วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

ความมุ่งหมายในการผลิตชิ้นงานหัตถกรรมในระยะแรก ก็เพียงเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สำหรับใช้ภายในครอบครัว ต่อมามีการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อแจกจ่ายในหมู่ญาติมิตร และขายไปบ้างพอเป็นค่าเหนื่อย แต่ก็ขายเฉพาะในกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ต่อมามีการพัฒนากรรมวิธีการผลิต และดัดแปลงรูปแบบให้แปลกแตกต่างกันออกไป เพื่อนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกับปัจจัยอื่นที่สำคัญต่อการดำรงชีพ ภายในท้องถิ่น หรือต่างท้องถิ่น เมื่อได้รับความนิยมมากขึ้น ก็สามารถส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศ ทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศเป็นมูลค่าสูง กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของส่วนรวม และความเป็นอยู่ของประชาชน

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

เครื่องปั้นดินเผาจากภาคเหนือ ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่ผลิตในประเทศไทย มีเป็นจำนวนมากหลายชนิด และมีการผลิตอยู่ทั่วไป ในแต่ละภาคของประเทศไทยจะมีผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ที่มีลักษณะเด่นแตกต่างกันไปดังนี้ ๑. ภาคเหนือ

ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีชื่อเสียงในภาคเหนือมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น ร่มทำด้วยกระดาษสา ผลิตภัณฑ์อื่นจากกระดาษสา เครื่องใช้ในบ้านเรือนไม้ เครื่องปั้น ดินเผา ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม และผ้าฝ้าย เครื่องนุ่งห่มพื้นเมือง และเครื่องจักสาน เป็นต้น

 
วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

ผ้าทอมือของภาคอีสาน ๒. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีชื่อเสียงในภาคนี้มีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ผ้าทอชนิดต่างๆ จากไหมและฝ้าย ลักษณะเด่นของผ้าคือ ลวดลายของการทอ ได้แก่ ผ้าทอลายขิต และมัดหมี่ เป็นต้น เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ซึ่งแตกต่างกับเครื่องปั้นดินเผาจากภาคเหนือ เพราะเนื้อดินตามธรรมชาติ ที่นำมาใช้ในการผลิต มีธาตุเหล็กผสมอยู่ด้วย จึงมีสีแดงออกดำ นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักสานชนิดต่างๆ เช่น กระติบข้าว และหวด ๓. ภาคตะวันออก

ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีชื่อเสียงในภาคนี้ ได้แก่ เสื่อกก และผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก เช่น กระเป๋า ที่ใส่ซองจดหมาย ที่ใส่กระดาษชำระและ กระดาษเช็ดหน้า ที่รองแก้ว และที่รองเท้า นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักสานชนิดต่างๆ จากไม้ไผ่และหวาย

 
วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

การแกะรูปหนังตะลุง ๔. ภาคกลาง

ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่ผลิตในภาคกลางมีอยู่เป็นจำนวนหลายชนิดด้วยกัน เช่น เครื่องจักสานจากไม้ไผ่และหวาย เพชรพลอยเจียระไน เครื่องประดับ อัญมณี เครื่องประดับเทียม เครื่องใช้ในการเดินทาง ทำด้วยหนังแท้ หนังเทียม ดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องทองลงหิน และทองเหลือง ตุ๊กตาชนิดต่างๆ กรอบรูป กรอบกระจก เครื่องใช้ในบ้านทำด้วยไม้

๕. ภาคใต้

ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมในภาคใต้มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น ผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภา เครื่องใช้ และเครื่องประดับถมเงิน และถมทอง ผลิตภัณฑ์จากป่านศรนารายณ์ แผ่นหนังแกะสลัก และผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย เป็นต้น

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

การผลิตเครื่องใช้จากโลหะเงิน ลักษณะการผลิตผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมโดยทั่วไป ทำการผลิต ทั้งในรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้แรงงานฝีมือเป็นจำนวนมาก การผลิตสินค้าหัตถกรรม ผู้ผลิตจะต้องมีความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะ ซึ่งได้มาจากการเรียนรู้ การถ่ายทอดมาจากครูหรือผู้รู้ จึงจะสามารถสร้างชิ้นงานหัตถกรรมได้ประณีตงดงาม
วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

การเชิดหนังตะลุง การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องกระทำ และสามารถทำได้ ทั้งในด้านการออกแบบ การคิดค้นหาวัสดุที่แปลกใหม่มาใช้ในขบวนการผลิต และกรรมวิธีการผลิต ตลอดจนการนำเอาเทคนิค และเครื่องมือสมัยใหม่เข้ามาใช้ เป็นต้น ตลาดสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมแบ่งออกเป็นสองตลาดคือ ตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศตลาดในประเทศ

โดยทั่วไปจะจำหน่ายให้ผู้บริโภคทั่วไป และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยจะมีวางจำหน่ายอยู่ตามร้านขายของที่ระลึก และตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

ตลาดต่างประเทศ

มีสินค้าหัตถกรรมของไทยหลายชนิด ที่สามารถส่งออกไปขายในตลาดต่างประเทศได้อย่างแพร่หลาย เช่น เพชรพลอยเจียระไน เครื่องประดับอัญมณี ดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องปั้นดินเผา ผลิตภัณฑ์จากผ้า เครื่องจักสาน เครื่องทองลงหิน และกรอบรูป เป็นต้น

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

การขายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้นแนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของไทยมีอนาคตสดใส เพราะผู้ผลิตส่งออกของไทย ได้ศึกษาติดตามข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค และมีการพัฒนาคุณภาพ และรูปแบบสินค้าอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสามารถขยายการส่งออกได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

2.  ชนิดของวัสดุท้องถิ่น

            หลักในการออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุท้องถิ่นให้มีความสวยงามนั้นมีหลักสำคัญอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นที่สามารถนำมาประดิษฐ์ของใช้ต่าง ๆ นั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด  เราจึงควรรู้จักลักษณะชนิดและคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุแต่ละชนิดก่อน  เพื่อจะได้นำวัสดุมาใช้ได้เหมาะสมกับงาน  ชนิดของวัสดุท้องถิ่นที่ควรรู้จักมีดังนี้

            2.1  ไม้ไผ่

            ไม้ไผ่เป็นไม้ยืนต้นจัดอยู่ในตระกูลหญ้าชนิดใบเดี่ยวลักษณะใบเรียวแหลมลำต้นมีลักษณะเป็นปล้องสลับกับข้อไม้ไผ่ชอบขึ้นในเขตอบอุ่น  อากาศร้อน  และฝนตกชุก  เช่นประเทศไทย  พม่า  อินโดนีเซีย  เป็นต้น  ไม้ไผ่เป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว  ชอบขึ้นในดินโปร่งร่วนดินทราย  หรือดินที่น้ำสามารถไหลถ่ายเทได้สะดวก  อากาศไม่หนาวจัดเกินไป  การแพร่พันธุ์ทำได้ 2 วิธี  คือ  การแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด  และการแพร่พันทางหน่อ

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง


                                                  ภาพที่ 1  แสดงกระเป๋าจากไม้ไผ่


ที่มา : สืบค้นจาก http://www.osotho.com/th/content/indexdetail.php [3 มิถุนายน 2552]

ไม้ไผ่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น หน่อไม้ไผ่นำมาทำอาหาร  ลำต้นไผ่สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้เช่น นำมาสานเป็นภาชนะใส่ของจำพวกกระบุง กระจาด ตะกร้า  ชะลอม  เข่ง  ฯลฯ  หรือนำมาทำเครื่องเรือน  เช่น  ชุดเก้าอี้ไม้ไผ่  เป็นต้น

2.2  หวาย

            หวายเป็นไม้เลื้อยจำพวกตระกูลปาล์มมีลักษณะลำต้นกลมยาวและโตเสมอกันตั้งแต่โคนจนถึงปลาย  ไส้ตัน  กาบหุ้มคล้ายต้นหมาก ที่กาบและก้านใบมีหนาม  ผิวเกลี้ยงเหนียวเป็นมัน
ใบคล้ายใบจาก  มีหนามตามริบใบ  หวายเจริญงอกงามขึ้นเองตามธรรมชาติ  มีมากในภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา  ดงดิบ  น้ำตก  ชอบขึ้นในบริเวณพื้นที่เป็นดินร่วนชุ่มชื้น  ไม่ชอบดินทราย  หรือดินที่มีกรวดหิน

หวายมีอยู่ตามป่าทั่วไปในเขตร้อนของทวีปเอเชีย  เช่น  ประเทศไทย  ศรีลังกา  ฟิลิปปินส์  เป็นต้น  ในประเทศไทยไม่มีการปลูกหวาย  แต่หวายจะขึ้นอยู่เองตามธรรมชาติ  มีมากทางภาคใต้ในแถบจังหวัดชุมพร  ตรัง  พังงา  สุราษฏ์ธานี  นครศรีธรรมราช  และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากตามป่าในจังหวัดอุบลราชธานี

หวายเป็นวัสดุท้องถิ่นอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  ส่วนมากเราใช้หวายทำเป็นเครื่องจักสานประกอบเครื่องจักสานไม้ไผ่  แต่ก็มีการนำหวายมาทำเครื่องจักสานโดยตรงหลายอย่าง  เช่น  ตะกร้า  กระเป๋า  ฝาชี  ถาดผลไม้  เก้าอี้  เป็นต้น

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

  ภาพที่ 2  แสดงเก้าอี้จากหวาย

ที่มา : สืบค้นจาก http://www.praphansarn.com/new/forum_post.asp [4 มิถุนายน 2552]


2.3  มะพร้าว

            มะพร้าวเป็นไม้ยืนต้นในตระกูลปาล์ม  ลักษณะของใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงติดกันเป็นแถวอยู่สองข้างของทางมะพร้าว  มีลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก  ส่วนโคนต้นจะใหญ่กว่าตอนปลายชอบขึ้นในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย  อากาศอบอุ่นหรือค่อนข้างร้อน  และมีปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอหรือริมฝั่งทะเลที่น้ำทะเลเข้าถึง  เช่น  ประเทศไทย  มาเลเซีย  อินเดีย  ละตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก

            ในประเทศไทยนั้นมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของไทยมีการปลูกมากในภาคกลาง  และภาคใต้  โดยเฉพาะจังหวัดตามชายทะเล  เช่น  ประจวบคีรีขันธ์  ชุมพร สุราษฎ์ธานี  นครศรีธรรมราช  เป็นต้น  มะพร้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิต  เนื่องจากเป็นพืชที่เราไม่ต้องดูแลรักษามาก  แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า  กล่าวคือ  นอกจากใช้บริโภคแล้ว  ส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวยังสามารถนำมาประดิษฐ์ของใช้ที่มีประโยชน์ได้  เช่น  รากใช้สานตะกร้า  ลำต้นนำมาใช้ในการก่อสร้าง  ใบนำมาสานเป็นภาชนะใส่ของหรือทำของเล่น  เป็นต้น

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

                                         ภาพที่ 3  แสดงโคมไฟจากกะลามะพร้าว

ที่มา : สืบค้นจาก http://www.info.pattaya.go.th/km/sociawelfare/Doclib7.aspx [5 มิถุนายน 2552]

2.4  ไม้เนื้ออ่อน

            ไม้เนื้ออ่อน  คือ  ไม้ที่มีเนื้อไม้สีอ่อนหรือสีซีด  มีน้ำหนักเบา  มีความแข็งแรงน้อย  และมีความทนทานน้อย  ไม่ค่อยทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ  หรือการกัดแทะของแมลง  เช่น  ปลวก มอด  เหมาะสำหรับนำมาใช้งานชั่วคราวหรืองานในร่ม  ไม้เนื้ออ่อน  ได้แก่  ไม้ฉำฉา  ไม้ยาง  ไม้กระบาก  ไม้สัก  เป็นต้น  บางชนิดพบได้ป่าดิบชื้นบริเวณทิวเขาในภาคเหนือ  คาบสมุทรภาคใต้  ทิวเขาทาง ด้านตะวันตก  และทิวเขาด้านตะวันออกของอ่าวไทย  เช่น  ไม้ยาง  ไม้กระบาก  บางชนิดพบในป่าเบญจพรรณที่มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง  เช่น  ไม้สัก  เป็นต้น  ไม้เนื้ออ่อนเป็นไม้ที่หาได้ง่าย  และมีราคาไม่แพง

            ไม้เนื้ออ่อนสามารถนำมาแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ทำเป็นภาพประดับฝาผนังหรือนำมาทำเครื่องเรือน  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้  ชั้นวางของ  เป็นต้น

                                                              ภาพที่ 4  แสดงเก้าอี้ไม้เนื้ออ่อน

ที่มา : สืบค้นจาก http://www.dhas.com/main/product/product/detailhead.html [5 มิถุนายน 2552]

2.5  ย่านลิเภา

            ย่านลิเภาเป็นพืชประเภทเถาวัลย์  มีลักษณะเป็นเถา  ลำต้นจะโตประมาณก้านไม้ขีดหรือหลอดกาแฟ  เมื่อโตเต็มที่จะยาวประมาณ  2 วา  ใบของย่านลิเภาจะเป็นใบเล็ก ๆ และหยิกงอชอบขึ้นอยู่ตามชายป่าละเมาะ และจะเลื้อยเกี่ยวพันอยู่กับต้นไม้อื่น ๆ แต่จะขึ้นเกาะอยู่เหนือต้นไม้อื่นจึงทำให้มองเห็นได้ง่ายย่านลิเภามีมากในแถบจังหวัดภาคใต้ของไทยโดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

            คุณสมบัติพิเศษของย่านลิเภา  คือ  มีลำต้นเหนียวทนทาน  จึงเหมาะที่จะนำมาสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น  เชี่ยนหมาก  พาน  กล่องยาเส้น  กล่องใส่ของ  กระเป๋าถือ  เป็นต้น  หรือนำมาใช้ผูกรัดสิ่งของก็ได้

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

ภาพที่ 5  แสดงกล่องหมากพระราชทาน รัชกาลที่  5


ที่มา : สืบค้นจาก  http://www.mnh.si.edu/treasures/thaiversion/005.htm [5 มิถุนายน 2552]

2.6  ใบลาน

            ลานเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง  มีลักษณะคล้ายต้นตาล  จัดเป็นไม้          ยืนต้นขนาดกลาง  ลำต้นตรงและแข็ง สูงประมาณ 10 เมตร มีใบออกรอบลำต้นเป็นชั้น ๆ                  ยาวประมาณ  2 - 3  เมตร  ใบมีลักษณะคล้ายพัด  พบได้ทั่วไปทางภาคกลาง  และภาคใต้ทางแถบชายฝั่งด้านตะวันออก เช่น  นครศรีธรรมราช  สงขลา  พัทลุง  เป็นต้น  เรานิยมนำใบลานมาสานเป็นหมวกงอบ  หรือนำมาสานเป็นของเล่นให้เด็ก  เช่น  การสานเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ

                                                    ภาพที่ 6  แสดงหมวกจากใบลาน

ที่มา : สืบค้นจาก http://www.elibrary.sacict.net/th/products/detail.php [5 มิถุนายน 2552]


2.7  ผักตบชวา

            ผักตบชวาจัดเป็นพืชน้ำประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวลอยน้ำเจริญงอกงามโดยไม่ต้องอาศัย
รากยึดเกาะ  มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่น ผักปอด สวะ ผักโรค ผักตบชวา
ผักยะวา ผักอีโยก เป็นต้น
 ซึ่งประเทศไทยมีผักตบชวามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยเจ้านาย
ในสมัยนั้นได้ตามเสด็จไปประเทศอินโดนีเชีย  พ.ศ.
2444  ได้เห็นผักชนิดนี้ออกดอกสีม่วงสวยงามอยู่ทั่วไปจึงได้นำเอาพันธุ์ผักตบชวามายังประเทศไทยเพียงเล็กน้อย  ใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าวังสระประทุมจนกระทั่งออกดอกสวยงามและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนล้นกระถางประกอบด้วยในช่วงนั้นเกิดน้ำท่วมวังสระประทุมทำให้ผักตบชวาล่องลอยกระจัดกระจายออกไปตามที่ต่าง ๆ            ผลิตภัณฑ์หลัก  ผลิตภัณฑ์ที่ตลาดมีความต้องการมาก จัดเป็นผลิตภัณฑ์หลักในการผลิตของผู้ผลิต  เช่น  กระเป๋า  ตะกร้า  เป้  ในรูปแบบต่าง ๆ

            ผลิตภัณฑ์รอง  ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ  ที่ตลาดมีความต้องการรองลงไป  คือ  กรอบรูป  หมวก รองเท้า  ของชำร่วย  และโคมไฟ  เป็นต้น

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง

                                                     ภาพที่ 7  แสดงตะกร้าจากผักตบชวา

ที่มา : สืบค้นจาก  http://www.phrae.ru.ac.th/index.php [5 มิถุนายน 2552]

2.8  เปลือกข้าวโพด

            ข้าวโพด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซีเมส์ (Zea mays) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว ถิ่นกำเนิดก็คือ ได้มีการขุดพบซังข้าวโพดและซากของต้นข้าวโพดที่ใกล้แม่น้ำในนิวเม็กซิโก (แถบอเมริกาใต้) และปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา ฯลฯ สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด

นอกจากนี้ เปลือกข้าวโพด สามารถนำไปประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆได้อีกมากมาย  เช่น ตุ๊กตา  กระเป๋า  ครอบกล่องกระดาษทิชชู  พัด  ดอกไม้จันทน์  กระทง  เป็นต้น

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง


                                                ภาพที่ 8  แสดงกระทงจากเปลือกข้าวโพด

ที่มา : สืบค้นจาก http://www.oknation.net/blog/2007.htm [6 มิถุนายน 2552]


2.9  เกล็ดปลา

            เกล็ดปลาทุกชนิดมีคุณสมบัติในการดูดสีและกลิ่น จึงสามารถนำมาย้อมสีและอบกลิ่นหอมได้ เกล็ดปลาที่เหมาะสำหรับทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ควรเป็นเกล็ดปลาที่มีพื้นผิวสาก ลักษณะของเกล็ดปลาที่มีผิวสาก ขอบเกล็ดบางใส มีสันเป็นแกนหนา พื้นผิวเกล็ดมีลักษณะสากมือเมื่อสัมผัส เนื่องจากมีหนามเล็ก ๆ โดยเฉพาะบริเวณแกนกลางของเกล็ด หนามที่ผิวเกล็ดช่วยให้เกล็ดดูดซึมสีและกลิ่นได้ดีติดทนนาน ส่วนสันที่เป็นแกนหนา ช่วยให้เกล็ดปลามีคุณสมบัติในการคงรูปทรงเกล็ดปลาที่อยู่ในกลุ่มนี้  และมีปริมาณมากพอที่จะนำมาทำในเชิงการค้า  ได้แก่ เกล็ด              ปลากระพง  ปลาครืดคราด ปลากระบอก เป็นต้น

            นอกจากนี้เกล็ดปลายังสามารถนำมาทำงานประดิษฐ์ประเภทต่าง ๆ ได้  เช่น  เครื่องประดับดอกไม้  ของชำร่วย  เป็นต้น

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง


                                                    ภาพที่ 9  แสดงดอกไม้เกล็ดปลาประดับกล่องทิชชู

  ที่มา : สืบค้นจาก http://www.rattaphoom.go.th/modules/otop/index.php [6 มิถุนายน 2552]

2.10  ตะโก

            ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เปลือกต้นสีดำแตกเป็นสะเก็ด หน้าใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปไข่กับหรือรูปป้อม ๆ กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 3 - 12 ซม. โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ปลายใบโค้งมน ป้าน เว้าเข้าใบเกลี้ยงด้านล่าง เมื่อใยยังอ่อนอยู่มีขนบ้าง เส้นใบมี 6 - 8 คู่ เห็นได้ชัดทางด้านล่าง เส้นกลางใบสีแดงเรื่อ ๆ เมื่อใบแห้ง ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามง่ามใบ ช่อหนึ่ง ๆ มีประมาณ 3 ดอก มีขนนุ่ม กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมี 4 กลีบ  กลีบดอกยาว 8 - 12  มม.  เชื่อมติดกันเห็นรูปเหยือกน้ำหรือรูปป้อม ๆ ปลายแยกเป็นแฉกเล็ก ๆ  ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ กลีบรองดอก และกลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้แต่ใหญ่กว่าผล  มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.52.5  ซม. เมื่อผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ขนร่วงง่าย โคนและปลายผลมักบุ๋ม

ใบตะโกสามารถนำมาทำเป็นใบบางเพื่อประดิษฐ์ดอกไม้  เป็นเครื่องประดับ  หรือเป็นโคมไฟ เป็นต้น

วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือมีอะไรบ้าง


                                               ภาพที่ 10  แสดงดอกไม้ประดิษฐ์จากใบตะโก

ที่มา : สืบค้นจาก http://www.takesa1.go.th/ydbwtk/ebook/index.html [7 มิถุนายน 2552]

วัสดุท้องถิ่นของภาคกลางมีวัสดุอะไรบ้าง

ให้เนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับวัสดุพื้นถิ่นภาคกลางที่ใช้ในการผลิตครุภัณฑ์ เริ่มตั้งแต่ทำความรู้จักกับกก (Cyperaceae) กล้วย (Banana) ตาลโตนด (Palm) ไผ่ (Bamboo) ผักตบชวา (Water hyacinth) และหวาย (Rattan) อธิบายเนื้อหาโดยละเอียด พร้อมตัวอย่างหลากหลาย และภาพประกอบชัดเจน เข้าใจง่าย

วัสดุที่มีในท้องถิ่นมีอะไรบ้าง

ชนิดของวัสดุท้องถ่ิน.
2. ชนิดของวัสดุท้องถิ่น.
2.2 หวาย.
2.3 มะพร้าว ... .
2.4 ไม้เนื้ออ่อน ... .
2.5 ย่านลิเภา ... .
2.6 ใบลาน ... .
2.7 ผักตบชวา ... .
2.8 เปลือกข้าวโพด.

วัสดุท้องถิ่นที่มีทุกภาค คือข้อใด

๕. วัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่ทุกภาค - ไผ่ นิยมนำมาใช้สร้างที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องดนตรี - หวาย นิยมนำมาทำเป็นเครื่องเรือนเครื่องใช้ เช่น เก้าอี้รับแขก ชั้นวางของ ตะกร้า - เกล็ดปลา นิยมนำมาใช้มีทำเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องประดับ