ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึงอะไร

   สืบเนื่องมาจากบันทึกครั้งที่แล้วที่ได้นำเสนอความแตกต่างของคำว่า ผลผลิต  ผลกระทบ และผลลัพธ์ และวันนี้ก็มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการประเมินอีก 2 คำ คือ ประสิทธิผล (effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency)ที่มักมีการใช้กันบ่อย แต่อาจจะไม่ชัดเจนว่าแตกต่างกันอย่างไร โดย 2 คำนี้จะใช้สำหรับพิจารณาความสำเร็จของงาน โครงการ หรือกิจกรรม 

   ประสิทธิผล (effectiveness) หมายถึง การบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่พึงปรารถนาหรือเป็นไปตามที่คาดหวังไว้  พูดง่ายๆ ชัดๆ ก็คือ ประสิทธิผล พิจารณาจากการนำผลของงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่ได้รับเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย

   ประสิทธิภาพ (efficiency) หมายถึง ผลสำเร็จที่พิจารณาในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ที่มีตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความประหยัด หรือคุ้มค่า (ประหยัดต้นทุน ประหยัดทรัพยากร ประหยัดเวลา) ความทันเวลา และ มีคุณภาพ (ทั้งกระบวนการ ได้แก่ Input Process และ Output)

   การพิจารณาประสิทธิภาพนั้นจะกระทำหลังจากพิจารณาประสิทธิผล  นั่นคือ ประสิทธิภาพของงาน โครงการ หรือกิจกรรมเกิดภายหลังประสิทธิผล

   ดังนั้นหากงาน โครงการ หรือกิจกรรมไม่มีประสิทธิผลแล้ว ประสิทธิภาพก็คงไม่เกิด  

   การทำงานที่ประสบผลสำเร็จ จะต้องมีทั้งประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ

การนำทาง

      • 2. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)

2. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)

หลักประสิทธิผล   (Effective)

หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)  และหลักประสิทธิผล   (Effective)

ธรรมาภิบาล  เป็นเรื่องของการวางระบบและกลไกประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ประสิทธิผล  หมายถึง  การใช้เวลาอย่างรวดเร็วและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

แต่ยังไม่แน่ว่า  ผลที่ได้จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่

ดังนั้น  ก็หมายความว่า  ผลงานของรัฐบาลต้องเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและประเทศชาติ  และการดำเนินการนั้นต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด  เกิดผลเสียหรือผลกระทบที่น้อยที่สุด 

       การดำเนินการนั้นๆ ต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด  เกิดผลเสียหรือผลกระทบที่น้อยที่สุด  รวมทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า  และหลีกเลี่ยงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

สรุปได้ว่า

การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลนั้นต้องให้เกิดความสมดุลของประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  และความคุ้มค้า

ประสิทธิภาพ  ประกอบไปด้วย

       1. ประหยัดต้นทุน

       2. ประหยัดทรัพยากร

       3. ประหยัดเวลา

       4. เสร็จทันกำหนด

       5. ผลผลิตที่ได้ทีคุณภาพ

ประสิทธิผล  ประกอบไปด้วย

      1. ผลเป็นไปตามที่คาดมุ่งหวัง

      2. ผลเป็นไปตามวัตถุประสงค์

      3. ผลเป็นไปตามเป้าหมาย

        - ทั้งด้านเป้าหมายเชิงปริมาณ

        - และเป้าหมายเชิงคุณภาพ

หลักที่ 4 ประสิทธิผล (Effectiveness)

หลักประสิทธิผลนั้นโดยปกติแล้ว เมื่อกล่าวคู่กันไปกับหลักประสิทธิภาพโดยที่หลักประสิทธิผลนั้นจะมุ่งสู่การปฏิบัติงานที่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร เมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติราชการ ก็จะต้องมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและอยู่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางองค์การ มีกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบที่มีมาตรฐาน มีการจัดการความเสี่ยงมุ่งเน้นการปฏิบัติงานเป็นเลิศ มีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ดีขึ้นและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย

1.ความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

2.ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจ

3.กระบวนการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐาน

4.ติดตามประเมินผลและพัฒนาต่อเนื่อง

การตั้งเป้าหมายต้องตอบสนองความต้องการ/ความคาดหวังของประชาชน

เป้าหมายดังกล่าวต้องตั้งไว้อย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่เป็นนามธรรม จึงจะทำให้การปฏิบัติงานถูกต้อง ไม่เสียเวลา เสียงบประมาณที่ไม่จำเป็น

การตั้งเป้าหมายหลักประสิทธิผล ดังนี้

1.การกำหนดเป้าหมาย

- วัดได้ (Measurable)

- ทำได้ (Achievable)

- เป็นไปได้ (Reallstie)

- กำหนดได้ (Time)

- ชัดเจน (Specific)

2.การวางแผน แผนที่ดีช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดพลาดของ

- ผลงาน

                - เวลา

                - งบประมาณ

3.การเปิดเผย/โปร่งใสของการกระบวนการ

- เปิดเผยแผนงาน/กระบวนการปฏิบัติงาน

- ตรวจสอบได้

4.เป็นไปตามกฎหมาย

5.มีการประเมินความเสี่ยง

- เพื่อให้สามารถปรับปรุงข้อบกพร่องและรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ดี

การประเมินประสิทธิผล คือ การประเมินผลผลิตและผลลัพธ์  ประกอบด้วย

ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการบรรจุเป้าหมาย

- ระดับกระทรวง

- ระดับกลุ่มภารกิจ

- ระดับกรม

ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล

ตัวชี้วัดร่วมระหว่างกระทรวง

การประเมิน ผู้ดำเนินการ คือ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลราชการ การติดตามและประเมินผลนี้กับโครงการต่างๆด้วย แน่นอนว่าการดำเนินงานโครงการทุกโครงการที่ใช้งบประมาณทุกประเภท งบประมาณแผ่นดินจะต้องได้วัดการตรวจประเมิน