จุดเสี่ยงในโรงงาน มีอะไรบ้าง

อุบัติเหตุจากการทำงาน แน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่อุบัติเหตุคือสิ่งที่เราไม่คาดคิด สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานเป็นหลัก ความปลอดภัยในโรงงาน หมายถึง สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ อันเกิดแก่ร่างกาย ชีวิตหรือทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงาน อุบัติเหตุจากการทำงานที่เรามักพบเห็นเป็นประจำคงหนีไม่พ้นอุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องจักร ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาดู 5 ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการทํางานกับเครื่องจักร โดยมีดังต่อไปนี้

จุดเสี่ยงในโรงงาน มีอะไรบ้าง

1.พนักงานไม่ปฏิบัติตามข้อแนะนำในการทำงานกับเครื่องจักรอย่างเคร่งครัด

2.พนักงานขาดการฝึกอบรมในการทำงานที่ถูกต้องกับเครื่องจักรและละเลยเรื่องขั้นตอนการปฏิบัติงาน

3.พนักงานไม่สวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ในขณะปฏิบัติงาน

4.เครื่องจักรได้รับการชำรุดเสียหายหรือขาดการบำรุงรักษาที่ดี

5.เครื่องจักรไม่มีเซฟการ์ดป้องกันอันตรายทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

10 ข้อในการทำงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย

1.ใช้เครื่องจักรด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตามคู่มือหรือขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

2.ห้ามใช้เครื่องจักร โดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำหรือได้รับการอบรมมาก่อน

3.ห้ามถอดอุปกรณ์นิรภัยหรือที่ครอบเพื่อป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรออกเด็ดขาด

4.พนักงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมในการทำงานกับเครื่องจักร

5.ระมัดระวังอย่าให้มือหรือส่วนใดของร่างกายเข้าใกล้จุดหมุน จุดหนีบ หรือส่วนที่เคลื่อนไหวของเครื่องจักรเพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้

6.พนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรจะต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่กระชับ ไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับเพราะอาจถูกเครื่องจักรดึงหรือหนีบได้

7.ในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงาน ห้ามปรับแต่ง ทำความสะอาดหรือพยายามดึงชิ้นงานที่ติดขัดออก โดยที่เครื่องจักรไม่ได้หยุด

8.ในขณะที่ทำการซ่อมแซมเครื่องจักร ตรวจสอบ หรือแก้ไขเครื่องจักรให้แขวนป้ายเตือนและใส่กุญแจล็อคตลอดเวลา

9.หากพบว่าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์นิรภัย ที่ครอบป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรชำรุด ได้รับความเสียหายให้รีบแจ้งหัวหน้างานทันทีไม่ควรปฏิบัติงานต่อ

10.ทุกครั้งก่อนปฏิบัติงานจะต้องมีการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรไม่มีการชำรุด เสียหายและมีสภาพดี

ทำไมการอบรมความปลอดภัยจึงสำคัญ

การอบรมความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ พนักงานจะต้องได้รับการอบรมก่อนปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร หากพนักงานขาดความรู้ความเข้าใจในการทำงานที่ถูกต้อง ไม่ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อทรัพย์สินเท่านั้น แต่อาจส่งผลที่ร้ายแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตเลยทีเดียว

การอบรมความปลอดภัย ก็เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการอบรมการทำงานกับเครื่องจักรทั่วไป หรือการอบรมหลักสูตรที่เฉพาะเจาะจง เช่น การอบรมการทำงานกับรถขุด อบรมเครนหรือปั้นจั่น ฯลฯ รวมไปถึงนายจ้างจะต้องจัดให้มีการตรวจรับรองเครื่องจักรประจำปีตามที่กฎหมายกำหนดด้วย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทั้งนายจ้างและลูกจ้างเพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

ทั้งหมดนี้ก็คือ 5 ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการทํางานกับเครื่องจักร และข้อแนะนำในการทำงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ คน เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษาและทำความเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานกับเครื่องจักร

ความปลอดภัยในการทำงาน Occupational health and safety ความปลอดภัยในการทำงานทุกองค์กรถือเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยื่น

ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ เรียกกันได้อีกอย่างคือ ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน (OHS) เป็นสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย สุขภาพ ของพนักงานในองกรค์ ป้องไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตราย อุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการทำงาน

ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตกว่า 2.78 ล้านคนอันเป็นผลมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ส่งผลให้ทุกๆ 15 วินาที จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และ มีการบาดเจ็บที่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอีก 375 ล้านคนต่อปี ทำให้องค์กรดังกล่าวนั้นต้องศูนย์เสียพนักงานและเงินชดเชยต่างๆเป็นจำนวนมากต่อการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง

จุดเสี่ยงในโรงงาน มีอะไรบ้าง

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนมัยโลก WHO ได้จำกัดความร่วมกันถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย 3 หลักที่ในองค์กรนั้นควรจัดให้มี

1.มีการส่งเสริมด้านสุภาพของพนักงาน

2.มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้พื้นที่การทำงานนั้นเกิดความปลอดภัย

3.มีการเสริมสร้างวัฒธรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานภายในองค์กร และ สนับสนุนในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้ปลอดภัยโดยให้พนักงานทุกคนนั้นมีส่วนร่วม มีการออกนโยบายจากผู้บริหารเพื่อแสดงจุดยืนด้านความปลอดภัยขององค์กร มีการสนับสนุนในด้านการฝึกอบรมความปลอดภัย

อันตรายจากการทำงาน Workplace hazards

แม้ว่าการทำงานจะให้ผลประโยชน์กับนายจ้างและทางเศษรกิจอื่นๆอย่างมากมาย แต่การทำงานก็แฝงไปด้วยอันตรายในสถานที่ทำงานที่มากมายด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เช่น สารเคมี สารก่อให้เกิดภูมิแพ้ สารชีวภาพ อันตรายจากการรับสัมผัสสารเคมีอันตรายในที่ทำงาน ได้แก่ สารพิษต่อระบบประสาท สารเคมีที่ทำมีผลต่อภูมิคุ้มกัน สารเคมีที่ทำลายผิวหนัง สารเคมีประเภทก่อมะเร็ง สารก่อโรคหอบหืด เป็นต้น ปัจจัยอันตรายทางกายภาพ สภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ อันตรายการจากสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังซึ่งพบบ่อยที่สุดในประเทศสหัฐอเมริกาโดยมีพนักงานประมาณ 22 ล้าน คนที่สัมผัสกับเสียงดังเกิดมาตรฐาน

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย