ของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม มีอะไรบ้าง

ปัญหาอ้วนลงพุง รอบเอวที่มากเกินไป ตลอดจนระบบเผาผลาญไม่ดีดังเดิม ทั้งหมดนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะเมแทบอลิกซินโดรมที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และอัมพาต (Stroke) เป็นต้น ดังนั้นการรู้เท่าทันสาเหตุ หมั่นสังเกตความผิดปกติ และดูแลใส่ใจร่างกายอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะเมแทบอลิกซินโดรม

 

รู้ให้ทันเมแทบอลิกซินโดรม

ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) คือ ภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติไป ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันสูง ซึ่งต่อมาภาวะเหล่านี้จะส่งผลให้มีปัญหาต่อหลอดเลือดและหัวใจ  เกิดหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ในที่สุด ซึ่งภาวะเมแทบอลิกซินโดรมนี้มักพบในผู้ป่วยที่ไขมันในช่องท้องมากขึ้น หรือที่เราเรียกว่า อ้วนลงพุง (Central Obesity) ซึ่งไขมันเหล่านี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ความสมดุลของฮอร์โมนที่ผิดปกติ รวมถึงการออกฤทธิ์ของอินซูลินทำได้ไม่ดี (Insulin Resistance) ทำให้เกิดเบาหวานและอาการต่าง ๆ ดังกล่าว

 

ต้นเหตุของโรค

สาเหตุหลักของภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ได้แก่

  1. โรคอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง นำไปสู่ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ไขมันดีในเลือดต่ำ รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทั้งจากพันธุกรรมและสาเหตุภายนอก เช่น ความอ้วน อายุที่เพิ่มขึ้น ยาบางชนิด โดยคนที่อ้วนลงพุงจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากกว่าคนที่อ้วนบริเวณสะโพก

 

ของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม มีอะไรบ้าง
ของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม มีอะไรบ้าง
ของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม มีอะไรบ้าง

ตามที่ได้อธิบายความหมายของเมแทบอลิซึมไปข้างต้นแล้ว เพื่อนๆ น่าจะเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกายของเรามากขึ้นแล้ว คำถามคือแล้วระบบนี้สำคัญขนาดไหนต่อสิ่งมีชีวิตหรือ? คำตอบคือสำคัญมากค่ะ เพราะเรียกง่ายๆ ก็คือ ระบบนี้เป็นระบบที่ช่วยรักษาสมดุลให้กับร่างกายของพวกเรานั่นเอง เพราะไม่ว่าเราจะกินอะไรเข้าไปก็ตาม ร่างกายของเราจะมีการพิจารณาว่าสามารถนำเอาสารอาหารใดไปใช้ได้บ้าง และแน่นอนว่าถ้ามีมากจนเกินความจำเป็น ร่างกายเราก็จะเก็บรักษาสารอาหารเอาไว้ในรูปของไขมันนั่นเอง 

หากร่างกายของเรามีอัตราการเผาผลาญที่ลดต่ำลงหรือขาดหายไป อาจส่งผลให้สิ่งมีชีวิตมีสารอาหารอยู่ในร่างกายในปริมาณที่มากจนเกินไป โดยที่ไม่สามารถนำเอาสารอาหารเหล่านี้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานได้ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือประชากรส่วนใหญ่คงจะตัวใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้นนั่นเอง ถ้าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่ที่เมื่อคนเราอายุมากขึ้นจะมีอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมที่ลดต่ำลง? 

หากอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมลดต่ำลงจะส่งผลต่อเราอย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าหากเราอายุมากขึ้นระบบเผาผลาญจะแย่ลงหรืออัตราการเกิดเมแทบอลิซึมจะลดต่ำลงไปโดยปริยาย คำถามคือมันเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? 

นักชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ได้ทำการศึกษาและเปรียบเทียบมนุษย์ในวัยตั้งแต่ 8 วัน ถึง 95 ปี โดยงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Science ฉบับเดือนสิงหาคม 2021 ซึ่งพบว่าแท้จริงแล้วอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญหากคุณมีอายุมากขึ้น เพราะช่วงวัย 20-60 ปี ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการนี้แต่อย่างใด 

แต่สิ่งที่ทำให้คนที่มีอายุมากขึ้นมีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น น่าจะเป็นเพราะการสูญเสียปริมาณกล้ามเนื้อ (muscle mass) ไปต่างหาก และด้วยปริมาณฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป การทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ลดต่ำลง ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มากเกินจำเป็น สิ่งเหล่านี้มีโอกาสที่จะเป็นเหตุผลของการมีน้ำหนักที่มากขึ้นด้วย

วิธีการรักษาอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมทำได้อย่างไรบ้าง?

เชื่อว่าหลายคนที่มีอายุเกิน 30 ปี (อย่างเช่นผู้เขียน) คงเกิดคำถามขึ้นมาบ้างแล้วว่า แล้วทีนี้จะทำอย่างไรให้ระบบเผาผลาญของเรายังคงทำงานได้ดีอยู่ล่ะ? เป็นคำถามที่พวกเราทุกคนถามซ้ำไปมาและคำตอบก็คงเป็นอย่างเดิมอยู่เสมอ นั่นคือ การควบคุมและดูแลรูปแบบการใช้ชีวิตในประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่ โดยเน้นที่โปรตีนและวิตามินเป็นหลัก เช่น หากคุณชอบผัดกระเพรา คุณสามารถเลือกทานผผัดกระเพราที่มีเนื้อสัตว์มากกว่าปกติและทานข้าวให้น้อยลง เป็นต้น 

การควบคุมอาหารคือปัจจัยสำคัญของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนัก การรักษารูปร่าง หรือแม้แต่การเพิ่มหรือคงระบบเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบจากการเลือกอาหารเข้าไปรับประทานทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าคุณต้องการลดน้ำหนัก คุณก็เพียงแค่ทานแป้งและไขมันในปริมาณที่น้อยลง และออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นควบคู่ไปด้วย เพียงเท่านี้น้ำหนักของคุณก็จะลดลงแล้วค่ะ

แต่ทว่าคุณต้องการสร้างซิกซ์แพ็กหรือกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกายให้ดูแข็งแรงและได้สัดส่วนมากยิ่งขึ้น จากที่คุณต้องลดอาหารจำพวกแป้งและไขมัน คุณก็แค่เพิ่มการรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนที่จะสามารถช่วยสนับสนุนการสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น และออกกำลังกายชนิดเพิ่มน้ำหนักหรือเวทเทรนนิ่งให้มากขึ้น เพียงเท่านี้คุณก็จะมีหุ่นที่สวยแล้ว

ฟังดูผิวเผินเหมือนจะง่าย แต่สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความอดทนและความสม่ำเสมอ หากคุณตั้งใจแล้วคุณก็จะได้ผลลัพธ์ตามที่คุณต้องการ! และนี่อาจะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยคุณได้

  • รับประทานอาหารให้เป็นเวลาและทานอาหารในปริมาณที่น้อยแต่บ่อยขึ้น เพื่อลดการเผาผลาญในอัตราที่ช้าลงหากคุณรับประทานอาหารในปริมาณที่มาก และแทนที่จะได้สารอาหารตามที่เรารับประทานเข้าไปจริง ๆ ท้ายที่สุดหากมีมากจนเกินไปร่างกายจะเปลี่ยนรูปจากสารอาหารเหล่านั้น (ไกลโคเจนที่ได้จากคาร์โบไฮเดรต หรือ กรดอะมิโนที่ได้จากโปรตีน) ไปเป็นไขมันแทนนั่นเอง
  • ทานอาหารในปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสม โดยปกติแล้วผู้หญิงจะต้องได้รับประทานอาหารประมาณ 1,600 – 2,400 แคลอรี่ต่อวัน ส่วนผู้ชายจะอยู่ที่ 2,000 – 3,000 แคลอรี่ต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นกับกิจวัตรประจำวันด้วย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำสะอาดเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงและสอนกันมาอย่างยาวนานว่าการดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก่ว เป็นสิ่งที่ควรทำ ในบทความนี้ก็ยังยื่นยันเช่นนั้นว่าน้ำเป็นตัวช่วยหลักในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าการดื่มน้ำวันละ 1.5 ลิตร สามารถลดน้ำหนักได้ในกลุ่มของผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินในช่วงอายุ 18-23 ปี นั่นเอง
  • ลดความเครียดลง ความเครียดส่งผลอย่างมากต่อฮอร์โมนในร่างกายของเรา อีกทั้งยังส่งผลต่อการนอนหลับของเราอีกด้วย ซึ่งการอัตราเกิดเมแทบอลิซึมจะได้รับอิทธิพลและผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน

บทสรุปความสำคัญของเมแทบอลิซึมต่อสิ่งมีชีวิต

จากข้อมูลที่เราได้ทำการค้นคว้ามานี้คงจะแสดงให้เพื่อนๆ ได้เห็นบ้างแล้วว่าระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเรานั้นสำคัญมากเพียงใด โดยเฉพาะระบบหลักของการสร้างพลังงานเพื่อเก็บไว้ใช้ในร่างกายอย่าง “เมแทบอลิซึม” ดังนั้นเราก็ควรที่จะดูแลและรักษาร่างกายเพื่อคงการมีสุขภาพที่ดีโดยไม่ต้องไปเข้าคอร์สหรือหาหมอที่ไหน คุณสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง เพียงแค่คุณจะต้องทำความเข้าใจถึงความสำคัญและหลักการทำงานของมันเสียก่อน เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถดูแลร่างกายที่คุณรักได้ตราบนานเท่านาน

กระบวนการที่ใช้สำหรับขจัดของเสียจากเมแทบอลิซึมในร่างกายของสิ่งมีชีวิตเรียกว่าอะไร

การขับถ่าย (Excretion) คือ การกาจัดของเสียที่เกิดจากเมแทบอลิซึม (Metabolic waste) โดยการ กาจัดออกจากร่างกายหรือเปลี่ยนเป็นสารที่มีอันตรายน้อยกว่าแล้วกาจัดออกนอกร่างกายภายหลัง ของเสียที่เกิดจากเมแทบอลิซึม ได้แก่ 1. ของเสียที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (Nitrogenous wastes) เกิดจากการสลายสารโปรตีนและกรดนิวคลีอิก ...

กระบวนการ catabolism มีอะไรบ้าง

กระบวนการสลาย (Catabolism) คือ กระบวนการทางเคมีที่สลายส่วนประกอบหรือสารอาหารของอาหารหรือเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไป เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยจะสลายสารอาหารดังกล่าวให้อยู่ในรูปพลังงานที่พร้อมนำไปใช้เสริมสร้างการเจริญเติบโต หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

กระบวนการ anabolism มีอะไรบ้าง

แอแนบอลิซึม (anabolism) เป็นกระบวนการสร้างหรือสังเคราะห์สารจากสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กให้เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ในเมแทบอลิซึม โดยใช้พลังงานและมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น การสังเคราะห์โปรตีนจากกรดแอมิโนชนิดต่างๆ หรือการสังเคราะห์ไกลโคเจนจากน้ำตาลกลูโคส (เข้าชม 24 ครั้ง)

เมตาบอลิซึม เกิดที่ไหน

biosynthesis) เมแทบอลิซึมของลิพิดส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ตับ ทั้งการสร้างและการสลายกรดไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ และ โปรตีนที่รวมอยู่กับลิพิดเป็นลิโพโปรตีน สำหรับการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์จะเกิดขึ้นที่ตับและที่เนื้อเยื่อไขมัน การเปลี่ยนกรดไขมันอิสระให้เป็นพลังงาน กรดไขมันจะถูกออกซิไดส์ผ่านวิถีบีตา-ออกซิเดชัน ซึ่งแต่ละรอบ