สาระสําคัญของสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนมีอะไรบ้าง

สาระสําคัญของสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนมีอะไรบ้าง

ห้างหุ้นส่วน (Partnerships)

ห้างหุ้นส่วน  ตามมาตรา  1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า”อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น" ดังนั้นตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.    บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป จะนำทุนมาเข้าหุ้นกัน (ทุนที่จะนำมาลง ได้แก่ เงินสด ทรัพย์สินอย่างอื่น หรือ แรงงาน คือ ใช้กำลัง สติปัญญา ความคิดแรงกายแทน)
2.  ตกลงเข้ากัน คือ บุคคลที่จะเข้าร่วมประกอบกิจการได้ทำสัญญาตกลงกันว่าจะประกอบการค้าร่วมกัน การตกลงกันนั้น จะต้องมีการแสดง เจตนาโดยแจ้งชัด อาจจะทำเป็นสัญญาปากเปล่า หรือ ลายลักษณ์อักษร ก็ได้ว่าจะเข้าเป็น "ห้างหุ้นส่วน"
3.  เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน คือคู่สัญญา จะต้องมาดำเนินกิจการเพื่อทำการตามที่ได้ตกลงไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์
4. เพื่อประสงค์กำไร   คือ เป็นการตกลงใจทำงาน โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อผลกำไร อันได้เกิดจากกิจการที่ทำนั้น และผลกำไรจะได้นำมาแบ่งกัน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน  

ประเภทห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนบางออก เป็น 3 ประเภท

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
  3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ    คือ มีหุ้นส่วน สองคนขึ้นไป  ผู้เป็นหุ้นส่วนจะอยู่ฐานะผู้จัดการ และทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน ตามกฎหมายเรียกว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญ   และเรียกผู้ที่รับผิดชอบการบริหารงานของห้างว่า”หุ้นส่วนผู้จัดการ" 

ข้อดีของห้างหุ้นส่วนสามัญ
1.  การจัดตั้งกระทำได้ง่าย
2.  มีการร่วมทุนและความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วน
3.  สามารถขยายกิจการด้วยการเพิ่มทุนหรือรับหุ้นส่วนเพิ่มได้

ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนสามัญ
1.  เมื่อห้างมีการขาดทุนและเลิกกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีฐานะการเงินดีจะถูกเรียกร้องให้ชำระหนี้ของห้างทั้งหมดได้
2.  ความคล่องตัวและความเป็นอิสระ ในการบริหารงานลดลง
3.  การเสียภาษี เป็นการเสียแบบบุคคลธรรมดา
4.  ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ร่วมกันโดย เจ้าหนี้ อาจจะเรียกให้หุ้นส่วนคนใดชำระหนี้ให้จนครบจำนวนย่อมได้

2.  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล   การประกอบการแบบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีลักษณะเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญทุกประการ แต่มีข้อแตกต่างกัน   คือการนำห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีผลให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากห้างหุ้นส่วน     

ข้อดีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
1.  การเสียภาษีเป็นการเสียแบบนิติบุคคล
2.   ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น เนื่องจากมีผู้สอบบัญชี
3.  มีการร่วมลงทุนและความรู้ของหุ้นส่วน
4.  เสียภาษี แบบนิติบุคคล

3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด การประกอบการในลักษณะนี้จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และต้องใส่คำว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ไว้หน้าชื่อห้างเสมอไปด้วย โดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งหุ้นส่วนออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.  ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ    จำกัดรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้น
2. ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ   การไม่จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ไม่จำกัดหนี้สินที่เกิดขึ้นกรณี ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกิจการ    ตามกฎหมายให้สิทธิ์แก่เจ้าหนี้ ของกิจการมีสิทธิ์เรียกร้องให้นำทรัพย์สินส่วนตัวของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบในส่วนที่นอกเหนือจากเงินที่ลงทุนในกิจการ มาชำระหนี้จนครบ 

ข้อดีของห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.  รวบรวมเงินทุน ความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วนได้มากขึ้น
2.  ผู้มีเงินทุนยินดีจะลงทุนร่วมด้วย โดยเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ทำให้พ้นภาระรับผิดชอบในหนี้สินแบบลูกหนี้ร่วม
3.  สามารถจะระดมบุคคลที่มีความเชียวชาญในสาขาใด ๆ มาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้
4.  ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น
5.  เสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล

ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.  การจัดตั้งมีความยุ่งยากมากขึ้น
2.  หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องรับภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
3.  เมื่อมีผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดตาย ล้มละลาย หรือลาออก ห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเลิกกิจการและชำรบัญชีให้เรียบร้อย


สาระสําคัญของสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนมีอะไรบ้าง

Copyright © 2001-2022 Chaninat & Leeds สำนักกฎหมาย ชนินาฏ แอนด์ ลีดส์

เลขที่ 10/154 อาครเทรนดี้ ออฟฟิศ ชั้น 18 ถนนสุขุมวิท ซอย 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทร : +662 168 7001 - 3 แฟกซ์: +662 168 7004

สัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (Partnership Agreement) คือสัญญาที่มีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้าทำสัญญากันเพื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นและกำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนนั้นรวมถึงกำหนดความสัมพันธ์ หน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองนั้น โดยที่ห้างหุ้นส่วน คือรูปแบบองค์กรธุรกิจหนึ่งซึ่งมีลักษณะที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าบริษัทจำกัดแต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนมากกว่ากิจการที่มีเจ้าของรายเดียว โดยแต่ละรูปแบบองค์กรก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยห้างหุ้นส่วนจะมีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเข้าเป็นหุ้นส่วน
  • ตกลงเข้าหุ้นกันทำกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินกิจการหรือธุรกิจนั้น

โดยที่ในการเข้าหุ้นนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำสินทรัพย์ของตนมาเข้าหุ้นเพื่อลงทุนและใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น เช่น เงิน ทรัพย์ (เช่น อาคาร ที่ดิน อุปกรณ์) หรือ แรงงาน (เช่น การที่หุ้นส่วนรับทำงานให้กับกิจการของห้างหุ้นส่วน)

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนมี 3 ประเภทซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบกับความรับผิดใดๆ ที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้น (เช่น หนี้สิน)
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราภาษีก้าวหน้า)

(ข) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดต่อหน้าที่ความรับผิดที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้นทั้งหมดทุกคนโดยไม่มีการจำกัดความรับผิดหรือแยกความรับผิด

(ค) ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • มีผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดจะมีการแบ่งแยกความรับผิดระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวกับทรัพย์สินที่นำมาเข้าหุ้นในกิจการ และ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้เท่านั้นที่สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนได้

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ผู้จัดทำควรพิจารณา ดังต่อไปนี้

กำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน เช่น ชื่อและที่อยู่ของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ รายละเอียดผู้เป็นหุ้นส่วน การเข้าหุ้น และการแบ่งผลกำไรและขาดทุน

กำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เช่น การบริหารจัดการ การออกเสียงหรือลงมติ การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วน การห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนค้าแข่ง และการเลิกห้างหุ้นส่วน (ถ้ามี)

ผู้เป็นหุ้นส่วนควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน โดยอาจจัดทำสัญญาเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนหุ้นส่วน เพื่อให้หุ้นส่วนแต่ละคนยึดถือสัญญาไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยคนละหนึ่งฉบับ รวมถึงเพื่อใช้ในการดำเนินการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยอีกหนึ่งฉบับ ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยในสัญญาดังกล่าวควรแนบเอกสารแสดงตัวตนของหุ้นส่วนทุกคนที่หุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาด้วย เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง

ผู้เป็นหุ้นส่วนติดอากรแสตมป์ที่หนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามอัตราและภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนสามัญอาจสามารถเกิดขึ้นได้ หากบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันดำเนินกิจการหรือธุรกิจโดยมีเจตนาเพื่อแบ่งปันผลกำไรกัน แม้ไม่ได้มีการทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเอาไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี หุ้นส่วนดังกล่าวก็ควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน เพื่อกำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน รวมถึงวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เพื่อความสัมพันธ์อันดีและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งนี้ เพื่อความยั่งยืนของห้างหุ้นส่วนนั้น

อนึ่ง ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย ห้างหุ้นส่วนจึงจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป