เข้า มนุษยศาสตร์ เอกจีน ต้อง สอบ อะไรบ้าง

แอพแชร์โน้ตสรุป Clearnote มีโน้ตสรุปมากกว่า 300,000 เล่ม ทั้งระดับ ม.ต้น ม.ปลาย และมหาวิทยาลัย

ให้โน้ตสรุปจาก Clearnote เป็นตัวช่วยในการเรียน ไม่ว่าจะเตรียมสอบที่โรงเรียน หรือสอบเข้ามหาลัย

และยังสามารถถามคำถามเกี่ยวกับการเรียนได้ที่ Q&A อีกด้วย

เปิดข้อมูล ‘PAT 7.4 - ภาษาจีน’ คืออะไร? ยื่นคณะไหนได้บ้าง? พร้อมวิธีเตรียมตัวแบบละเอียด!

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของน้อง ๆ ระดับชั้น ม. 6 ที่ต้องมีการคิด เตรียมตัว และวางแผนอย่างดี เพื่อพิชิตคณะ และมหาวิทยาลัยที่ต้องการ เพื่อเป็นสะพานสู่อาชีพ และสายการทำงานในอนาคต

น้อง ๆ หลายคน คงพอได้ยินเรื่องของการสอบระดับประเทศอย่าง GAT PAT กันบ้างแล้ว เพราะคะแนน GAT PAT เป็นคะแนนหลักสำคัญที่ใช้ยื่นในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่ง PAT แต่ละตัวก็มีความแตกต่างกันออกไป

            วันนี้ พี่ ๆ จึงนำข้อมูลของ PAT 7.4 – ภาษาจีน ที่เชื่อว่าน้องหลายคนเลือกสอบมาฝากกัน จะมีข้อมูล และเคล็ดลับอะไรดี ๆ บ้าง ไปดูกันเลย!

PAT 7.4 - ภาษาจีน คืออะไร? สอบไปทำไม?

PAT หรือการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการ และวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ซึ่ง PAT 7 จะเป็นความถนัดทางภาษาต่างประเทศ มีทั้งหมด 6 ภาษา  และ PAT 7.4 คือ ความถนัดทางภาษาจีนซึ่งจะวัดความสามารถในการ อ่าน เขียน แบบครบครัน

ความสำคัญของPAT 7.4 ภาษาจีน จำเป็นสำหรับผู้ที่จะต้องใช้คะแนนนี้ในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS หลายคณะ โดยเฉพาะคณะที่เกี่ยวกับด้านภาษา ไม่ได้บังคับสอบทุกคน เพราะฉะนั้น น้อง ๆ ต้องศึกษาก่อนว่าคณะ หรือมหาวิทยาลัยที่เราจะเข้า ต้องใช้คะแนน PAT 7.4 หรือไม่

            หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการสอบ PAT 7.4 คือการวัดระดับภาษาจีน ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะ PAT นั้นนำไว้ใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น ส่วนการสอบวัดระดับภาษาจีนจริง ๆ คือ HSK นั่นเอง

PAT 7.4 - ภาษาจีน เหมาะกับใคร?

            PAT 7.4เหมาะกับคนที่ต้องใช้คะแนน และควรมีความรู้พื้นฐานภาษาจีนในระดับหนึ่ง หรือเรียนสายศิลป์จีนมา เพราะข้อสอบนั้นมีความซับซ้อน และยากง่ายพอสมควร ซึ่งต้องใช้ทั้งความคุ้นชิน และการฝึกใช้งานภาษา

PAT 7.4 – ภาษาจีน ใช้ยื่นเข้าที่ไหนได้บ้าง?

เราสามารถใช้ PAT 7.4 ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ได้หลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่เปิดรับอีกมากมายเลย

คณะที่สามารถใช้คะแนน PAT 7.4 ยื่นเข้าได้นั้นมีหลากหลาย เช่น คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, คณะครุศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, คณะนิติศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นต้น

โดยสัดส่วนคะแนนส่วนใหญ่ที่ใช้ยื่น จะอยู่ที่ 20-35% แล้วแต่คณะ สาขา และมหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ในเว็บไซต์รับสมัครของแต่ละมหาวิทยาลัยได้เลย

ตัวอย่างสัดส่วนคะแนนในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย

  • คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาอักษรศาสตร์ เลือกสอบวิชาภาษาจีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TCAS รอบ 3 Admisson 1)

-GPAX ขั้นต่ำ 2.75

-PAT 7.4 – ภาษาจีน 25%

-วิชาสามัญ ไทย 25%, อังกฤษ 25%, สังคม 25%

  • คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TCAS รอบ 3 Admisson 1)

-GPAX ขั้นต่ำ 2.5

-GAT 70% (เกณฑ์ขั้นต่ำ 25 %)

-PAT 7.4 - ภาษาจีน 30% (เกณฑ์ขั้นต่ำ 25 %)

  • คณะนิติศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 เลือกสอบวิชาภาษาจีนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TCAS 3 Admission 2)

-GPAX    20%

-O-NET   30%

-GAT      30%

-PAT      20%

  • ศิลปะศาสตร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมจีน พื้นฐานศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TCAS 3 Admission 2)

– GPAX     20%

– GAT       30%

– ONET     30%

– PAT 7.4   20% (เกณฑ์ขั้นต่ำ 225จาก300 คะแนน)

  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 เลือกสอบวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TCAS 3 Admission 2)

-GPAX 20%

-O-NET 30%

-GAT 30%

-PAT 20%

  • คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาตะวันออก วิชาเอกภาษาจีน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (TCAS 2 และ TCAS 3 Admission 1)

-GAT 25%

-PAT 7.4- ภาษาจีน 25%

-วิชาสามัญ ไทย 25%, อังกฤษ 25%

รายละเอียดการสอบ

การสอบ GAT PAT จะมีเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งจะเปิดรับสมัครในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และจะจัดในช่วงประมาณเดือนมกราคมของทุก ๆ ปี อย่างในปี 2564 นี้ ก็จัดสอบในช่วงวันที่ 20-23 มีนาคม 2564

เนื้อหาข้อสอบ

PAT 7.4 - ภาษาจีน จะเป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ทั้งหมด 100 ข้อ คะแนนเต็ม 300 คะแนน โดยจะมีเนื้อหา ดังนี้

1. หลักการเขียนพินอิน, คำพ้องรูปที่มีเสียงคล้ายกัน, เสียงเบา, แยกเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์  (5 ข้อ)

2. ลำดับขีด, ชื่อของเส้นขีด, จำนวนขีด, หมวดนำตัวอักษร, ตัวอักษรที่เขียนผิด (5 ข้อ)

3. การเลือกใช้คำ, ตำแหน่งในประโยค, ประโยคเปรียบเทียบ, โครงสร้าง, คำซ้ำ, คำสันธาน รวมถึงไวยากรณ์อื่น ๆ  (30 ข้อ)

4.เติมคำศัพท์/สำนวน/วลีจากบริบท (10 ข้อ)

5. เลือกตอบบทสนทนาให้สมบูรณ์ (15 ข้อ)

6. ความรู้ทั่วไป (10 ข้อ)

7. เครื่องหมายวรรคตอนและชื่อเรียก, จดหมาย/ประกาศ, เรียงประโยค, ตอบคำถามจากเนื้อเรื่อง (25 ข้อ)

คะแนนเท่าไหร่ ถึงจะปลอดภัยชัวร์?

คะแนนขั้นต่ำที่ดี ควรจะอยู่ที่ 150+ หรือเกินครึ่ง แต่ถ้าน้อง ๆ อยากเอาให้มั่นใจว่าติดแน่ ๆ ควรได้ประมาณ 220 คะแนนขึ้นไป  อย่างไรก็ตามคะแนน PAT 7.4 เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น น้อง ๆ ก็ต้องทำคะแนนในวิชาอื่น เช่น GAT หรือ 9 วิชาสามัญ ให้ดีด้วย

เทคนิคอ่านหนังสือ และเตรียมตัวสอบ

1. ท่องศัพท์ให้ได้มากที่สุด

คำศัพท์ แทบจะเป็นพื้นฐานที่ทำให้เราสามารถเข้าใจข้อสอบได้ เพราะฉะนั้น น้อง ๆ ควรท่องศัพท์ให้ได้มากที่สุด ส่วนใหญ่คำศัพท์ในข้อสอบจะอยู่ที่ HSK ระดับ 3 - 5  นอกจากนี้ น้อง ๆ ก็ต้องเรียนรู้สำนวนภาษาจีนไว้ด้วย เพราะออกสอบอยู่เหมือนกัน

2. อ่านข่าว บทความ และความรู้เกี่ยวกับประเทศจีน

แน่นอนว่าคนจะเรียนภาษา นอกจากจะต้องรู้เรื่องศัพท์ ไวยากรณ์ และการสนทนาแล้ว วัฒนธรรมและความรู้เกี่ยวกับประเทศนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ น้อง ๆ ควรอ่านเรื่องวรรณกรรม สิ่งประดิษฐ์ ราชวงศ์ หรือความรู้ทั่วไปต่าง ๆ เกี่ยวกับประเทศจีนไปด้วย

ส่วนการอ่านข่าว และบทความจะช่วยน้อง ๆ ได้มากในพาร์ทของการอ่านจับใจความ เพราะฉะนั้น ควรอ่านไว้ให้ชินตัวอักษร

นอกจากนี้ น้อง ๆ อาจจะลองหาซีรีส์ รายการโชว์ หรือหนังจีนดูไปด้วยก็ได้ เพื่อเสริมความรู้ในเรื่องบทสนทนาให้มากขึ้น แถมยังได้ฝึกฟังไปในตัว

3. ทบทวน และฝึกทำข้อสอบเก่าบ่อย ๆ

พี่ ๆ แนะนำว่า สำคัญที่สุดเลยคือ การทวนด้วยตนเอง และการฝึกทำข้อสอบเก่าบ่อย ๆ เพราะจะทำให้เรารู้ว่าเราอ่อนพาร์ทไหน และเพื่อให้คุ้นชินกับข้อสอบด้วย

ในเรื่องของการเรียนพิเศษ PAT 7.4 มีให้เลือกทั้งเรียนแบบออนไลน์ และเรียนตัวต่อตัว ซึ่งก็มีข้อดีต่างกันออกไป แต่ประโยชน์หลัก ๆ เลย คือน้อง ๆ จะสามารถจับแนวทางเนื้อหาที่ต้องรู้ถูก และอาจจะได้เทคนิค และได้ฟังประสบการณ์จากพี่ ๆ ที่สอบมาแล้วด้วย 

      พอน้อง ๆ ทราบข้อมูล และเทคนิคต่าง ๆ จากพี่ ๆ แล้ว สถานีต่อไปก็ลองสำรวจตัวเอง วางแผน และเริ่มเตรียมตัวในการสอบได้เลย 

สุดท้ายนี้ พี่ ๆ ก็ขอให้น้องตั้งใจ มีสติ และสอบได้คณะ มหาวิทยาลัยที่ตัวเองกันทุกคนเลยน้า ^^