยใช้ฟอนต์ที่ stks.or.th/wiki เลือก "การติดตั้งฟอนต์มาตรฐานราชการไทย"

2. ประกาศให้ทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักหอสมุดกำหนดฟอนต์ TH SarabunPSK เป็น default ฟอนต์ของโปรแกรม Word, Powerpoint

   2.1  Word 2007

          กำหนด default ฟอนต์ของ word2007 เป็น TH SarabunPSK ตามประกาศฟอนต์มาตรฐานราชการไทยและกำหนด Style เป็น Normal กำหนด font size เท่ากับ 16pt ตามประกาศการพิมพ์หนังสือราชการไทย ทั้งนี้ในประกาศการพิมพ์หนังสือราชการไทยยังได้กำหนดระยะห่างระหว่าง paragraph แบบปกติไว้ที่ 1 Enter+Before 6pt โดยวิธีการคือเลือกที่ "ย่อหน้า" ของหน้าเอกสาร Word จะได้ pop-up การย่อหน้า ให้กำหนดระยะห่างระยะห่างระหว่างบรรทัดปกติไว้ที่ 1 เท่า ระยะห่าง ก่อน=6พ หลัง=0พ ก่อนปิดหน้านี้ให้คลิกที่ "ค่าเริ่มต้น" และ "ใช่" เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงระยะนี้ไว้

นอกจากการตั้งค่าฟอนต์แล้ว ยังต้องฝังฟอนต์ในเอกสารที่พิมพ์ด้วยเพื่อความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้ที่อาจจะเปิดโดยไม่มีฟอนต์ TH SarabunPSK

เนื้อหาพารากราฟปกติให้มีระยะย่อหน้า 2.5 เซนติเมตร สิ่งที่ต้องปฏิบัติ มี 2 ขั้นตอนคือ

1. กำหนดไม้บรรทัดให้เป็นเซนติเมตร

2. กำหนดระยะย่อหน้าปกติให้เป็น 2.5 เซนติเมตร

รายละเอียดของการตั้งค่าดูได้จาก http://stks.or.th/wiki/doku.php?id=standard:thai-gov-typing ซึ่งอาจารย์บุญเลิศได้เขียนรายละเอียดไว้อย่างสมบูรณ์ทำงานต่อได้สะดวก

โดยสรุป อาจารย์แนะนำการพิมพ์ Word สำหรับการพิมพ์เอกสารปกติ, การพิมพ์แบบมี layout เช่น template วิทยานิพนธ์, การพิมพ์แบบมี layout  และมี template สำหรับงานพิมพ์ที่มีรูปแบบกำหนดชัดเจน เช่น หนังสือราชการ, หนังสือขออนุมัติอยู่ปฏิบัติงานล่วงเวลา ฯลฯ

อาจารย์บุญเลิศได้แนะนำหน้าเว็บไซต์ของสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพิมพ์หนังสือราชการที่ cabinet.thaigov.go.th/template.htm เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลรูปแบบการพิมพ์หนังสือราชการและแนะนำวิธีจัดทำแม่แบบเอกสารการพิมพ์เนื้อหาวิทยานิพนธ์ดังนี้

1. กั้นหน้า กั้นบน 3 เซนติเมตร กั้นหลัง 2 เซนติเมตร

2. เนื้อหาวิทยานิพนธ์ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ตัวปกติ 16pt จัดชิดซ้าย-ขวา "กระจายแบบไทย" ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับหนึ่งเท่า ระยะห่างระหว่างพารากราฟเท่ากับ 1 Enter+Before 6pt ระยะย่อหน้าเท่ากับ 2.5 เซนติเมตร กำหนดให้ใช้ style เป็น "รายการย่อหน้า"

3. ชื่อบท ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ตัวหนา 16pt จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับหนึ่งเท่า ระยะห่างระหว่างพารากราฟเท่ากับ 1 Enter+Before 12pt  กำหนดให้ใช้ Style เป็น "หัวเรื่อง1"

4. คำอธิบายภาพ ตาราง ฯลฯ กำหนดให้ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK ตัวปกติ 12pt ชื่อตารางอยู่ตรงกลาง กำหนดให้ใช้ Style เป็น "คำอธิบายตาราง"

   2.2 Powerpoint

1. เปิด "มุมมอง" เลือก "เค้าโครงต้นแบบ" เพื่อกำหนดแม่แบบ slide สำหรับการนำเสนอ

  สไลด์หัวเรื่อง

   1. หัวเรื่องหลัก ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK หนา 45pt สีน้ำเงิน กิึ่งกลาง

   2. หัวเรื่องรอง ใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK หนา 45pt สีน้ำเงินอ่อนกว่าสีแรก กึ่งกลาง

 สไลด์เนื้อหา  

   1.  หัวเรื่องใช้ฟอนต์ TH SarabunPSK หนา 45pt สีน้ำเงิน กิึ่งกลาง

   2. เนื้อหารายการ TH SarabunPSK ปกติ 36pt สีดำ ชิดซ้าย Bullet แบบกลมสีน้ำเงิน

2. ปิดมุมมองต้นแบบ หากต้องการทางลัดสำหรับการกลับไปที่ "เค้าโครงต้นแบบ" คลิกที่ "การนำเสนอภาพนิ่ง"+shift จะกลับคืนสู่ต้นแบบภาพนิ่ง

3. ห้ามปรับแก้รายละเอียดอื่น ๆ ทั้งหมดให้ทำงานจาก "เค้าโครงต้นแบบ" เท่านั้นเพื่อมาตรฐานการสร้างสไลด์ทั้งชุด

4. ข้อควรทราบ คำสั่งข้างต้นไม่มีผลต่อ Drawing การสร้าง Drawing+ตัวอักษร ต้องกำหนดฟอนต์ TH SarabunPSK ทุกครั้งที่มีข้อความ+Drawing

5. ฝังฟอนต์ด้วยวิธีการเดียวกับ Word

6. บันทึกสไลด์เป็น .pdf ด้วยการเลือก "บันทึกเป็น" คลิกที่ "ตัวเลือก", "ตัวเลือก PDF + เป็นไปตามข้อกำหนด ISO19005-1 (PDF/A) + enter จะได้ PDF file ที่มีฟอนต์ฝังไปพร้อมเอกสาร

อาจารย์แนะนำตัวอย่างแม่แบบสไลด์ สวทช.+แนะนำให้สร้างแหล่งตราสัญลักษณ์ (logo) ของหน่วยงานให้ทุกคนสามารถ download สัญลักษณ์แบบเดียวกัน

ในนามของบุคลากรสำนักหอสมุด ขอขอบพระคุณอาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้ให้ความรู้พวกเราอย่างชัดเจน ให้คำอธิบายที่เข้าใจง่าย เรียนรู้เร็วและทำให้ทำงานต่อได้สะดวก

การพิมพ์หนังสือราชการ ใช้ฟอนต์อะไร

3. การพิมพ์ 3.1 ใช้รูปแบบตัวพิมพ์ไทยสารบรรณ (ฟอนต์ TH Sarabun PSK) ขนาด 16 พอยท์ 3.2 การพิมพ์ “ที่” และ “ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ” ให้พิมพ์ตรงกับแนวเท้าของตราครุฑ 3.3 การพิมพ์ชื่อเดือน ให้ตัวอักษรตัวแรกอยู่ตรงกับแนวเท้าขวาของตราครุฑ

หนังสือราชการภาษาอังกฤษ ใช้ font อะไร

(2) พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word for Windows) โดยใช้รูปแบบฟอนต์เป็น TH SarabunPSK เท่านั้น ยกเว้นตัวอักษรภาษาอังกฤษใช้ฟอนต์ Time New Roman และอักษรที่เป็น สัญลักษณ์ให้ใช้ รูปแบบฟอนต์เป็น Symbol เท่านั้น

ขนาดของครุฑที่กําหนดให้ใช้ในการพิมพ์หนังสือราชการมีกี่ขนาด เท่าไรบ้าง

ขนาดครุฑและขนาดตัวอักษร ขนาดครุฑที่ใช้ในหนังสือราชการมี2 ขนาด 3 เซนติเมตรและ 1.5 เซนติเมตร หนังสือภายนอกก าหนดขนาดครุฑไว้ 3 เซนติเมตร หนังสือภายใน (บันทึกข้อความ) ก าหนดขนาดครุฑไว้ 1.5 เซนติเมตร ขนาดตัวอักษรมาตรฐานคือ 16 พอยต์ ไม่ควรใช้ตัวเล็กกว่านี้เพราะจะท าให้อ่านยาก วรรคตอนและการย่อหน้า

ข้อความวันที่ในหนังสือราชการควรพิมพ์แบบใด

- ค าว่า “ส่วนราชการ วันที่ เรื่อง” พิมพ์ด้วยอักษรตัวหนาขนาด ๒๐ พอยท์ ๒.๓ การเขียนวันที่ การเขียนวัน เดือน ปี ในหนังสือภายนอก เขียนหลังจากเขียนส่วนที่อยู่ แล้ว โดยขึ้นบรรทัดใหม่ เขียนตรงกลางหน้ากระดาษ ให้ระบุเฉพาะวันที่ เดือน และปี เท่านั้น โดยให้ตัวเลข ของวันที่ตรงกับส่วนกลางด้านล่าง ซึ่งแหลมที่สุดของตัวครุฑ