ประเทศใดเป็นจุดเริ่มต้นของดนตรีตะวันตก

     วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม  ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป  เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน  หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน

1. สมัยกลาง ( The Middle Ages ค.ศ. 850 – 1450 ) พ.ศ. 1393 – 1993 ก่อนสมัยนี้ราวศตวรรษที่ 6 ดนตรีขึ้นอยู่กับศาสนา Pope Gregorian เป็นผู้รวบรวมบทสวด เป็นทำนองเดียว ( Monophony ) โดยได้ต้นฉบับจากกรีก เป็นภาษาละติน ต่อมาจึงมี 2 ทำนอง( Polyphony ) ศตวรรษที่ 11 การศึกษาเริ่มในโบสถ์ในสมัยกลางนี้เองได้เริ่มมีการบันทึกตัวโน้ต โดยมีพระองค์หนึ่งเป็นชาวอิตาเลียนชื่อ Guido D’Arezzo ( พ.ศ. 1538 – 1593 ) ได้สังเกตเพลงสวดเก่าแก่เป็นภาษาละตินเพลงหนึ่งแต่ละประโยคจะมีเสียงค่อย ๆ สูงขึ้น จึงนำเอาเฉพาะตัวแรกของบทสวดมาเรียงกัน จึงออกเป็น Do Re Mi Fa Sol La Te Do( เว้นตัว Te เอาตัวที่ 2 ) ต่อมา ค.ศ. 1300 ( พ.ศ. 1843 ) ดนตรีก็เริ่มเกี่ยวกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

2. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ( The Renaissance Period ค.ศ. 1450 – 1600 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1993 – 2143 ตรงกับสมัยโคลัมบัส และเชคสเปียร์ ดนตรีในยุคนี้มักจะเป็นการเริ่มร้องหมู่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการร้องเพื่อสรรเสริญพระเจ้า ร้องกันในโบสถ์มี 4 แนว คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และเบส การร้องจะมีออร์แกนหรือขลุ่ยคลอ ดนตรีในสมัยนี้ยังไม่มีโน้ตอ่าน และมักเล่นตามเสียงร้อง 

3. สมัยบาโรค ( BaroQue ค.ศ. 1650 – 1750 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2143 – 2293 และนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ บาค ไฮเดิล ในยุคต้นของสมัยบาโรค ( พ.ศ. 2143 – 2218 ) มีเครื่องดนตรีประมาณ 20 – 30 ชิ้นสลับกันเล่น เพื่อให้มีรสชาติในการฟังเครื่องดนตรีในการคลอเสียงร้อง เช่น ลิ้วท์ ขลุ่ย ต่อมาได้วิวัฒนาการใช้เครื่องสายมากขึ้นเพื่อประกอบการเต้นรำ รวมทั้งเครื่องลมไม้ด้วย ในสมัยนี้ผู้อำนวยเพลงจะเล่นฮาร์พซิคอร์ด

4. สมัยคลาสสิค ( Classical Period ค.ศ. 1750 – 1825 ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2273 – 2368 สมัยนี้ตรงกับการปฏิวัติและการปฏิรูปในอเมริกา ไฮเดิลเป็นผู้ริเริ่มในการแต่งเพลงและคลาสสิค การแต่งเพลงในยุคนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของคีตกวีที่จะเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับลีลา และโอกาสตามอารมณ์ของดนตรี เช่น ดนตรีลักษณะหวานก็ใช้ไวโอลิน ถ้าแสดงความองอาจกล้าหาญ ก็ใช้แตรทรัมเปต มีการเดี่ยวเครื่องดนตรี นักดนตรีต้องศึกษาและเล่นให้ถูกต้องตามแบบแผน เพราะดนตรีในยุคนี้เริ่มเข้าร่องเข้ารอย คีตกวีในยุคที่มีไฮเดิล โมสาร์ท กลุ๊ก บีโธเฟน โดยเฉพาะบีโธเฟน เป็นคีตกวีในสมัยโรแมนติกด้วย

5. สมัยโรแมนติก ( Romantic Period ค.ศ. 1825 – 1900 ) พ.ศ. 2368 – 2443 สมัยนี้ตรงกับสมัยนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส เพลงในสมัยนี้ ผิดไปจากเพลงในสมัยก่อน ๆ คือเมื่อก่อนเริ่มแรกเกี่ยวกับศาสนา ต่อมามีการเลือกใช้เครื่องดนตรีและในสมัยนี้ จะแต่งตามจุดประสงค์ตามความคิดฝันของคีตกวี เน้นอารมณ์เป็นสำคัญนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี ชูเบิร์ต เสตร้าส์ เมนโดโซน โชแปง ชูมานน์ บราหมส์ ไชคอฟสกี้ โดยเฉพาะในยุคนี้ แต่ละประเทศในยุโรปจะมีความนิยมไม่เหมือนกัน เช่น ลักษณะของเพลงร้อง เพลงประกอบละคร เพลงเต้นรำแบบวอลท์ เป็นไปตามคีตกวีและความนิยมส่วนใหญ่

6. สมัยอิมเพรสชั่นนิสซึม ( Impressionism ค.ศ. 1850 – 1930 ) ประมาณ พ.ศ. 2393 – 2473 เป็นสมัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลงดั้งเดิมจากสมัยโรแมนติกให้แปลกออกไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เปรียบเทียบได้กับการใช้สีสันในการเขียนรูปให้ฉูดฉาด ในด้านดนตรีผู้ประพันธ์มักสรรหาเครื่องดนตรีแปลก ๆ จากต่างประเทศ เช่น จากอินเดียมาผสมให้มีรสชาติดีขึ้น การประสานเสียงบางครั้งแปร่ง ๆ ไม่รื่นหูเหมือนสมัยก่อน ทำนองเพลงอาจนำมาจากทางเอเชียหรือประเทศใกล้เคียง แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับดุริยางค์ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี คลาวด์อบุชชี อิกอร์ สตราวินสกี่ อาร์โนลด์ โชนเบิร์ล           

7. สมัยคอนเทมพอลารี ( Contempolary ค.ศ. 1930 – ปัจจุบัน ) หรือ Modern Music – Eletronics ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 จนถึงปัจจุบัน ชีวิตของคนในปัจจุบันอยู่กับความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ได้รู้ได้เห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เช่น ไอพ่น ยานอวกาศโทรทัศน์ นักแต่งเพลงปัจจุบัน จึงเปลี่ยนวิธีการของการประพันธ์เพลงให้เป็นไปในแบบปัจจุบัน

จึงทำให้เกิดเป็นลักษณะของดนตรีในแต่ละยุคขึ้นมา   การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของบทเพลงในแต่ละยุค จะช่วยให้ทีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของดนตรีในแต่ละยุค ดังนี้

1. ยุคกลาง (Middle Ages)

        ยุคนี้คือ ช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว ค.. 450-1400) อาจเรียกว่า ยุคเมดิอีวัล  (Medieval Period) ดนตรีในยุคนี้เป็น vocal polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกัน    ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็นเพลงแบบมีทำนองเดียว  (Monophony)  ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4  เพลงร้องพบได้ทั่วไป    และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี   รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี

2. ยุครีเนซองค์ (Renaissance Period)

        เป็นดนตรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว ค.. 1450-1600) การสอดประสาน(Polyphony) ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนวทำนองเดียวกัน (Imitative style)ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบโหมด(Modes)  ยังไม่นิยมแบบบันไดเสียง(Scales)  การประสานเสียงเกิดจากแนวทำนองแต่ละแนวสอดประสานกัน   มิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติของคอร์ด   ลักษณะของจังหวะมีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะ   และไม่มีอัตราจังหวะ    ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย   ยังมีน้อยไม่ค่อยพบ    ลักษณะของเพลงมีความนิยมพอๆกัน  ระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี   เริ่มมีการผสมวงเล็กๆ เกิดขึ้น  นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ จอสกินเดอส์  เพรซ์  ปาเลสตรินา  และเบิร์ด

3. ยุคบาโรค (Baroque Period) 

        เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว ค.. 1600-1750) การสอดประสาน   เป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุค    ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะการใส่เสียงประสาน(Homophony) เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์   และไมเนอร์   แทนการใช้โหมดต่างๆ การประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ   มีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter) อัตราจังหวะเป็นสิ่งสำคัญของบทเพลง    การใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย  เป็นลักษณะของความดังค่อย   มากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆ ดังขึ้นหรือค่อยๆลง  (Crescendo, diminuendo)ไม่มีลักษณะของความดังค่อยอย่างมาก (Fortissimo, pianisso)  บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้น     บทเพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน   นิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม  เครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น(Concerto grosso) นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี  คอเรลลี วิวัลดี  บาค ฮันเดล

4. ยุคคลาสสิค (Classical period)

        เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมาก   อยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 18  และช่วงต้นศตวรรษที่ 19 (.. 1750-1825) การใส่เสียงประสานเป็นลักษณะเด่นของยุคนี้   การสอดประสานพบได้บ้างแต่ไม่เด่นเท่าการใส่เสียงประสาน    การใช้บันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์   เป็นหลักในการประพันธ์เพลง    ลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผน  บริสุทธิ์  มีการใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็นสำคัญ    ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นักประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกัน   ไม่มีการแสดงอารมณ์   หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัด   การผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้น   การบรรเลงโดยใช้วงและการเดี่ยวดนตรีของผู้เล่นเพียงคนเดียว( Concerto)เป็นลักษณะที่นิยมในยุคนี้   บทเพลลงประเภทซิมโฟนีมีแบบแผนที่นิยมกันในยุคนี้เช่นเดียวกับ        เพลงเดี่ยว(Sonata)  ด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่นิยมเป็นอย่างมาก    บทเพลงร้องมีลักษณะซับซ้อนกันมากขึ้น  เช่นเดียวกับบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี    นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ กลุค  ไฮเดิน  โมทซาร์ท  และเบโธเฟน

5. ยุคโรแมนติด(Romantic period)

        เป็นยุคของดนตรีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราว ค.. 1825-1900) ลักษณะเด่นของดนตรีในยุคนี้ คือ เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมาก   ฉะนั้นโครงสร้างของดนตรีจึงมีหลากหลายแตกต่างกันไปในรายละเอียด   โดยการพัฒนาหลักการต่างๆ ต่อจากยุคคลาสสิก  หลักการใช้บันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์   ยังเป็นสิ่งสำคัญ    แต่ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและคิดค้นหลักใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลง    การใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุคนี้    บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้น   เนื่องจากมีการขยายรูปแบบของโครงสร้างดนตรี   มีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่องดนตรีเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์   ลักษณะการผสมวงพัฒนาไปมาก    วงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุคคลาสสิค   บทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไป เพลงซศิมโฟนี โซนาตา และเซมเบอร์มิวสิก   ยังคงเป็นรูปแบบที่นิยมนอกเหนือไปจากเพลงลักษณะอื่นๆ เช่น Prelude, Etude,Fantasia เป็นต้น   นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก  เช่น  เบโธเฟน  ชูเบิร์ต  โชแปง  ลิสซท์  เมนเดลซอน  เบร์ลิโอส  ชูมานน์  แวร์ดี   บราหมส์   ไชคอฟสี  ริมสกีคอร์สคอฟ  รัคมานินอฟ  ปุกซินี  วากเนอร์  กรีก   ริชาร์ด  สเตราห์   มาห์เลอร์  และซิเบลุส  เป็นต้น

6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค  (Impressionistic Period หรือ Impressionism)

        เป็นดนตรีอยู่ในช่วงระหว่าง ค.. 1890 – 1910 ลักษณะสำคัญของเพลงยุคนี้คือ   ใช้บันไดเสียงแบบเสียงเต็ม  ซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะลึกลับ   คลุมเครือไม่กระจ่างชัด    เนื่องมาจากการประสานเสียงโดยใช้ในบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม   บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ  เสียงไม่หนักแน่น  ดังเช่น   เพลงในยุคโรแมนติก     การประสานเสียงไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์    ในยุคก่อนๆ สามารถพบการประสานเสียงแปลก ๆ ไม่คาดคิดได้ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม   รูปแบบของเลงเป็นรูปแบบง่าย   มักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด  นักดนตรีที่ควรรู้จัก   คือ  เดอบูสซี   ราเวล  และเดลิอุส

7. ยุคศตวรรษที่ 20(Contemporary Period)

        ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ  และนำเอาหลักการเก่าๆ มากพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับแนวความคิดในยุคปัจจุบัน   เช่น  หลักการเคาเตอร์พอยต์   (Counterpoint) ของโครงสร้างดนตรีแบบการสอดประสาน   มีการใช้ประสานเสียงโดย     การใช้บันไดเสียงต่างๆ รวมกัน (Polytonatity) และการไม่ใช่เสียงหลักในการแต่งทำนองหรือประสานเสียงจึงเป็นเพลงแบบใช้บันไดเสียง 12 เสียง(Twelve-tone scale)ซึ่งเรียกว่า Atonality อัตราจังหวะที่ใช้ทีการกลับไปกลับมา    ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การใช้การประสานเสียงที่ฟังระคายหูเป็นพื้น (Dissonance)  วงดนตรีกลับมาเป็นวงเล็กแบบเชมเบอร์มิวสิก    ไม่นิยมวงออร์เคสตรา   มักมีการใช้อิเลกโทรนิกส์    ทำให้เกิดเสียงดนตรีซึ่งมีสีสันที่แปลกออกไป    เน้นการใช้จังหวะรูปแบบต่างๆ บางครั้งไม่มีทำนองที่โดดเด่น    ในขณะที่แนวคิดแบบโรแมนติกมีการพัฒนาควบคู่ไปเช่นกัน   เรียกว่า  นีโอโรแมนติก (Neo-Romantic) กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเพลงในศตวรรษที่ 20  นี้มีหลากหลายมาก    สามารถพบสิ่งต่างๆตั้งแต่ยุค ต่างๆมาที่ผ่านมา    แต่มีแนวคิดใหม่ที่เพิ่มเข้าไป   นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ สตราวินสกี   โชนเบิร์ก   บาร์ตอก   เบอร์ก   ไอฟส์   คอปแลนด์  ชอสตาโกวิช   โปโกเฟียฟ  ฮินเดมิธ  เคจ  เป็นต้น

 

ดนตรีสมัยศตวรรษที่ 20 (THE TWENTIETH CENTURY ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน)

        หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้าความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือ แม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น

จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20

ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง

ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยังมีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง

ในยุคนี้เป็นสมัยชาตินิยมทางดนตรีด้วย (Nationalism) คือ คีตกวีจะแสดงออกโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองประกอบไว้ในเพลงที่แต่ งขึ้น หรือแต่งให้มีสำเนียงของชาติตนเองมากที่สุด โดยใช้บันไดเสียงพิเศษของแต่ละชาติ ซึ่งเป็นผลให้คนในชาติเดียวกันเกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน รักชาติบ้านเมืองเกิดความหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่างบนแผ่นดินที่อาศ ัยอยู่ เช่น ซีเบลิอุส (Jean Sibelius) แต่งเพลง ฟินแลนเดีย (Finlandia) โชแปง (Frederic Chopin) แต่งเพลง มาซูกา (Mazurka) และโพโลเนียส (Polonaise) นอกจากนี้ยังมีคีตกวีชาติอื่นๆ อีกมาก

คีตกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่

1. ซีเบลิอุส (Jean Sibelius ค.ศ. 1865 – 1957)

2. ลิสซต์ (Franz Liszt ค.ศ. 1811 – 1886)

3. เม็นเดลโซห์น (Felix Mendelssohn ค.ศ. 1809 – 1847)

4. โชแปง (Frederic Chopin ค.ศ. 1810 – 1849)

5. ชูมานน์ (Robert Schumann ค.ศ. 1810 – 1856)

6. วากเนอร์ (Richard Wagner ค.ศ. 1813 – 1883)

7. บรามส์ (Johannes Brahms ค.ศ. 1833 – 1897)

8. ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky ค.ศ. 1846 – 1893)

6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (The Impressionistic)

ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890 – 1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของยุคโรแมนติกนี้ มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบูสซี ผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส โดยการใช้ลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม (Whole-tone Scale) ทำให้เกิดลักษณะของเพลงอีกแบหนึ่งขึ้น เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองทำให้เพลงในยุค นี้มีลักษณะ ลึกลับ ไม่กระจ่างชัด เพราะคอร์ดที่ใช้จะเป็นลักษณะของอ๊อกเมนเต็ด (Augmented) มีการใช้คอร์ดคู่ 6 ขนาน ลักษณะของความรู้สึกที่ได้จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความ รู้สึก “คล้ายๆ ว่าจะเป็น” หรือ “คล้ายๆ ว่าจะเหมือน” มากว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร ซึ่งเป็นความประสงค์ของการประพันธ์เพลงประเภทนี้ ชื่ออิมเพรสชั่นนิสติค หรือ อิมเพรสชั่นนิซึมนั้น เป็นชื่อยุคของศิลปะการวาดภาพที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส โดยมี Monet,Manet และ Renoir เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นศิลปะการวาดภาพที่ประกอบด้วยการแต้มแต่งสีเป็นจุดๆ มิใช่เป็นการระบายสีทั่วๆ ไป แต่ผลที่ได้ก็เป็นรูปลักษณะของคนหรือภาพวิวได้ ทางดนตรีได้นำชื่อนี้มาใช้ ผู้ประพันธ์เพลงในแนวนี้นอกไปจากเดอบูสซีแล้วยังมี ราเวล ดูคาส เดลิอุส สตราวินสกี และโชนเบิร์ก (ผลงานระยะแรก) เป็นต้น

ดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกได้เปลี่ยนแปลงบันไดเสียงเสียใหม่แทนที่ จะเป็นแบบเดียโทนิค (Diatonic) ซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไป
กลับเป็นบันไดเสียงที่มี 6 เสียง (ซึ่งระยะห่างหนึ่งเสียงเต็มตลอด) เรียกว่า “โฮลโทนสเกล” (Whole – tone Scale)

นอกจากนี้คอร์ดทุกคอร์ดยังเคลื่อนไปเป็นคู่ขนานที่เรียกว่า “Gliding Chords” และส่วนใหญ่ของบทเพลงจะใช้ลีลาที่เรียบ ๆ
และนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เ พลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัด
ลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือ
“คล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :174)

1. โคล้ด-อะชิล เดอบูซี (Claude-Achille Debussy) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) ที่เมืองซังต์-แจร์มัง-อ็อง-เลย์ และเสียชีวิตที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918)

เดอบุสชี ได้กล่าวถึงลักษณะดนตรีสไตล์อิมเพรสชั่นนิสติกไว้ว่า…“สำหรับดน ตรีนั้น ข้าพเจ้าใคร่จะให้มีอิสระ ปราศจากขอบเขตใด ๆ เพราะในสไตล์นี้ดนตรีก้าวไปไกลกว่าศิลปะแขนงอื่น ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ มาบังคับให้ดนตรีต้องจำลองธรรมชาติออกมาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ดนตรีนี้แหละจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับจินตนาการที่ เร้นลับมหัศจรรย์บางอย่างออกมาเอง”

2. มอริส ราเวล (Maurice Ravel,1875-1937)
เกิดวันที่ 7 มีนาคม 1875 ที่ Ciboure ใกล้กับ St.Jean de Luz ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสเกือบติดเขตแดนสเปญ เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เรียน การประสานเสียงอายุ11 ขวบและเข้าศึกษาในสถาบันดนตรีแห่งปารีส (Paris Conservatory) อายุ 14 ขวบเป็นเพื่อนกับเดอบุสซี ราเวลมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับเดอบุสซีอยู่บ่อย ๆ แต่อันที่จริงแล้วดนตรีของทั้งสองต่างกันมากในสิ่งที่เรียกว่า “สไตล์” ถึงแม้ว่าราเวลจะถูกจัดว่าเป็นคีตกวีในสมัยอิมเพรสชั่นคนหนึ่ง แต่ดนตรีของเขามีสีสันไปทางคลาสสิกมากกว่าอย่างไรก็ตามราเวลก็ม ีชีวิตอยู่ระหว่างปลายสมัยดนตรีอิมเพรสชั่นกำลังเติบโตเต็มที่ค นหนึ่ง

ชีวิตส่วนตัวของราเวลเขาไม่เคยแต่งงานเลยทั้ง ๆ ที่พบปะคุ้นเคยกับสตรีมากมายเช่นเดียวกับเกิร์ชวินซึ่งก็ไม่ได้ แต่งงานเหมือนกัน ราเวลเป็นคนร่างเล็ก แต่งตัวดีอย่างไม่มีที่ติแต่ชีวิตของเขาไม่ฟู่ฟ่า มีนิสัยชอบสันโดษอย่างมาก สำหรับเขา “ความสำเร็จ” กับ “อาชีพ” ดูเหมือนว่าจะคนละอย่างกัน ยิ่งประชาชนเพิ่มความนิยมชมชอบเขามากเท่าไรแต่เขากลับทำตัวธรรม ดามากขึ้น เขาสร้างดนตรีเพราะต้องทำ ไม่เคยสร้างดนตรีเพราะต้องการความก้าวหน้าหรือเพื่อหาเงิน ไม่มีความเป็นนักธุรกิจเลยแม้แต่น้อยไม่ต้องการแม้แต่จะหาลูกศิ ษย์สอนเพื่อจะได้เงิน เขามีรายได้จากงานประพันธ์และการแสดงดนตรีแค่พอมีชีวิตอยู่อย่า งสบาย ๆ พอประมาณเท่านั้นลักษณะเด่นของราเวล คือ การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา

ผลงานที่มีชื่อเสียง
– Pavane for a Dead Princess 1899 ดนตรีหวานซึ้งราบเรียบนุ่มนวลชวนฟังให้จิตใจสงบ
– String Quartet 1903, Introduction and Allegro 1905
– Daphnis et Chloe : Suite No. 2 1909-12,
– The Waltz 1920,
– Bolero 1928 ทำนองแบบสเปนดนตรีเริ่มจากเบาที่สุด แต่ละท่อนไม่ยาวเกินไป ใช้สีสันของเสียงจากการเปลี่ยนเครื่องดนตรี ให้ความรู้สึกค่อนข้างเย้ายวนและร้อนแรงในช่วงท้าย

7. ยุคศตวรรษที่ 20 (The Twentieth Century)
เริ่มจากปี ค.ศ. 1900 จนถึงปัจจุบัน ดนตรีในยุคนี้มีความหลากหลายมาก เนื่องจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ คีตกวีพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา มีการทดลองการใช้เสียงแบบแปลกๆ การประสาน ทำนองเพลงมีทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ คีตกวีเริ่มเบื่อและรู้สึกอึดอัดที่จะต้องแต่งเพลงไปตามกฎเกณฑ์ ที่ถูกบังคับ โดยระบบกุญแจหลักและบันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ จึงพยายามหาทางออกต่างๆ กันไป มีการใช้เสียงประสานอย่างอิสระ ไม่เป็นไปตามกฎของดนตรี จัดลำดับคอร์ดทำตามความต้องการของตน ตามสีสันของเสียงที่ตนต้องการ ทำนองไม่มีแนวที่ชัดเจนรัดกุม เหมือนทำนองยุคคลาสสิค หรือโรแมนติค ฟังเพลงเหมือนไม่มีกลุ่มเสียงหลัก ในครึ่งหลังของสมัยนี้ การดนตรีรุดหน้าไปอย่างไม่ลดละ นอกจากมีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ทางด้านทฤษฎีแล้ว ยังมีการใช้เครื่องไฟฟ้าเข้ามาประกอบด้วย เช่น มีการใช้เสียงซึ่งทำขึ้นโดยระบบไฟฟ้า เป็นสัญญาณเสียงในระบบอนาล็อกหรือดิจิตอล หรือใช้เทปอัดเสียงในสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาเปิดร่วมกับดนตรีที่แสดงสดๆ บนเวที และเสียงอื่นๆ อีกมากยุคนี้จึงเป็นสมัยของการทดลองและบุกเบิก

หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้าความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือ แม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจาก แนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น

จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดน ตรีในสมัยศตวรรษที่ 20

ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง

ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยังมีกา รใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบ รรเลง

ลักษณะของบทเพลงในสมัยศตวรรษที่ 20

ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทาง ด้านเทคโนโลยีการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมา ตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบ บแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรั บ

ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิ ค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของเสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตร ีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียงความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง

ประวัติผู้ประพันธ์เพลง

1. อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg,1874-1951)
เกิดที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 1874 ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์เพลงไว้หลายรูปแบบตามแนวความคิดในช่วงปลายส มัยโรแมนติก โดยเริ่มต้นในฐานะผู้ที่เดินตามรอยของวากเนอร์ (Wagner) สเตราส์ (R.Strauss) มาห์เลอร์ (Mahler) และบราห์มส์ (Brahms) โชนเบิร์กได้ศึกษาดนตรีกับครูอย่างจริงจังเพียงเครื่องไวโอลินเ ท่านั้น ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ เขาใช้เวลาว่างในการฝึกหัดเล่นเอาเองทั้งนั้น ไม่ได้เรียนจากใครเลย แต่เขาก็สามารถเล่นได้ดีทุกอย่าง

สไตล์การแต่งเพลงของโชนเบิร์กเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเขาได้ริ เริ่มคิดการแต่งเพลงโดยใช้แนวคิดใหม่คือใช้ระบบทเว็ลฟ-โทน (Twelve Tone System) คือ การนำเสียงสูง – ต่ำทั้งหมด 12 เสียง มาเรียงกันเป็นลำดับที่แน่นอนโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้มีเสียงหลัก (Tonic) ซึ่งหลักสำคัญคือ ทฤษฏีที่ว่าด้วยเสรีภาพของเสียง และความสำคัญเท่าเทียมกันของเสียงทุกเสียง

ในดนตรี (The Freedom of Musical Sound : The Atonality) อันเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของดนตรี “เซียเรียล มิวสิก” (Serial Music) ซึ่งพัฒนาความคิดรวบยอดของมนุษย์ในปรัชญาดนตรีแห่งศตวรรษที่ 20 ให้ก้าวไกลควบคู่ไปกับวิทยาการสมัยใหม่

โชนเบิร์กใช้ “ระบบทเว็ลฟ – โทน” ในผลงานหมายเลขสุดท้ายของ Five Pieces for Piano ในปี 1923 และในท่อนที่ 4 ของ Serenade ในปีเดียวกัน ผลงานการประพันธ์ชิ้นแรกของโชนเบิร์กที่สร้างขึ้นด้วย “ระบบทเว็ลฟ – โทน” โดยตลอดคือ Suite for Piano ในปี 1924 ระบบ “ระบบทเว็ลฟโทน” กลายเป็นเครื่องมือ
การทำงานของโชนเบิร์กที่เขาใช้ด้วยความชำนาญอย่างน่าพิศวงและไม ่ซ้ำซากจำเจ นอกจากประสบความสำเร็จในด้านการต้อนรับของผู้ฟัง

แล้วยังก่อให้เกิดประโยชน์การนำไปสู่แนวคิดความเข้าใจเรื่องดนต รีซึ่งแตกต่างไปจากเดิมที่ยึดถือกันมากว่า 300 ปี

นอกจากผลงานด้านดนตรีแล้วโชนเบิร์กยังมีผลงานเขียนด้วย ได้แก่ “ทฤษฎีแห่งเสียงประสาน” (Harmonielehre) ในปี 1911 ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ (Theory of Harmony) ในปี 1947 และยังเป็นอาจารย์สอนการประพันธ์ดนตรีในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หลาย ๆ แห่งถือว่ามีคุณค่าต่อวงการดนตรีต่อ ๆ มา

ในบั้นปลายชีวิตของโชนเบิร์กเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกันและใช้ช ีวิตอย่างเรียบง่ายจนถึงแก่กรรมในปี 1951 ขณะอายุได้ 77 ปี (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 260)

2. เบลา บาร์ตอค (Bela Bartok, 1881-1945)
เกิดวันที่ 25 มีนาคม 1881 ตำบล Nagyszentmiklos ประเทศ ฮังการี บิดาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกสิกรรมประจำตำบล มารดา เป็นครู ทั้งพ่อและแม่มีความสามารถทางด้านดนตรี แต่บาร์ตอคไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนจากพ่อเนื่องจากพ่อถึงแก่กรร มเมื่อบาร์ตอคอายุได้ 8 ขวบ
เพลงที่บาร์ตอคประพันธ์ขึ้นมีแนวการประพันธ์เพลงสมัยใหม่โดยใช้ เพลงพื้นเมืองของฮังการีและรูมาเนียเป็นวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งท้ายที่สุดทำให้เขามีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วนานาชาติว่า เป็นผู้รอบรู้ใน ดนตรีพื้นเมืองอย่างดียิ่ง

บาร์ตอคเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีหลักการประพันธ์เพลงเป็นเอกลักษณ์ข องตนเองซึ่งทำให้มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประพันธ์เพลงชั้นแนวหน้าผ ู้หนึ่งในสมัยศตวรรษที่ 20

ผลงานของบาร์ตอคที่น่าสนใจมีมากมายได้แก่ โอเปร่า Duke Bluebeard’s Castle, บัลเลท์ The Miraculous Mandarin เปียโนคอนแชร์โต 3 บท ไวโอลินคอนแชร์โต 2 บท สตริงควอเตท 6 บทและดนตรีสำหรับเปียโนอีกมากมาย โดยเฉพาะชุด Mikrokosmos บทเพลงสำหรับฝึกเทคนิคการเล่นเปียโนกว่า150 บท

ชีวิตในบั้นปลายของบาร์ตอคมีลักษณะเช่นเดียวกับโมสาร์ท และ ชูเบิร์ท กล่าวคือ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นยากจน ในปี 1944 บาร์ตอคต้องเผชิญกับโรคร้ายคือมะเร็งโลหิตแพทย์ยับยั้งได้ก็แต่ เพียงให้ยาและถ่ายเลือด จนกระทั่งเดือนกันยายน ปี 1945 ขณะที่กำลังประพันธ์เพลงวิโอลาคอนแชร์โตให้ วิลเลียม พริมโรสอาการของโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงขั้นต้องส่งโรงพยาบาลจนในที่สุดก็สิ้นใจเมื่อเวลาเ กือบเที่ยงวันของวันที่ 26 กันยายน 1945 หลังจากการสิ้นชีวิตของบาร์ตอคไม่นานนักชื่อเสียงของเขาก็ได้รั บการกล่าวขานในฐานะคีตกวีเอกของโลกผู้หนึ่งแห่งดนตรีสมัยใหม่

3. อีกอร์ สตราวินสกี (Igor Stravinky,1882-1971)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียโดยกำเนิด เกิดวันที่ 17 มิถุนายน1882 ที่เมือง โลโมโนซอบใกล้กับเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กแล้วย้ายมาอยู่ในประ เทศฝรั่งเศส จากนั้นย้ายมาตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา พ่อเป็นนักร้องโอเปร่าประจำเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กและหวังที ่จะได้เห็นลูกเรียนจบกฎหมายและทำงานราชการ ชีวิตในตอนเริ่มต้นของสตราวินสกีคล้ายกับไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky) ตรงที่ได้เรียนเปียโนตั้งแต่วัยเด็ก โดยที่บิดามารดาไม่ได้หวังให้เอาดีทางดนตรี ดังที่กล่าวข้างต้น เขาได้เรียนการประพันธ์ดนตรีกับริมสกี้ คอร์ชาคอฟ (Rimsky – Korsakov)

งานของสตราวินสกีมีหลายสไตล์เช่น Neo – Classic คำว่า “Neo” แปลว่า “ใหม่” งานสไตล์ “คลาสสิกใหม่” กล่าวคือ คลาสสิกที่คงแบบแผนการประพันธ์เดิมแต่มีทำนอง เสียงประสาน ฯลฯ สมัยใหม่ นอกจากนี้ก็มีสไตล์ อิมเพรสชั่นนิส (Impressionis) ซึ่งมีหลักการสอดคล้องกับงานนามธรรม (Abstractionism) ทางจิตรกรรม

ผลงานแต่ละชิ้นของสตราวินสกีไม่มีซ้ำกันเลยแม้จะเป็นสไตล์เดียว กันก็ตาม เขาพยายามแทรกแนวคิดใหม่ ๆ ในการประสานเสียง การใช้จังหวะลีลาแปลก ๆ และการเรียบเรียงแนวบรรเลงให้เกิดเสียงที่มีสีสรรอันประหลาดลึก ล้ำและเขาก็ทำงานด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองอย่างสมเหตุสมผลมีผู ้กล่าวในทำนองที่ว่าทฤษฎีที่ผิดของสตาวินสกีนั้นเป็นทฤษฎีที่ถู กต้อง เขาเองมีความเชื่อว่าเสียงดนตรีทุกเสียงมีความบริสุทธิ์และมีคว ามสำคัญในตัวมันเองเท่าเทียมกันหมดในทุกกรณี

สตาวินสกีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของวงการดนตรีก่อนเกิดสงคราม โลกครั้งที่1ด้วยผลงานเพลงประกอบบัลเล่ท์ The Firebird, Petrushka, และ The Rite of Spring (Le sacre du Printemps)เป็นเพลงประกอบบัลเล่ย์เริ่มการประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1910 เขียนไปเรื่อย ๆ กระทั่งวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1913 จึงเขียนเสร็จให้นักดนตรีฝึกซ้อม แล้วนำออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1913 ณ The Theatre des Champs-Elysees กรุงปารีส โดยมีปิแอร์ มองตัว (Pierre Monteux) เป็นผู้ควบคุมการบรรเลง

The Rite of Spring สร้างความตระหนกตกใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมากเพราะเป็นการล้มล้า งความคิดเก่า ๆ ลงอย่างสิ้นเชิง บทเพลงใช้หลายบันไดเสียงในเวลาเดียวกัน ใช้จังหวะที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา นับเป็นการแหกคอก แม้ผู้ฟังในปารีสเองยังทนไม่ได้ เล่ากันว่ามีจลาจลย่อย ๆ เลยทีเดียวที่มีการบรรเลงดนตรีแหกคอกครั้งนั้น นอกจากนี้ยังมีเพลงที่ได้รับความนิยมได้แก่ Symphony in three movements, Ebony concerto (Rhapsody concerto), Ragtime, The Song of the nightingale,Piano – Rag – Music

สตาวินสกีประพันธ์ดนตรีจนกระทั่งวาระสุดท้าย เขาสิ้นชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ1971 ที่เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมอายุได้ 89 ปี นับว่าเป็นคีตกวี ที่อายุยืนมากคนหนึ่ง เข้าแจ้งความประสงค์ก่อนตายว่าอยากให้ฝังศพของเขาไว้ใกล้ ๆ หลุมศพของดีอากีเล็ฟ ที่สุสานซานมีเช็ล (San Michele) ในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ทางการอิตาลีให้มีการจัดขบวนแห่ศพไปตามคลองเมืองเวนิซมุ่งสู่สุ สานแห่งนั้น ซึ่งมีมุมหนึ่งเป็นสุสานสำหรับคนรัสเซียโดยเฉพาะ (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 280)

4. อัลบาน เบิร์ก (Aban Berg, 1885 – 1935)
นักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียเป็นลูกศิษย์ของโชนเบิร์กและนำเอาหล ักการใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง (Atonality) มาพัฒนารูปแบบให้เป็นของตนเอง เพื่อต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าลักษณะบันไดเสียงแบบนี้สามารถนำม าใช้ในการประพันธ์เพลงให้มีลักษณะเป็นดนตรีที่มีความไพเราะสวยง ามและเต็มไปด้วยอารมณ์ในปัจจุบัน เบิร์กเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ประพันธ์เพลงประเภทโอเปร่าและไวโอ ลินคอนแชร์โต (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 : 180)

5. เซอร์ไก โปรโกเฟียฟ (Sergei Prokofiev, 1891-1953)
นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซียเกิดวันที่ 23 เมษายน 1891 ทางภาคใต้ของรัสเซีย เริ่มเรียนเปียโนจากมารดาตั้งแต่เด็ก ต่อจากนั้นไม่นานนักเขาก็สามารถประพันธ์ดนตรี ทั้งประเภทดนตรีบรรเลงและดนตรีสำหรับโอเปร่า (Opera) ตั้งแต่อายุเพียง 9 ขวบ

ประวัติการสร้างสรรค์ของเขาเริ่มต้นตั้งแต่เยาว์วัย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เขาเติบโตมาเป็นคีตกวีเอกคนหนึ่งของโลกคน เราอาจเริ่มต้นดีได้ด้วยกันทั้งนั้น แต่น้อยคนที่จะยืนหยัดได้ตลอดรอดฝั่ง ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นความจริงที่ว่า “สิ่งที่พิสูจน์คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ตอนเริ่มแต่ทว่าอยู่ที ่ตอนจบ” โปรโกเฟียฟ เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งที่ทำให้ชนรุ่นหลังควรนำมาเป็นแบบอย่างทั ้งทางด้านความวิริยะอุตสาหะ ในการฝึกฝนดนตรี

ผลงานที่ประพันธ์ที่สำคัญที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดจำนวนหนึ่งถ ูกเขียนขึ้นซึ่งรวมทั้งซิมโฟนีหมายเลข 5 ประกอบด้วย นิทานดนตรี Peter and the Wolf บัลเลย์เรื่อง Romeo and Juliet และโอเปร่าเรื่อง War and Peace (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :293)

6. พอล ฮินเดมิธ (Paul Hindemith, 1895-1963)
ผู้ประพันธ์ เพลงและนักไวโอลิน วิโอลาชาวเยอรมัน ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา หลังจากนาซีมีอำนาจในยุโรป ฮินเดมิธ ประพันธ์เพลงเด่นในลักษณะของดนตรีสำหรับชีวิตประจำวันมากกว่าดน ตรีศิลปะ ที่เรียกว่า “Gebrauchsumsik” ผลงานสองชิ้นของเขายังคงเป็นผลงานดีเด่นที่บรรเลงในการแสดงคอนเ สิร์ต คือ Symphonic Mathis der Maler ดัดแปลงจากโอเปร่าของฮินเดมิธเอง และ Symphonic Metamorphose on Themes of Wehse แนวการประพันธ์ของฮินเดมิธได้ยึดหลักการใช้บันไดเสียง 12 เสียง (Atonality) โดยไม่ละทิ้งระบบเสียงที่มีเสียงหลัก ซึ่งฮินเดมิธถือว่าเป็นหลักสำคัญต่างไปจากหลักการของโชนเบิร์ก (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :181)

7. จอร์จ เกิร์ชวิน (George Gershwin, 1898 – 1937)
ผู้ประพันธ์และนักเขียนเพลง ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 26 กันยายน 1898 บิดาเป็นชาวยิวอพยพจากรัสเซีย เกิร์ชวินเริ่มอาชีพเป็นนักเขียนเพลง ในระหว่างปี 1920-1930 เพลงแรกของจอร์จ คือ Since I Found You ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน จอร์จชื่นชมผลงานของเออร์วิง เบอร์ลิน (Irving Berlin) ซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงป๊อปปูล่าสมัยนั้นเพลงที่มีชื่อเสียงเพ ลงแรกของเบอร์ลิน คือ Alexander’s Ragtime Band

ผลงานชิ้นเอกของเกิร์ชวินได้แก่ Rhapsody in Blue สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตราหรือวงดนตรีประเภทแจ๊ส Cuban Overture สำหรับวงออร์เคสตรา Concerto in F สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา Piano Preludes, Porgy and Bess (Folk opera), An American in Paris งานชิ้นแรกสำหรับเวทีบรอดเวย์คือ La La Lucille นอกจากนี้แล้วผลงานเพลงของเกิร์ชวินถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อคีตกว ี ในงานดนตรีประเภทที่เรียกว่า “เซียเรียส มิวสิค” (Serious Music) และมีผลต่อดนตรีแจ๊ส (Jazz) การที่ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อวงการดนตรีอย่างกว้างขวางนี้แหละ ที่ทำให้เกิร์ชวิน และคีตกวีเอกอื่น ๆ เป็นผู้ที่ประวัติศาสตร์ดนตรีไม่อาจตัดชื่อของเขาทิ้งไปได้

เกิร์ชวินก็หนีไม่พ้นความตายเฉกเชนกับมนุษย์คนอื่น ๆ ทั่วไป เขาจากโลกไปเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 1937 ด้วยโรคเนื้องอกในสมอง วิทยุประกาศข่าวการมรณกรรมของเขาว่า “บุรุษผู้กล่าวว่าในหัวของเขามีเสียงดนตรีมากเกินกว่าที่เขาจะส ามารถบันทึกลงบนกระดาษให้หมดได้ ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้วในวันนี้ที่ฮอลลิวู้ด” (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 300)

8.อารอน คอปแลนด์ (Aaron Copland, 1900-1991)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอเมริกันซึ่งวัตถุดิบในการแต่งเพลงนำมาจากสั งคมของอเมริกันเองไม่ว่าจะเป็นเพลงประเภทพื้นเมือง เพลงเต้นรำ ดนตรีแจ๊ส หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ในสังคมอเมริกันผลงานเพลงของคอปแลนด์ประกอบด้วย ดนตรีบัลเลท์ Billy the Kid, Rode และAppalachian Spring เป็นเพลงที่นิยมบรรเลงโดยไม่มีบัลเลท์ประกอบในระยะต่อ ๆ มา เพลงสำหรับออร์เคสตรา El Salon Mexico และ A Lincoln Portrait มีการบรรยายประกอบวงออร์เคสตรานอกจากนี้ยังแต่งเพลงประกอบภาพยน ต์อีกจำนวนหนึ่ง

9. ดมิทรี ชอสตาโกวิช (Dmitri Shostakovich, 1906 – 1975)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย เกิดที่เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ 25 กันยายน 1906 เข้าเรียนดนตรีในสถาบันดนตรีแห่ง เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ขณะอายุ 13 ปี ได้เรียนเปียโนกับ Nikolaev

ในผลงานของชอสตาโกวิชในระยะแรกมักถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงว่ายากแ ละก้าวล้ำสมัยเกินกว่าความเข้าใจของผู้ฟังที่จะรับได้ ไม่มีลักษณะของชาตินิยมอยู่ในผลงานและเขาเองก็ต้องทนทุกข์กับคำ ติเตียนอย่างหนักชอสตาโกวิชยึดหลักในการแต่งเพลงที่ต้องการสนอง ความต้องการของตนเองโดยไม่ละทิ้งความต้องการของประเทศและประชาช นชาวรัสเซีย ผลงานดนตรีส่วนใหญ่ของเขาที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกและประวัติ ศาสตร์ของรัสเซียต้องยกย่องเขาให้เป็นคีตกวีคนสำคัญทางดนตรีตะว ันตกในศตวรรษที่ 20 นี้ นอกจากนี้แล้วทำนองเพลงที่สำคัญของเขาที่เขียนให้กับ
ภาพยนต์เรื่อง Vstrechnyi ได้ถูกนำมาใช้เป็นบทเพลงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Hymn)

ผลงานการประพันธ์ของชอสตาโกวิชที่เป็นผลงานขนาดใหญ่ คือ ซิมโฟนี 15 บท บางบทมีสาระเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและความรักชาติ เช่น หมายเลข 7 Leningrad Symphony (ซึ่งบางส่วนเขียนขึ้นขณะที่เมืองเลนินกราดถูกล้อมในปี 1914 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเพื่ออุทิศให้แด่ผู้ที่ต่อสู้ป้องกันเมืองเลนินกราด) นอกจากนี้ยังมีเพลงประเภทคอนแชร์โตสำหรับเครื่องดนตรี สตริงควอเตทดนตรีสำหรับเปียโน และโอเปร่าเรื่อง Lady Macbeth of Mt. Sensk District เขียนขึ้นจากงานวรรณกรรมของ Leskov ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Katerina Ismailova เป็นผลงานที่ทำให้ชอสตาโกวิชพบกับความยุ่งยากทางการเมือง มีคนที่จะพยายามใช้คำพูดอธิบายลักษณะดนตรีของชอสตาโกวิช ส่วนใหญ่มักใช้คำว่า “รุนแรง”” เด็ดขาด” ”ชัดเจน”และ “เปิดเผยตรงไปตรงมา”

ชอสตาโกวิช สิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม 1975 นอกกรุงมอสโคว์ เขาได้รับการนับถือว่าเป็นคีตกวีชาวรัสเซียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน สมัยเดียวกัน

10. คาร์ลไฮนซ์ สตอคเฮาเซน (Karlheinz Stockhausen1928 – )
ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน ซึ่งมีความเพ้อฝันและการสร้างสรรค์เกี่ยวกับดนตรีอย่างมากที่สุ ดผู้หนึ่งในศตวรรษที่ 20 ส่วนหนึ่งของผลงานการประพันธ์ใช้หลักการของโชนเบิร์ก คือ การใช้บันไดเสียง 12 เสียง (Atonality) การใช้เครื่องดนตรีประเภทอิเลคโทรนิค และพัฒนาความคิดของผู้ฟังให้มีส่วนในการทำความเข้าใจกับดนตรีด้ วยตนเอง (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 : 183)

ผลงานของสตอคเฮาเซนประกอบด้วย
– Gruppen สำหรับวงออร์เคสตรา 3 กลุ่ม
– Zyklus สำหรับเครื่องประกอบจังหวะ
– Kontelte สำหรับเสียงอีเลคโทรนิค เปียโน และเครื่องประกอบจังหวะ Hymnen เป็นดนตรีอีเลคโทรนิคโดยนำแนวทำนองของเพลงชาติประเทศต่าง ๆ มาเป็นวัตถุดิบและ Stimmung สำหรับเครื่องอีเลคโทรนิค 6 เครื่อง

สตอกเฮาเซนเป็นผู้ประพันธ์เพลงคนแรกที่พิมพ์โน้ตเพลงอีเลคโทรนิ คในรูปแบบของ แผนภูมิ นอกจากเป็นผู้ประพันธ์แล้วเขายังเป็นครูสอนแนวคิดทางดนตรีที่เป ็นของตนเองด้วย

11. ฟิลิป กลาส (Philip Glass, 1937-)
ผู้ประพันธ์เพลง ชาวอเมริกันผู้ซึ่งในระยะแรกยึดหลักการแต่งแบบมาตรฐานที่ใช้กัน มาในสมัยต่าง ๆ หลังจากไปศึกษาเพิ่มเติมด้านดนตรีในปารีส แนวคิดของกลาสเริ่มเปลี่ยนไปในทางสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากรูปแบบมาตรฐาน อย่างไรก็ตามกลาสเลิกจริงจังกับการประพันธ์เพลงไปพักใหญ่ โดยเปลี่ยนไปประกอบอาชีพเป็นคนขับรถแท็กซี่ ช่างไม้ และช่างประปา จนกระทั่งไปพบกับ ผู้ประพันธ์เพลงแนวเดียวกันอีกครั้งหนึ่งกลาสจึงตั้งวงดนตรีที่ ประกอบด้วย ออร์แกนอีเลคโทรนิค 2 ตัว ซึ่งกลาสเล่นเอง 1 ตัว ผู้เล่นเครื่องเป่า 4 คน และนักร้องหญิง 1 คน ซึ่งมิได้ถือเป็นการร้องเพลงแต่ทำหน้าที่เป็นเสมือนเครื่องดนตร ีชิ้นหนึ่ง วงดนตรีนี้เล่นเพลงที่กลาสประพันธ์เอง ซึ่งระยะแรกไม่มีผู้สนใจฟังสักเท่าไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ฟังเริ่มสนใจและติดตามผลงานของกลาสมากขึ้ น

หลักการที่กลาสใช้ในการประพันธ์เพลง คือ การบรรเลงแนวทำนองหนึ่งซ้ำ ๆ กัน และเริ่มบรรเลงแนวทำนองต่อไป ซึ่งพัฒนามาจากทำนองเดิมโดยเพิ่มตัวโน้ตเข้าไปทีละ 2 ตัว และทำเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปจนในที่สุดแนวทำนองเดิมจะกลายเป็นแนวทำนองใหม่ที่มีความยาวมา กถึงกับมีตัวโน้ต 210 ตัว จากดั้งเดิมมี 8 ตัว

ผลงานของกลาสมีมากมายหลายประเภททั้งโอเปร่า ดนตรีบรรเลงในแนวอีเลคโทรนิค เช่น Music Fifth, Music in Twelve Parts, Music with Changing Parts และโอเปร่า Einstein on the Beach และ Satyagrapha เป็นต้น