การขับร้องเพลงไทยมีหลักปฏิบัติอย่างไร

บทความนี้มุ่งศึกษาองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนขับร้องเพลงไทยของสำนักดนตรีหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้แก่ วิธีการคัดเลือกผู้เรียนขับร้องเพลงไทย วิธีการสอนขับร้องเพลงไทย และหลักการขับร้องเพลงไทย

ผลการศึกษาพบว่า วิธีการคัดเลือกผู้เรียนของสำนักดนตรีหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีระเบียบขั้นตอนเฉพาะ เริ่มจากการทดสอบการขับร้องและโสตประสาทของผู้เรียน พร้อมทั้งสังเกตคุณลักษณะของการขับร้องของผู้เรียนในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) กิริยาท่าทางหรือกิริยามารยาทระหว่างการขับร้อง 2) คุณภาพเสียง และ 3) จังหวะในการขับร้อง

วิธีการสอนขับร้องเป็นการถ่ายทอดด้วยปากเปล่า สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 1) การอธิบายความหมายของบทร้อง 2) การต่อเพลงทีละวรรค 3) การทบทวนแก้ไข 4) การเพิ่มเติมเทคนิคและลีลา 5) การซ้อมเข้ากับเครื่องดนตรี

หลักการขับร้องเพลงไทยเป็นหลักที่ครอบคลุมองค์ประกอบและเทคนิคของการขับร้องอย่างครบถ้วน ประกอบไปด้วยหลักการขับร้อง 5 ประการ ได้แก่ 1) ดาดหมายถึง ลักษณะการขับร้องธรรมดาที่ยังไม่มีเทคนิคลีลา 2) ประคบเสียงเป็นเทคนิคการบังคับเสียงร้องให้ไพเราะ 3) ประคบคำเป็นเทคนิคการออกเสียงคำ ร้องให้ไพเราะ 4) กนกคอเป็นเทคนิคการตกแต่งทำนองโดยการเอื้อน 5) ลงทรวง เป็นเทคนิคการกระแทกเสียงกลืนลงไปในลำคอไปจนกระทั่งถึงทรวงอก

Native Genius in the Teaching of Thai Singing of the Luang Pradit Phrairoh (Sorn Silapabanleng) Music School

Panupak Mokhasak

This article aims to study the important elements of instruction in singing of the Luang Pradit Phrairoh (Sorn Silapabanleng) Music School, which are student selection, teaching methods and the principles of Thai singing.

The study found that the Luang Pradit Phrairoah (Sorn Silapabanleng) Music School has their own unique methods in selecting students. The voice and hearing of the prospective student are tested and his or her posture, behavior while singing, tone quality, and rhythm are observed by the examiner.

The Instructional method is oral transmission and can be divided into five procedures: 1) explaining the song, 2) teaching it phrase by phase, 3) repeating it with correction as necessary, 4) adding vocal and dramatic techniques, and 5) rehearsing with an ensemble.

The principles of Thai singing cover all five techniques used in Thai singing. These are: 1) Dad is simple singing without any techniques; 2) Prakhob Siang is melismatic singing; 3) Prakhob Kham is artistic pronunciation of syllables; 4) Kanok Khor is melodic ornamentation, and 5) Long Sruang is an accent technique with is similar to the action of sniveling.

   
การขับร้องเพลงไทยมีหลักปฏิบัติอย่างไร
 

การขับร้อง

การขับร้องเพลงไทยมีหลักปฏิบัติอย่างไร

        การขับร้องเพลง  เป็นกิจกรรมสร้างสรรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง  ที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้ร้องและผู้ฟัง  ซึ่งการขับร้องอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ  การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่
        การขับร้องเดี่ยว หมายถึง การร้องเพลงโดยบุคคลเพียงคนเดียวว อาจมีดนตรีประกอบหรือไม่มีก็ได้
        การขับร้องหมู่ หมายถึง การร้องเพลงโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อาจมีดนตรีประกอบหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งการขับร้องแบบหมู่นี้อาจจะร้องแบบเป็นทำนองเดียวกันหรือร้องแบบประสานเสียงกันก็ได้
        การขับร้องเพลงประเภทต่างๆ ให้มีความไพเราะ ต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ และใช้หลักการขับร้องที่ถูกต้อง ดังนี้

การขับร้อง มีหลักในการฝึกปฏิบัติ ดังนี้

        1. การออกเสียง ในการขับร้องเพลงจะต้องออกเสียงให้เต็มเสียงตามจังหวะและทำนองของเพลง ซึ่งจะต้องมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ขาดช่วง

        2.  การหายใจเข้าออก เนื่องจากการร้องเพลง ต้องอาศัยลมในการเปล่งเสียง ดังนั้น การหายใจเข้าออก จึงมีความสำคัญในการร้องเพลง เพราะเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนของลมในร่างกาย การหายใจเข้าออกให้สอดคล้องกับการร้องเพลง จึงมีส่วนช่วยทำให้ร้องเพลงได้ดีขึ้น

        3.  การใส่อารมณ์กับเพลง เพลงที่ขับร้องมีหลายประเภท บางเพลงให้อารมณ์สนุกสนาน บางเพลงให้อารมณ์เศร้า ผู้ขับร้องควรรู้ความหมายจังหวะและทำนองเพลง เพื่อจะได้ปรับอารมณ์และความรู้สึกให้เข้ากับเพลงจะทำให้ร้องเพลงได้ดี

        4.  การเปล่งเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี การเปล่งเสียงร้องเพลงควรให้ถูกต้องตามอักขรวิธี คือ ออกเสียงพยัญชนะ วรรณยุกต์ให้ชัดเจนตามหลักการออกเสียง โดยเฉพาะคำควบกล้ำ

        5.  ท่าทางในการร้องเพลง การร้องเพลง ควรแสดงท่าทางให้เหมาะสมไม่ล้วง แคะ แกะ เกา ซึ่งเป็นการสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ฟัง และควรสร้างบรรยากาศร่วมกับผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้มีอารมณ์ร่วมกับเพลงที่ร้อง

ตัวอย่างเพลงที่ควรฝึกขับร้อง

     

การขับร้องเพลงไทยมีหลักปฏิบัติอย่างไร
     1.  เพลงไทย
                                                                            เพลง ลาวเดินดง
               เนื้อร้อง ม.จ. จันทรนิภา เทวกกุล                                                    ทำนอง ต้อยตริ่ง

                                         แม้เรายังน้อยนิด                                               ก็มีจิตเมตตา
                             ที่ทำประโยชน์นานา                                                       ตามแต่สามารถตน
                                         ยะยิ้มยะแย้ม                                                    ชดช้อยแฉล้ม
                             ชวนให้ใจแช่ม                                                              ผู้ใดได้ยล
                                         สีสลับแสนสวย                                                  รื่นรวยกมล
                             ลมชวยสุคนธ์                                                                ฉะฉ่ำกำจร
                                         ชูช่อชดช้อย                                                     น้อยน้อยอรชร
                             ใครเศร้าเร่าร้อน                                                             ช่วยผ่อนใจเย็น
                                         ผู้ใดไข้เจ็บ                                                         เก็บไปให้เห็น
                             ชื่นใจไม่เว้น                                                                   เป็นสุขยิ่งเอย

         

การขับร้องเพลงไทยมีหลักปฏิบัติอย่างไร
2.  เพลงไทยสากล
                                                                                เพลง สายฝน
                เนื้อร้อง ม.จ. จักรพันธ์ เพ็ญศิริ จักรพันธุ์                                          ทำนอง พระราชนิพนธ์ในรัชการปัจจุบัน

                                         เมื่อลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว                                        ต้นไม้พริ้วลู่กิ่งใบ
                              เหมือนจะเอนรากคลอนถอนไป                                      แต่เหล่าไม้ยิ่งกลับงาม
                                          พระพรหมท่านบันดาลให้ฝนหลั่ง                         เพื่อประทังชีวิตมิทราม
                              น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพริ้วทิวงาม                                 ทั่วเขตครามชื่นธารา
                                          สาดเป็นสายพรายพริ้วทิวทุ่ง                             แดดทอรุ้งอร่ามตา
                               รุ้งเลื่อมลายพร่ายพรายนภา                                          ยามเมื่อฝนมาแต่ไกล
                                          พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ                            เพื่อจะนำดับความร้อนใจ
                               น้ำฝนหลั่งลงมาจากฟ้าแดนไกล                                     พืชพันธุ์ไม้ชื่นยืนยง

การขับร้องเพลงไทยมีหลักปฏิบัติอย่างไร

ที่มา : x.thaikids.com

การขับร้องเพลงไทยมีหลักปฏิบัติอย่างไร

   
การขับร้องเพลงไทยมีหลักปฏิบัติอย่างไร
 

การนั่งขับร้องเพลงไทยควรปฏิบัติอย่างไร

1.1 การนั่งขณะการขับร้องเพลงไทย นิยมการนั่ง 2 วิธี คือ การนั่งพับเพียบกับพื้นและ การนั่งบนเก้าอี้ ท่านั่งนั้นต้องนั่งตัวตรง มือทั้งสองวางทับกันบนตัก ถ้านั่งกับพื้นควรเก็บปลายเท้าให้เรียบร้อย ถ้านั่งเก้าอี้ควรนั่งให้สำารวม ไม่แกว่งขาและเท้า

การร้องเพลงที่ถูกต้องควรปฏิบัติอย่างไร

ในเวลาร้องเพลง ต้องอยู่ในลักษณะสงบ ไม่เอียงหน้าไปมาในขณะร้อง ไม่เอามือไขว้หลังหรือประสานมือไว้ข้างหน้า ผู้ที่ยังออกท่าทางไม่ได้ก็ควรออกความรู้สึกของบทเพลงบางตอนทางใบหน้าและสายตาเท่านั้นก็พอ หากบางเพลงจำเป็นต้องมีแอ็คชั่นก็ควรฝึกจากผู้สอนที่มีหลักวิธีจะทำให้ความหมายในบทเพลงดีขึ้น

การขับร้องประกอบการแสดงคือการขับร้องเพื่ออะไร

3. การขับร้องประกอบการแสดง คือ การขับร้องเพื่อบรรยายเนื้อเรื่องหรือเนื้อเพลงประกอบการแสดงต่าง ๆ 4. การขับร้องหมู่ คือ การขับร้องพร้อมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การขับร้องทำนองเดียวกันและการร้องประสานเสียง

หลักการสําคัญในการขับร้องเพลง คือสิ่งใด

ร้องให้มีระดับเสียงสอดคล้องกับเสียงดนตรี.
หายใจเข้า-ออก ให้สอดคล้องกับช่วงจังหวะ ทำนอง และเนื้อเพลง.
ออกเสียงพยัญชนนะ สระ คำควบกล้ำ ตามอักขรวิธี.
ร้องให้ถูกต้องตามวรรคตอนของเนื้อเพลง เพราะหากร้องไม่ถูกวรรคตอน อาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนได้.