พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

11.1 พฤติกรรมเสี่ยงหมายถึง

พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น

วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยงมากเนื่องจากต้องการความสนุกสนาน  ตื่นเต้น  ท้าทาย อยากรู้  อยากเห็น  อยากลอง ต้องการเป็นที่ยอมรับของตนเอง มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น แต่ขาดสติยั้งคิด  ไตร่ตรอง และการควบคุมตนเอง
พฤติกรรมเสี่ยง คือ การกระทำที่นำมาหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิต ทำให้ร่างกายเป็นอันตราย  ขาดโอกาสในการพัฒนาตามปกติ

  

พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

 ประเภทของพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น
1.  พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ  ได้แก่  การร่วมกิจกรรมที่เสี่ยงต่อความปลอดภัย  การไม่ปฏิบัติตามกฎแห่งชความปลอดภัย
2.  พฤติกรรมความรุนแรง  ได้แก่  การเข้าร่วมพฤติกรรมกลุ่มที่มีความก้าวร้าวรุนแรง  การทำร้ายร่างกาย  การพกพาอาวุธ  การทำลายข้าวของสาธารณะ
3.  ภาวะซึมศร้าและการฆ่าตัวตาย
4.  การใช้ยาเสพติด  ได้แก่  การลอง  การใช้ยาเสพติด  บุหรี่  เหล้า หรืออยู่ในกลุ่มเพื่อที่ใช้ยาเสพติด
5.  พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ  ได้แก่  มีแฟนเร็วเกินไป  มีการสัมผัสแตะเนื้อต้องตัว กอดจูบ  อยู่กันตามลำพัง มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

การประเมินพฤติกรรมเสี่ยง  

การซักประวัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง

                ในวัยรุ่นการซักประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง  จะช่วยให้ประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ  โดยใช้หัวข้อ HEEADSSS  ดังนี้

1.        H – Home  ครอบครัว  ที่อยู่อาศัย  ชุมชนแวดล้อม ความปลอดภัยในบ้าน

2.        E – Education/Employment  การเรียน  การทำงาน  เป้าหมายอาชีพและความหวังในชีวิต

3.        Eating – พฤติกรรมการกิน มากหรือน้อยเกินไป  ไม่ถูกสุขลักษณะ  ขาดอาหาร ผอมเกินไปหรือเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน

4.        Activities and friends – กิจวัตรประจำวัน  การออกกำลังกาย  งานอดิเรก กิจกรรมที่สนุกและเพลิดเพลินคลายเครียด เพื่อนและเพื่อนสนิท  กิจกรรมที่ทำร่วมกัน  พฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเพื่อน  

5.        Drugs abuse – การลองใช้ยาเสพติด  การใช้เหล้าบุหรี่ หรือยาอื่นๆที่แพทย์มิได้สั่ง  

6.        Sexual activities – พฤติกรรมทางเพศ  ความพึงพอใจทางเพศ(sexual orientation) เอกลักษณ์ทางเพศ(sexual identity) พฤติกรรมรักร่วมเพศ การมีเพศสัมพันธ์  การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  การป้องกันการตั้งครรภ์  

7.        Safety/violence/abuse  พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ  และความรุนแรง  การป้องกันอุบัติเหตุในการใช้ยานพาหนะ(สวมหมวกกันน็อค,คาดเข็มขัดนิรภัย ฯลฯ)  การชกต่อยใช้อาวุธ  การพกพาอาวุธ ความรุนแรงในครอบครัว การทารุณกรรม  การละเมิดทางเพศ

8.        Suicidal idea  ความรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้ เบื่อชีวิต  ความคิดอยากตาย  การพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเอง

สาเหตุพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น เกิดจากปัจจัยทางจิตใจและสังคม ดังนี้
1.  ขาดควาามรู้และทักษะ  ทักษะที่จำเป็นสำหรับวัยรุ่น  ได้แก่  ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย  อันตรายความเสี่ยงต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต  ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ  การจัดการกับอารมณ์เพศของตนเอง  การแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต  การปฏิเสธ  การมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
2.  ขาดความตระหนัก  และจริงจังต่อการป้องกันตนเอง การเห็นประโยชน์หรือภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง จนนำไปใช้เป็นหลักในจิตใจ
3.  ขาดการควบคุมตนเองทำให้คล้อยตามเพื่อนหรือสิ่งแวดล้อมได้ รวมทั้งเหล้าและยาเสพติด
4.  ขาดวิธีการที่ทำให้ตนเองมีความสุข มีความพึงพอใจที่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับ
5.  ปัญหาทางจิตใจ  อารมณ์ หรือโรคทางจิตเวช ทำให้ขาดความสุข  เก็บกด  ก้าวร้าว หรือเคยโดนกระทำทารุณมาก่อน จึงแสดงออกเพื่อชดเชย  ปิดบัง  ซ่อนเร้น  ระบายอารมณ์กลายเป็นพฤติกรรมเสี่ยง
6.  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  ทัศนคติและแบบอย่างของครอบครัว  ความเป็นสุขของครอบครัว  อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน  ความต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อและสังคม  ค่านิยมทางวัตถุ การเลียนแบบ

การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น
1.  ให้ความรู้ที่จำเป็น
2.  ฝึกทักษะให้รู้จักอารมณ์และความคิดของตนเอง
3.  สร้างความตระหนักในการป้องกันความเสี่ยง
4.  ฝึกการควบคุมตนเอง ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ควบคุมตนเองได้  รู้จักยั้งคิด ฝึกระเบียบวินัยจากภายในใจของตนเอง
5.  ช่วยให้วัยรุ่นมีกิจกรรมที่ทำให้ตนเองพึงพอใจ ความสุขที่ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับ
6.  สร้างสิ่งแววดล้อมที่ดี  พ่อแม่เป็นแบบอย่าง  มีทัศนคติที่ดีต่อลูก  แสวงหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมกลุ่มเพื่อนที่ดี

พฤติกรรมเสี่ยงต่อวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

โดย ผศ.นพ. พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้แบ่งพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นเป็น 6 ประเภท ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, การใช้สารเสพติด, พฤติกรรมความรุนแรง, พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ, ภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย, พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในวัยกลางคน

สาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงมาจากสิ่งใดบ้าง

สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมความเสี่ยง การขาดความรู้และทักษะ ความรู้และทักษะเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมากต่อวัยรุ่น เพราะถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปอาจจะทำให้วัยรุ่นมีโอกาสเกิดความเสี่ยงและเกดอันตรายในชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นการขาดความรู้ในเรื่องเพศ ทักษะการจัดการอารมณ์ทางเพศ อารมณ์ทางจิตใจ

โรคใดสัมพันธ์กับการไม่ออกกำลังกายซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น

เป็นที่ทราบกันว่าการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการเป็นโรคไม่ติดต่อหลายโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมะเร็งหลายชนิด ทั้งยังเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงอีก 1.6% และภาวะสมองเสื่อมอีก 8.1%

พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีอะไร

1) การไปเที่ยวสถานเริงรมย์และเทศกาล 2) ความถี่การ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3) การสูบบุหรี่ 4) การมีแฟน 5) การอยู่กับแฟนหรือคนที่ชอบตามลำาพัง 6) ความเพียง พอของค่าใช้จ่าย 7) การใช้โทรศัพท์และสื่อออนไลน์เพื่อ การสื่อสาร 8) การบริโภคสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ