หลักการสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์คืออะไร

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายประเภท เลือกหัวข้อ วางแผน วิธีทำ นำเสนอและประโยชน์ของโครงงานได้นำความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และโครงงานไปใช้ได้

  1. วางแผนการทำโครงงานได้
  2. ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้
  3. อธิบายและบอกแนวในการนำผลงานจากโครงงานไปใช้ได้
  4. นำความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และโครงงานไปใช้ได้

ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project)  หมายถึงการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การหาคำตอบภายใต้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะของครู อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกิจกรรมนี้อาจทำเป็นรายบุคคลหรือทำเป็นรายบุคคลหรือทำเป็นกลุ่ม  และจะทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ โดยไม่ต้องจำกัดสถานที่

หลักการของโครงงานวิทยาศาสตร์

การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีหลักการสำคัญ ดังนี้

  1. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2. เป็นกิจกรรมที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตั้งแต่การระบุปัญหาการตั้งสมมติฐาน การดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เพื่อหาคำตอบในปัญหานั้นๆ จากแหล่งความรู้ ผู้ชำนาญหรืออื่นๆ โดยมีครู – อาจารย์ เป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษา
  3. เป็นกิจกรรมที่เน้นแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มจากการ ระบุปัญหา เลือกหัวข้อที่ตนสนใจจะศึกษา ตั้งสมมติฐาน ขั้นสังเกต และการทดลองเพื่อรวบรวมข้อมูล และสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
  4. เป็นบกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็นซึ่งเป็นแนวทางที่นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

จุดมุ่งหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป มีจุดมุ่งหมาย

  1. เพื่อนำมาจัดระบบ ระเบียบ และสื่อความหมายแล้วนำเสนอในรูปต่างๆ เช่นตาราง แผนภูมิ
  2. เพื่อให้ผู้เรียนเรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามที่ตนใจ
  3. เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นริเริ่มสร้างสรรค์
  4. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเห็นคุณค่าของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา
  5. เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแต่ละท้องถิ่น

ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

         1. โครงงานประเภทสำรวจเป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลจากธรรมชาติประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 ประเภทคือและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาจัดระบบระเบียบและสื่อความหมายและนำเสนอในรูปแบบอน ๆ เช่นตารางแผนภูมิกราฟคำอธิบายประกอบการทำโครงงานประเภทนี้ไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตามซึ่งทำได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้

             1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลในธรรมชาติโดยไม่ต้องนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเช่นการสำรวจประชากรของพืชสัตว์ดินในบริเวณที่ต้องการศึกษาการสำรวจลักษณะระบบนิเวศในท้องถิ่นการสำรวจชนิดพืชใบเลี้ยงคู่ใบเลี้ยงเดี่ยวในบริเวณโรงเรียน

            1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเช่นการสำรวจพยาธิในปูเค็มที่วางขายในตลาดที่ต้องการศึกษาการสำรวจค่าของความเป็นกรดเป็นเบสของดินหรือน้ำจากแหล่งที่ต้องการศึกษาต่างประการสำรวจหาปริมาณน้ำตาลจากอ้อยในพื้นที่ต่าง ๆ ของท้องถิ่น

           1.3 การจำลองธรรมชาติขึ้นในห้องปฏิบัติการแล้วสังเกตศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งการออกไปสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลในธรรมชาติไม่สะดวกเสียเวลาสิ้นเปลืองงบประมาณมากบางครั้งก็อาจจำลองธรรมชาติจำลองนั้นเช่นการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ที่นำมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการการศึกษาวงจรชีวิตของแมลงที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการการศึกษาพฤติกรรมของมดแดงที่นำมาเลี้ยง 1 อาณานิคมในห้องปฏิบัติการ

2. โครงงานประเภทการทดลองเป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาโดยการออกแบบการเพื่อศึกษา            ผลของตัวแปรต้นตัวแปรตามและควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาโดยทั่วไปขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้ประกอบด้วย

      2.1 การระบุปัญหา (ได้จากการสังเกต)

      2.2 การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา

     2.3 การออกแบบการทดลองโดยการกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคือตัวแปรต้น (อิสระ) หมายถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาตัวแปรตามหมายถึงสิ่งที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้นตัวแปรคุมหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่มีผลต่อตัวแปรตามจึงต้องควบคุมเพื่อมิให้มีข้อโต้แย้งในการสรุปผลการทดลอง

      2.5 การดำเนินการทดลองเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทดลอง

      2.6 การแปลผลและสรุปผลการทดลอง

3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

        โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยต่าง ๆ อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่หรืออาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือให้มีคุณภาพดีคงเดิม แต่ลดต้นทุนในการผลิตโครงงานประเภทนี้อาจรวมไปถึงการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวคิดต่าง ๆ ตัวอย่างของโครงงานประเภทนี้เช่น

             – เครื่องปอกไข่

             – หุ่นยนต์ช่วยงานบ้าน

             – เครื่องบินเล็กขจัดพ่นยาฆ่าแมลง

4. โครงงานประเภททฤษฎี

              เป็นโครงงานที่ได้เสนอทฤษฎีหลักการหรือแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตรสมการคำอธิบายโดยผู้เสนอได้ตั้งกฎกติกาหรือข้อตกลงขึ้นมาแล้วเสนอทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิงโครงงานประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นสูง

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

      การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการดำเนินตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้       

          1. คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานผู้เรียนจะต้องคิดและเลือกด้วยตนเองซึ่งมักได้จากการสังเกตแล้วเกิดปัญหาคำถามหรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่นจากการอ่านหนังสือวารสารสิ่งพิมพ์จากการไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เช่นพิพิธภัณฑ์โรงงานอุตสาหกรรมนิทรรศการหน่วยงานวิจัยการฟังบรรยายทางวิชาการการเรียนการสอนสนทนากับผู้มีความรู้และประสบการณ์การศึกษาโครงงานที่ผู้ทำไว้แล้วหรือการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตัวเป็นต้นการเลือกที่จะทำโครงงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากถ้าเลือกเรื่องเหมาะสมในการทำโครงงานได้ก็เหมือนกับได้ทำโครงงานเสร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งการเลือกทำโครงงานใด ๆ มีข้อควรพิจารณาดังนี้

  • ผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์พื้นฐานในเรื่องที่ศึกษา
  • มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
  • วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสามารถจัดหาหรือจัดทำขึ้นมาเองได้
  • มีเวลาเพียงพอในการทำโครงงานเรื่องนั้น ๆ ได้
  • มีผู้เชี่ยวชาญรับเป็นที่ปรึกษามีความปลอดภัยในการทำโครงงานนั้น
  • มีงบประมาณ

2. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิและการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยหลังจากที่ผู้เรียนได้หัวข้อเรื่องที่กว้างที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าแล้วขั้นต่อไปที่อาจารย์ที่ปรึกษาควรแนะนำคือแหล่งที่ผู้เรียนจะสามารถหาความรู้เพิ่มเติมหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้เรียนสามารถขอคำปรึกษาเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่เขาสนใจนั้นการศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒินี้อาจารย์ที่ปรึกษาต้องแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักจดบันทึกไว้ในสมุดให้เป็นหลักฐานเรียบร้อยผู้ทำโครงงานทุกคนจำเป็นต้องมีสมุดบันทึกประจำวันซึ่งควรนำแสดงในการแสดงโครงงานด้วยการศึกษาที่เกี่ยวข้องนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวความคิดที่จะกำหนดขอบข่ายของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นและได้ความรู้ในเรื่องที่จะทำการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นจนสามารถออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ควรอนุญาตให้ผู้เรียนลงมือทำโครงงานโดยไม่ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องเหล่านั้นจากเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอเสียก่อนการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้ห้องสมุดและแหล่งวิทยาการต่าง ๆ จึงเป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะต้องแนะนำเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ในการค้นเอกสารจากห้องสมุดซึ่งอาจแนะนำให้ผู้เรียนไปปรึกษากับบรรณารักษ์ห้องสมุดก็ได้นอกจากนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาอาจต้องให้ความช่วยเหลือในการติดต่อห้องสมุดอื่น ๆ ในท้องถิ่นให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการได้ด้วย

3. การจัดทำเค้าโครงงานย่อของโครงงานหลังจากที่ผู้เรียนได้หัวข้อเรื่องทำโครงงานที่เฉพาะเจาะจงและได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ อย่างเพียงพอแล้วขั้นต่อไปคือการเขียนเค้าโครงโครงงานเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไปเค้าโครงย่อโครงงานโดยทั่วไปจะเขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวความคิดแผนงานและขั้นตอนของการทำโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

หลักการสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์คืออะไร

หลักการสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์คืออะไร

4. การลงมือทำโครงการเมื่อเค้าโครงย่อของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในโครงงานย่อที่เสนออาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

          1) เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือทดลองหรือศึกษาค้นคว้า

          2) มีสมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรไปได้ผลอย่างไรมีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร

          3) ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบและบันทึกข้อมูลไว้เป็นระเบียบและครบถ้วน

          4) คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน

          5) พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ตอนแรก แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบ้างหลังจากได้เริ่มต้นทำงานไปแล้วถ้าคิดว่าจะทำให้ได้ผลงานดีขึ้น

         6) ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น

         7) ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อย ๆ และทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่น ๆ ต่อไป

         8) ควรทำงานเป็นส่วนที่เป็นหลักสำคัญ ๆ ให้เสร็จก่อนแล้วจึงทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อตกแต่งโครงงาน

        9) อย่าทำงานต่อเนื่องจนเมื่อยล้าจะทำให้ขาดความระมัดระวัง

      10) ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรคำนึงถึงความคงทนแข็งแรงและขนาดที่เหมาะสมของสิ่งประดิษฐ์

               ความสำคัญของโครงงานมิได้ขึ้นอยู่กับผลการทดลองที่ได้ตรงกับความคาดหวังหรือไม่แม้ผลการทดลองที่ได้จะไม่เป็นไปตามความคาดหวังก็ถือว่ามีความสำเร็จในการทำโครงงานนั้นเหมือนกันเช่นถ้าพบว่าซังข้าวโพดยังไม่สามารถใช้เพาะเห็ดนางรมได้ดีตามคาดหวังก็สามารถแนะนำให้ใช้ซังข้าวโพดเหมาะหรือไม่เหมาะต่อการนำมาเป็นวัสดุเพาะเห็ดอย่างไรก็จะทำให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจะเห็นได้จากการทำโครงงานไม่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ก็มีคุณค่าทั้งนั้นข้อสำคัญคือผู้เรียนจะต้องทำโครงงานจนเสร็จครบขั้นตอนตามที่ได้วางแผนไว้อย่าท้อถอยหรือเลิกกลางคัน

        5. การเขียนรายงาน

         เมื่อดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอน   ได้ข้อมูล  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้งแปลผลและสรุปผลแล้วงานขั้นต่อไปคือการเขียนรายงาน

        การเขียนรายงานที่เกี่ยวกับโครงงานเป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งเพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจถึงแนวความคิดวิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น

รูปแบบการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์จึงมีลำดับดังนี้

       1. ปกนอกมีชื่อเรื่องชื่อคณะที่ทำงานชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาชื่อโรงเรียน

       2. ปกรองจะคล้ายหรือเหมือนปกนอก

       3. คำขอบคุณเป็นการเขียนขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ให้การสนับสนุนที่ทำให้เราได้รับความสำเร็จจากการทำ

       4. บทคัดย่อเป็นการสรุปย่อ ๆ ของสิ่งที่ทำได้โดยมีข้อความประมาณ 300-500 คำที่เป็นเนื้อความและควรมีส่วนสำคัญคือความมุ่งหมายวิธีทดลองผลการทดลองและสรุปผลการทดลองอย่างย่อ ๆ (ควรฝึกเขียนให้ถูกต้องเพราะส่วนนี้สำคัญมาก)

      5. สารบัญเรื่อง

      6. สารบัญตารางผลการทดลอง

      7. สารบัญกราฟหรือรูปภาพ (ถ้ามีในผลการทดลอง)

      8. บทที่ 1 ซึ่งมี 2 ส่วนที่สำคัญคือส่วนที่ 1 ประกอบด้วยแนวคิดที่มาและความสำคัญของเรื่องและส่วนที่ 2 ซึ่งกล่าวถึงความมุ่งหมายของการทดลอง (ดำเนินการเหมือนในเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เคยเสนอ)

      9. บทที่ 2 บทเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนที่ผู้ทดลองจะต้องไปศึกษาจากเอกสารโดยเป็นส่วนที่อาจจะเป็นหลักการทฤษฎีหรือรายงานการทดลองในส่วนที่ผู้อื่นได้ทดลองคล้าย ๆ กับเรื่องที่เราศึกษา (เป็นการบอกว่าเราทำไม่ซ้ำกับของเขา) หากไปศึกษาและคัดลอกข้อความจากหนังสืออะไรจะต้องระบุชื่อหนังสือไว้ในส่วนท้ายเล่มโครงงานที่เรียกว่าหนังสืออ้างอิงบรรณานุกรมเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ที่นำมาอ้างอิง

     10. บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง (ระบุรายละเอียดเหมือนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์)

     11. บทที่ 4 ผลการทดลองโดยจะต้องกำหนดตารางบันทึกผลการทดลองหรืออาจทำเป็นกราฟหรือวาดภาพไว้แต่ละส่วนจะมีการวิเคราะห์ผลการทดลองไว้ด้วย

    12. บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง (ย่อ ๆ )

   13. ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงานนี้

   14. ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) เป็นการบอกให้รู้ว่าหากมีผู้ไปทดลองต่อจะทำอย่างไรจะแก้ไขปรับปรุงส่วนใดบ้าง

   15. บรรณานุกรม (หนังสืออ้างอิง) ต้องเขียนให้ถูกหลักการใช้ห้องสมุด (สัมพันธ์กับข้อ 9 หรือบทที่ 2)

6. การแสดงผลงาน

การแสดงผลงานนั้นจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงานเรียกได้ว่าเป็นงานขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการแสดงผลิตผลของงานความคิดและความพยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไปและเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้นมีผู้กล่าวว่าการวางแผนออกแบบเพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสำคัญเท่า ๆ กับการทำโครงงานนั่นเองผลงานที่ทำขึ้นจะดีและยอดเยี่ยมเพียงใด แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดีก็เท่ากับไม่ได้แสดงความดียอดเยี่ยมของผลงานนั้นออกมาให้ผู้อื่นได้เห็น

การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ กันเช่นการแสดงในรูปนิทรรศการซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและอธิบายด้วยคำพูดหรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบหรือในรูปของรายงานปากเปล่าไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามควรจะจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

1. ชื่อโครงงานชื่อผู้ทำโครงงานชื่อที่ปรึกษา

2. คำอธิบายย่อ ๆ ถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน

3. วิธีดำเนินการโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ

4. การสาธิตหรือแสดงผลงานที่ได้จากการทดลอง

5. ผลการสังเกตและข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน

ในการแสดงผลงานถ้าผู้นำผลงานมาแสดงจะต้องอธิบายหรือรายงานปากเปล่าหรือตอบคำถามต่าง ๆ ต่อผู้ชมหรือต่อกรรมการตัดสินโครงงานการอธิบายตอบคำถามหรือรายงานปากเปล่านั้นควรได้คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องที่อธิบายเป็นอย่างดี

2. คำนึงถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับระดับผู้ฟังควรให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย

3. ควรรายงานอย่างตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม

4. พยายามหลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน แต่อาจจดหัวข้อสำคัญ ๆ ไว้เพื่อช่วยให้การรายงานเป็นไปตามขั้นตอน

5. อย่าท่องจำรายงานเพราะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ

6. ขณะที่รายงานควรมองตรงไปยังผู้ฟัง

7. เตรียมตัวตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ

8. ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้ถาม

9. หากติดขัดในการอธิบายควรยอมรับได้โดยดีอย่ากลบเกลื่อนหรือหาทางเลี่ยงเป็นอย่างอื่น

10. ควรรายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

11. หากเป็นไปได้ควรใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ประกอบการรายงานด้วยเช่นแผ่นโปร่งใสหรือสไลด์เป็นต้นการทำแผงสำหรับแสดงโครงงานแผงสำหรับแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ควรทำด้วยไม้อัดติดบานพับมีห่วงรับและขอสับทำฉากกับแผ่นตัวกลางในการเขียนรายละเอียดบนแผงโครงงานควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. ต้องประกอบด้วยชื่อโครงงานชื่อผู้ทำโครงงานชื่อที่ปรึกษาคำอธิบายย่อ ๆ ถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานความสำคัญของโครงงานวิธีดำเนินการเลือกเฉพาะขั้นตอนที่สำคัญผลที่ได้จากการทดลองอาจแสดงเป็นตารางกราฟหรือรูปภาพก็ได้ประโยชน์ของโครงงานสรุปผลเอกสารอ้างอิง

2. จัดเนื้อที่ให้เหมาะสมไม่แน่นจนเกินไปหรือน้อยจนเกินไป

3. คำอธิบายความกะทัดรัดชัดเจนเข้าใจง่าย

4. ใช้สีสดใสเน้นจุดสำคัญเป็นการดึงดูดความสนใจ

5. อุปกรณ์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

การประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์

การประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอีกกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการจัดแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของผู้เรียนตามปกติครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินโครงงานเพื่อเก็บคะแนนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการเรียนวิทยาศาสตร์ตามปกติถ้าได้กำหนดให้การทำโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติหรือประเมินโดยคณะกรรมการของโรงเรียนเพื่อคัดเลือกโครงงานไปแสดงในโอกาสอื่น ๆ ต่อไปส่วนการประเมินโครงงานเพื่อตัดสินให้รางวัลในวันแสดงโครงงานส่วนใหญ่ประเมินโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกที่ได้รับเชิญการประเมินผลไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดจะมีหลักเกณฑ์ใหญ่ ๆ ที่คล้ายกันจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดสำหรับเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิจารณาประเมินโครงงานในแบบประเมินดังกล่าวอาจอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้

1. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ทำการพิจารณาตัดสินให้คะแนนต้องคำนึงถึงระดับชั้นและอายุของผู้เรียนด้วยซึ่งอาจพิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.1 ใช้ศัพท์เทคนิคได้ถูกต้องและความเข้าใจในศัพท์เทคนิคที่ใช้เพียงใด

1.2 ได้ค้นหาเอกสารอ้างอิงได้เหมาะสมและมีความเข้าใจในเรื่องที่อ้างอิงมากน้อยเพียงใด                  1.3 มีความเข้าใจในหลักการสำคัญของเรื่องที่ทำมากน้อยเพียงใด

1.4 ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการทำโครงงานนี้นอกเหนือจากที่เรียนตามหลักสูตรปกติมากน้อยเพียงใด

2. การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำโครงงานหรือเทคนิคที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้นถ้าเป็นโครงงานประเภททดลองหรือสำรวจรวบรวมข้อมูลการประเมินในข้อนี้ควรพิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1.1 ปัญหาหรือสมมติฐานได้แถลงไว้ชัดเจนเพียงใด

1.2 การออกแบบการทดลองหรือการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลทำได้รัดกุมเพียงใด

1.3 การวัดและการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ทำได้ดีเพียงใด

1.4 การจัดกระทำและการนำเสนอข้อมูลทำได้เหมาะสมเพียงใด

1.5 การแปลผลเหมาะสมและตั้งบนรากฐานของข้อมูลที่รวบรวมได้เพียงใด

1.6 การบันทึกประจำวันเกี่ยวกับการทำโครงงานทำไว้เรียบร้อยและเหมาะสมใจเพียงใด

ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์การประเมินโครงงานในหัวข้อนี้พิจารณาดังนี้

ก. วัสดุที่ใช้มีความเหมาะสมเพียงใด

ข. การออกแบบมีความเหมาะสมกับงานที่จะใช้เพียงใดเช่นขนาดรูปร่างตำแหน่งของปุ่มควบคุมต่าง ๆ ฯลฯ

ค. มีความคงทนถาวรเพียงใด

ง. ได้คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานเพียงใดการออกแบบได้คำนึงถึงการซ่อมบำรุงรักษามากน้อยเพียงใดเช่นส่วนจำเป็นต้องถอดออกเปลี่ยนบ่อย ๆ หรือต้องซ่อมบำรุงบ่อย ๆ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพียงใด

ฉ. ความประณีตเรียบร้อยสวยงามจูงใจผู้ใช้เพียงใด

ช. เทคนิควิธีการที่ใช้มีความเหมาะสมกับเทคโนโลยีปัจจุบันเพียงใดถ้าเป็นโครงงานเชิงทฤษฎีการประเมินโครงการในหัวข้อนี้อาจพิจารณาดังนี้

ซ. แนวความคิดมีความต่อเนื่องเพียงใด

ฌ. แนวความคิดมีเหตุผลและมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดๆ

ญ. กติกาหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่ใช้มีความเหมาะสมเพียงใด

ฎ. การอธิบายหรือการสรุปแนวความคิดตั้งบนกติกาหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงไร

3. การเขียนรายงานการจัดแสดงโครงงานและการอธิบายปากเปล่าการประเมินโครงงานในหัวข้อนี้เป็นการประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้

3.1 รายงานที่ผู้เรียนได้เขียนขึ้นได้เหมาะสมเพียงใด

3.2 การจัดแสดงโครงงานทำได้เหมาะสมเพียงใด

3.3 การอธิบายปากเปล่าอธิบายได้ชัดเจนรัดกุมเพียงใด

4. ความคิดสร้างสรรค์การประเมินในข้อนี้ต้องคำนึงถึงระดับผู้ทำโครงงานคือเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือความแปลกใหม่ในระดับผู้ทำโครงงานไม่ใช่ในระดับของผู้ประเมินโครงงานซึ่งอาจพิจารณาในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

4.1 ปัญหาหรือเรื่องที่ทำมีความสำคัญและมีความแปลกใหม่เพียงใด

4.2 ได้มีการดัดแปลงเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมแนวความคิดที่แปลกใหม่ไปในโครงงานที่ทำมากน้อยเพียงใด

4.3 มีการคิดและใช้วิธีการที่แปลกใหม่ในการควบคุมหรือวัดตัวแปรหรือเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด

4.4 มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่แปลกใหม่ในการทำโครงงานมากน้อยเพียงใด

4.5 มีการออกแบบประดิษฐ์ดัดแปลงหรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ในการทำโครงงานมากน้อยเพียงใด

ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผู้เรียนควรจะได้มีโอกาสประเมินผลงานด้วยตนเองการประเมินผลด้วยตนเองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้พิจารณาประเมินโครงงานของตนเองว่ามีคุณภาพในด้านต่าง ๆ มากน้อยเพียงใดเพื่อปรับปรุงแก้ไขโครงงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนนำโครงงานออกแสดงนอกจากนั้นถ้าผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาแบบประเมินนี้ก่อนวางแผนทำโครงงานก็จะช่วยให้ผู้เรียนวางแผนทำโครงงานได้ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ที่ได้รับการพิจารณาได้รัดกุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นประโยชน์ของโครงงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ธีระชัยปรณโชติ (2531: 3-4) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ดังต่อไปนี้

1. ช่วยส่งเสริมจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและการเรียนวิทยาศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

โครงงานวิทยาศาสตร์มีลักษณะสำคัญคืออะไร

โครงงานวิทยาศาสตร์หมายถึง กิจกรรมใดๆที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและลงมือปฏิบัติ ศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองโดยอาศัย ทักษะ และกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ไปช่วยแสวงหาความรู้ หรือแก้ปัญหา

ข้อใดคือความสำคัญของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เป็นการสร้างโอกาสให้นักเรียนได้รับระสบการณ์ตรง กิจกรรมของนักเรียนในการศึกษาเรื่องที่สนใจด้วยตนเองและสามารถนำออกเผยแพร่ได้ การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีการวางแผนอย่างมีขั้นตอน

หลักการของโครงงานคืออะไร

โครงงานเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้ค าตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงาน ตามแผนที่วางไว้จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคาตอบในเรื่องนั้นๆ

โครงงานทางวิทยาศาสตร์ คืออะไร

โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเพื่อพบข้อความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์ด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาโดยมีครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์