รถยนต์ใช้อะไรเป็นแหล่งพลังงาน

25 พ.ย. 2564   ผู้เข้าชม 16,319

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมถือเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนความก้าวหน้า ความล้ำสมัย ยานพาหนะถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทุกบ้านขาดไม่ได้ ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามา ทำให้รถยนต์มีการปรับแต่งให้ดูทันสมัย ดูก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อพัฒนาโดยอิงกับกระแสการลดโลกร้อน รักษ์โลก จึงออกมาเป็นเทคโนโลยี รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ทางเลือกใหม่ ที่ได้รับความนิยม และมีกระแสตอบรับกลับอย่างล้นหลาม เพราะช่วยลดมลพิษ และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า

ซึ่งก็มีอีกหลายคนที่ยังลังเลว่า จะซื้อรถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง หรือรถยนต์ไฟฟ้าดี ไม่ต้องกังวลกันอีกต่อไป เพราะในบทความนี้ เราจะมาเทียบความแตกต่างให้เห็นกันชัด ๆ ว่า ข้อดี - ข้อเสีย ของ รถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง และ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แตกต่างกันอย่างไร

สารบัญ

  • รถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง
    • ข้อดี
    • ข้อเสีย
  • รถยนต์ไฟฟ้า
    • ข้อดี 
    • ข้อเสีย

รถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง

รถยนต์ที่ใช้กันโดยทั่วไป ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง มีหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้ตามความต้องการของผู้ขับขี่

ข้อดี

  • สะดวกสบายในการขับขี่ระยะทางไกล มีสถานีให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่หลายจุด น้ำมันใกล้หมดเมื่อไหร่ หาที่เติมน้ำมันได้ง่าย ขึ้นเหนือ ล่องใต้ได้สบายมาก
  • เมื่ออะไหล่เกิดการชำรุดหรือสึกหรอ มีให้เลือกเปลี่ยนได้หลากหลายยี่ห้อ หลากหลายราคา

ข้อเสีย

  • เครื่องยนต์แต่ละรุ่น แต่ละขนาด มีอัตราในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน และยิ่งถ้าเป็นเครื่องยนต์เก่าหากดูแลรักษาไม่ดีมีอัตราในการเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงสูง และปล่อยก๊าซไอเสียส่งผลให้เกิดมลพิษตามมา 
  • เครื่องยนต์รุ่นเก่า อาจเกิดปัญหาเครื่องกระชากขณะเร่งเครื่อง และส่งผลให้เกิดเสียงดัง

รถยนต์ใช้อะไรเป็นแหล่งพลังงาน

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า

เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ไม่ใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง

ข้อดี 

  • ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ที่บ้าน หรือสถานีบริการน้ำมันที่ให้บริการ
  • ประหยัดค่าน้ำมัน หากเทียบให้เห็นภาพ รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จสูงสุดที่ 11 kW แบตเตอรี่จุได้ 60 kW ใน 1 ชั่วโมง จะสามารถชาร์จได้ 11 kW ถ้าต้องการชาร์จเต็ม 60 kW ต้องใช้เวลาถึง 5-6 ชั่วโมง
  • สมมติว่า ไฟฟ้า 1 หน่วย = 1 kW หน่วยละ 3 บาท ชาร์จไฟ 6 ชั่วโมง จะเท่ากับ 11x3x6 = 198 บาท ซึ่งสามารถขับได้ 300-350 กิโลเมตร ประมาณ 1.5 บาท/กิโลเมตร ซึ่งราคาของน้ำมันจะอยู่ที่ 3-5 บาท/กิโลเมตร เมื่อเทียบดูแล้ว การชาร์จด้วยไฟฟ้า จะประหยัดเงินได้มากกว่า
  • ลดก๊าซพิษ และไอเสียจากเครื่องยนต์ เพราะขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
  • ใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้การขับขี่เบา เงียบ ขับได้สบาย ๆ ไม่มีเสียงเครื่องยนต์มารบกวน
  • ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน และออกตัวได้ดีกว่าเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง

ข้อเสีย

  • สถานีให้บริการชาร์จไฟฟ้า มีจุดให้บริการยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ไม่สะดวกสบายหากต้องเดินทางในระยะไกล
  • ใช้เวลาในการชาร์จค่อนข้างนานพอสมควรขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่
  • ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าค่อนข้างสูง หากเทียบกับรถยนต์ในท้องตลาดทั่วไป เพราะมาพร้อมเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย จึงมีราคาที่สูงขึ้นไปด้วย
  • ระยะการขับสั้นกว่า ต้องดูว่าขนาดความจุของแบตเตอรี่นั้นเพียงพอต่อการเดินทางหรือไม่ ส่วนมากความจุแบตเตอรี่จะอยู่ที่ 60-90 kW ซึ่งจะวิ่งได้สูงสุด 300-600 กิโลเมตร/การชาร์จ 1 ครั้ง ควรคำนวณระยะการเดินทางให้ดี หากต้องขับขี่ในระยะไกล
  • เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ จึงมีอะไหล่ให้เลือกเปลี่ยนไม่หลากหลาย และมีราคาที่ค่อนข้างสูง 

ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง หรือรถยนต์ไฟฟ้า ต่างก็มีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ การใช้งานของผู้ใช้รถนั้นเน้นจุดใดเป็นสำคัญ หากเน้นการขับขี่ในระยะทางใกล้ ๆ ประหยัดค่าใช้จ่าย รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แต่หากเน้นการขับขี่ทางไกล และคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็ว รถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า และคุ้มค่ามากกว่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รถยนต์ใช้อะไรเป็นแหล่งพลังงาน

รถยนต์อัจฉริยะขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากกำลังชาร์จพลังงานที่สถานีข้างถนน

รถพลังงานไฟฟ้า (อังกฤษ: electric car) คือรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าโดยใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเก็บอยู่ในแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าแบบอื่นๆ และด้วยข้อดีของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ให้แรงบิดได้ทันทีทำให้รถพลังงานไฟฟ้ามีอัตราเร่งที่เรียบและรวดเร็ว

รถพลังงานไฟฟ้ารุ่นแรก ๆ ปรากฏในคริสต์ทศวรรษ 1880[1] รถพลังงานไฟฟ้าเคยได้รับความนิยมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 20 จนกระทั่งความก้าวหน้าเกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน และการผลิตยานพาหนะเป็นจำนวนมาก จะทำให้การใช้ยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าลดน้อยลง วิกฤตพลังงานในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 ทำให้เกิดความสนใจในรถพลังงานไฟฟ้าในช่วงสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง แม้ว่า รถยนต์เหล่านั้นจะไม่สามารถแตะขั้นตลาดหลัก แต่สามารถทำได้ในศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่ ค.ศ. 2008 การฟื้นฟูการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้เกิดขึ้น เนื่องจากแบตเตอรี่และการจัดการพลังงานมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก การขึ้นราคาของน้ำมัน และความต้องการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก[2][3] รัฐบาลในหลายประเทศได้ออกเครดิตภาษี เงินสนับสนุน และสิ่งจูงใจอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการเปิดตัวและประยุกต์ใช้ในตลาดหลักของยานพาหนะพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ โดยขึ้นกับขนาดของแบตเตอรี่ และพิสัยของการใช้ไฟฟ้าล้วนของตัวรถยนต์

ข้อดีของรถพลังงานไฟฟ้าที่เหนือกว่าเครื่องยนต์สันดาปภายในรวมถึงการลดการใช้มลพิษทางอากาศ เพราะมันไม่ปล่อยไอเสียมาจากท่อไอเสีย[4] ในหลายกรณี การลดแก๊สเรือนกระจกโดยรวมเป็นจำนวนมากและการปล่อยควัน (ขึ้นกับเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า[2][3]) และใช้น้ำมันน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้คำนึงถึงราคาน้ำมันอ่อนตัวและอุปทานหยุดชะงักในหลายประเทศ[2][5][6] แต่การประยุกต์ใช้รถพลังงานไฟฟ้าอย่างแพร่หลายต้องประสบกับอุปสรรคและข้อจำกัดมากมาย เช่น ราคาที่สูงกว่า ขาดโครงสร้างพื้นฐานสำหรับชาร์จพลังงาน (นอกจากการชาร์จตามที่อยู่อาศัย) และความกังวลพิสัย (ความกลัวที่เกิดในคนขับว่าพลังงานไฟฟ้าที่เก็บในแบตเตอรี่จะหมดก่อนจะถึงที่หมาย เนื่องจากพิสัยที่มีจำกัดในรถพลังงานไฟฟ้า) [2][3]

จนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 การผลิตรถโดยสารและรถตู้พลังงานไฟฟ้าที่วิ่งบนทางด่วนได้แบบจำนวนมากในตลาดมีจำกัดอยู่เพียง 25 รุ่น ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ประเทศในยุโรปตะวันตก และจีน ยอดขายของรถพลังงานไฟฟ้าในปี ค.ศ. 2012 นำโดยญี่ปุ่นซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 28% จากยอดขายทั่วโลก ตามด้วยสหรัฐอเมริกาที่ 26% จีน 16% ฝรั่งเศส 11% และนอร์เวย์ 7%[7] รถพลังงานไฟฟ้าที่วิ่งบนทางด่วนได้ที่ขายดีที่สุดในโลกคือนิสสัน ลีฟ ออกจำหน่ายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 และขายใน 35 ประเทศ ด้วยยอดขายมากกว่า 130,000 คัน นับจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014[8][9]

ประวัติ[แก้]

    การคิดค้น เริ่มจากแบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟใหม่ได้ ในรถไฟฟ้า คิดค้นได้หลังปี 1859 ค้นคิดโดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส Gaston Plante ได้คิดค้นแบตเตอรี่ชนิด ตะกั่ว-กรด

    ต่อมาปี 1884 นาย Thomas Parker ได้คิดค้นรถไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เขาได้ออกแบบ แบตเตอรี่ที่มีความจุไฟฟ้าสูง สำหรับใช้ในรถไฟฟ้าของเขา นอกจากนั้นเขาได้สนใจในการสร้างรถที่มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงสูง เพื่อลดควันและมลพิษในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

    นอกจากนี้ในปี 1888 ก็ยังมีผู้คิดค้นชาวเยอรมัน Flocken Elecktrowagen ได้คิดค้นรถไฟฟ้า

    รูปรถไฟฟ้าคันแรกที่คิดค้นโดยนาย Thomas Parker ในปี 1884

    ในยุครุ่งเรือง รถไฟฟ้าได้รับความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ในสมัยนั้นยานพานะที่มีต้นกำลังเป็นไฟฟ้าได้รับความนิยมเร็วกว่าต้นกำลังอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรถลากและรถรางไฟฟ้ากันมากรวมไปถึงยานพาหนะส่วนตัวด้วย มีผู้ผลิตรถไฟฟ้ารายใหม่เกิดขึ้นมากมาย เพราะรถไฟฟ้าได้รับความนิยมอย่างสูงโดยเฉพาะในแวดวงไฮโซ ขณะที่มีการห้ำหั่นกันในเชิงธุรกิจของผู้ผลิตรถไฟฟ้าอยู่นั้น ที่ประเทศเยอรมนี นาย Karl Benz ได้สร้างรถสามล้อ เครื่องยนต์เบนซินขึ้นมาอย่างเงียบๆในปี ค.ศ. 1885 และเป็นคลื่นใต้น้ำที่กำลังจะออกเดินทางไปกระแทก ให้ รถไฟฟ้าที่กำลังได้รับความ นิยมอยู่ให้หมดไป

    เปรียบเทียบกับรถยนต์ทั่วไปภายใน[แก้]

    ราคา[แก้]

    ราคาของรถพลังงานไฟฟ้ามีราคาสูงกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ถึงแม้ว่าจะมีแรงจูงใจจากรัฐบาลในหลายประเทศ เหตุผลหลักคือราคาต้นทุนที่สูงของแบตเตอรี่ จากการสำรวจของ Nielsen สำหรับ Financial Times ในปี ค.ศ.2010 พบว่าผู้ซื้อรถชาวอเมริกันจำนวน 65% และผู้ซื้อรถชาวอังกฤษประมาณ 76% ไม่ยินดีที่จะจ่ายเงินจำนวนที่มากกว่าสำหรับรถพลังงานไฟฟ้าเมื่อเทียบกับราคาของรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน

    บริษัทผลิตรถพลังงานไฟฟ้า Tesla Motors ได้ใช้แบตเตอรี่ขนาด laptop สำหรับรถพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีราคาถูกกว่าประมาณ 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ของผู้ผลิตรายอื่น

    อนึ่ง รถยนต์ประหยัดพลังงานประเภท Hybrid Electric Car, Fuel Cell Powered Car, และ Electric Powered Car เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10[10]

    ค่าใช้จ่าย และการดูแลรักษา[แก้]

    รถยนต์ใช้อะไรเป็นแหล่งพลังงาน

    รถพลังงานไฟฟ้า Tesla Roadster เปิดตัวในปี 2008 มีระยะการวิ่งต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้งที่ 244 mi (393 km) และหยุดการผลิตเมื่อปี 2011

    อาจกล่าวได้ว่าค่าใช้จ่ายของการใช้งานรถพลังงานไฟฟ้าคือค่าการดูแลรักษาแบตเตอรี่ รวมไปถึงการเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อจำเป็น เนื่องจากมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในรถพลังงานไฟฟ้านั้นมีราวๆ 5 ชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวเปรียบเทียบกับเป็นร้อยชิ้นส่วนของเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่ในทางกลับกันรถพลังงานไฟฟ้าก็ต้องใช้แบตเตอรี่ซึ่งมีราคาแพงและจำเป็นต้องเปลี่ยนเมื่อถึงเวลา แต่หากไม่นับค่าดูแลรักษาแบตเตอรี่แล้วก็ถือได้ว่ารถพลังงานไฟฟ้า (แบบใช้แบตเตอรี่ลิเทียม) มีค่าดูแลรักษาที่ต่ำมาก

    การคำนวณค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตรของรถพลังงานไฟฟ้านั้นมีความจำเป็นที่จะต้องรวมส่วนของค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแบตเตอรี่เข้าไปด้วย ซึ่งทำให้การคำนวณยากและซับซ้อนขึ้นมากเนื่องจากแบตเตอรี่นั้นจะมีความจุน้อยลงเล็กน้อยทุกครั้งที่ได้รับการชาร์จไฟเข้าไปใหม่ และอายุของแบตเตอรี่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะรับไม่ได้กับความจุที่น้อยลงของแบตเตอรี่ได้เมื่อไหร่ แต่ถึงอย่างไรแบตเตอรี่ที่หมดอายุแล้วก็ไม่ได้ไร้ค่าเสียทีเดียวเพราะว่ายังสามารถนำมารีไซเคิล หรือนำมาเป็นแบตเตอรี่สำรองได้

    ระยะวิ่ง และเวลาในการชาร์จไฟ[แก้]

    รถยนต์ที่ใช้น้ำมันแม้น้ำมันหมดก็สามารถหาเติมได้ไม่ยากประกอบกับใช้เวลาเติมไม่มากดังนั้นขนาดของถังน้ำมันและระยะการวิ่งของรถยนต์ต่อน้ำมันหนึ่งถังนั้นไม่ได้มีความสำคัญมากนัก แต่ต่างกับรถพลังงานไฟฟ้าที่เสียเวลาในการชาร์จไฟนานและสถานีชาร์จไฟก็ไม่ทั่วถึงไม่ครอบคลุมอย่างปั๊มน้ำมันดังนั้นกลุ่มเป้าหมายของรถพลังงานไฟฟ้าจะไปจับอยู่ที่คนเมืองที่ขับรถวันต่อวันมากกว่าเพราะว่าสามารถนำรถกลับมาชาร์จไฟที่บ้านได้วันต่อวัน

    รถพลังไฟฟ้า Tesla Roadster วิ่งได้ 244 mi (393 km) ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง[ต้องการอ้างอิง] มากกว่ารถพลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่มีอยู่ตลาดกว่าครึ่ง และชาร์จให้เต็มหนึ่งครั้งก็ต้องใช้เวลาประมาณ 3.5 ชั่วโมง จากเต้าเสียบ 220 โวลต์​ 70 แอมป์ที่สามารถติดตั้งตามบ้านได้[ต้องการอ้างอิง]

    วิธีที่จะ "ทำแบตเตอรี่ให้เต็ม" รวดเร็วกว่าการชาร์จปกติก็คือ การสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ วิธีการก็คือเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่อยู่ในรถกับแบตเตอรี่ที่ถูกชาร์จให้เต็มไว้ก่อนแล้วที่สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยขั้นตอนดังกล่าวใช้เวลาเพียง 59.1 วินาทีเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง] เร็วกว่าปลอดภัยกว่าการเติมน้ำมันจากปั๊มน้ำมันเสียอีก แต่สถานีลักษณะนี้จะต้องมีการลงทุนมหาศาลเนื่องจากต้องมีแบตเตอรี่สำรองไว้จำนวนมาก

    อีกวิธีหนึ่งก็คือการติดตั้งระบบชาร์จไฟกระแสตรงแบบเร็วซึ่งอาศัยไฟฟ้าสามเฟส ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่สำหรับการวิ่ง 100 ไมล์ถึง 80% ในเวลาเพียง 30 นาที[ต้องการอ้างอิง] โดยที่ระบบดังกล่าวกำลังจะถูกติดตั้งให้ครอบคลุมทั้งสหรัฐอเมริกาในปี 2013[ต้องการอ้างอิง]

    ความปลอดภัย[แก้]

    รถไฟฟ้า มิตซูบิชิ ไอมีฟ (i-MiEV) มีระบบตรวจจับการรั่วไหลไฟฟ้าภายในรถเพราะถึงแม้ว่าแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนมีกำลังมากถึง 330 โวลต์ ซึ่งหากตรวจพบว่ากระแสไฟฟ้าเกินหรือเกิดการผิดปกติเครื่องจะหยุดทำงาน ต้องเรียกช่างผู้ชำนาญการจากทางบริษัทมาตรวจสอบเท่านั้น ในส่วนของหน้าจอแสดงผลจะมีการประเมิน และคำนวณอัตราเร่งกับกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่ซึ่งเป็นตัวช่วยให้เราสามารถวางแผนการเดินทางได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นผู้ผลิตได้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบสามจุด พร้อมติดตั้งระบบเบรกและระบบป้องกันล้อล็อกตาย ABS (Anti-lock braking system) พร้อมติดตั้ง ถุงลมนิรภัย (AirBag) เหมือนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นพลังงาน โดยสามารถขับลุยน้ำได้ที่ความสูงระดับ 30 เซนติเมตรอย่างปลอดภัย

    Chevrolet เคยนำรถ Chevrolet Volt รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสุดแรงมาวิ่งทดสอบบนพื้นน้ำที่เตรียมไว้ให้สูงเกือบครึ่งคันรถ ซึ่งผลก็คือ รถสามารถวิ่งได้ตามปกติ แถมยังไม่เกิดการลัดวงจรใด ๆ อีกด้วย

    ดูเพิ่ม[แก้]

    • รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า

    อ้างอิง[แก้]

    1. Roth, Hans (March 2011). Das erste vierrädrige Elektroauto der Welt [The first four-wheeled electric car in the world] (ภาษาเยอรมัน). pp. 2–3.
    2. ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Sperling, Daniel; Gordon, Deborah (2009). Two billion cars: driving toward sustainability. Oxford University Press. pp. 22–26. ISBN 978-0-19-537664-7.
    3. ↑ 3.0 3.1 3.2 David B. Sandalow, บ.ก. (2009). Plug-In Electric Vehicles: What Role for Washington? (1st. ed.). The Brookings Institution. pp. 1–6. ISBN 978-0-8157-0305-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-28. สืบค้นเมื่อ 2014-10-11.See Introduction
    4. "Electro Automotive: FAQ on Electric Car Efficiency & Pollution". Electroauto.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-01. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.
    5. Mitchell, William J.; Borroni-Bird, Christopher; Burns, Lawrence D. (2010). Reinventing the Automobile: Personal Urban Mobility for the 21st Century (1st. ed.). The MIT Press. pp. 85–95. ISBN 978-0-262-01382-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-09. สืบค้นเมื่อ 2013-07-21. See Chapter 5: Clean Smart Energy Supply.
    6. R. James Woolsey and Chelsea Sexton (2009). David B. Sandalow (บ.ก.). Chapter 1: Geopolitical Implications of Plug-in Vehicles (1st ed.). The Brookings Institution. pp. 11–21. ISBN 978-0-8157-0305-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-28. สืบค้นเมื่อ 2014-10-11. in "Plug-in Electric Vehicles: What Role for Washington?" เก็บถาวร 2019-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    7. International Energy Agency, Clean Energy Ministerial, and Electric Vehicles Initiative (April 2013). "Global EV Outlook 2013 - Understanding the Electric Vehicle Landscape to 2020" (PDF). International Energy Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-23. สืบค้นเมื่อ 2013-04-20.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) See pp. 11-12.
    8. Faye Sunderland (2014-08-27). "Nissan LEAF arrives in Puerto Rico for first time". The Green Car Website UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-01. สืบค้นเมื่อ 2014-08-27.
    9. Guinness World Records (2012). "Best-selling electric car". Guinness World Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-16. สืบค้นเมื่อ 2013-01-22. The Leaf surpassed the Mitsubishi i MiEV as the best selling all-electric car in history in 2011.
    10. http://bta.excise.go.th/rate_tax_car.php?rate_id=0002

    รถยนต์ใช้พลังงานอะไรบ้าง

    ระบบเชื้อเพลิง และน้ำมัน.
    1. น้ำมันเบนซิน.
    2. น้ำมันดีเซล.
    3. ก๊าซธรรมชาติ (LPG).
    4.ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV).
    รถยนต์พลังงานไฮบริด.

    รถยนนต์จะใช้แหล่งพลังงานใด

    รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่ใช้แหล่งพลังงานที่มาจากไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่เก็บที่แบตเตอรี่รถยนต์ มาใช้เป็นแหล่งพลังงานแทนน้ำมัน ซึ่งโดยปรกติ รถยนต์จะใช้พลังงานจากน้ำมัน แต่รถยนต์ไฟฟ้าจะใช้พลังงานจากไฟฟ้าในการขับเคลือน มีนักวิทยาศาสตร์ ได้ออกมาคาดการณ์ว่า ในอนาคตพลังงานจากฟอสซิ่ว หรือ น้ำมันจะหมดไปจากโลก เพราะมีการใช้ ...

    รถยนต์ใช้พลังงานจากอะไรในการขับเคลื่อน

    พลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนจะมาจากเครื่องยนต์ โดยส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนรูปจากพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเจเนอเรเตอร์ไปยังมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับชุดอุปกรณ์ส่งถ่ายกำลังเพื่อไปขับเคลื่อนล้อรถ และนอกจากนี้ยังมีพลังงานเพิ่มเติมที่ใช้ในการขับเคลื่อนจากแบตเตอรี่อีกทางหนึ่ง

    รถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานจากอะไร

    รถยนต์พลังงานไฟฟ้าใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สู่มอเตอร์เพื่อทำการขับเคลื่อน โดยที่ไม่ได้ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในจึงไม่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ ทำให้เสียงของการทำงานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้นเงียบกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหลายเท่า และสามารถทำให้มีอัตราเร่งเป็นอย่างที่ใจต้องการ เพราะไม่มีขั้นตอนการทดเกียร์อีกต่อไป จึง ...