ประเภทของการเสื่อมสภาพ มี 2 อย่าง มีอะไรบ้าง?

ประเภทของการเสื่อมสภาพ มี 2 อย่าง มีอะไรบ้าง?

บ่อยครั้งที่เรามักพบว่าวัสดุรอบข้างมีสีซีดจางลง หรือเกิดรอยแตกขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ !?

ความเสียหายทางกายภาพเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?  วันนี้เรามีคำตอบให้ทุกท่านค่ะ

3 สาเหตุหลักที่มีผลต่อความเสื่อมสภาพของชิ้นงานได้แก่

1. แสงแดด     

2. อุณหภูมิ

3. ความชื้น   

โดยทันทีที่ทั้ง 3 องค์ประกอบเกิดขึ้นร่วมบนชิ้นงานเมื่อไร...มันจะทำให้เกิดปรากฏการณ์เสื่อมสภาพในอัตราเร่ง!!ที่ส่งผลให้การเสื่อมสภาพของชิ้นงานทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบสูญเสียการยึดเกาะ การแตกลาย สีซีดจาง ความขุ่นมัว การเปราะ เป็นฝุ่นผง สูญเสียความเงา และการสูญเสียความแข็งแรงทั้งหมดตามมา

ประเภทของการเสื่อมสภาพ มี 2 อย่าง มีอะไรบ้าง?

ปัจจัยที่ 1 แสงแดด

แสงแดดเป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า อันประกอบไปด้วบ

  • Ultra Violet UVB, UVA ช่วงความยาวคลื่น 295-400 nm คิดเป็น 7 % ของแสงแดดทั้งหมด
  • Visible Light ช่วงความยาวคลื่น 400-800 nm คิดเป็น ครึ่งนึงของแสงแดดทั้งหมด
  • Infrared   ช่วงความยาวคลื่น 800-3000 nm คิดเป็น 38 % ของแสงแดดทั้งหมด

แม้ว่าช่วง Ultra Violet หรือแสงแดดช่วง UV คลื่นสั้น 295-400 nm จะมีเพียง 7% ของปริมาณรังสีของพระอาทิตย์ ทว่าจากงานวิจัยกลับพบว่าเป็นช่วงความยาวคลื่นที่เป็นสาเหตุหลักในการเกิด Polymer Degradation หรือการเสื่อมสภาพทางพอลิเมอร์ได้สูงสุด

ประเภทของการเสื่อมสภาพ มี 2 อย่าง มีอะไรบ้าง?

ปัจจัยที่ 2 อุณหภูมิ

โดยทั่วไปแล้ว ผลกระทบจากอุณหภูมิ ก็มีตั้งแต่

1. อุณหภูมิชิ้นงานสูงขึ้น

2. ขนาดชิ้นงานเปลี่ยน

3. การระเหย

4. การเสื่อมสภาพอันเกิดจากอุณหภูมิ หรือ Thermal Aging

5. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิะหว่างการทดสอบ หรือ Thermal Cycling

ซึ่งรวมถึงสีด้วย โดยเรามักจะพบว่าวัตถุที่มีสีเข้มกว่า จะมีอุณหภูมิสูงกว่าวัตถุที่มีสีอ่อนกว่า จึงสรุปได้ว่าวัตถุที่มีสีเข้มสามารถดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าวัตถุที่มีสีอ่อนนั่นเอง

ประเภทของการเสื่อมสภาพ มี 2 อย่าง มีอะไรบ้าง?

ปัจจัยที่ 3 น้ำและความชื้น

น้ำมีผลกระทบอะไรบ้าง

1. ปฎิกิริยาทางเคมี -อย่างการช่วยในการละลายเจือจางในสารละลาย และการเคลื่อนย้ายของโมเลกุลได้ง่ายขึ้น

2. ปฏิกิริยาทางกายภาพ -อย่างการกัดเซาะชิ้นงาน การดูดซึม การเปลี่ยนอุณหภูมิกะทันหันบนชิ้นงานหรือ Thermal Shock และเกิดการชะล้าง สูญเสียมวลที่เกิดชึ้นกับชิ้นงาน

โดยคำนิยามของคำว่าน้ำ นอกจากของเหลว ยังมีรูปแบบอื่นนั่นก็คือ ความชื้น ฝน และน้ำค้างที่ต่างให้ผลกระทบความเสียหายต่อชิ้นงานได้ทั้งหมด อาทิเช่น

- ความชื้น หรือปริมาณน้ำที่อยู่ในอากาศ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดของชิ้นงาน ให้ผลกระทบต่อชิ้นงานได้แม้ในร่มหรือกลางแจ้ง

- ฝนตก ทำให้เกิดการชะล้างที่ผิวหน้าวัสดุ รวมถึงการทำให้เกิดฝุ่นผงที่ผิวหน้าวัสดุหรือเรียกกันว่า Chalking และการเกิด Thermal Shock การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหันบนชิ้นงานได้ทุกเมื่อ

- น้ำค้าง คือไอน้ำในอากาศที่กระทบความเย็นแล่วรวมตัวเป็นหยดน้ำไปเกาะที่วัสดุ

โดยจากงานวิจัยพบว่า น้ำค้างที่เกาะบนวัสดุ กลับเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ชิ้นงานที่วางกลางแจ้ง เกิดสภาวะเปียก อย่างน่าเหลือเชื่อ

ประเภทของการเสื่อมสภาพ มี 2 อย่าง มีอะไรบ้าง?

บริษัท เอช.เจ.อุงเคิล ( ไทย ) จำกัดเป็นตัวแทนนำเข้าเครื่องทดสอบแบรนด์ Q-Lab อย่างเป็นทางการ

สำหรับท่านใดที่สนใจ หรือต้องการสอบถามข้อมูลสินค้า สามารถติดต่อได้ที่

Tel : 02 898 0411-14

Email :

รหัสหลักสูตร: 24411

จำนวนคนดู 4150 ครั้ง

กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม


สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)

สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 094-489-6364 / 097-474-6644
อีเมล์
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักการและเหตุผล

 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการ บำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) เป็นการบำรุงรักษา ตามการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ การผลิต คาดการณ์การซ่อมบำรุงล่วงหน้า ทำให้ มีความพร้อมในการซ่อมบำรุงมากยิ่งขึ้นทั้งใน ทางด้านการเตรียมการ วัสดุ อะไหล่ กำลังคน การผลิตและการส่งมอบลูกค้า

Condition Based Maintenance เป็น การซ่อมบำรุงตามการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร ทำให้เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิตใช้งานอย่าง คุ้มค่า เครื่องจักรทำงานมากขึ้น ผลผลิตมากขึ้น ลดการ Break Down ได้อย่างแท้จริง ทำให้ลด ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและการจัดเก็บรักษา วัสดุคงคลัง
การสัมมนาครั้งนี้ จะทำให้ผู้สัมมนามี ความรู้ ความเข้าใจขั้นตอนการจัดทำระบบการ กำหนดพิกัด การตัดสินใจ การทำข้อมูลที่ใช้ พยากรณ์ซ่อมบำรุงและนำประสบการณ์ที่สามารถ นำไปประยุกต์ใช้งานได้

วันที่ 9 กรกฎาคม 2558
• การเปรียบเทียบการบำรุงรักษาแบบต่างๆ
- ความแตกต่างและการประยุกต์ใช้ระบบการบำรุงรักษาแต่ละแบบ
- การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเป็นระบบบำรุงรักษาพยากรณ์
- ข้อดี-ข้อเสีย ที่ต้องมอง
• การบำรุงรักษาตามการเสื่อมสภาพ
- ผังขั้นตอนการทำระบบบำรุงรักษาตามการเสื่อมสภาพ
- การพิจารณาเลือกเครื่องจักรทำระบบ บำรุงรักษาตามการเสื่อมสภาพ
- เครื่องมือที่ใช้ ตรวจวัดวิเคราะห์หาสาเหตุ และพยากรณ์วางแผนการซ่อมบำรุง
• การตรวจวิเคราะห์สารหล่อลื่น
- การกำหนดความถี่ และจำนวนการหล่อลื่น, เวลาการเปลี่ยนถ่าย,
การอัดจาระบีหล่อลื่น
- ตารางแนะนำจำนวนการอัดจาระบี และชั่วโมงการทำงาน,
ระดับน้ำมันหล่อลื่นที่ถูกต้อง
- วิธีผสมน้ำมัน เพื่อให้ได้ความหนืดตามต้องการ
- การวิเคราะห์การหล่อลื่นด้วยตนเอง
- การวิเคราะห์จากห้องทดสอบ (Lab)
• การตรวจวิเคราะห์การเสื่อมสภาพ
- การตรวจวัดอุณหภูมิ
- การตรวจวัดเสียง
- การตรวจสภาพขณะเครื่องจักรหมุนทำงาน
- การตรวจวัดการเสียหายของแบริ่ง
- การวัดการสั่นสะเทือน
- การตรวจวัดความหนา
- ปัญหาเครื่องจักรจากการไม่สมดุล (Un balance), การติดตั้งเครื่องจักร (Misalignment), การหลวมคลาย (Looseness), การเสียหายของ Bearing
- การตรวจวัดรอยแตก-ร้าว : การใช้สีซึมลึก, การใช้ผงเหล็กเหนี่ยวนำ
• พิกัดการเสื่อมสภาพ
- พิกัดการเสื่อมสภาพผิดปกติแต่ละสาเหตุ และเทคนิคการพยากรณ์วางแผน การซ่อมบำรุง
- การกำหนดพิกัดเตือน (MAX.1) พิกัดซ่อม (MAX.2)
• การตัดสินใจหาจุดคุ้ม
- ตัวอย่างการใช้และรายงานการเสื่อม สภาพเครื่องจักร
- การตัดสินใจและจุดคุ้มทุนการทำระบบบำรุงรักษาตามการเสื่อมสภาพ
• ถาม - ตอบปัญหา

8.00 - 9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 - 16.00 น. หัวข้อสัมมนา

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)

สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 094-489-6364 / 097-474-6644
อีเมล์
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด