กฎหมายเกี่ยวข้องกับแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือข้อใด

รวม 11  ประเด็นหลักสิทธิประโยชน์ของกฎหมายแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อ  5 พฤษภาคม 

สรุปความเปลี่ยนแปลงของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 19 สิงหาคม 2541
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 บังคับใช้ 27 พฤษภาคม 2551
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 บังคับใช้ 28 กุมภาพันธ์ 2551
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 บังคับใช้ 16 กรกฎาคม 2554
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 บังคับใช้ 23 กุมภาพันธ์ 2560
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 บังคับใช้ 1 กันยายน 2560
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 บังคับใช้ 5 พฤษภาคม 2562

11  ประเด็นหลักสิทธิประโยชน์ของกฎหมายแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562

ประเด็นที่ 1 นายจ้างผิดนัดจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี

  • กรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน
  • ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือไม่จ่ายค่าจ้าง
  • ค่าล่วงเวลา ค่าทางานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเวลาที่กำหนด
  • ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ หรือค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ

ประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และให้สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมคงมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

ประเด็นที่ 3 การกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงิน กรณีค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผล โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน

ประเด็นที่ 4 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน โดยให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นนี้ด้วย

ประเด็นที่ 5 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน  วันลาเพื่อคลอดบุตรให้หมายความรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

ประเด็นที่ 6 ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกันในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง

ประเด็นที่ 7 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้

๑) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่น ที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง

๒) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจาก ๑) ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

๓) ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง

ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย  ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง

ประเด็นที่ 8 การกำหนดการจ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว  ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นการชั่วคราวด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

ประเด็นที่ 9 ค่าชดเชยใหม่…กรณีเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างอยู่นาน เป็น 6 อัตรา

ระยะเวลาการจ้าง (อายุงาน) อัตราค่าชดเชย
120 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี 30 วัน
1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี 90 วัน
3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี 180 วัน
6 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี 240 วัน
10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี 300 วัน
ตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป 400 วัน

ประเด็นที่ 10 ค่าชดเชยพิเศษเนื่องจากการย้ายสถานประกอบกิจการ

  • นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใด ไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้ “นายจ้างปิดประกาศ” แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าโดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด
  • หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้าย
  • นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด
  • ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้าง ให้นายจ้างยื่นคำร้อง ต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ

ประเด็นที่ 11 การยกเลิกหนังสือเตือนกรณีนายจ้างไม่ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน

นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นหรือไม่แจ้งแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานมีอะไรบ้าง

กฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกันนี้จะเป็น พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์, พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่ง พ.ร.บ. แต่ละอย่างนั้นก็จะมีเงื่อนไขระบุเอาไว้ชัดเจนว่าคุ้มครองอะไรบ้างเกี่ยวกับแรงงาน คนที่ทำงานอยู่ในระบบบริษัทจะต้องทำความเข้าใจถึงสิทธิ์และหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดด้วย จะได้ไม่กระทำผิดกฎเสียเอง

กฎหมายที่ใช้และเกี่ยวข้องกับแรงงานในปัจจุบันมี 3 ฉบับได้แก่อะไรบ้าง

สรุปความเปลี่ยนแปลงของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 19 สิงหาคม 2541. พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 บังคับใช้ 27 พฤษภาคม 2551. พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 บังคับใช้ 28 กุมภาพันธ์ 2551.

สิทธิแรงงาน มีอะไรบ้าง

สิทธิแรงงาน หมายถึง สิทธิของผู้ใช้แรงงานที่จะได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมและเพียงพอในการดำรงชีวิตสำหรับตนเองครอบครัว ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย สิทธิการก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน สิทธิของสหภาพแรง งานที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเสรีปราศจากการแทรกแซง สิทธิการหยุดงาน สิทธิในการ ประกันสังคม ...