การวางแผนมีขั้นตอนอะไรบ้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การวางแผนเป็นกระบวนการคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมาย เป็นสิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ เป็นกระบวนการที่อาศัยการสร้างและรักษาแผนการ เป็นการเตรียมขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย และเป็นเทคนิคหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดต่อการจัดการโครงการและเวลา ดังนั้น คนวางแผนดีจะสามารถลดเวลาและพลังงานในการบรรลุเป้าหมาย ในจิตวิทยา การวางแผนถือเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของพฤติกรรมอัจฉริยะ เป็นกระบวนการที่อาศัยทักษะเชิงมโนทัศน์ (ทักษะในการเข้าใจและการใช้มโนทัศน์หรือแนวคิด) โดยความสามารถในการวางแผนดีสามารถประเมินได้โดยแบบทดสอบต่าง ๆ

การวางแผนมีกระบวนการเฉพาะและเป็นกระบวนการที่จำเป็นในหลายอาชีพ โดยเฉพาะในอาชีพการจัดการและธุรกิจ โดยแต่ละอาชีพจะใช้แผนการต่างชนิดเพื่อให้บริษัทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

คุณสมบัติสำคัญหนึ่งของการวางแผน ที่มักถูกมองข้าม คือความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและการพยากรณ์ (forecasting) การพยากรณ์คือการทำนายว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่การวางแผนคือการทำนายว่าอนาคตควรเป็นอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ การพยากรณ์จึงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผน แต่การวางแผนจะอาศัยการเตรียมพร้อมในสถานการณ์ต่าง ๆ และอาศัยการกำหนดว่าจะตอบรับกับสถานการณ์เหล่านั้นอย่างไร

กระบวนการของการวางแผน[แก้]

การวางแผนมีขั้นตอนอะไรบ้าง

ตัวอย่างกรอบความคิดของกระบวนการของการวางแผน

แพทริก มอนแทนากับบรูส ชาร์นอฟแบ่งกระบวนการของการวางแผนเป็น 3 ขั้น ได้แก่[1]

  1. เลือกเป้าหมาย
  2. ประเมินวิธีต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมาย
  3. ตัดสินว่าแนวทางปฏิบัติในแผนการควรเป็นอย่างไร

การวางแผนในองค์การต่าง ๆ อาจเป็นกระบวนการของการจัดการ ซึ่งกำหนดเป้าหมายเพื่อชี้ทางในอนาคตและกำหนดภาระหน้าที่และทรัพยากรที่ต้องใช้ต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ในการบรรลุเป้าหมายนี้ ผู้จัดการอาจพัฒนาแผนการ เช่น แผนธุรกิจ หรือแผนการตลาด เพื่อนำมาใช้

การวางแผนย่อมมีวัตถุประสงค์ ซึ่งอาศัยการบรรลุเป้าหมาย

คุณสมบัติหลักของการวางแผนในองค์การได้แก่

  • เพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ
  • ลดความเสี่ยง
  • ใช้เวลาและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

อ้างอิง[แก้]

  1. Barron's Management book fourth edition, Authors: Patrick J. Montana and Bruce H. Charnov

การวางแผนมีขั้นตอนอะไรบ้าง
การทำงานต่างๆให้ได้ผลงานเป็นที่น่าพอใจ และมีคุณภาพจะต้องมีการวางแผน การวางแผนเป็นกระบวนการที่เราคิดล่วงหน้าถึงสิ่งที่จะทำก่อนลงมือปฏิบัติจริง สิ่งสำคัญในการวางแผนก็คือ เป้าหมายหรือภาพสำเร็จของงานที่เราได้กำหนดไว้ เพื่อสร้างกระบวนการทำงานที่จะนำไปสู่ภาพสำเร็จนั้นต่อไป ซึ่งเราก็จะต้องคิดเรียงลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนก่อนลงมือปฏิบัติด้วยเช่นกันและขั้นตอนเหล่านี้จะต้องเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

การวางแผนในงานช่วงแรกๆ เราควรใช้ภาพหรือแผนภาพช่วยในการวางแผนเพื่อให้เห็นวิธีการทำงานที่ชัดเจน เมื่อฝึกฝนจนคล่องแคล่วและชำนาญแล้ว ก็สามารถวางแผนโดยใช้ภาพในความคิดแทนได้เป็นการสร้างภาพงานในสมองก่อนลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ได้งานที่มีคุณภาพ นำไปสู่การทำงานอย่างคล่องแคล่ว จนเกิดเป็นนิสัย และแสดงออกอย่างเป็นอัตโนมัติ ซึ่งแผนภาพความคิดในการทำงานจะเป็นดังนี้
การวางแผนการทำงานบ้านมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
1. การเตรียมการก่อนทำงานบ้าน

  • รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานบ้านทั้งหมดและจัดแบ่งประเภทของงานบ้านดังนี้

- งานบ้านที่ต้องทำทุกวัน เช่น การกวาดและถูบ้าน การรดน้ำต้นไม้ การทำอาหาร
- งานบ้านที่ต้องทำทุกสัปดาห์ เช่น การทำความสะอาดปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน เป็นต้น
- งานบ้านที่นานๆครั้งจึงจะทำ เช่น การซ่อมแซมบ้าน การทาสีบ้านใหม่ เป็นต้น

  • ศึกษาขั้นตอนและวิธีการทำงานแต่ละประเภท
  • รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกเพื่อจัดแบ่งหน้าที่และปริมาณงานให้เหมาะสมกับเพศวัย และความสามารถของแต่ละบุคคล
  • เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานให้เหมาะสมกับประเภทของงาน โดยเลือกใช้ที่ช่วยให้ทำงานได้ง่าย ประหยัดเวลา มีความปลอดภัยในการทำงาน และช่วยอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การเลือกใช้น้ำเปล่าและกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ใช้แล้วแทนน้ำยาเช็ดกระจกที่มีราคาแพง เป็นต้น

2. การกำหนดเป้าหมายของการทำงานว่าต้องการทำงานอะไร มีปริมาณงานมากน้อยเพียงใด จำนวนบุคคล หน้าที่ทำงาน และระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน โดยสามารถทำเป็นตารางดังนี้
ตัวอย่าง ตารางกำหนดเป้าหมายในการทำงาน

งานที่ต้องทำ
ปริมาณงาน
จำนวนบุคคล
หน้าที่ทำงาน
ระยะเวลาทำงาน
การทำความสะอาด
ห้องนอน
ทำความสะอาด
ห้องนอน 1 ห้อง
1 คน
ปัดกวาดหยากไย่บนเพดาน
ทำความสะอาดพื้นห้องและปัดฝุ่น
ละอองเครื่องเรือนในห้อง
1 ชั่วโมง

3. ลงมือปฏิบัติตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
4. ทำความสะอาดและเก็บเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เรียนร้อย
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปปรับปรุงในการทำงานครั้งต่อไป