วันวิสาขบูชาแสดงธรรมเรื่องอะไร

วันวิสาขบูชา มีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งโดยเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เกิดขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ทั้ง 3 คราวในวันนี้ โดยคำว่า “วิสาขบูชา” แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ซึ่งนับเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เหตุการณ์บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งหมด แม้จะมีระยะเวลาห่างกันนานหลายสิบปีก็ตาม และเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก

วันวิสาขบูชาแสดงธรรมเรื่องอะไร
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พุทธเจ้าได้ทรง ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

ประวัติวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

ได้ปรากฏตามหลักฐานว่าครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีเมื่อประมาณพุทธศักราช ๔๒๐ ซึ่งสมัยนั้นสุโขทัยกับประเทศลังกาใกล้ชิดกันมากโดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนา โดยพระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ท่านทรงประกอบพิธีวิสาขบูชาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาอย่างยิ่งใหญ่ และหลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น กษัตริย์แห่งกรุงลังกาองค์ถัดมาก็ได้ถือประเพณีปฎิบัติสืบต่อกันมา

และเมื่อถึงวันวิสาขบูชาชาวสุโขทัยทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลจะพร้อมใจกันประดับตกแต่งพระนครด้วยเครื่องหอมและดอกไม้ จุดโคมประทีป ขณะที่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงค์จะทรงศีล บำเพ็ญพระราชกุศล และประกอบพิธีทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน

สรุปวันวิสาชบูชาหมายถึง

1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้รับการถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” แปลว่า “สมปรารถนา”
2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี เจ้าชายสิทธัตถะก็ได้ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน หลังจากตรัสรู้แล้วท่านใช้เวลา 45 ปีทรงแสดงธรรม จนเมื่อมีพระชนมายุได้ 80 พรรษาพระองค์ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ ป่าสาละ โดยพระองค์ทรงประทานโอวาทครั้งสุดท้ายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

วันวิสาขบูชาแสดงธรรมเรื่องอะไร
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6

พิธีการสำคัญในวันวิสาขบูชา

1. พิธีหลวง กล่าวคือ เป็นพระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงค์
2. พิธีราษฎร์ กล่าวคือ พิธีของประชาชนทั่วไป
3. พิธีของพระสงฆ์ กล่าวคือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

กิจกรรมในวันวิสาขบูชา

1. ตักบาตร กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับและเจ้ากรรมนายเวร
2. ทำบุญถวายภัตตาหาร ถวายสังฆทานที่วัดใกล้บ้าน พร้อมตั้งใจฟังธรรมเทศนา
3. สร้างบุญกุศลด้วยการปล่อยนกปล่อยปลา
4. ร่วมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
5. ร่วมพิธีเวียนเทียนรอบอุโบสถในเวลาค่ำ

วันวิสาขบูชาแสดงธรรมเรื่องอะไร
ตักบาตรพระสงฆ์

[advanced_iframe iframe_hide_elements=”header,footer,#filterWrapper,.bread” src=”https://www.shopat24.com/supermarket/merit-and-gift-set/?show=all&filter.from_PRICE=503&filter.to_PRICE=554&sortBy=si&filter.initial_from_PRICE=35&filter.initial_to_PRICE=2490&view=6/&utm_source=blog&utm_medium=iframe” change_iframe_links=”a” change_iframe_links_target=”_blank”]

สำหรับวันวิสาขบูชา ปี 2564 นี้ จะตรงกับวันพุธที่ 26 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ โดยในปีนี้เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังทวีความรุนแรง ทางกรมการศาสนาได้จัดกิจกรรมวันวิสาขบูชา 2564 ตามแนววิถีใหม่ โดยเปิดให้ประชาชนร่วมเวียนเทียนออนไลน์ในโครงการ “อยู่บ้าน สร้างบุญ” ผู้ที่สนใจสามารถรับฟังคติธรรม ข้อคิด หลักธรรมคำสอน และร่วมเขียนปณิธานความดีถวายเป็นพุทธบูชาได้ผ่านทาง www.เวียนเทียนออนไลน์.com



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED

วันวิสาขบูชา (Vesak Day) ได้ถูกรับรองให้เป็น “วันสำคัญสากล” ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 55 พ.ศ.2542 โดยได้รับการรับรองจาก 16 ประเทศ คือ ศรีลังกา บังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครน

ในที่ประชุม นายวรวีร์ วีรสัมพันธ์ อุปทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงตอนหนึ่งว่า "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน..”

ประวัติวันวิสาบูชาในประเทศไทย มีระบุหลักฐานเป็นบันทึกของคนรุ่นก่อนที่กล่าวถึง “วันวิสาขบูชา” ว่าเป็นประเพณีที่กษัตริย์ได้เป็นผู้นำพุทธศาสนิกชน มาร่วมประกอบพิธีกรรม และบำเพ็ญกุศลในวันวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และสมัยรัตนโกสินทร์มีระบุพระราชพิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) จัดพระราชพิธีเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เริ่มตั้งแต่ ขึ้น 14 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู นพศก ราว พ.ศ. 1360

วันวิสาขบูชา คือ การบูชาวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ที่เวียนมาบรรจบในทุกๆ ปี เพื่อรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญ เกิดขึ้นตรงกับวันเดียวกัน แต่คนละปี ดังนี้

ประสูติ 81 ปี ก่อนพุทธศักราช :
พระนางสิริมหามายามีพระประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะ ที่รอยต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และเทวหะ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถือเป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า

ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา :
เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชได้ 6 ปี ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประเทศมคธ ปัจจุบันคือที่ตั้งพุทธคยา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น ยามต้นทรงระลึกชาติได้ทั้งหมดทั้งของตนเองและผู้อื่น ยามสอง ทรงบรรลุรู้แจ้งเห็นการเกิดและการดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และยามสาม ทรงได้ตรัสรู้พบหลักธรรมกำจัดกิเลส ด้วย อริยสัจ 4

ในทุกวันครั้งที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ทรงปฏิบัติพุทธกิจ 5 ประการ ตลอดทั้งวัน ได้แก่

ตอนเช้า - เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์เพื่อสนทนาแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดและส่งเสริมให้ปฏิบัติชอบ
ตอนบ่าย - ทรงแสดงธรรมแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ
ตอนเย็น - ทรงแสดงโอวาทแก่ภิกษุ ที่ประจำอยู่สถานที่นั้น
ตอนเที่ยงคืน - ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาแก่เทวดา หรือเทพ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ
ตอนเช้ามืด - ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด เพื่อไปบิณฑบาตในช่วงเช้า


พระพุทธเจ้าปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา :
ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ขณะพระชนมายุ 80 พรรษา ทรงประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี ระหว่างนั้นทรงประชวร และขณะเดินทางไปยังเมืองกุสินารา ทรงประทับ ณ ป่าสาละ ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และได้กล่าวปัจฉิมโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เฝ้าว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

หลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชา

“อริยสัจ 4” เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าค้นพบวิธีการดับทุกข์ โดยมีความหมายว่าความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นอริยะ มีอยู่ 4 ข้อ ได้แก่

  • ทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก
  • สมุทัย เหตุแห่งการเกิดทุกข์
  • นิโรธ การดับทุกข์
  • มรรค สาเหตุของการเกิดทุกข์ 8 ประการ

“กตัญญูกตเวทิตาธรรม” เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วทรงเสด็จขึ้นไปแสดงธรรมให้แก่พระมารดาบนสวรรค์ พระมารดาจึงบรรลุพระโสดาปัตติผล และทรงเดินทางไปแสดงธรรมแก่พระบิดาบรรลุโสดาปัตติผล และในช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนพระเจ้าสุทโธทนะสวรรคต พระองค์ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าอีกครั้งจนได้บรรลุพระอรหัตผล

ประเทศที่กำหนดให้วันวิชาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หลายประเทศทั้งนิกายมหายาน และเถรวาทที่จัดพิธีกรรมศาสนาวันวิสาขบูชาจึงกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ ได้แก่

  • อินเดีย
  • ไทย
  • เมียนมา
  • ศรีลังกา
  • สิงคโปร์
  • อินโดนีเซีย

กิจกรรมวันวิสาขบูชาของชาวพุทธ

กิจกรรมวันวิสาขบูชาของชาวพุทธในประเทศไทย และทั่วโลก แบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่ พิธีหลวง (พระราชพิธี), พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชน) และ พิธีสงฆ์ โดยช่วงเช้าของวันวิสาขบูชาพุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรมในช่วงบ่าย และเข้าวัดเวียนเทียนรอบอุโบสถ เพื่อรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อพระพุทธศาสนา

และเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 พิธีวิสาขบูชาของสำนักพระราชวังและภาครัฐจะจัดเป็นการภายใน ส่วนประชาชนมีคำแนะนำจากมหาเถรสมาคมงดกิจกรรม "เวียนเทียน" ที่วัด และแนะนำให้ปฏิบัติศาสนกิจพร้อมพระสงฆ์ที่บ้านแทน ทั้งวัดไทยและต่างประเทศ