อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ใช้สําหรับอะไร

เป็นที่ทราบกันดีว่าหลักธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ในวันวิสาขบูชานี้ก็คือ หลักอริยสัจ 4 หลักความจริง 4 ประการ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ แล้วเราจะนำหลักธรรมตรงนี้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเราอย่างไรล่ะคะ

The teachings of the Lord Buddha which he reached enlightenment on Visakha Puja Day is widely known as the 4 Noble Truths. The 4 Noble Truths comprise the essence of four principles: the truth of suffering, the truth of the origin of suffering, the truth of the origin of suffering and the truth of the path to the cessation of suffering. How shall we apply these principles to our daily lives?

"มีสาวสวยอยู่คนหนึ่ง เป็นคนที่ขี้ลืมมากค่ะ ลืมได้ทุกเรื่อง จนคนรอบตัวเริ่มเอือมระอา"

There is a beautiful woman who is very forgetful. She can virtially forget about everything that makes everyone around her start to get fed up.

อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ใช้สําหรับอะไร

ทุกข์ : การมีความทุกข์

Dukka : The truth of suffering

ทุกข์ของสาวคนนี้อยู่ตรงที่การดำเนินชีวิตประจำวันเริ่มมีปัญหาค่ะ หาของที่ต้องการใช้ไม่เจอ ต้องเสียเงินซื้อใหม่ แล้วก็กลับมาหาเจอ หรือบางครั้งก็ทำให้เสียการเสียงานไปเลย พูดง่ายๆว่า เสียเงินไปโดยไม่จำเป็นหลายครั้งต่อหลายครั้งมากเลยค่ะ

This girl suffers from her daily life problems. For instance, she cannot find the thing she wants to use and has to spend the money to buy a new one. Later on she will find it. Sometimes it even affects her work. In fact, she often wastes her money unnecessarily.

สมุทัย : สาเหตุของการมีทุกข์

Samudaya : The truth of the origin of suffering

อย่างที่บอกไปค่ะ สาวคนนี้ขี้ลืม ลืมได้ทุกเรื่อง สาเหตุของการเสียเงินไปโดยไม่จำเป็น เกิดจากการขี้ลืมของตัวเองนั่นเองค่ะ

As mentioned, this woman is incredibly forgetful and can forget about everything. The cause of wasting the money unnecessarily is derived from her own habit of being so forgetful.

นิโรธ​ : การดับทุกข์

Nirodha : The truth of the cessation of suffering

จากสาเหตุข้างต้น สิ่งที่สาวสวยคนนี้ควรทำมากที่สุดก็คือต้องเลิกขี้ลืมให้ได้ค่ะ

Referring to the origin of suffering above, what this attractive girl should do the most is to end the habit of being forgetful.

อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ใช้สําหรับอะไร

มรรค : หนทางแห่งการดับทุกข์

Magga : The truth of the path to the cessation of suffering

สาวสวยคนนี้ต้องแก้ไขการขี้ลืมของตัวเองให้ได้ค่ะ ซึ่งการขี้ลืมก็เป็นเรื่องที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น การจดบันทึกในสิ่งที่ต้องทำทุกเช้าก่อนเริ่มดำเนินกิจกรรมอื่นๆ หาอาหารบำรุงสมอง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ผักและผลไม้อย่าให้ขาด หรือ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา เมื่อร่างกายแข็งแรง ความจำก็จะดีไปด้วยค่ะ

This beautiful woman needs to overcome her forgetfulness which can be controlled. Making notes about what you need to do every morning before starting other activities. Focus on nutritious foods that enrich your brain function. Maintain a balanced diet from the five food groups, especially vegetables and fruits. Make sure you always look after your health. When you are fit and healthy, your memory will improve.

พอจะเห็นภาพมั้ยคะ ว่าจริงๆแล้ว ธรรมะก็อยู่รอบๆตัวเรานี่แหละค่ะ อยู่ที่ว่าเราจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และเหมาะสมกับตัวเราเองได้มากน้อยแค่ไหน

Can you see that dharma is actually around us? It depends on how appropriate we apply it to our everyday lives to achieve the maximum benefit.

สรุปอริยสัจ 4 หลายคนคงจะสงสัยว่า อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง เว็บไซท์ติวฟรีจึงได้รวบรวมข้อมูล สรุป และตัวอย่างของการใช้งานอริยสัจ 4 มาให้ผู้ที่สนใจใช้แก้ปัญหา และเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดที่ตัวเองต้องการได้

อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ใช้สําหรับอะไร
อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ใช้สําหรับอะไร

อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ในพุทธศาสนา อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ

ทุกข์ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์สมุทัยความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์นิโรธความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์มรรคความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์

อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยหลักความจริงที่เกิดจากพระปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อันเป็นหลักสัมพันธ์แห่งเหตุผลที่ไม่แปรผัน ทำให้ผู้ศึกษาปฏิบัติตามหลัก สามารถก้าวพ้นจากความเป็นปุถุชน ที่หนาด้วยกิเลสสู่ภาวะแห่งอริยบุคคล ที่ประเสริฐสุดด้วยคุณธรรมได้อย่างแท้จริง หลักความจริงที่ว่านี้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติตรัสเรียกว่า อริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

1. ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้)

ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ความทุกข์จึงเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทุกขณะ เราจึงไม่ควรประมาทและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความจริงของทุกข์นั้นๆ ทุกข์คือความจริงข้อแรกในอริยสัจ 4

ความทุกข์ หมายถึงความที่กายและใจทนสภาพบีบคั้นได้ยาก เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ เป็นผลที่เนื่องมาจากเหตุ ปัญหาของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกัน ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ดังใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อาทิ ความยากจน


2. สมุทัย (หลักธรรมที่ควรละ)

สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งความทุกข์ เพราะความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุเกิดจากอะไรบางอย่าง ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ โดยไม่มีเหตุ สมุทัยคือความจริงข้อที่สองในอริยสัจ 4

สมุทัย หมายถึงเหตุที่เกิดทุกข์ คือ กิเลสตัณหาที่กระตุ้นจิตใจให้ส่ายแส่หาอารมณ์ที่ปรารถนา อยากได้ อยากมี อยากเป็น และอยากพ้นไปจากภาวะไม่ปรารถนา เป็นเหตุแห่งทุกข์ที่ต้องละ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหาของชีวิต ล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น


3. นิโรธ (หลักธรรมที่ทำให้บรรลุ)

นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือดับปัญหาต่างๆ พุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องความสุขมากมาย จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน เป็นบรมสุขที่สูงสุด นิโรธคือความจริงข้อที่สามในอริยสัจ 4

นิโรธ หมายถึงความดับทุกข์ คือ ภาวะที่เป็นผลจากการดับตัณหาและสามารถพ้นจากทุกข์ได้เด็ดขาด เป็นภาวะที่ต้องทำให้ประจักษ์แจ้ง พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิตทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้น ต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้


4. มรรค (หลักธรรมที่ควรเจริญ หรือทำให้เกิดขึ้น)

มรรค คือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้พ้นจากความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับทุกข์ ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างหรือทางดำเนินชีวิตที่ดีเลิศ จัดเป็นเหตุที่ควรเจริญ คือ ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงนิโรธ โดยสรุปเป็นหลักแห่งการศึกษาปฏิบัติสำคัญได้ 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคคือความจริงข้อสุดท้ายในอริยสัจ 4 ประการ

มรรค หมายถึงหนทางสู่การดับทุกข์ มีด้วยกันทั้งหมด 8 ประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ถ้าท่านสนใจหาความรู้เรื่องมรรคอย่างละเอียด ให้ท่านอ่าน บทความเรื่องมรรค 8 ในเว็บติวฟรีดูนะครับ จะมีอธิบายเอาไว้อย่างละเอียด


กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

  • ปริญญา – ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  • ปหานะ – สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  • สัจฉิกิริยา – นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  • ภาวนา – มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา

กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า

  • นี่คือทุกข์
  • นี่คือเหตุแห่งทุกข์
  • นี่คือความดับทุกข์
  • นี่คือทางแห่งความดับทุกข์

กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า

  • ทุกข์ควรรู้
  • เหตุแห่งทุกข์ควรละ
  • ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
  • ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น

กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว

  • ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
  • เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
  • ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
  • ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

อริยสัจทั้ง 4 ประการนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า สามุกกังสิกเทศนา หมายถึง พระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่ต้องปรารภคำถามหรือการทูลขอร้องของผู้ฟังอย่างการแสดงธรรมในเรื่องอื่นๆ

อริยสัจ 4 ประการ เป็นวิธีการแห่งปัญญา ดำเนินการแก้ปัญหาตามเหตุผล ตามเหตุปัจจัย คือ การแก้ปัญหาของบุคคลด้วยปัญญาของตัวบุคคลนั้นเอง

เป็นสัจธรรมความจริงที่เกี่ยวกับชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด อยู่ในเพศหรือภาวะใด จะต้องประสบด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อคุณรู้แล้วว่าอริยสัจ 4 คืออะไร มีประการอะไรบ้าง พร้อมถึงความสำคัญของแต่ละประการแล้ว คุณก็สามารถที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เพื่อผลบุญของตัวคุณเองครับ