เรื่องราวของพ่อขุนศรีนาวนำถุมปรากฎในหลักฐานชิ้นใด

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย เสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึงปีใดไม่ปรากฏ พระนามเดิมคือพ่อขุนบางกลางหาว มีมเหสีคือนางเสือง มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์ พระราชโอรสองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ส่วนพระราชโอรสองค์ที่ ๒ และ ๓ คือพ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงทรงครองราชย์ต่อมาตามลำดับ เดิมพ่อขุนบางกลางหาวทรงเป็นเจ้าเมืองอยู่ที่ใดไม่ปรากฏ แต่ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าอยู่ใต้เมืองบางยางลงไป มีผู้เสนอความเห็นว่าพ่อขุนบางกลางหาวน่าจะอยู่แถวกำแพงเพชร

ก่อนราชวงศ์พระร่วงอาณาจักรสุโขทัยมีราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถุมครองอยู่ ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุมซึ่งเริ่มประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๒ อาณาจักรสุโขทัยครอบคลุมถึงเมืองฉอด (ใกล้แม่น้ำเมย) ลำพูน น่าน พิษณุโลก ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ใต้อำนาจขอมสบาดโขลญลำพง จนกระทั่งพ่อขุนผาเมืองโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุมทรงร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาวขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงไป พ่อขุนบางกลางหาวทรงยึดเมืองศรีสัชนาลัยได้และทรงเวนเมืองให้พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์สุโขทัย พ่อขุนผาเมืองซึ่งเป็นพระชามาดา (ลูกเขย)ของกษัตริย์ขอมทรงยกพระนามศรีอินบดินทราทิตย์ซึ่งพระองค์ได้รับมาจากกษัตริย์ขอมมอบให้แก่พ่อขุนบางกลางหาว แต่พ่อขุนบางกลางหาวทรงใช้พระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ บางทีอาจจะทรงเห็นว่าพระนามเดิมมาจากคำ อินทรปัต + อินทร + อาทิตย์ แสดงว่าอยู่ใต้อินทรปัตซึ่งเป็นเมืองหลวงของขอม (ดังปรากฏในจารึกหลักที่ ๒) ก็เป็นได้

การที่พ่อขุนผาเมืองทรงยกสุโขทัยและอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ อาจจะทรงเห็นว่าสุโขทัยในขณะนั้นเป็นเมืองเล็กกว่าศรีสัชนาลัย หรืออาจจะเป็นเพราะว่านางเสือง พระมเหสีของพ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระภคินี (พี่สาว) ของพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนบางกลางหาวจึงทรงมีสิทธิที่จะได้ครองเมืองก่อนพ่อขุนผาเมืองก็เป็นได้

พ่อขุนผาเมืองเป็นเจ้าเมืองราด มีพระอนุชาคือพระยาคำแหงพระรามครองเมืองสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก) โอรสของพระยาคำแหงพระราม คือ มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เมื่อเป็นฆราวาสมีฝีมือในการสู้รบ ได้ชนช้าชนะหลายครั้ง รู้ศิลปศาสตร์หลายประการ ขณะอายุ ๓๐ ปีมีบุตรแต่เสียชีวิต มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีจึงออกบวช ได้ไปปลูกต้นโพธิ์ สร้างพิหาร อาวาส และซ่อมแซมพระศรีรัตนมหาธาตุทั้งในและนอกประเทศ เช่น พม่า อินเดีย และลังกา

อนึ่ง เมืองราดตั้งอยู่ที่ใดมีผู้สันนิษฐานไว้ต่างๆ กันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเมืองราดน่าจะอยู่ที่เพชรบูรณ์และเมืองลุมคือเมืองหล่มเก่าแต่ผู้เขียน(ประเสริฐ ณ นคร) วางตำแหน่งเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายไว้ที่ลุ่มแม่น้ำน่านด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
จากจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายเป็นกลุ่มเมืองที่อยู่ใกล้กันพ่อขุนผาเมืองอยู่เมืองราดและกษัตริย์น่านมีพระนามผานองผากองและผาสุมแต่กษัตริย์เมืองอื่นไม่ใช้"ผา"นำหน้าพระนามเลยพ่อขุนผาเมืองจึงน่าจะเป็นกษัตริย์น่าน(คือเมืองราดนั่นเอง)นอกจากนี้ยังมีพระราชโอรสของกษัตริย์น่านมีพระนามว่าบาจายอาจจะแสดงว่าน่านมีอำนาจเหนือบาจายแบบพระนามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์แสดงว่ากรุงเทพฯมีอำนาจเหนือราชบุรีนั่นเอง

อีกประการหนึ่ง จารึกหลักที่ ๘ กล่าวถึงไพร่พลของพระเจ้าลิไทยว่ามีทั้งชาวสระหลวงสองแควพระบางฯลฯเริ่มตั้งแต่เมืองทางทิศตะวันออกของสุโขทัยแล้วกวาดไปทางใต้ทางทิศตะวันตกทางทิศเหนือจนกลับมาจบที่ทิตะวันออกตามเดิมจารึกหลักอื่นเช่นหลักที่ ๓๘ และจารึกวัด อโสการาม (หลักที่๙๓) ก็ใช้ระบบเดียวกันโดยถือตามพระพุทธศาสนาว่าตะวันออกเป็นทิศหน้าแล้ววนตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากสระหลวงสองแควคือพิษณุโลกไปปากยม(พิจิตร)พระบางไปชากังราวสุพรรณภาวกำแพงเพชรรวม ๓ เมืองที่กำแพงเพชรบางพาน(อำเภอพานกระต่ายกำแพงเพชร)ต่อไปจะถึงราดสะค้า ลุมบาจายซึ่งจะอยู่ระหว่างทิศเหนือกวาดมาทางทิศตะวันออกของสุโขทัยและย่อมจะอยู่เหนือสระหลวงสองแควขึ้นไป จารึกหลักที่ ๑ วางลุมบาจายและสะค้าไว้ระหว่างพิษณุโลกกับเวียงจันทน์

อีกประการหนึ่ง ตอนพ่อขุนผาเมืองยกมาช่วยพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพงที่สุโขทัยถ้าหากพ่อขุนผาเมืองอยู่แถวเพชรบูรณ์คงจะมาช่วยไม่ทันสินชัยกระบวนแสงจากคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรพบใบลานที่วัดช้างค้ำเมืองน่านกล่าวถึงเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ ๒ ว่า เจ้าผู้ครองน่านขึ้นตามแม่น้ำน่านไปถึงอำเภอท่าปลา (ปัจจุบันคือจังหวัดอุตรดิตถ์) ใกล้ห้วยแม่จริม"เมืองราดเก่าหั้น"แสดงว่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยังทราบกันดีว่าเมืองราดอยู่บนแม่น้ำน่านใกล้อำเภอท่าปลา

          ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏว่าอย่างน้อยก็เมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑ ที่แคว้นสุโขทัยทั้งหมด ได้กลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ที่ชาวอยุธยาเรียกว่าเมืองเหนือแล้ว เพราะในปีนี้เป็นปีที่ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (สมเด็จเจ้าสามพระยา) ได้ส่งโอรสที่สมภพจากพระชายาราชวงศ์สุโขทัย มาครองเมืองพิษณุโลก ในตำแหน่งพระราเมศวร อันเป็นตำแหน่งพระมหาอุปราช ปกครองกลุ่มเมืองเหนือทั้งมวล โดยขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาอีกทีหนึ่ง

การก่อตั้งกรุงสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 1780 พ่อขุนศรีอินทรา- ทิตย์ ทรงพระนามเดิมว่า พ่อขุนบางกลางหาว ทรงสถาปนาสุโขทัยขึ้นมา สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับชนชาติไทย โดยขยายเขตการปกครองออกไปอย่างกว้างขวาง สุโขทัยเป็นราชอาณาจักรของชาติไทย อยู่ประมาณ 200 ปี จึงถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1981 

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้

 เดิมที สุโขทัย เป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) ของอาณาจักรขอม บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช 1700 ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้ โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งเป็นคล้ายๆกับผู้ตรวจราชการจากลวรัฐ เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย จึงส่งผลให้ พ่อขุนผาเมือง (พระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม) เจ้าเมืองราด และ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ตัดสินพระทัยจะยึดดินแดนคืน การชิงเอาอำนาจจากผู้ครองเดิมคือ อาณาจักรขอม เมื่อปี พ.ศ. 1781 และสถาปนาเอกราช ให้กรุงสุโขทัยขึ้นเป็นรัฐอิสระ โดยไม่ขึ้นตรงกับรัฐใด

          และพ่อขุนผาเมือง ก็กลับยกเมืองสุโขทัย ให้พ่อขุนบางกลางหาวครอง พร้อมทั้ง พระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนาม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงพระราชทานให้พ่อขุนผาเมืองก่อนหน้านี้ โดยคาดว่า เหตุผลคือพ่อขุนผาเมืองมีพระนางสิขรเทวีพระมเหสี (ราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) ซึ่งพระองค์เกรงว่าชาวสุโขทัยจะไม่ยอมรับ แต่ก็กลัวว่าทางขอมจะไม่ไว้ใจจึงมอบพระนามพระราชทาน และพระแสงขรรค์ชัยศรี ขึ้นบรมราชาภิเษก พ่อขุนผาเมืองให้เป็นกษัตริย์ เพื่อเป็นการตบตาราชสำนักขอม

          หลังจากมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี และมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แล้ว พระองค์ทรงดูแลพระราชอาณาจักร และบำรุงราษฏรเป็นอย่างดี

          พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สาม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถทั้งในด้านนิรุกติศาสตร์ การปกครอง กฎหมาย วิศวกรรม ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น ผลงานของพระองค์ที่ปรากฏให้เห็น อาทิ ศิลาจารึกที่ค้นพบในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่อธิบายถึงความเป็นมา ลีลาชีวิตของชาวสุโขทัยโบราณ น้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ การพิพากษาอรรถคดี ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผลงานทางวิศวกรรมชลประทาน คือ เขื่อนสรีดภงค์ที่เป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง มีการทำท่อส่งน้ำจากตัวเขื่อนมาใช้ในเมือง

พระมหากษัตริย์ที่ทรงทำนุบำรุงศาสนามากที่สุดคือ พระเจ้าลิไท ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างวัดมากที่สุด

กษัตริย์พระองค์สุดท้ายในฐานะรัฐอิสระ คือ พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) ต่อจากนั้น อาณาจักรได้ถูกแบ่งส่วนออกเป็นของอาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านนา จนในที่สุด อาณาจักรทั้งหมด ก็ถูกรวมศูนย์ เข้าเป็นดินแดนสวนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา โดยสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) แห่งอาณาจักรอยุธยา สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน

- พระยาบาล (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองพิษณุโลก

- พระยาแสนสอยดาว ครองกำแพงเพชร

ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด

ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้

ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ

ทิศตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ

1. แบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดแบบเครือญาติ เรียกพระมหากษัตริย์ว่า พ่อขุน 

2. แบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์ เป็นแบบอย่างของธรรมราชา เรียกพระมหากษัตริย์ว่าพระมหาธรรมราชา 

รายพระนามพระมหากษัตริย์สุโขทัย

ราชวงศ์นำถุม (ราชวงศ์ผาเมือง) 

- พ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ - พ.ศ. 1724 

- ขอมสบาดโขลญลำพง (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1780) 

- พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ.ศ. 1780- สวรรคตปีใดไม่ปรากฏ (ประมาณ พ.ศ. 1801) ) 

- พ่อขุนบานเมือง (หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต - พ.ศ. 1822) 

- พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1842) (ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า พ่อขุนรามราช) 

- ปู่ไสสงคราม (รักษาราชการชั่วคราวแทน พญาเลอไท ซึ่งขณะนั้นไม่ได้อยู่ในเมืองสุโขทัย) 

- พญาเลอไท (พ.ศ. 1842 - พ.ศ. 1833) 

- พญางั่วนำถุม (พ.ศ. 1833 - พ.ศ. 1890) [1] 

- พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) (พ.ศ. 1890 - พ.ศ. 1913) 

- พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท) (พ.ศ. 1913 - พ.ศ. 1931) (ตกเป็นประเทศราชของอยุธยาในปี พ.ศ. 1921) 

- พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไท) (พ.ศ. 1931 - พ.ศ. 1962) 

- พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) (พ.ศ. 1962 - พ.ศ. 1981) 

- พระยายุทธิษฐิระ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2011) (เป็นประเทศราชล้านนาในปี พ.ศ. 2011) [2] 

- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 2011 - พ.ศ. 2031) (สถาปนา และประทับ ณ พิษณุโลก จนสิ้นรัชกาล) 

- พระเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2031 - พ.ศ. 2034) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา) 

- พระอาทิตยวงศ์ (พระหน่อพุทธางกูร) (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา) 

- พระไชยราชา (พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2077) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา) 

- พระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) (พ.ศ. 2077 - พ.ศ. 2111) (เจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ) 

- พระนเรศวร (หลังเสด็จกลับจากหงสาวดี - พ.ศ. 2127) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)

1. การปกครองราชธานี กรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครองในอาณาจักร 

2. การปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการปกครองเมืองต่าง ๆ ที่อยู่นอกเมืองหลวงออกไป แบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท 

- หัวเมืองชั้นใน (เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่รอบ ราชธานี ทั้ง 4 ทิศ 

- หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) อยู่ไกลจากราชธานีมากกว่าเมือง ลูกหลวง กษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือขุนนางชั้นสูงไปปกครองดูแลดินแดน 

- หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ไกลราชธานีออกไปมาก เป็นเมืองของคน ต่างชาติ ต่างภาษา ที่อยู่ใต้การปกครองของสุโขทัย

  ด้านการปกครองสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้

          จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้

          ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ

- พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็  จะเรียก "ลูกเจ้า" 

- ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัด ทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า 

- ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า) 

- ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาส นี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)