งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

งบดุล หรือ งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)

งบดุล คือ งบการเงินที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)

Show

เปรียบเสมือนเป็นภาพถ่ายของกิจการ ณ วันต้นงวด กับปลายงวด

เช่น ตอนต้นปีโรงงานนำสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน ทั้งหมดมากองหน้าโรงงานแล้วถ่ายภาพ 1 ภาพ ตอนปลายปี ก็ทำเช่นเดียวกัน ภ่ายภาพอีก 1 ภาพ

ดังนั้น งบดุล จะเป็นการเปรียบเทียบ 2 ภาพนี้ ว่าปลายปีบริษัทเจริญก้าวหน้ากว่าต้นปีหรือไม่

มี สมการบัญชี เป็น

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

ซึ่งทั้ง 2 ฝั่ง ต้องเท่ากัน

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

เช่น หากกิจการต้องการเงินมาเปิดร้าน รวมๆ แล้วต้องมีสินทรัพย์ทั้งหมด 200,000 บาท

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

นายทุนเอาเงินมาลงในกิจการรวม 120,000 บาท ซึ่งไม่พอเลยต้องกู้อีก 80,000 บาท

จะเป็นได้ว่า ฝั่งซ้าย ต้องเท่ากับ ฝั่งขวา

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

ต่อจากนี้มาดูรายละเอียดแต่ละประเภท ว่ามีอะไรบ้าง


สินทรัพย์ (Assets)

หมายถึง ทรัพยากรที่มีอยู่ในความควบคุมของกิจการ

ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต

ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

แต่ในการอ่านงบการเงินไม่ต้องกังวล เพราะ เค้าจะแยกมาให้ว่าอะไรคือ สินทรัพย์ แล้ว

สินทรัพย์แบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets)

หมายถึง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสามารถแปลงเป็นเงินสดได้เร็ว

ถือไว้ภายในระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี

เช่น เงินสดหรือเทียบเท่า ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ฯลฯ

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets)

หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้ในครอบครองในระยะยาว เกินกว่า 1 ปี

รวมถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ฯลฯ

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

การเรียงลำดับรายการสินทรัพย์

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

จะเรียงตามสภาพคล่องสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงจะเรียงไว้ด้านบน

(สภาพคล่องก็หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเงินสด ยิ่งง่ายก็ยิ่งคล่อง)

มาลงรายละเอียดแต่ละรายการกัน

สินทรัพย์หมุนเวียน

เงินสดหรือเทียบเท่า

  • เงินสดที่กิจการมีอยู่ เงินฝากธนาคารที่สามารถถอนนำมาใช้ได้ทันที
  • เช็ค ดราฟต์ ตั๋วแลกเงิน หรือรายการเทียบเท่าที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที

เงินลงทุนชั่วคราว

  • เงินที่กิจการนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงหรือ หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
  • เพื่อหวังดอกผลหรือกำไรจากการลงทุน
  • เช่น หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย ตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดภายใน 1 ปี

ลูกหนี้การค้า

  • เงินที่ลูกค้าค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการ
  • (ลูกค้าเป็นหนี้กิจการเรา)

เงินให้กู้ยืมระยะสั้น

  • เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

สินค้าคงเหลือ

  • สินค้าที่กิจการมีไว้เพื่อขาย
  • หรือเป็นสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต
  • เช่น งานระหว่างทำ วัตถุดิบ วัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

  • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นที่ไม่อยู่ในรายการข้างต้น

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

เงินลงทุนระยะยาว

  • เงินลงทุนที่กิจการมีความต้องการที่จะลงทุนระยะยาว (เกินกว่า 1 ปี)
  • เช่น เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินลงทุนกิจการอื่น บริษัทลูก

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

  • สินทรัพย์ถาวรที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) ได้แก่
  • ที่ดิน เป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัด ไม่ต้องคิดค่าเสื่อมราคา
  • อาคารและอุปกรณ์ เช่น เครื่องจักร รถยนต์ โรงงาน

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

  • สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้
  • เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าความนิยม โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • ส่วนใหญ่ต้องถูกตัดค่าตัดจำหน่าย (คล้ายๆ ค่าเสื่อมราคา)

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

สรุปฝั่ง สินทรัพย์

สินทรัพย์หมุนเวียน + สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน = สินทรัพย์รวม


หนี้สิน (Liabilities)

หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ

ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต

ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

แต่ในการอ่านงบการเงินไม่ต้องกังวล เพราะ เค้าจะแยกมาให้ว่าอะไรคือ หนี้สิน บ้าง

หนี้สินแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

1. หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)

หมายถึง หนี้สินระยะสั้นที่ ต้องชำระภายใน 1 ปี

เช่น เงินเบิกเกินบัญชี เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ฯลฯ

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

2. หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current Liabilities)

หมายถึง หนี้สินระยะยาวที่ ต้องจ่ายชำระเกินกว่า 1 ปี

เช่น เงินกู้ยืมระยะยาว หุ้นกู้ ฯลฯ

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

มาลงรายละเอียดแต่ละรายการกัน

หนี้สินหมุนเวียน

เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร

  • เช่น เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร และหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น

เจ้าหนี้การค้า

  • หนี้สินหรือภาระผูกพัน ที่กิจการจะต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้
  • ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการ
  • (บุคคลอื่นเป็นเจ้าหนี้กิจการเรา)

ตั๋วเงินจ่าย

  • ตั๋วเงินที่กิจการได้จ่ายออกไปเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ
  • เช่น ตั๋วแลกเงินหรือเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้า มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี

เงินปันผลค้างจ่าย

  • เงินปันผลที่ประกาศจ่ายไปแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ณ วันปิดงวดบัญชี

เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี

  • เงินกู้ยืมระยะยาวเฉพาะในส่วนที่ถึงกำหนดชำระคืนภายในรอบระยะเวลา 1 ปี ต่อจากนี้

หนี้สินหมุนเวียนอื่น

  • หนี้สินหมุนเวียนอื่นที่ไม่อยู่ในรายการข้างต้น

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

หนี้สินไม่หมุนเวียน

เงินกู้ยืมระยะยาว

  • เงินกู้ยืมจากบุคคลภายนอกหรือสถาบันการเงิน ที่มีระยะเวลาในการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี

หุ้นกู้ระยะยาว

  • หุ้นกู้ที่ออกโดยกิจการและมีระยะเวลามากกว่า 1 ปี

หนี้สินภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน

  • หนี้สินผลประโยชน์พนักงานหลังออกจากงาน

หนี้สินอื่น

  • หนี้สินอื่นที่ไม่อยู่ในรายการข้างต้น

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

สรุปฝั่ง หนี้สิน

หนี้สินหมุนเวียน + หนี้สินไม่หมุนเวียน = หนี้สินรวม


ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) หรือ ทุน

หมายถึง ส่วนของเจ้าของกิจการที่มีสิทธิหรือส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังหักหนี้สินออกแล้ว

หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “สินทรัพย์สุทธิ”

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

ส่วนของเจ้าของ ประกอบไปด้วย

1. ทุนเรือนหุ้น (Share Capital)

หมายถึง การนำเงินมาลงทุนของเจ้าของกิจการ

ทุนจดทะเบียน

  • ทุนที่กิจการไปจดทะเบียนตามกฎหมาย
  • ต้องแสดงชนิดของหุ้น (หุ้นสามัญ และ หุ้นบุริมสิทธิ) จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียน (ราคา Par)

ทุนที่ออกและชำระแล้ว

  • หุ้นและมูลค่าหุ้นที่นำออกจำหน่ายและเรียกให้ชำระมูลค่าหุ้นแล้ว
  • เป็นหุ้นจริงที่มีอยู่ ณ ขณะนี้

ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

  • เงินค่าหุ้นส่วนที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ

2. กำไร (ขาดทุน) สะสม (Retained Earnings)

หมายถึง กำไรสะสมส่วนที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น

เป็นกำไรที่กิจการสะสมไว้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการ

กำไรสะสมจัดสรรแล้ว

  • กำไรสะสมที่กันไว้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • เช่น จัดสรรเพื่อสำรองตามกฎหมาย

กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร

  • กำไรสะสมคงเหลือหลังจากการจัดสรรแล้ว สามารถนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้
  • หากกิจการมีผลขาดทุนเรื่อย ๆ จนค่าติดลบจะเป็น ขาดทุนสะสม

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง


แต่อย่าลืมนะครับ

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง

ในบทความนี้คงได้ทำการรู้จัก งบดุล กับพอสมควร สามารถนำไปใช้อ่านงบการเงินต่อไปได้ครับ


สนใจศึกษาวิธการอ่าน งบการเงิน เพิ่มเติม

สรุปสั้นๆ อ่านงบการเงิน 3 งบหลัก
ประกอบด้วย

1 งบแสดงฐานะการเงิน
2 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
3 งบกระแสเงินสด

ฉบับกระชับเข้าใจง่าย ประหยัดเวลาเรียนรู้ ใช้เวลาไม่นาน (คลิกที่นี่เพื่อรับชม)

งบแสดงฐานะการเงิน มีอะไรบ้าง
อ่านงบการเงิน ฉบับสรุปสั้นๆ 3 งบหลัก

รวมคลิปสอนอ่านงบการเงินแบบเข้าใจง่าย (ฟรี)

http://www.MrLikeStock.com/clip/

สนใจเข้าร่วมสัมมนากับ Mr.LikeStock

สัมมนาอ่านงบการเงิน และ การประเมินมูลค่าหุ้น

http://www.MrLikeStock.com/seminar/

โทร 088-555-3245

Line id : MrLikeStock (คลิกเพื่อแอดได้เลย)


ขอบคุณครับ

Mr.LikeStock

งบแสดงฐานะทางการเงินมีกี่รูปแบบ

รูปแบบของงบการเงิน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. แบบบัญชี (Account Form) 2. แบบรายงาน (Report Form) 1. งบการเงินแบบบัญชี เป็นแบบแสดงรายการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านซ้ายมือ (เดบิต) และด้านขวามือ (เครดิต) เป็นบัญชีแบบตัว T ในภาษาอังกฤษ ดังนี้

งบแสดงฐานะการเงินคิดอย่างไร

งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล คืองบที่จะแสดงข้อมูลฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งของรอบบัญชี โดยจะแสดง สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆของ งบแสดงฐานะทางการเงิน ได้จาก สมการ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

งบแสดงฐานะการเงินจะปรากฏบัญชีหมวดใด

งบแสดงฐานะทางการเงิน มีหมวดบัญชี 3 หมวด คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ โดยมีชื่อบัญชีที่สำคัญ ได้แก่ สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด