องค์ประกอบหลักของเสียงดนตรีมี 2 อย่างคืออะไร

   6.1 บันไดเสียงเพนทาทอนิก คือ บันไดเสียงที่จัดขั้นบันไดเสียงเป็น 5 ขั้น แต่ละขั้นมชื่อเรียกระดับเสียงและวางระยะห่างระหว่างขั้น เป็น 1 เสียงเต็ม (Tone) และ 1.5 เสียง หรือ 3 ครึ่งเสียง  (3 Semitone) ไว้ดังนี้

องค์ประกอบของดนตรี from วิริยะ ทองเต็ม

องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใดเป็นมาตราฐาน องค์ประกอบของดนตรีที่สำคัญประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้คือ เสียง ทำนอง เสียงประสาน จังหวะ และรูปแบบของดนตรี

1.3.1 เสียง (Tone)         เป็นการยากที่จะกล่าวหรือระบุได้ว่าดนตรีเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงได้อย่างแน่ชัด จึงได้แต่เพียงสันนิษฐานและตั้งข้อสังเกตจากโบราณวัตถุหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานตามหลักการและเหตุผล และคำนึงถึงความเป็นไปได้มากที่สุด ข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวกับกำเนิดของดนตรีมีดังนี้

        ลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นจะมีความแตกต่างไปจากเสียงที่มีความหมายว่า Noise เนื่องจากลักษณะของการเกิดเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงในความหมายว่า Noise นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ เสียงดนตรีไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดจากการเป่า การร้อง การดีด หรือการสี จะเป็นลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone เพราะการสั่นสะเทือนเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

เสียงประกอบไปด้วยคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการคือ ระดับเสียง ความสั้นยาวของเสียง ความดังเบาของเสียง และสีสันของเสียง

 
                
  ระดับเสียง (Pitch)
               ระดับเสียง หมายถึง ความสูงต่ำของเสียงในเชิงภายภาพ หากความถี่ของการสั่นสะเทือนเป็นไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดเสียงสูง ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเป็นลักษณะช้า จะทำให้เกิดเสียงต่ำ หูของมนุษย์สามารถแยกเสียงตั้งแต่ระดับความถี่ของการสั่นสะเทือน 16 ครั้ง / วินาที จนถึง 20,000 ครั้ง / วินาที

               ความสั้น - ยาวของเสียง (Duration)
               เสียงดนตรีจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความสั้นยาวของเสียง กล่าวคือบางครั้งเราจะได้ยินลักษณะของการลากเสียงยาวๆ หรือบางครั้งก็จะเป็นลักษณะห้วนๆสั้นๆ ความแตกต่างกันในลักษณะนี้เรียกว่า ความสั้น - ยาวของเสียง

               ความดัง - เบาของเสียง (Dynamics)
               เสียงดนตรีจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความดัง - เบาของเสียงเช่นกัน กล่าวคือบางครั้งเราจะได้ยินการบรรเลงเพลงที่มีเสียงดัง อึกทึกครึกโครม ตรงกันข้ามบางครั้งก็จะได้ยินเสียงดนตรีที่นุ่มนวล หรือแผ่วเบา ลักษณะของการเกิดเสียงแบบนี้เรียกว่า ความดัง - เบาของเสียง

               ความดัง - เบาของเสียง อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเบาหรือดังขึ้นทันทีทันใด หรืออาจจะเป็นลักษณะค่อยๆเบาลงหรือค่อยๆดังขึ้น ในดนตรีตะวันตกจะมีการบอกหรือแสดงเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องบรรเลงอย่างไร โดยใช้อักษรย่อจากคำเต็มในภาษาอิตาเลียน ได้แก่

1.3.3 เสียงประสาน (Harmony)
          เสียงประสานคือ องค์ประกอบของดนตรีที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานของเสียงมากกว่าหนึ่งแนวเสียง เสียงประสานเป็นองค์ประกอบดนตรีที่สลับซับซ้อนกว่าจังหวะและทำนอง แสดงถึงความประณีตในการประพันธ์ อย่างไรก็ตามในบางวัฒนธรรมอาจจะไม่พบการประสานเสียงของดนตรีเลย เช่น ดนตรีพื้นเมืองหรือดนตรีพื้นบ้านที่มีความเรียบง่ายของการประพันธ์ ซึ่งเป็นดนตรีที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของตนเอง

       >>  การประสานเสียงนั้นมี 2 ลักษณะคือ               การประสานเสียงที่มีลักษณะของเสียงที่กลมกลืนกันและไม่กลมกลืนกัน


           เสียงประสานที่กลมกลืน (Consonance)               เสียงประสานที่กลมกลืนกันนั้น เมื่อฟังแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกกลมกล่อม สบายหูสามารถพบได้ในหลายๆวัฒนธรรมดนตรี


           เสียงประสานที่ไม่กลมกลืน (Dissonance)
           เสียงประสานที่ไม่กลมกลืนกัน เมื่อฟังแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกขัดหู ตึงเครียด ค้างหรือแขวนอยู่ ลักษณะของเสียงประสานที่ไม่กลมกลืนกันมักจะไม่พบในวัฒนธรรมดนตรีตะวันออก แต่ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกจะมีการใช้เสียงประสานในรูปแบบนี้

 1.3.4 จังหวะ (Rhythm) 

          จังหวะสามารถแบ่งออกได้เป็นลักษณะสำคัญดังนี้

อัตราจังหวะ (Meter)
       โดยทั่วไปบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นอย่างมีระเบียบแบบแผนจะมีอัตราจังหวะที่ชัดเจน เช่น บทเพลงประเภทเพลงเถาในดนตรีไทยจะมี 3 ท่อน ท่อนที่ 1 มีอัตราจังหวะ 3 ชั้น ท่อนที่ 2 มีอัตราจังหวะ 2 ชั้น และท่อนที่ 3 มีอัตราจังหวะ 1 ชั้นหรือชั้นเดียว โดยฉิ่งจะทำหน้าที่กำกับจังหวะ อัตราจังหวะ ซึ่งผู้บรรเลงมีความจำเป็นต้องทราบถึงอัตราจังหวะเหล่านี้ หรือบทเพลงในดนตรีคลาสสิคของอินเดีย ก็จะมีอัตราจังหวะที่หลากหลาย ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกซึ่งมีการบันทึกดนตรีเป็นโน้ตดนตรีที่ชัดเจนอย่างมีระบบ ก็ได้แสดงหรือบ่งบอกอัตราจังหวะของเพลงไว้อย่างชัดเจนเช่นกัน เช่น บทเพลงในลักษณะจังหวะแบบสามช่า (cha cha cha) ก็จะมีอัตราจังหวะ 4/4 ซึ่งหมายความว่า ในหนึ่งห้องเพลงจะมี 4 จังหวะ เป็นต้น

ความช้า - เร็วของจังหวะ (Tempo)
       ดนตรีทุกชนิดในโลกจะมีความช้าเร็วของจังหวะเพลง เช่นเพลงที่ใช้ประกอบการเต้นรำเพื่อความสนุกสนาน ก็อาจจะมีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว ตรงกันข้ามกับเพลงที่ใช้กล่อมเด็ก ก็มีจังหวะที่ค่อนข้างช้า เป็นเรื่องของเสียงที่เคลื่อนที่ไปในช่วงเวลา ดังนั้นองค์ประกอบเรื่องเวลาจึงเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของดนตรี ทางดนตรีองค์ประกอบเรื่องเวลาประกอบไปด้วย ความเร็วของจังหวะ (