ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะเกิดกับประเทศที่มีลักษณะอย่างไร

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ คืออะไร?

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ คือ ปัญหาที่เกิดจากการที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่ต้องผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่ไม่จำกัดของมนุษย์ ทำให้ทุกประเทศต้องพบกับปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ (Economics Problem) 3 ข้อ คือ What to Produce, How to Produce, และ For Whom to Produce

โดยความหมายของปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ (Economics Problem) แต่ละปัญหามีความหมายดังนี้

What to Produce คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร

How to Produce คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการอย่างไร

For Whom to Produce คือ ผลิตสินค้าหรือบริการไปเพื่อใคร

What to Produce

What to Produce คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร 

ปัญหา What to Produce เกิดจากการที่ทรัพยากรในการผลิตของทุก ๆ ประเทศมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถผลิตทุกอย่างที่ต้องการได้ จึงเกิดเป็นปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ ข้อแรก คือ จะเลือกผลิตสินค้าอะไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด

How to Produce

How to Produce คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการอย่างไร

How to Produce เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากที่เลือกได้แล้วว่าจะผลิตสินค้าอะไร (What to Produce) เนื่องจาก สินค้าและบริการแต่ละชนิดมีวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งก็จะต้องพิจารณาว่าจะผลิตด้วยวิธีใด และจะใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างไรจึงจะทำให้การผลิตเกิดประโยชน์สูงสุด

For Whom to Produce

For Whom to Produce คือ ผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อใคร

For Whom to Produce เกิดจากการที่หลังจากผลิตสินค้าหรือบริการออกมา ปัญหาที่ตามมา คือ จะกระจายสินค้าไปให้กับคนกลุ่มใดบ้าง และจะใช้วิธีใดในการเลือกสรรวิธีการกระจายสินค้าออกไป

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อใช้ในการผลิตสินค้านั้นมีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทั้งหมด

ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาทางเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถือว่าได้ว่า เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่บุคคล กลุ่มบุคคล และรัฐจะต้องหาทางแก้ไข้

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เกิดจากกรณีที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด จะเกิดขึ้นเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด หรือจะเป็นประเทศใดก็ตาม ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีดังนี้

1. ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (What to be produced)

ปัญหาแรกของปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจก็คือ ควรผลิตสินค้าและบริการอะไรบ้าง นั้นเพราะไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการได้ทุกชนิด เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือมีความขาดแคลน ดังนั้น สังคมต้องตัดสินใจว่า ควรจะผลิตสินค้าอะไรบ้าง ถึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดีที่สุด

ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อตัดสินใจได้ว่าจะผลิตอะไร ก็ต้องตัดสินใจต่อไปด้วยว่า จะผลิตสินค้าและบริการดังกล่าวนั้นในจำนวนเท่าใด เพื่อที่จะสามารถผลิตสินค้าและบริการอื่น ๆ ได้ด้วย ทั้งนี้ จะต้องไม่ลึมคำนึงถึงปริมาณทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือมีความขาดแคลนด้วย

2. ปัญหาว่าผลิตอย่างไร (How to produce)

ในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดนั้น อาจมีกรรมวิธีในการผลิตหลากหลายวิธี แต่จะต้องคำนึงว่า วิธีใดที่จะช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตได้มากที่สุดโดยได้ผลผลิตมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิค ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตนั้น มีอยู่อย่างจำกัด การที่จะนำปัจจัยการผลิตไปผลิตสินค้าอย่างหนึ่งอย่างใด ย่อมทำให้เหลือทรัพยากรไปผลิตอย่างอื่นน้อยลง ดังนั้น จึงทำให้เกิดการเลือกว่า จะใช้วิธีการในการผลิตอย่างไร โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด

3. ปัญหาว่าจะผลิตเพื่อใคร (For whom)

เป็นปัญหาในเรื่องการพิจารณาว่า จะผลิตสินค้าไปเพื่อใคร หรือให้ใคร หรือควรจะจัดสรรไปให้กับใครบ้าง ใครจะได้รับสินค้ามากน้อยเพียงใด ถึงจะทำให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ทรัพยากร

นั้นก็เพราะว่า ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่มนุษย์มีการเพิ่มประชากรขึ้นเรื่อย ๆ การจัดสรรสินค้าทุก ๆ อย่าง ให้แก่คนทุก ๆ คน ย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงทำให้เกิดปัญหาการเลือกว่า จะผลิตเพื่อใครและใครควรได้รับหรือไม่ได้รับสินค้าดังกล่าว

จากที่ได้กล่าวมาเกี่ยวกับ “ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ” สาเหตุหลักของการเกิดปัญหาดังกล่าวทั้ง 3 ข้อก็คือ ทรัยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเรื่องจำนวนประชากร เป็นประเด็นสำคัญจนถึงขึ้นทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาทีเดียว

ที่จำนวนประชากรเป็นปัญหานั้นก็เพราะว่า จำนวนประชากรมีผลต่อความขาดแคลน กล่าวคือ ทรัยากรมีอยู่อย่างจำกัด แต่ประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะทำให้เกิดความขาดแคลนได้

นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ โทมัส โรเบิร์ต มัลทัส (Thomas Robert Malthas) ได้ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับประชากร กล่าวคือ ความสามารถในการผลิตอาหารของมนุษย์มีอัตราก้าวหน้าเลขคณิต (Arithmetic Progression) คือ เพิ่มจาก 1 เป็น 2, 3, 4…. ส่วนประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าเรขาคณิต (Geometric Progression) คือ เพิ่มจาก 1 เป็น 2, 4, 8, 16…

นอกจากการเพิ่มขึ้นของประชากรแล้ว อัตราการเสียชีวิตของประชากรก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าด้านสาธารณสุข ทำให้ประชากรมีอายุยาวนานขึ้น

ด้วยการเพิ่มขึ้นของประชากร บวกกับการเสียชีวิตที่น้อยลง ทำให้จำนวนประชากรที่มีชีวิตมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้น แต่ทรัพยากรยังคงมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้เกิดปัญหาความขาดแคลน และด้วยเหตนี้เอง จึงทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ว่า จะผลิตอะไร จะผลิตอย่างไร และจะผลิตเพื่อใคร

แบบฝึกหัด เรื่อง ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

  1. ต้นตอหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ อะไร
  2. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีกี่ข้อ อะไรบ้าง
  3. What to be produced คือ อะไร
  4. How to produced คือ อะไร
  5. For Whom ในปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ อะไร

ข้อสอบ เรื่อง ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

  1. ข้อใดคือสาเหตุของปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
    ก. ปัญหาว่าจะผลิตอะไร
    ข. ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ
    ค. ประชากรมีมากขึ้นแต่ทรัพยากรมีจำกัด
    ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
  2. การเลือกว่าผู้ใดที่เหมาะสมแก่การได้รับผลผลิตจากการผลิต ตรงกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้
    ก. ปัญหาว่าจะผลิตอะไร
    ข. ปัญหาว่าจะผลิตอย่างไร
    ค. ปัญหาว่าจะผลิตเพื่อใคร
    ง. ปัญหาว่าจะผลิตหรือไม่ผลิต
  3. ข้อใดคือสาเหตุของการทำให้ทรัพยากรไม่เพียงพอจนทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
    ก. จำนวนประชากร
    ข. ความขาดแคลน
    ค. วิทยาการทางการแพทย์
    ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
  4. ข้อใดต่อไปนี้คือนิยามที่ตรงกับคำที่ว่า What to be produced
    ก. การพิจารณาว่าจะกระจายผลผลิตให้กับใครบ้าง
    ข. การตัดสินใจว่าจะผลิตอะไรและผลิตจำนวนเท่าใด
    ค. การเลือกวิธีการที่จะใช้ในการผลิตเพื่อให้คุ้มค่ามากที่สุด
    ง. ถูกทุกข้อ
  5. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
    ก. จะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และเพื่อเพื่อใคร
    ข. ผู้ผลิต ผู้บริโภค และการแลกเปลี่ยน
    ค. การเงิน การธนาคาร และการคลัง
    ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.

เฉลยข้อสอบ

1) ค. 2) ค. 3) ก. 4) ข. 5) ก.