ไทยธรรมถวายพระคู่สวดประกอบด้วยอะไรบ้าง

พิธีบวชนาค
            ประเพณีการบวช ถือเป็นประเพณีที่เคร่งครัด เชื่อว่าการบวชสามารถอบรมให้เป็นคนดีได้ ผู้ชายเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป มัก จะบวชเรียน ก่อนเข้าพรรษา ( แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) ผู้ชายจะเข้าพิธีบวชพร้อม ๆ กัน และประเพณีการบวชจะมีการกวนขนมชนิดหนึ่ง คือ " ยาหนม " เป็นขนมที่ต้องมีในงานบวช

พีธีการบวช
            1. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนหัวนาค ณ โรงพิธีประชุมสงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์พรม น้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย
            2. หลังจากนั้นอาบบน้ำ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาวห่มขาว เรียกว่า " เจ้านาค "
            3. กลางคืนจัดให้พี่พิธีสงฆ์เรียกว่า " การสวดผ้า " เจ้านาคต้องมีไตรจีวร และจะมีการทำขวัญนาคด้วยในคืนนี้
            4. จะมีการแห่นาคในวันบวชวันรุ่งขึ้น แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ เป็นการบูชาพระพุทธศาสนา ขณะที่แห่จะมีการว่าเพลง " คำตัก "
            5. เมื่อครบ 3 รอบ นาคจะจุดธูปเทียน บูชาพัทธสีมา มีการกรวดน้ำ
            6. หลังจากนั้นญาติจะช่วยกันอุ้มนาคเข้าอุโบสถ ห้ามเหยียบธรณีประตู พ่อแม่นาคส่งไตรครองให้นาค เพื่อถวายพระ อุปัชฌาย์ ถวายพระกรรมวาจาจารย์ ( พระคู่สวด ) และพระอนุสาวนาจารย์ ท่านล่ะ 3 กรวย จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา รับศีล 10 พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรสะพายพระคู่สวดจะประกาศว่าผู้ชื่อนั้น ๆ ได้มาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งคำถามเป็นข้อ ๆ เรียกว่า " ขานนาค "
            7. เมื่อขานนาคเสร็จ นาคขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ คณะสงฆ์กล่าว อนุศาสน์ ( ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติขณะที่ บวช)
            8. เมื่อจบอนุศาสน์ พระบวชใหม่ถวายของบูชาพระคุณแก่คณะสงฆ์ จากนั้นรับของอถวายเครื่องไทยธรรมจากญาติ ขณะ เดี๋ยวกันจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา ญาติ เป็นอันเสร็จพิธี 

พิธีบรรพชาอุปสมบท
            ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย การได้บวชถือเป็นมหากุศล อันยิ่งใหญ่ ผลบุญจะแผ่ไปถึง บุคคลผู้ใกล้ชิด และลบล้างกรรม ชั่วในอดีตได้ ตามแต่กำลังการบำเพ็ญตน หรือหากท่านยินดี ที่จะดำรงสถานภาพของสมณเพศ ไปจนตลอดชีวิต ก็นับว่า เป็นการ อุทิศตน ช่วยธำรงค์ไว้ซึ่งการสืบต่อ ของศาสนาพุทธ ไปจนตราบชั่วกาลนาน
            สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศ การหละหลวมในการ พิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวชให้คนทั่วไปเขากราบไหว้ นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้ จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระแล้วก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้วยังก่อคดีอุกฉกรรจ์อีก จนได้

ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
            1.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด
            2.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
            3.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
            4.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน
            5.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือ ทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
            6.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
            7.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ 

การเตรียมตัวก่อนบวช
            ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้อง ฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน
            นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำ ทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ 

เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่
            1.ไตรครอง ได้แก่ สบง 1 ประคตเอว 1 อังสะ 1 จีวร 1 สังฆาฏิ 1 ผ้ารัดอก 1 ผ้ากราบ 1
            2.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว
            3.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
            4.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
            5.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
            6.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
            7.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ 2 ผืน (อาศัย)
            8.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
            9.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
            10.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
            11.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
            12.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
            13.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
            14.สันถัต (อาสนะ)
            15.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง
            ข้อที่ 1-5 เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร 8 แบ่งเป็นผ้า 5 อย่างคือ สบง 1 ประ คตเอว 1 จีวร 1สังฆาฏิ 1 ผ้ากรองน้ำ 1 และเหล็ก 3 อย่างคือ บาตร 1 มีดโกน 1 เข็มเย็บผ้า 1 นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นใน แต่ละแห่งและกำลังทรัพย์

ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ
            1.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง 1 ประคตเอว 1 อังสะ 1 จีวร 1 ผ้ารัดอก 1 ผ้ากราบ 1
             2.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ 2 ผืน
             3.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา
            4.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา
            5.รองเท้า ร่ม
            6.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)
            7.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน
            8.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
            9.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)
            10.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)
            *อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลัง ทรัพย์และศรัทธา

ที่มา : http://www.moralmedias.net/index.php?option=com_content&task=view&id=282&Itemid=1