ทะเบียนบ้านกลางหมายถึงอะไร

กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : จริงหรือไม่ หากถูกออกหมายจับ อาจโดนคัดชื่อออกจากทะเบียนบ้านได้


พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562 ได้เพิ่มหลักเกณฑ์การคัดชื่อบุคคลออกจากทะเบียนบ้านขึ้นมาใหม่
หากบุคคลใดถูกออกหมายจับ และพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ยังไม่ได้ตัวภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ออกหมายจับ บุคคลดังกล่าวจะต้องถูกคัดชื่อออกจากทะเบียนบ้านไปอยู่ทะเบียนบ้านกลาง

โดยกำหนดหน้าที่ให้พนักงานฝ่ายปกครองตำรวจ ต้องแจ้งไปยังผู้อำนวยการทะเบียนกลางเพื่อให้นายทะเบียนย้ายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากทะเบียนบ้านและเพิ่มรายชื่อไว้ในทะเบียนบ้านกลาง และให้หมายเหตุไว้ว่าเนื่องจากบุคคลนั้นอยู่ระหว่างการติดตามตัวตามหมายจับ

ทะเบียนบ้านกลาง คือ ทะเบียนที่จัดทําขึ้นเพื่อลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้ เช่น บุคคลที่ถูกเจ้าบ้านย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน

            การตรวจสภาพบ้านโดยบ้านแต่ละหลังที่จะกำหนดเลขประจำบ้านใช้ได้อย่างน้อยจะต้องมีการก่อสร้างในส่วนที่เป็นรากฐานของบ้านและมุงหลังคาเรียบร้อยแล้วหรือถ้าเป็นตึกหรืออาคารลักษณะอื่นในทำนองเดียวกัน จะต้องมีการก่อสร้างเป็นปริมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยมีหนังสือรับรองจากวิศวกรหรือนายช่างโยธาที่ควบคุมก่อสร้าง นายทะเบียนจัดทำทะเบียนชั่วคราว และสำเนาทะเบียนบ้านชั่วคราว และสำเนาทะเบียนบ้านชั่วคราวฉบับเจ้าบ้านโดยระบุข้อความว่า “บ้านอยู่ระหว่างก่อสร้าง”

สถานที่ติดต่อ

ต่างจังหวัด
 - สำนักทะเบียนอำเภอ
 - สำนักทะเบียนท้องถิ่น 

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้

1. บัตรประจำตัวประชาชน
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (ของผู้แจ้ง)
2. บัตรประจำตัวประชาชน
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (ของผู้ย้ายซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง)
3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมาย
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (พร้อมหนังสือมอบหมาย กรณีที่มีการมอบให้แจ้งแทน)
4. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (ที่ยินยอมให้ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ท.ร. 14)
5. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ท.ร. 14
ฉบับจริง 1 ฉบับ
หมายเหตุ (ที่จะแจ้งย้ายเข้า)

ค่าธรรมเนียม

-

ระยะเวลา

30 วัน

หมายเหตุ

1.ผู้แจ้ง ได้แก่
(1)ผู้ขอย้าย ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน
(2)บิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครอง (กรณีผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์)
(3)ผู้ที่ได้รับมอบหมาย (กรณีผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางมีเหตุจำเป็นไม่สามารถแจ้งการย้ายออกได้ด้วยตนเองเนื่องจากเป็นเป็นคนพิการทางกายจนเดินไม่ได้ หรือเป็นผู้เจ็บป่วยทุพลภาพ หรือกรณีจำเป็นอื่น)

2. เงื่อนไข
(1) กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าการแจ้งเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ หรือโดยอำพราง หรือโดยมีรายการข้อความผิดจากความเป็นจริง ให้นายทะเบียนดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง สอบสวนพยานบุคคล พยานแวดล้อม และพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 60วัน
(2) กรณีที่มีความซับซ้อนหรือข้อสงสัยในแนวทางการปฏิบัติ ข้อกฎหมาย หรือการตรวจสอบเอกสารสำคัญ ต้องดำเนินการหารือมายังสำนักทะเบียนกลาง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน (ทั้งนี้ การหารือต้องส่งให้สำนักทะเบียนกลาง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับเรื่อง) โดยส่งผ่านสำนักทะเบียนจังหวัด เพื่อส่งให้สำนักทะเบียนกลาง เพื่อตอบข้อหารือดังกล่าวต่อไป

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

ทะเบียนบ้านกลาง คือ ทะเบียนที่สำนักทะเบียนจัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านปกติ ด้วยสาเหตุต่าง ๆ กัน อาทิ เจ้าบ้านแจ้งย้ายบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านของตนเองออกเพราะบุคคลนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้วแต่ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ หรือ เจ้าบ้านซื้อบ้านต่อจากผู้อื่นและย้ายชื่อที่ค้างออกจากทะเบียนบ้าน หรือ บุคคลนั้นได้เดินทางไปอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานานแล้วและไม่เคยติดต่อกับทางเมืองไทย จนมีไม่ใครทราบแน่ชัดว่าอาศัยอยู่ที่ใด หรือบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้ว ดังนั้น เมื่อชื่อคนเหล่านี้ถูกย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิมโดยไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนของที่อยู่ใหม่ จึงทำให้บุคคลเหล่านี้กลายเป็นบุคคลตกหล่น ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปกติ และถูกนำชื่อไปไว้ในทะเบียนบ้านกลางในที่สุด

หากท่านพบว่า ชื่อของตัวเองไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ควรจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้สามารถกลับไปมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปกติได้? คำตอบคือ ขอให้ท่านนำหลักฐานเอกสารประจำตัว ไปแสดงต่อหน้านายทะเบียนท้องถิ่นของที่อยู่ใหม่ที่ท่านประสงค์จะเอาชื่อเข้าไปอยู่ พร้อมกับเจ้าบ้านและหลักฐานเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านแห่งใหม่ ซึ่งนายทะเบียนก็จะค้นฐานข้อมูลทะเบียนบ้านกลาง และเมื่อพบชื่อของท่านแล้ว ก็จะดำเนินการย้ายชื่อของท่านเข้าสู่ทะเบียนบ้านใหม่ตามคำร้องและเอกสารประกอบที่ครบสมบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับท่านที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ ก็สามารถทำเรื่องมอบอำนาจให้ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจไปยื่นเรื่องเพื่อย้ายชื่อท่านออกจากทะเบียนบ้านกลางเข้าสู่ทะเบียนบ้านใหม่ได้ เมื่อเรียบร้อย ท่านจึงจะสามารถนำเอกสารทะเบียนบ้านใหม่ที่มีชื่อของท่านอยู่ด้วยไปใช้ยื่นประกอบคำร้องและเอกสารทางราชการต่อไปได้

ขอบคุณสำหรับการติดตาม แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าค่ะ

__________________________________________________________
ณัฐพร – รายงาน
มิถุนายน 2559

เชื่อว่าคนไทยทุกคนคงรู้จักทะเบียนบ้านกันเป็นอย่างดี ทะเบียนบ้านเป็นเอกสารที่ออกให้โดยสำนักงานเขตหรืออำเภอ ซึ่งจะระบุข้อมูลว่าบ้านนี้ตั้งอยู่ที่ไหน มีใครอยู่อาศัยในบ้านหลังนี้บ้าง ส่วนรูปร่างหน้าตาของทะเบียนบ้านก็มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ สมัยก่อนเป็นแผ่นกระดาษสีขาวค่อนข้างแข็ง ปัจจุบันเป็นเล่มปกสีน้ำเงิน ดูคล้ายสมุดเงินฝากธนาคาร หรือหากจะพูดกันตามภาษากฎหมายก็ต้องบอกว่า “ทะเบียนบ้าน” หมายถึง ทะเบียนประจําบ้านแต่ละบ้านซึ่งแสดงเลขประจําบ้าน และรายการของคนทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน ทางราชการจะมีตัวย่อเรียกว่า ทร. 14 ขอเรียกง่ายๆ ว่า ทะเบียนบ้านปกติ

ถ้าอย่างนั้นแล้ว ทะเบียนบ้านกลางคืออะไร เชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้จัก พอจะรู้จักหรือได้ยินเป็นครั้งแรกก็เกิดปัญหากับตัวเองเสียแล้ว อยู่ดีๆ ชื่อเราก็ไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลางได้อย่างไร แต่อย่าเพิ่งตกใจไปก่อน ที่ว่าเป็นปัญหาก็แก้ไขได้

ตามกฎหมาย “ทะเบียนบ้านกลาง” หมายความว่า ทะเบียนซึ่งผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนดให้จัดทําขึ้นสําหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้ หรือสรุปง่ายๆ ก็คือ ทะเบียนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน     แต่เป็นทะเบียนที่ใช้สำหรับใส่ชื่อคนที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปกตินั่นเอง ตัวย่อของทางราชการจะเรียกว่า ทร. 97

แล้วทำไมพวกเราที่ย้ายมาอยู่อเมริกานานนับสิบปีแล้ว ชื่อที่เคยอยู่ในทะเบียนบ้านปกติถึงหลุดไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลางได้ สาเหตุนั้นก็มีมากมายหลายประการ แต่ที่พบบ่อยก็คือ เจ้าบ้านมาแจ้งย้ายออกโดยบอกว่าท่านได้ออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นแล้ว (เกินกว่า 180 วัน) และไม่ทราบว่าไปอยู่ที่ใดหรือบางทีก็บอกว่าย้ายไปอยู่ต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนั้นทางเขตหรืออำเภอก็จำต้องย้ายชื่อท่านจากทะเบียนบ้านปกติไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลางนั่นเอง เพราะไม่รู้จะแจ้งย้ายเข้าที่ทะเบียนบ้านไหน หรือบางครั้งเจ้าของบ้านเดิมซึ่งเป็นญาติพี่น้องของท่านได้ขายบ้านหลังนั้นไปแล้ว เจ้าของบ้านคนใหม่ก็เลยไปแก้ไขทะเบียนบ้านที่เขตหรืออำเภอ แล้วก็แจ้งย้ายชื่อบุคคลที่อยู่ในรายการทะเบียนบ้านเดิมออกไป จึงเป็นเหตุให้ชื่อท่านไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง

ถามว่าเมื่อชื่อของท่านไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลางแล้วจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง คำตอบคือท่านจะเสียสิทธิบางประการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้บุคคลต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือต้องใช้ทะเบียนบ้านมาประกอบเป็นหลักฐานในการติดต่อราชการ ตัวอย่างของการเสียสิทธิที่ชัดเจนที่สุดสำหรับพวกเราที่อยู่ในอเมริกาก็คือ ไม่สามารถทำหนังสือเดินทางและต่อบัตรประจำตัวประชาชนไทยได้ รวมทั้งไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้อีกด้วย

เมื่อชื่อของท่านไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลางแล้วจึงควรรีบย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางโดยเร็ว และแจ้งขอเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านปกติของญาติพี่น้อง หรือหากไม่มีญาติพี่น้องอยู่แล้วเลยไม่รู้จะขอเพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้านไหน ท่านก็สามารถแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางไปเข้า “ทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ” ซึ่งเป็นทะเบียนบ้านชั่วคราวที่กรมการปกครองกำหนดให้แต่ละเขตหรืออำเภอจัดทำขึ้นสำหรับใส่ชื่อบุคคลที่ไปอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานานหรือไม่มีบ้านในประเทศไทย

การย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางไปเข้าทะเบียนบ้านปกติ หรือ ทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศให้ดำเนินการได้ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ตนเองมีภูมิลำเนาอยู่ โดยมี 2 วิธี คือ

  • ดำเนินการด้วยตนองที่ประเทศไทย ในกรณีผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์ ต้องให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการ
  • มอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นคำร้องขอแจ้งย้ายแทน หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถแจ้งการย้ายออกได้ด้วยตนเอง

สำหรับหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการแจ้งที่ท่านจะต้องเตรียมนั้น ประกอบด้วย

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอแจ้งย้ายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่ยินยอมให้ย้ายเข้าทะเบียนบ้านปกติ
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
  • กรณีที่จะย้ายเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ ให้ท่านแจ้งต่อ นายทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ
  • หลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับตัวบุคคลผู้ขอย้าย (กรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน) เช่น หนังสือเดินทางไทย สูติบัตรไทย ทะเบียนบ้านเดิมที่เคยมีชื่ออยู่ เป็นต้น

นายทะเบียนของเขตหรืออำเภอจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานทั้งหมดที่แสดงให้เห็นว่าผู้ขอแจ้งย้ายเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง และอาจเรียกดูเอกสารหลักฐานอื่นๆ จากท่านเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ซึ่งขอแนะนำว่าท่านควรติดต่อสอบถามกับเขตหรืออำเภอที่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ให้ชัดเจนเสียก่อนเกี่ยวกับหลักฐานที่อาจต้องนำไปแสดงเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้ไม่เสียเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่จะมอบอำนาจ

ให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทน เพราะในบางครั้งหลักฐานที่มีอยู่อาจไม่สมบูรณ์ และทางเขตหรืออำเภอมีความจำเป็นต้องขอพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลจากท่าน

ผู้ที่จะมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องไปยื่นคำร้องขอแจ้งย้ายแทนที่ประเทศไทยนั้น ท่านจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจกับสถานกงสุลใหญ่ฯ เท่านั้น โดยให้สถานกงสุลใหญ่ฯ เป็นผู้รับรองลายมือชื่อของท่านเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ ไม่เช่นนั้นแล้วเขตหรืออำเภออาจไม่ยอมดำเนินการให้

การทำหนังสือมอบอำนาจกับสถานกงสุลใหญ่ฯ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือหนังสือเดินทางไทยที่ยังไม่หมดอายุ พร้อมสำเนา 2 ชุด ไปที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (รับคำร้องเวลา 09.00 – 12.00 น. ของวันทำการ) เพื่อกรอกคำร้องนิติกรณ์และหนังสือมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ จากนั้น ชำระค่าธรรมเนียม 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อตราประทับ สถานกงสุลใหญ่ฯ จะทำการรับรองลายมือชื่อของท่าน ท่านสามารถรับเอกสารคืนได้ในวันทำการถัดไป (รับเอกสารคืนเวลา 13.00 – 16.00 น.) สรุปแล้วใช้เวลาเพียง 2 วันทำการเท่านั้น

ในกรณีที่ไม่สะดวกไปทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ท่านสามารถยื่นเรื่องได้ทางไปรษณีย์ โดยดูรายละเอียดที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiconsulatela.org (ที่แถบเมนูด้านซ้ายมือ ให้เลือกหัวข้อ “นิติกรณ์และงานทะเบียนราษฎร์” / เลือก “การรับรองลายมือชื่อในเอกสารไทย (หนังสือมอบอำนาจ)”) และเพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่าน สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้บรรจุคำร้องนิติกรณ์และแบบฟอร์ม “หนังสือมอบอำนาจสำหรับการย้ายทะเบียนบ้าน” ไว้ในเว็บไซต์ด้วยแล้ว

เมื่อรู้เช่นนี้แล้วคงไม่มีใครอยากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางเป็นแน่ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามกับสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ที่ 323 – 9629574

ที่มาข้อมูล

  1. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

หมายเหตุ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิสจัดทำบทความนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน จึงขอสงวนสิทธิ์ที่บุคคลใดจะนำไปใช้อ้างอิง

ทะเบียนบ้านกลางหมายถึงข้อใด

ทะเบียนบ้านกลาง คือ ทะเบียนที่จัดทําขึ้นเพื่อลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้ เช่น บุคคลที่ถูกเจ้าบ้านย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาตรา 13. เอกสารแนบ

ทำไมต้องย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลาง

สำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน และไม่มีบ้านในประเทศไทยแล้ว มีความเป็นไปได้ว่าอาจถูกย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านกลาง และเพื่อเป็นการรักษาสิทธิทางการเมืองและสิทธิในการขอหนังสือเดินทางของตนเอง เราสามารถทำการย้ายชื่อตนเองออกจากทะเบียนบ้านกลางได้ 2 วิธีดังนี้

ทะเบียนบ้านกลางทำบัตรประชาชนได้ไหม

สำหรับการทำบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางจะไม่สามารถทำได้ เบื้องต้นคุณจะต้องแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางก่อน หลังจากย้ายออกคุณจะได้รับเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ซึ่งใน ท.ร. 6 นั้นจะต้องมีการระบุทะเบียนบ้านที่จะย้ายชื่อ ...

การย้าย ชื่อ ออกจาก ทะเบียนบ้าน กลาง ต้อง ทํา อย่างไร

- กรณีที่บุคคลดังกล่าวจะขอแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลางสามารถยื่นคำร้องขอแจ้งย้ายออก ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง หรือจะแจ้งการย้ายออกและ ย้ายเข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ สำนักทะเบียนอันเป็นที่ตั้งของบ้านที่ผู้นั้นประสงค์จะย้ายเข้าก็ได้