เรียนสายคอม เข้าคณะอะไรได้บ้าง

           เรียน จบสายอาชีพ ต่อคณะอะไรได้บ้าง …? หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่เด็กอาชีวะหลาย ๆ คนมักจะสงสัยว่า เรียนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช.แล้ว อยากเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยจะทำได้ไหม และหากจะเรียนต่อต้องเรียนต่อในคณะใด ต้องจบสาขาใด จึงสามารถเรียนต่อในคณะที่เราสนใจ หรือสงสัยว่าจบคณะอยากเรียนแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

เรียนสายคอม เข้าคณะอะไรได้บ้าง

สำหรับเด็กสายอาชีพ หรือเด็กอาชีวะนั้น เส้นทางการเรียนต่อมีอยู่ 2 เส้นทาง ดังนี้ 

  1. เรียนต่อสายวิชาชีพในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ปวส. ทั้งนี้ เด็กที่เรียนสายอาชีพส่วนใหญ่แล้วเมื่อจบวุฒิ ปวช. มักจะเรียนต่อในระดับ ปวส. ต่อยอดสายอาชีพกันแบบเต็มตัว เพราะข้อดีสำหรับการเรียนลงลึกสายอาชีพ นอกจากจะได้ความรู้เฉพาะทาง เสริมทักษะในวิชาชีพในเชิงลึกมากขึ้น เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพได้ทันที เพราะมีความรู้ทั้งในภาควิชาการและภาคปฏิบัติ ที่สำคัญวุฒิ ปวส. สายอาชีพเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานหลายบริษัท โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรม วิศวกรรม
  2. เบนสายไปเรียนต่อปริญญาตรี ในระดับมหาวิทยาลัย สำหรับเด็กอาชีวะที่เรียนจบในสายวิชาชีพมา และสนใจจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ในปัจจุบันมีทางเลือกที่หลากหลาย เพราะมีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐบาลและมหาวิทยาลัยเอกชน โดยเฉพาะในส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชนปัจจุบันเปิดกว้าง และเปิดรับผู้ที่เรียนจบในระดับ ปวช.มากกว่า มหาวิทยาลัยของภาครัฐ โดยมีการเปิดรอบรับสมัครอย่างต่อเนื่อง และใช้เกณฑ์ของมหาวิทยาลัยเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติ ไม่จำเป็นต้องมีคะแนนสอบในระบบ TCAS

           และใครที่สนใจอยากเข้าในระบบ TCAS ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดว่า แต่ละรอบนั้นมีที่ไหนเปิดรับวุฒิ ปวช. บ้าง เพราะมหาวิทยาลัยที่ใช้ระบบ TCAS ในการคัดเลือกไม่ได้เปิดรับผู้ที่จบ ปวช. หรือสายอาชีพในทุก ๆ รอบและทุกคณะ โดยรอบที่เปิดรับสมัครผู้ที่จบสายอาชีพ หรือ ปวช. แน่นอน คือ รอบที่ 4 ซึ่งเป็นรอบที่เด็กสายอาชีพสนใจลงสมัครในรอบนี้เยอะที่สุด

จบสายอาชีพระดับปวช.เลือก 9 คณะที่ใช่  

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ เช่น วิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งผู้ที่จะเรียนต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ต้องจบ ปวช. ในสาขาวิชาเครื่องกล ยานยนต์ งานซ่อมบำรุง งานไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม สาขางานก่อสร้างโยธา
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการบัญชี สาขาการตลาด สาขาการจัดการสํานักงาน สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ผู้ที่จะเรียนต่อจบ ปวช. สาขาการบัญชี การขาย เลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ค้าปลีก การประชาสัมพันธ์ สาขาภาษาต่างประเทศ และสาขาธุรกิจบริการ เป็นต้น
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมภายใน สาขาภูมิสถาปัตย์ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม สาขาสถาปัตยกรรมไทย สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ผู้ที่จะเรียนต่อจบ ปวช. สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน การออกแบบ เป็นต้น
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ สาขาดุริยางคศิลป์ สาขานฤมิตศิลป์ สาขานาฏยศิลป์ ผู้ที่จะเรียนต่อต้องจบ ปวช. สาขางานวิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องปั้นดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพ เครื่องประดับและอัญมณี การพิมพ์ สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ดนตรีสากล และเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ สาขางานพิมพ์ เป็นต้น
  • คณะการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาการโรงแรม สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวผู้ที่จะเรียนต่อต้องจบ ปวช. สาขาคหกรรมบริการ คหกรรมเพื่อการโรงแรม สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขางานการโรงแรม การท่องเที่ยว เป็นต้น
  • คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งผู้จะเรียนต่อต้องจบ ปวช. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขางานเทคโนโลยีระบบเสียง สาขาการประชาสัมพันธ์ สาขาภาษาต่างประเทศ เป็นต้น
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาชีวสารสนเทศ ซึ่งผู้จะเรียนต่อต้องจบ ปวช. สาขาวิชาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ สาขาธุรกิจคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและบริการ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยผู้จะศึกษาต่อในคณะนี้ต้องมีวุฒิ ปวช. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจเสื้อผ้า สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร สาขางานคหกรรมการผลิต เป็นต้น
  • คณะอุตสาหกรรม สาขาช่างยนต์ สาขาช่างกลโรงงาน สาขาช่างเชื่อมโลหะ สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาช่างก่อสร้าง โดยผู้จะศึกษาต่อในคณะนี้ต้องมีวุฒิ ปวช. สาขาช่างกล สาขาช่างไฟฟ้า สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างเชื่อม เป็นต้น
  • คณะเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาประมง ผู้เรียนต่อต้องจบการศึกษา ปวช. สาขางานพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ และการประมงทะเล เป็นต้น

           นอกจากคำถามเกี่ยวกับคณะที่เด็กสายอาชีพจะสามารถเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว อีกคำถามยอดฮิตคือ เรียนจบแล้วในแต่ละคณะสามารถไปทำงานอะไรกันบ้าง ซึ่งคำตอบนั้นมีหลากหลายแตกต่างกันไป เพราะขึ้นอยู่กับความต้องการในตลาดงาน และแน่นอนว่าสายงานที่มีความต้องการบุคลากรสูงมาก ๆ มีอยู่จำนวนมาก เช่น สายงานด้านวิศวกรรม วิศวกรซอฟต์แวร์และนักพัฒนา นักวิเคราะห์ข้อมูล นักออกแบบและวิเคราะห์ระบบด้านไอที นักการตลาด นักการเงิน นักออกแบบ กราฟฟิกดีไซน์ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหาร ผู้ผลิตและคิดค้นผลิตภัณฑ์ทางด้านความงาม เครื่องสำอาง อาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และอีคอมเมิร์ซ สถาปนิก มัณฑนากร และสาขาโลจิสติกส์ การขนส่ง อาชีพในสายงานการบัญชี เป็นต้น

           อาชีพข้างต้นเหล่านี้ล้วนเป็นอาชีพที่พร้อมเปิดรับบุคลากรจบใหม่จากคณะและสาขาที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เปิดรับเด็กสายอาชีพเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในปัจจุบัน คราวนี้เราก็ได้คำตอบกันแล้วว่า จบสายอาชีพ ต่อคณะอะไรได้บ้าง สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังวางแผนสมัครงาน จัดเตรียมเรซูมเม่สำหรับสมัครงานที่เราใฝ่ฝัน เข้ามาดูที่แอปพลิเคชัน JobsDB กันได้เลย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เรียนสายคอม เข้าคณะอะไรได้บ้าง

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
Learn English Online เด็กสายอาชีพก็อัพสกิลภาษาอังกฤษได้ ทำงานไป เรียนไป ง่ายนิดเดียว
เรียนโลจิสติกส์ สายอาชีพสุดอินเทรนด์ ที่เป็นมากกว่าการขนส่ง
เรียนสายอาชีพใครว่าหางานไม่ได้ มาดูสายงานสำหรับนักศึกษาสายอาชีวะ 2021
เรียนต่อสายอาชีพ มีสาขาอะไรบ้าง เลือกอย่างไรให้ตรงใจ

เรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คณะอะไร

การคอมพิวเตอร์.
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ (CS).
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE).
สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE).
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร (IT).
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (BC).

คณะ ไอที เรียนเกี่ยวกับอะไร

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ "ไอที" (information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเน้นเรียนทางด้านระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น การเรียนทางด้านกราฟิก และยังรวมถึงศาสตร์อื่นๆ ทางด้าน ...

สาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

ชื่อสาขา คอมพิวเตอร ชื่อสาขาวิชา (๑) วิทยาการคอมพิวเตอร (๒) วิศวกรรมคอมพิวเตอร (๓) วิศวกรรมซอฟตแวร (๔) เทคโนโลยีสารสนเทศ (๕) คอมพิวเตอรธุรกิจ

เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ที่ไหนดี

อันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับ 2 ม.เกษตรศาสตร์ อันดับ 3 ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง อันดับ 4 ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)