พนักงานเมเจอร์ ทําอะไรบ้าง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 บริษัทฯ มีพนักงานจำนวน 1,203 คน เพื่อรองรับการให้บริการสำหรับลูกค้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่งและคาราโอเกะ สื่อโฆษณา พื้นที่เช่าและบริการ รวมถึงธุรกิจสื่อภาพยนตร์ โดยในปี 2564 บริษัทได้เพิ่มจำนวนสาขาอีก 6 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด ตลอดจนประเทศในกลุ่ม CLMV เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกมากขึ้น

สายธุรกิจหลักจำนวนพนักงานสำนักงานใหญ่253โรงภาพยนตร์637โบว์ลิ่ง161ขายโฆษณา33ขายพื้นที่เช้าและศูนย์การค้า83รวมจำนวนพนักงาน1,203

* ไม่รวมลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมง

อัตราการลาออก ปี 2560-2564

ปี25602561256225632564อัตราการลาออก (ร้อยละ)2.101.621.391.291.28

* ไม่รวมลูกจ้างชั่วคราว

1. บริษัทฯ ได้มีการกำหนดให้มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจของบริษัทตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารและพนักงานทุกคน

2. บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบายในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร โดยยึดหลักความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมกับตำแหน่งงานโดยไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ศาสนา รวมไปถึงให้การสนับสนุนการจ้างคนพิการเข้าร่วมงานกับทางบริษัทฯ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 บริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยมีมาตรา 33 กำหนดให้สถานประกอบการหรือหน่วยงานต้องจ้างงานคนพิการในอัตราส่วน 100 : 1 เช่น ถ้าบริษัทมีพนักงาน 100 คน ก็ให้จ้างงานคนพิการ 1 คน หากผู้ประกอบการไม่สะดวกจ้าง ก็ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปีตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 34 หากผู้ประกอบการไม่ทำตามมาตรา 33 และ 34 ก็สามารถทำตามมาตรา 35 คือ ให้สถานที่ทำงาน ฝึกอบรมคนพิการ หรือให้การจ้างงานในลักษณะเหมาจ้างหรือเหมาบริการ

ดังนั้น บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) จึงได้มีการจัดจ้างคนพิการ ตามมาตรา 33 จำนวน 2 คน และ ดำเนินการขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 แบ่งเป็น การจ้างเหมาบริการ จำนวน 10 คน และ การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จำนวน 6 คน, บริษัท อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จํากัด (มหาชน) ได้มีการจัดจ้างคนพิการ ตามมาตรา 33 จำนวน 2 คน และ ดำเนินการขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 เป็นการจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จำนวน 3 คน, และ บริษัท เมเจอร์ โบว์ล กรุ้ป จำกัด ได้มีการจัดจ้างคนพิการ ตามมาตรา 33 จำนวน 4 คน ตามลำดับ

ในปี 2564 ที่ผ่านมาบริษัทฯ ให้ความสำคัญด้านการสรรหา คัดเลือกบุคลากรในรูปแบบการสร้าง Employer Branding เพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้สมัครงานรู้จักองค์กรมากขึ้นกว่าการเป็นโรงภาพยนตร์เพียงอย่างเดียว ผ่านสื่อในช่องทางต่างๆ ซึ่งจะช่วยทำให้คนทั่วไปรู้จักองค์กร และทราบว่าองค์กรน่าทำงานด้วยมากน้อยแค่ไหน จะทำให้องค์กรเป็นที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวาง สร้างเครือข่ายพนักงาน รวมถึงนักเรียน นักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อาจกลายมาเป็นผู้สมัครงานในบริษัทได้ในอนาคต โดยการนำเสนอธุรกิจที่เป็นเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์แบบครบวงจรตั้งแต่ดูแลการเขียนบท ผู้สร้างภาพยนตร์ และการจัดจำหน่ายทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน การนำเสนอและสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้สมัครในด้าน Digital และ Technology ซึ่งองค์กรได้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเติมเต็มในการให้บริการที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการขายตั๋วผ่านตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ หรือ E Ticket มาถึง Mobile Ticket โดยการซื้อตั๋วชมภาพยนตร์ผ่านแอปของเมเจอร์ รวมถึงการพัฒนานำเทคโนโลยีมาใช้ในโรงหนัง อาทิ โรงไอแมกซ์ จอยักษ์ 3 มิติ , โรง4DX , โรง Screen X เป็นต้น ที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น Movie Experience ที่องค์กรจะต้องพัฒนาและประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรับรู้อย่างต่อเนื่อง

ด้านการคัดเลือกบุคลากรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการคัดเลือก โดยการนำ Rules of Success เข้ามาปรับใช้ โดยการปรับเปลี่ยนข้อคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์และการทำกิจกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการคัดเลือกผู้สมัครให้ตรงตามความต้องการขององค์กร และของหน่วยงานนั้น ๆ มากขึ้น และปรับเปลี่ยนกระบวนการ On-boarding รวมถึงระบบพี่เลี้ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่พนักงานใหม่ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงาน เพราะมีผลต่อการปรับตัวเข้ากับองค์กร เพื่อให้เข้าใจการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กรได้เร็วขึ้น ยิ่งส่งผลทำให้เขาสามารถทำงานได้อย่างไม่กังวล และมีผลงานที่มีคุณภาพได้เร็วตามไปด้วย ทั้งองค์กรและตัวพนักงานเองต่างก็ได้รับประโยชน์ร่วมกัน การเน้นย้ำและการสร้างระบบพี่เลี้ยงให้เกิดขึ้นส่งผลให้พนักงานที่ได้รับการดูแลจนแข็งแรง ก็เป็นผลผลิตของความกระบวนการที่แข็งแรง ถ่ายทอดไปยังรุ่นสู่รุ่น ในแบบที่ตนเองเคยได้รับการดูแล ปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจกันระหว่างพนักงานกับพนักงาน พนักงานกับหัวหน้า หรือแม้กระทั่งพนักงานกับองค์กร ก็จะไม่เกิดขึ้น

นอกจากนี้มีการทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาโครงการนักศึกษาฝึกงาน ทั้งโครงการสหกิจศึกษาสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี และโครงการทวิภาคีสำหรับนักศึกษาอาชีวะ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้การฝึกงานผ่านการทำงานจริงตลอดระยะเวลาในการฝึกงาน และยังเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานจริงในอนาคตอย่างมีคุณภาพ ด้วยหลักสูตรที่มีการร่วมมือกับทางสถาบันการศึกษา เพื่อออกแบบให้เหมาะสมกับการทำงานและเป็นไปตามหลักสูตรที่ทางสถาบันได้กำหนดไว้ โดยในปี 2564 ที่ผ่านมามีนักศึกษาเข้าร่วมฝึกงานกับองค์กรตลอดทั้งปีเป็นจำนวน 335 คน โดยแบ่งเป็นโครงการทวิภาคี จำนวน 94 คน และโครงการสหกิจศึกษา จำนวน 241 คน ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้ยังเป็นกำลังสำคัญให้กับองค์กรเป็นกลุ่ม Talent Pool ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำและได้รับโอกาสในการปรับเป็นหัวหน้างานที่ร่วมเติบโตไปกับองค์กรต่อไปในอนาคต

3. บริษัทฯ ได้มีการกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการและคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อที่จะให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพิจารณาและนำเสนอสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงความปลอดภัยให้กับพนักงาน และครอบครัวพนักงานอย่างเหมาะสม สามารถแข่งขันกับตลาดภายนอกได้โดยเฉพาะด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน บริษัทห่วงใยต่อชีวิตและสุขภาพของพนักงานทุกคนจึงเห็นสมควรให้มีการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ควบคู่ไปกับหน้าที่ประจำของพนักงานจึงได้กำหนดนโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงานเพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานหรือความไม่ปลอดภัยในการทำงาน โดยให้มีการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติก่อนปฏิบัติงานจริง พร้อมทั้งสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ โดยในปี 2564 มีจำนวนพนักงานที่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงานทั้งสิ้น 10 ครั้ง แต่ไม่มีพนักงานที่เกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วยจากการทำงานถึงขั้นรุนแรงหรือต้องหยุดงานรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน สามารถดูได้ที่เว็บไซด์ของบริษัทฯ (www.majorcineplex.com)

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 16 โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้พนักงานยึดถือและปฏิบัติ ต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนนายจ้างและตัวแทนลูกจ้าง เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงานตามนโยบายฯ และ ติดตามผลการดำเนินงานต่างๆ เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ การประสบอันตราย ต่อชีวิตร่างกาย ต่อสุขภาพ อาชีวอนามัยและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทั้งในเวลางานและนอกเวลางาน โดยสรุปสาระสำคัญของการดำเนินงานได้ดังต่อไปนี้

ด้านการบริหาร (งานประจำ)

  1. ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 (แต่งตั้งใหม่เนื่องจากหมดวาระ)
  2. จัดการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นประจำทุกเดือน
  3. จัดเก็บรวบรวมสถิติการเกิด Incident/Accident ที่เกิดขึ้นประจำเดือน และ\จัดทำรายงาน

ด้านการพัฒนา/ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจ

  1. มีการจัดอบรมหลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับพนักงานระดับหัวหน้างาน ผู้จัดการแผนก และผู้จัดการฝ่าย
  2. จัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายต่างๆ ได้แก่ Cinema, Bowling, Shopping Center, Construction และ IT

ด้านควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุง

  1. ตรวจสอบและปรับปรุงความเรียบร้อยและมาตรฐานความปลอดภัยโครงสร้างอาคารและส่วนต่างๆของสาขาใหม่ (New site)
  2. ตรวจสอบและปรับปรุงระบบกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย CCTV และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  3. ตรวจสอบและปรับปรุงระบบเครื่องฉายภาพยนตร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การซ่อมบำรุงทุกสาขาทั่วประเทศ และดำเนินการเปลี่ยนเครื่องฉายภาพยนตร์รุ่นใหม่ในสาขาหลักที่สำคัญก่อนเป็นลำดับแรก
  4. ตรวจสอบและปรับปรุงระบบ (Preventive Maintenance) ระบบไฟฟ้า, ตู้จ่ายไฟ, เครื่องปั่นไฟหลัง/สำรอง, หม้อแปลงไฟฟ้า, สายไฟ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับสาขา Stand Alone
  5. ตรวจสอบและปรับปรุงระบบป้องกันอัคคีภัย (Preventive Maintenance) ระบบ Generator, ระบบ Diesel Fire Pump, ระบบ Fire Alarm, ระบบ Sprinkler, อุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้, ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบเครื่องทำความเย็น สำหรับสาขา Stand Alone
  6. ตรวจสอบและปรับปรุงระบบเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น (Preventive Maintenance) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งหมด 168 สาขา ทั่วประเทศ
  7. ตรวจสอบและปรับปรุงระบบ IT Network/LAN/WiFi/Cloud/Internet และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับสาขา Stand Alone

ด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัย

  1. จัดอบรมและซ้อมอพยพหนีไฟของฝ่ายโรงภาพยนตร์ “หลักสูตรการป้องกัน/ระงับอัคคีภัยและปฐมพยาบาลขั้นต้น ประจำปี 2564” ทุกสาขาทั่วประเทศ
  2. จัดอบรมและซ้อมอพยพหนีไฟของฝ่ายศูนย์การค้า “หลักสูตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยขั้นต้น ประจำปี 2564” สำหรับสาขา Stand Alone

ด้านการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

มีการทดสอบเจาะระบบ IT (Penetration test) ซึ่งไม่พบจุดสุ่มเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ

บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบายกิจกรรมการช่วยเหลือเพื่อสังคมโดยผ่านมูลนิธิเมเจอร์แคร์ และกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางชุมชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานราชการต่างๆ

4. บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบายการเจริญเติบโตและความก้าวหน้าในสายอาชีพ โดยผ่านกระบวนการในการพัฒนาการฝึกอบรมในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะงาน และตามระดับตำแหน่งงาน เพื่อให้มีความพร้อมในการเจริญเติบโตในสายวิชาชีพ และผู้บริหารในอนาคตต่อไป

นอกจากนี้ บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพบริการในแต่ละสาขา และการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจและสังคม เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจอย่างยั่งยืน จึงได้มีนโยบายที่ต่อเนื่องในการพัฒนาปรับปรุงสาขาให้มีความสวยงามและทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จัดให้มีการทำวิจัยทางการตลาดอย่างสม่ำเสมอ โดยสอบถามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในสาขา ข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำไปประมวลผล และนำมาใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และกลยุทธ์ทางการแข่งขัน เพื่อให้บริษัทฯ สามารถรักษาสถานะผู้นำด้านศูนย์รวมความบันเทิงต่อไป นอกจากการทำวิจัยตลาดเพื่อพัฒนาคุณภาพงานบริการ บริษัทฯ ยังได้ให้ความสำคัญกับงานพัฒนาพนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนงานด้านการบริการตามแต่ละสาขา โดยมีการกำหนดเป็นแผนอบรมพัฒนาที่ต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2564 บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาจำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านบาท (ปี 2563 : 1.68 ล้านบาท) บริษัทฯ มีนโยบายด้านการเจริญเติบโตและความก้าวหน้าในสายอาชีพ และนโยบายด้านการพัฒนาและฝึกอบรมดังนี้

นโยบายด้านการเจริญเติบโตและความก้าวหน้าในสายอาชีพ

บริษัทมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพ มีการวางเส้นทางการเติบโตควบคู่กับการขยายสาขาทั้งในรูปแบบปกติ และแบบเร่งด่วน (fast track career) เพื่อรองรับการขยายสาขาที่เพิ่มขึ้นได้ทันกับการเติบโตทางธุรกิจ โดยใช้หลักเกณฑ์ Rules of Success เข้ามาผลักดัน เป็นเครื่องมือในการพัฒนา เห็นคุณค่าของความเชี่ยวชาญในงาน และคุณค่าของประสบการณ์การทำงานมากกว่าวุฒิการศึกษาเข้าสู่รูปแบบการพัฒนาแบบเร่งด่วน ให้พร้อมปฏิบัติงานในตำแหน่งที่พร้อมจะเติบโตได้ทันที

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการบริหารคนเก่งในองค์กร (Talent Program) มีกระบวนการในการพัฒนาและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถโดดเด่น ทั้งในส่วนของสายงานสนับสนุน และสายงานปฏิบัติการ โดยเฉพาะผู้บริหารสาขา เพื่อสร้างไว้รอทดแทนในอัตราที่ว่างลงได้ทันท่วงที ร่วมกับการดำเนินกิจกรรมเพื่อรักษา และสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรที่มีความสามารถอยู่กับองค์กรและเติบโตไปกับธุรกิจของบริษัทอย่างยั่งยืน มีการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งครอบคลุมตำแหน่งสำคัญทั่วทั้งองค์กร โดยกำหนดเกณฑ์ และกระบวนการคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม เพื่อแต่งตั้งเป็น “ผู้สืบทอดตำแหน่ง” (Successor) โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีภาวะผู้นำ และความพร้อมที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว อีกทั้งยังมีการกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงินควบคู่กัน

นโยบายด้านการพัฒนาและฝึกอบรม

จากวิกฤตโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องปรับปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาบุคลากรในยุควิถีใหม่ (New Normal Training) ) เพื่อสอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจ ให้ความสำคัญกับ “คนทุกคน” ดังนั้นองค์กรจึงนำ Rules of Success มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาบุคลากร ติดอาวุธให้กับพนักงานให้ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลง Mindset ด้วย Growth Mindset สร้างให้พนักงานทุกคนเก่ง ขยัน สามารถอ่านใจลูกค้า เข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น กล้าคิดต่อ ขยันทำงาน ขยันเรียนรู้ ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด ทำให้ดีที่สุด ฟังเพื่อนร่วมงาน อ่อนน้อมถ่อมตน และรู้ว่าต้องรับผิดชอบในเรื่องใดต้องทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด ในสิ่งที่ทำได้ดีที่สุด นอกจากนี้มีการนำวิธีการทำงานในรูปแบบ Agile มาปรับใช้ในการทำงาน เพื่อความคล่องตัว ว่องไว มีความยืดหยุ่นสูง มีการทำงานเป็นทีมเพื่อร่วมแก้ปัญหา และกระตุ้นให้กล้าคิด สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วเท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พัฒนาทักษะด้านดิจิตัลให้กับพนักงานทุกคนผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบ Online learning กับหลักสูตร Digital Transformation และการปรับเปลี่ยนด้วยการนำเทคโนโลยีทางด้านดิจิตัลเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการทำงานในทุกภาคส่วนขององค์กร และเพิ่มประสิทธิภาพการรู้จักและเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริงผ่านการพัฒนาทักษะด้าน Big Data & Data Analytics เพื่อติดอาวุธ ให้เครื่องมือนำไปวิเคราะห์ ต่อยอดการทำงานกับข้อมูลที่เกิดประสิทธิผลสูงสุดกับลูกค้า มีการวางแนวทางการพัฒนาคนในองค์กรในรูปแบบ “Power Skills” ประกอบไปด้วย Soft Skills, Hard Skill, Digital Skills และ Thinking Skills ตามโปรแกรมการพัฒนาที่กำหนดให้กับผู้บริหารและพนักงานโดยครอบคลุม 3 ประเภทหลัก ดังต่อไปนี้

  1. Core Program เป็นหลักสูตรพื้นฐานที่ครอบคลุมความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานโดยทั่วไปให้กับพนักงานทุกคนในองค์กร โดยสอดแทรก Rules of Success ตั้งแต่วันแรกของการทำงานผ่านกระบวนการอบรมปฐมนิเทศ รวมถึงหลักสูตรการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักสูตรพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการทำงาน เช่น ทักษะการขาย, การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และหลักสูตรที่ต้องปรับตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน อาทิ ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) หลักสูตรที่สอดคล้องกับนโยบายในการดำเนินธุรกิจ และนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) สร้างการตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (Environmental, Social, Governance: ESG) เป็นต้น
  2. Functional เป็นหลักสูตรเฉพาะสายงาน เช่น หลักสูตรการตลาดดิจิตัล (Digital Marketing) การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เครื่องมือในการทำการขายและการตลาดออนไลน์ (Online Marketing & Sales Tools) การสร้างความผูกพันและรักษาลูกค้าอย่างยั่งยืน
  3. Leadership เป็นหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการบริหารงาน บริหารทีมโดยวาง 9 Rules เป็นรากฐานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมในการบริหารตนเอง บริหารทีมงานอย่างแท้จริง เริ่มต้นตั้งแต่ทักษะการบังคับบัญชาระดับต้น เช่นหลักสูตร Supervisory Skill หลักสูตร Leadership Attitude & Leadership In Action และหลักสูตรภาวะผู้นำในระดับกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตร Compliance เป็นหลักสูตรบังคับที่ต้องเรียนตามกฎหมาย เช่น หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร หลักสูตรการอบรมความปลอดภัย หลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น หลักสูตรสำหรับการเป็นผู้ปฏิบัติงานช่างไฟฟ้าในอาคาร และหลักสูตรสําหรับพนักงานกลุ่ม Talent และพนักงานที่มีศักยภาพสูงและสามารถเติบโตไปเป็นผู้บริหารในอนาคต มีการกำหนดหลักสูตรอบรมที่ตอบโจทย์กลยุทธ์ และการเปลี่ยนแปลงขององค์กรตามสายงาน เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสม กับพนักงานกลุ่ม Talent เพื่อเตรียมพร้อมสําหรับสืบทอดตำแหน่งที่สำคัญหรือการเติบโตเป็นผู้บริหารระดับสูงในอนาคต

บริษัทฯ ส่งเสริมให้พนักงานเข้าอบรม และสัมมนากับหน่วยงานภายนอกอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีนโยบายในการให้ผลตอบแทนกับพนักงานในอัตราที่เหมาะสมเพื่อจูงใจ และรักษาให้พนักงานทำงานกับบริษัทในระยะยาว โดยบริษัทมีการจัดอบรมให้กับพนักงานทั้งในลักษณะที่ทำพร้อมกับการทำงาน (On-the-job training) และในลักษณะเข้าอบรมกับงานเฉพาะสายงานโดยตรง (Functional training) ซึ่งในปี 2564 พนักงาน และผู้บริหารมีการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรต่างๆ ที่มีการจัดอบรมทั้งในรูปแบบการเรียนในห้องอบรมปกติ และการเรียนผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นจำนวน 14,294 ชั่วโมง ซึ่งรวมชั่วโมงการอบรมในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในองค์กร จำนวน 350 ชั่วโมง แต่ไม่รวมจำนวนชั่วโมงของการสอนงาน การประชุมให้คำแนะนำผ่านระบบ Zoom Meeting และการเข้าอบรม ศึกษาดูงานนอกสถานที่ ทั้งนี้บริษัทกำลังเร่งพัฒนาหลักสูตรในระบบออนไลน์ให้มากขึ้นครอบคลุมทุก function การทำงาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และลดเวลาในการเดินทาง และเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด (lifelong Learning)

บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบายการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานและทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะประเมินผลตามผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และประเมินผลในเชิงพฤติกรรม โดยจะแบ่งตามสัดส่วนในการประเมินผลตามระดับตำแหน่งงานอย่างเหมาะสม ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และต้องปรับตัวตลอดเวลา จึงมีการปรับรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการประเมินปีละ 4 ครั้ง หรือประเมินทุก 3 เดือน เพื่อให้การขับเคลื่อนธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที

บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบายการบริหารค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับลักษณะงาน และสายวิชาชีพเพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดภายนอกได้โดยมีการกำหนดนโยบายในการบริหารค่าจ้างค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับตลาด ลักษณะงาน และสายวิชาชีพ โดยผลตอบแทนที่ให้แก่พนักงานของบริษัท ได้แก่ เงินเดือน ค่าล่วงเวลา เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่าพาหนะ ค่าปฏิบัติงานต่างจังหวัด ค่าคอมมิชชั่น Incentive เงินโบนัส เงินช่วยเหลือพิเศษ เงินประกันสังคม เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิต ตรวจสุขภาพประจำทุกปี และค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยในปี 2564 บริษัทและบริษัทย่อยได้จ่ายผลตอบแทนดังกล่าวให้แก่พนักงานจำนวนทั้งสิ้น 492 ล้านบาท (ปี 2563 : 725 ล้านบาท) และเพื่อให้การกำหนดค่าตอบแทนเป็นไปอย่างเหมาะสม และสามารถแข่งขันในการรักษาพนักงานที่ดีมีความสามารถให้อยู่กับองค์กร

นอกจากนี้บริษัทได้มีค่าตอบแทนอื่นๆ ให้แก่พนักงาน เช่น เงินรางวัลจากการขาย และการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นแก่ผู้บริหารและพนักงาน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและตอบแทนการปฏิบัติงานให้มุ่งปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างความรู้สึกของการมีส่วนร่วมในการบริหารและพัฒนาองค์กรต่อไป

  • มีการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าจ้างเริ่มต้นในการจ้างตามกลุ่มวุฒิการศึกษาและสาขาวิชาชีพ
  • มีการกำหนดโครงสร้างอัตราเงินเดือนตามกลุ่มงาน ตามตำแหน่งงาน และ Job Grade
  • มีการกำหนดมาตรฐานในการคำนวณอัตราในการจ้างพนักงานใหม่ตามกลุ่มวุฒิการศึกษา สาขาวิชาชีพและประสบการณ์การทำงาน
  • มีการกำหนดนโยบายการปรับเงินเดือนและโบนัสประจำปี โดยจะพิจารณาตามผลประกอบการในแต่ละปีของบริษัทฯ ซึ่งในส่วนของพนักงานจะพิจารณาการจ่ายตามผลการประเมินการปฏิบัติงานในแต่ละบุคคล
  • มีการกำหนดนโยบายการสำรวจค่าจ้าง ค่าตอบแทน และมีการทบทวนโครงสร้างค่าจ้าง ค่าตอบแทนทุก 2 ปี เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดภายนอกได้

บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบายการปรับเงินเดือนและโบนัสประจำปี โดยจะพิจารณาตามผลการประกอบการในแต่ละปีของบริษัทฯ ซึ่งในส่วนของพนักงานจะพิจารณาการจ่ายตามผลการประเมินการปฏิบัติงานในแต่ละบุคคล โดยมีนโยบายสำรวจและมีการทบทวนโครงสร้างค่าตอบแทนเป็นประจำทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทมีโครงสร้างและการกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และเหมาะสมแก่พนักงาน

บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบายด้านแรงงานสัมพันธ์ โดยให้มีช่องทางการติดต่อสื่อสาร และจัดทำกิจกรรมต่างๆ โดยผ่านช่องทาง E-mail, Website, Social Media และรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับพนักงานและระหว่างพนักงานกับพนักงานดังนี้

พนักงานบริการลูกค้า เมเจอร์ ทำอะไรบ้าง

- Floor พนักงานภายในโรงภาพยนตร์ ดูแลลูกค้า ความเรียบร้อยในโรงภาพยนตร์ - Operator พนักงานรับโทรศัพท์ ,รับจองบัตรชมภาพยนตร์ ตอบคำถามลูกค้า

เจ้าหน้าที่การตลาด SF ทํา อะไรบ้าง

ลักษณะงาน - ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนทำกิจกรรมการตลาดของโรงภาพยนตร์ - ประสานงานและจัดกิจกรรมการตลาดในระดับสาขา เช่น การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ event และ road show เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนกการตลาด (Theater) โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกิจกรรมการตลาดโดยตรงของบริษัทฯ

สมัครงานเมเจอร์ต้องเตรียมอะไรบ้าง

สมัครงานที่เมเจอร์แถวบ้านแต่ไม่เอาเอกสาร.
รูปถ่าย จะกี่นิ้ว กี่ใบแล้วแต่บริษัทนั่นๆต้องการ.
สำเนาทะเบียนบ้าน.
สำเนาบัตรประชาชน.
สำเนาวุฒิการศึกษา แล้วแต่บริษัทนั่นๆจะต้องการ.

พนักงานโรงหนัง ใช้วุฒิอะไร

-เพศชาย/หญิง 27-35 ปี -วุฒิปริญญาตรี สาขา บริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง