ข้าราชการท้องถิ่น เกษียณ ได้อะไรบ้าง Pantip

เว็บไซต์ของ กบข. มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยจะทำให้ กบข. เข้าใจลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. ของท่าน และทำให้เว็บไซต์ของ กบข. เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของ กบข. นี้จะถือว่าท่านได้อนุญาตให้ กบข. ใช้คุกกี้ตาม นโยบายการใช้คุกกี้

ระหว่าง ข้าราชการท้องถิ่น กับ ข้าราชการพลเรือน แตกต่างยังไงคะ?

กระทู้คำถาม

หน่วยงานราชการ ทรัพยากรบุคคล การเมืองท้องถิ่น

น้องสาวเป็น ข้าราชการท้องถิ่น ของอปทแล้ว 1 เดือน แต่กรมส่งเสริมฯกำลังจะเรียกบรรจุ เป็นข้าราชการพลเรือน
ญาติอยากให้ลาออกไปบรรจุข้าราชการ กพ. แต่เจ้าตัวลังเล และตัดสินใจไม่ได้ เราเป็นพี่สาวก็ไม่ทราบข้อแตกต่างของข้าราชการสองอย่างนี้มากนัก
อยากสอบถามผู้รู้หลายๆท่าน ที่พอจะให้ข้อมูลได้หน่อยค่ะ ว่าข้าราชการสองแบบนี้ แตกต่างยังไง มีข้อดี ข้อด้อยยังไงบ้างคะ?

0

1

ข้าราชการท้องถิ่น เกษียณ ได้อะไรบ้าง Pantip

Cheburin

สมาชิกหมายเลข 1932133 ถูกใจ

ใครรับราชการ บันทึกข้อความต่อไปนี้เก็บไว้นะ มีประโยชน์มาก

ใครรับราชการ
ให้บันทึกเก็บไว้นะครับ
มีประโยชน์มาก
เกษียณแล้วได้อะไรบ้าง
อันนี้ละเอียดดีครับ

1)- ไม่เป็นสมาชิก กบข.
ก): กรณีรับบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ(รวมอายุราชการทวีคูณ)
กรณีนี้จะได้รับเงินก้อนเดียว
สิทธิต่าง ๆ ระงับไป ยกเว้นการขอพระราชทานเพลิงศพ
ข): กรณีรับบำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ (รวมอายุราชการทวีคูณ เกิน 6 เดือนนับเป็น 1 ปี) หาร 50
กรณีนี้จะได้รับเงินทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต และยังมีสิทธิได้รับ
1. ค่ารักษาพยาบาลของตนเอง คู่สมรสและบิดามารดา บุตรที่ไร้ความสามารถ ยกเว้นบุตรปกติที่อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
2. ค่าเล่าเรียนบุตร เบิกได้ถึงอายุ 25 ปีบริบูรณ์
3. บำเหน็จดำรงชีพ = เงินบำนาญ x 15 เท่า
เมื่อเกษียณได้รับเลย 200,000.-฿
เมื่ออายุครบ 65 ปีขอรับได้อีก 400,000.-฿ รวม 2 ครั้งไม่เกิน 600,000.-฿ แต่ทั้งหมดนี้ไม่เกิน 15 เท่าของเงินบำนาญ
4. เงินช่วยพิเศษ (ถึงแก่กรรม) = เงินบำนาญ x 3 เท่า
มอบให้กับผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาหรือทายาทตามกฎหมาย
5. เงินบำเหน็จตกทอด (ถึงแก่กรรม) = เงินบำนาญ x 30 เท่า – เงินบำเหน็จดำรงชีพที่เบิกไปแล้ว
มอบให้กับทายาทตามกฎหมายหรือผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนา (กรณีที่ไม่มีทายาท)
และถ้าไม่มีผู้รับให้สิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติลง

2)- เป็นสมาชิก กบข.
ก): กรณีรับบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย (เศษเดือนเศษวันเป็นจุดทศนิยม x อายุราชการ (รวมอายุราชการทวีคูณ)
กรณีนี้จะได้รับเงินก้อนเดียว
สิทธิต่าง ๆ ระงับไป ยกเว้นการขอพระราชทานเพลิงศพ
ข): กรณีรับบำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ (รวมอายุราชการทวีคูณ เป็นจุดทศนิยม) หารด้วย 50
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน
กรณีนี้จะได้รับเงินทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต และยังมีสิทธิได้รับสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับบำนาญปกติ

สมาชิก กบข.แบบ ก.,ข. ยังได้รับเงิน
1. เงินสะสม + ผลประโยชน์
2. เงินประเดิม + ผลประโยชน์
3. เงินชดเชย + ผลประโยชน์
4. เงินสมทบ + ผลประโยชน์
ส่วนผู้ที่ลาออกจาก กบข.จะได้เงินสะสมของตนเองคืน

3)- เงินต่าง ๆ ที่สมัครเป็นสมาชิก
ก): เงินฌาปนกิจสงเคราะห์
ข): เงินผลประโยชน์จากหุ้นสหกรณ์
ค): เงินประกันชีวิตและเงินช่วยเหลือจากสหกรณ์
กรณีผู้รับบำนาญตายผู้ที่ได้รับคือผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาหรือทายาทตามกฎหมาย

หมายเหตุ
ทายาทตามกฎหมายได้แก่
1. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับคนละ 1 ส่วน
2. สามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับ 1 ส่วน
3. บิดามารดาหรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ ได้รับ 1 ส่วน

): ประกาศราชการทวีคูณ
– ช่วงที่ 1 วันที่ 19 ก.ย.49 – 26 ม.ค.50 = 4 เดือน 11 วัน
– ช่วงที่ 2 วันที่ 20 พ.ค.57 – 1 เม.ย.58 = 11 เดือน 7 วัน
รวม 2 ช่วง = 15 เดือน 18 วัน