โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริเพื่อพัฒนาการเกษตร เป็นอย่างไร

โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ  บ้านนาเกียน

ความเป็นมา

เมื่อวันที่  14  กุมภาพันธ์  2548  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ  ได้มอบหมายได้ผู้แทนพระองค์  อัญเชิญแนวพระราชดำริไปมอบให้แก่คณะทำงาน  เพื่อจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง  ตามพระราชดำริบ้านนาเกียน

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

บ้านนาเกียน  หมู่ที่  3  ต.นาเกียน  อ.อมก๋อย  จ.เชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.  เพื่อให้ความรู้แก่ราษฎร  ในการทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการโดยยึดหลัก  เศรษฐกิจพอเพียง
2.  เพื่อฟื้นฟูสภาพทรัพยากรธรรมชาติ  ดิน  น้ำ  ป่าไม้
3.  สร้างงานให้ราษฎรมีอาชีพ  รายได้  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

เป้าหมายโครงการ                          

เพื่อฟื้นฟู่สภาพป่าที่ถูกทำลาย   ทำการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน , ทำการฝึกราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า  ทำการ , ทำการปลูกสร้างเสริมป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ , จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและทำการจ้างงานราษฎรเพื่อยกระดับรายได้

งบประมาณ

1  งบปกติ                                        จำนวน                      456,000              บาท
2  งบ  กปร.                                      จำนวน                   2,319,630              บาท
3  งบอื่น  ๆ  (ระบุ)                        จำนวน    ....................................    บาท

แผนการดำเนินงาน

1.  อนุรักษ์  ฟื้นฟู  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.  เพื่อความมั่นคง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  สภาพพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีการฟื้นตัวสู่สภาพเดิม
2.  พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรได้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เดิม
3.  การทำการเกษตรอย่างถูกวิธีและหลักวิชาการ  ลดปัญหาการใช้สารเคมี
4.  ชุมชนเข้มแข็ง

ผลการดำเนินงาน

การดำเนินงานได้บรรจุผลตามเป้าหมายและแผนงานที่ได้รับดังนี้   งานอำนวยการและงานโครงการ  1  งาน ,  สร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน  50 แห่ง  ,  ปลูกป่าทั่วไป  100  ไร่ ,  ปลูกป่าไม้ใช้สอย  100  ไร่ ,  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ  250  ไร่ ,  เพาะชำหญ้าแฝก  25,000  กล้า  จัดทำระบบกระจายน้ำ  1  ชุด ,  บำรุงรักษาสวนเดิม  อายุ  2 – 6 ปี   200 ไร่ ,  บำรุงป่าไม้ใช้สอย  200  ไร่  และทำแนวกันไฟ  30  กิโลเมตร

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

1.  เส้นทางคมนาคมมีความลำบาก  แนวทางแก้ไข  ประสานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้ช่วยแก้ไข
2.  พื้นฐานความรู้ของชุมชนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ  แนวทางแก้ไข  ประสานกับเขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ให้สนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาเข้าไปในพื้นที่ชุมชน

หน่วยงานหลัก

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่จ๊าง

หน่วยงานร่วมโครงการ

1.กองทัพภาคที่  3 
2.กปร.
3.กรมอุทยานฯ
4.กรมป่าไม้ 
5.กรมชลประทาน 
6.กรมประมง
7.กรมวิชาการเกษตร 
8.กรมส่งเสริมการเกษตร
9.กรมพัฒนาที่ดิน 
10.กรมพัฒนาชุมชน 
11.กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
12.สำนักงานทหารพัฒนา  กองบัญชาการทหารสูงสุด
13.สำนักงานเขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
14.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ 
15.องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกรมการปกครอง


โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูง ดอยอมพาย อนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ตามพระราชดำริ

ความเป็นมา

วันที่  26  มีนาคม  2546   สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามราชกุมาร  เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ดอยอมพาย  ตำบลปางหินฝน  อำเภอแม่แจ่ม  จังหวัดเชียงใหม่  พิกัด 47 QMA 085336  ทรงพบว่าพื้นที่ป่าดอยอมพาย ได้ถูกแผ้วถางทำไร่เลื่อนลอย อย่างกว้างขวาง เป็นจำนวนมากกว่า 1,000 ไร่  
เพิ่มเติม

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

ดอยอมพาย   ตำบลปางหินฝน  อำเภอแม่แจ่ม   จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. ทำการจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรในพื้นที่สูงดอยอมพาย เพื่อนำพื้นที่ที่ถูกแผ้วถางแล้วมาทำประโยชน์ให้เกิด ผลผลิตสูงสุด  เป็นวิทยาลัยของชาวบ้านและเป็นตัวอย่างของราษฎรที่เข้าร่วมโครงการ
2. ทำการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม ให้กลับคืนสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม  
3. ทำการอนุรักษ์สภาพป่าที่สมบูรณ์    บริเวณพื้นที่ป่าดอยอมพาย     ตำบลปางหินฝน    อำเภอแม่แจ่ม     จังหวัดเชียงใหม่  ให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์ดังเดิม 

เป้าหมายโครงการ

1. จัดตั้งสถานีทดลองเกษตรในพื้นที่สูงดอยอมพาย  โดยใช้พื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถาง จำนวน  500   ไร่                
2. จัดทำฝายกักเก็บน้ำบริเวณลำห้วยแม่ปุ๊  และลำน้ำแม่ปิงน้อย  เพื่อนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค                             และทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง                                                                                                                                  
3. ทำการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า      หมู่บ้านสาม    บ้านผักไผ่    บ้านละอางใต้      บ้านแม่และ  บ้านเซโดซาเพื่อให้ราษฎรทั้ง  5  หมู่บ้าน  ได้มีส่วนร่วม  ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า           
4. ทำการฝึกอบรมเกษตรกร และปศุสัตว์  โดยให้ราษฎรที่เข้ามาร่วมโครงการ ฯ ทดลองทำการเกษตรผสมผสาน         ครอบครัวละ  2  ไร่  ให้ใช้ที่ดินจำกัดให้เกิดผลผลิตพอเลี้ยงตนเองได้  เรียนรู้การทำการเกษตรปลอดสารเคมี          และยาฆ่าแมลง  การทำปุ๋ยชีวภาพขึ้นใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต  เรียนรู้การจัดการและการตลาด  การรวม             กลุ่มในรูปของสหกรณ์  เพื่อไม่ให้ผลผลิตถูกกดราคา  การแปรรูปผลผลิตการเกษตรให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเก็บผลผลิตให้ได้นานและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
5. ช่วยให้ราษฎรมีงานทำ  มีรายได้  เป็นการช่วยสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ปัญหาความยากจน   การว่างงาน             กระจายรายได้ไปสู่ชนบท    ช่วยให้ราษฎรที่อยู่ใต้เส้นระดับยากจนให้มีรายได้สูงขึ้น  เป็นการให้โอกาสแก่           ผู้ด้อยโอกาสได้พัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้น      โดยตั้งเป้าหมายว่าในปีแรกของโครงการฯ  ต้องให้ทุก           ครอบครัว  มีรายได้สูงกว่าระดับเส้นยากจน   (12,000  บาท/คน/ปี)   และเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20 ในปีต่อ ๆ ไป           

งบประมาณ

1  งบปกติ                   จำนวน         1,322,000      บาท
2  งบ กปร.                 จำนวน               -              บาท
3  งบอื่น ๆ (ระบุ)          จำนวน               -              บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ช่วยให้ราษฎรมีงานทำ  มีรายได้  เป็นการช่วยสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ปัญหาความยากจน     การว่างงาน กระจายรายได้ไปสู่ชนบท    ช่วยให้ราษฎรที่อยู่ใต้เส้นระดับยากจนให้มีรายได้สูงขึ้น     เป็นการให้โอกาสแก่   ผู้ด้อยโอกาสได้พัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้น      โดยตั้งเป้าหมายว่าในปีแรกของโครงการฯ   ต้องให้ทุก   ครอบครัว  มีรายได้สูงกว่าระดับเส้นยากจน   (12,000  บาท/คน/ปี)   และเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20  ในปีต่อ ๆ ไป              

ผลการดำเนินงาน

1.  สำรวจทำแผนที่ระดับ-ขอบเขต  และวางแผนการใช้ที่ดิน                                         500         ไร่                          
                2.  จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ                                                            300         ไร่                          
                3. สาธิตการอนุรักษ์ดินและน้ำ                                                                200         ไร่                          
                4. สาธิตการทำ/การใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ                                        100         ไร่                          
                5. สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด                                                                         80         ไร่                          
                6. ส่งเสริมการทำ/การใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ                                     500         ไร่                          
                7. ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด                                                                    300         ไร่                          

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

-

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานงาน

สถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่   สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6    กรมพัฒนาที่ดิน
เจิมศักดิ์ กลั่นเรืองแสง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตร 7  

หน่วยงานร่วมโครงการ

-