เศรษฐกิจประกอบด้วยอะไรบ้าง

เศรษฐกิจประกอบด้วยอะไรบ้าง

ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ             หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในทางเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น  การจำแนกระบบเศรษฐกิจ
การตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีหลายวิธี โดยจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้น โดยทั่วไปนิยมแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
1.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลาง ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ จุดเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและ บริโภคตามคำสั่งของรัฐ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาจะถูกนำส่งเข้าส่วนกลาง และรัฐจะเป็นผู้จัดสรรหรือแบ่งปัน สินค้าและบริการดังกล่าวให้ประชาชนแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ประชาชนไม่มีเสรีภาพที่จะผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจเพราะจะถูกบังคับหรือสั่งการจากรัฐ สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ และการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข่าวสารที่สมบูรณ์ในทุก ๆ เรื่อง
2. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่
- ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน
- เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจ            - มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ
- รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม              คือ ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ โอกาส ความคิดริเริ่ม ของตนในการผลิตและบริโภคเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างเต็มที่
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ จากความสามารถและโอกาสของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับรายได้แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน ส่วนการผลิตในระบบทุนนิยมเป็นที่มาของการแข่งขันกันผลิต นำไปสู่การทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจนกลายเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน
ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ สิงคโปร์

3. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่างๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้านฐานะระหว่างคนรวยและคนจน
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ได้แก่
- รัฐคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ
- ไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น     -รัฐสั่งการผลิตคนเดียว
- มีการวางแผนจากส่วนกลาง
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ สร้างความเสมอภาคด้านฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลในสังคม ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลกลางโดยเท่าเทียมกันและสามารถกำหนดนโยบายเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางต้องการได้
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  คือ ประชาชนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญวิกฤติหากรัฐกำหนดความต้องการผิดพลาดและการไม่มีระบบแข่งขันแบบทุนนิยมทำให้ไม่มีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น เกาหลี ลาว เวียดนาม

4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม ได้แก่
- เอกชนมีเสรีภาพ
- มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง
- รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา )
- มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา พม่า เป็นต้น

เศรษฐกิจประกอบด้วยอะไรบ้าง

http://mosszyeuei.blogspot.com/

เศรษฐกิจประกอบด้วยอะไรบ้าง
 

1.ผู้บริโภค มีหน้าที่ในการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่ทำให้ตนได้รับความพอใจมากที่สุด ( maximum satisfaction ) ภายใต้ราย ได้จำกัดจำนวนหนึ่ง

2.ผู้ผลิต มีหน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิตเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายเพื่อการแสวงหากำไรสูงสุด (maximum profit)

3.เจ้าของปัจจัยการผลิต มีหน้าที่เสนอขายปัจจัยการผลิตไปให้ผู้ผลิตเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ ผลตอบแทนที่เจ้าของปัจจัยการผลิตจะได้รับก็แล้วแต่ชนิดของปัจจัยการผลิตนั้น

ด้านเศรษฐกิจหมายถึงอะไร

(adj) economic, Example: โครงสร้างด้านเศรษฐกิจของเทศบาลตำบลบางพระมีฐานทางเศรษฐกิจค่อนข้างแคบ, Thai Definition: ที่เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆ ของชุมชน

Economic Sector กล่าวถึงภาคส่วนใดบ้าง

การศึกษาเศรษฐศาสตร์ จะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของโครงสร้างระบบเศรษฐกิจใน ระดับมหภาค (Macro Economic) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนผลผลิตและปัจจัยการผลิตในแต่ละ ภาคเศรษฐกิจ ( Economic Sectors) ประกอบด้วย ภาคครัวเรือน ( Household Sector) ภาคธุรกิจ (Business Sector) ภาครัฐบาล(Government Sector) และภาคต่างประเทศ (Foreign ...

ระบบเศรษฐกิจมีความสําคัญอย่างไร

ความสำคัญของระบบเศรษฐกิจ 1.มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ทราบว่าจะผลิตอะไร ผลิตเพื่อใคร 2.จะกำหนดระเบียบการเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตและควบคุมสถาบันทางเศรษฐกิจให้เป็นระเบียบ 3.เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้า

หน้าที่ของเศรษฐกิจประกอบด้วยอะไรบ้าง

3.2 หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ.
สนองความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่น ผลิต แบ่งปันวัตถุหรือบริการตามที่มนุษย์ต้องการ.
ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบเงินเชื่อ การใช้เงินตรา ฯ.
พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ เพื่อความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคงในด้านนี้แก่สมาชิกในสังคม.