การละเมิดสิทธิเด็กก่อให้เกิดผลอย่างไรบ้าง

กฎหมายไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ  มานานรับจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับด้วยกัน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Froms of Discriminay=tion against Women) เป็นต้น

            อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญาต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการขาดการส่งเสริมละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่รอแก้ไขอีกหลายประการในที่นี้จะยกตัวอย่างปัญกาสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาให้ทราบพอสังเขป ดังนี้

6.1 ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศจึงทำให้ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน เช่น สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา พยายามเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย ทั้งที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามาย่างปิดกฎหมาย

            โดยอาชีพส่วนใหญ่ที่แรงงานเหล่านี้เข้ามาทำ คือ งานประมงทะเล งานเกี่ยวเนื่องกับการประมง (ทำงานในโรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง อาท แกะกุ้ง ลอกหนังปลาหมึก) ทำงานในโรงงานปลาป่นที่ใช้เป็นหารสัตว์ ทำงานในโรงงานน้ำปลา ทำงานในโรงงานอาหารทะเลตากแห้ง ทำงานเกษตร เช่น กรีดยางในสวนยาง งานก่อสร้าง งานบริการ เป็นต้น

ชาวต่างชาติบางส่วนที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายก็ได้สร้างปัญหาต่อความมั่นคงของสังคมโดยรวมปละประเทศชาติ เช่น ปัญหาอาชยากรรม ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น  

 ชาวต่างชาติบางส่วนที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายก็ได้สร้างปัญหาต่อความมั่นคงของสังคมโดยรวมและประเทศชาติ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศไทยปลายทางรับแรงงานต่างชาติเหล่านี้เข้ามาทำงานจึงพยายามควบคุมแรงงานดังกล่าวให้มีจำนวนจำกัด เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2547 คือให้นายจ้างนำแรงงานที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายมาจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู้ระบบการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติให้ช่วยกดดันประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่ร่ำรวยกว่าประเทศไทยให้ช่วยรับแรงงานเหล่านี้เข้าไปอยู่ในประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ยังผลให้ประเทศไทยต้องรับภาระดูแลชาวต่างชาติดังกล่าวมากขึ้นทุกปี และยังต้องนำงบประมาณของประเทศอีกจำนวนมากมาดูแลแรงงานเหล่านี้นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยต้องรับภาระดูแลชาวต่างชาติเหล่านี้ ยังส่งผลให้อัตราประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู้ปัญหาชุมชนแออัดเพิ่มมากขึ้นในเขตเมืองหลวงและเขตอุตสาหกรรมตามพื้นที่ต่างๆ

แนวทางแก้ไขปัญหา

1.นโยบายการจดทะเบียนแรงงานต่างชาติควรจะมีการเปิดโอกาสให้จดทะเบียนได้ตลอดทั้งปี เพื่อสอดรับการหมุนเวียนแรงงานตามความต้องการแรงงานในตลาด

2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการจัดหางานควรทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยให้แรงงานมาขึ้นทะเบียนโดยตรงกับสำนักงานจัดหางาน และให้นายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้าง เพราะการที่ให้นายจ้างพาลูกจ้างมาจดทะเบียนนั้นเป็นช่องว่างให้นายจ้างหลีกเลี่ยงที่จะจดทะเบียนได้ง่ายและจะทำให้แรงงานกลายเป็นเพียงทรัพย์สินของนายจ้างเท่านั้น รวมทั้งการจัดทำเอกสารหรือสื่อต่างๆ ควรมีภาษาของแรงงานต่างชาติเหล่านี้ด้วย เพื่อให้แรงงานเหล่านี้เข้าใจขั้นตอนการจดทะเบียน เพื่อขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องครบถ้วน

3.ภาครัฐจะต้องมีการจัดทำกลไกการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามกฎหมายที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้จริง เช่น มีมาตรการลงโทษที่ชัดเจนใรกรณีที่นายจ้างยึดบัตรประจำตัวของแรงงานต่างชาติไว้ เป็นต้น

4.สร้างการมีส่วนร่วมของแรงงานละฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องมีตัวแทนของแรงงานไทยและแรงงานต่างชาติในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแรงงานต่างชาติในทุกระดับ เพื่อให้นโยบายมีมุมมมองที่หลากหลายและสอดคล้องกับความเป็นจริงที่สุด

                        การแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาตินั้นต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศต้นทางของแรงงานเหล่านั้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องส่งเสริมให้ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อจะได้ไม่เข้ามาหางานทำในประเทศไทยถือเป็นการป้องกันการลักลอบเข้ามาเป็นแรงงานผิดกฎหมายได้ดีที่สุด และอาจทำให้ปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายในประเทศไทยลดน้อยลงได้

6.2 ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน

ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลานานปละมีแนงโน้มขยายความรุนแรงกว้างขวางขึ้น การละเมิดสิทธิเด็กจะเกิดขึนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยสามารถจำแนกกลุ่มเด้กและเยาวชนที่ถูกละเมิดสิทธิไว้ได้พอสังเขป ดังนี้

1.เด็กที่ไม่ได้รับการบริการขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ จากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาด้านสาธารณูประโภค เป็นต้น ได้แก่ เด็กพิการ เด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ เด็กกำพร้า เด็กที่บิดามารดาต้องโทษจำคุก

2.เด็กที่ถูกปล่อยปะละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัว จนทำให้เด็กอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต พัฒนาการทางด้สนร่างกาย พัฒนาการทางด้านสติปัญญา แบะพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ

3.เด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ถูกทำทารุณหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลภายนอก เช่น เด็กที่ถูกใช้แรงงานอย่างหนัก ถูกนายจ้างทุบตีทำร้าย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น

แนวทางแก้ไขปัญหา

1.การทำงานด้านสิทธิเด็กจะต้องอาศัยการประสานความร่วมมือชองทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชน จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างจริงจรัง

2.ภาครัฐควรมีนโยบายในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้และจัดกิจกรรมด้านสิทธิเด็กแก่สังคมและสาธารณชน เพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็ก โดยเน้นการให้ข้อมูลที่เป็นจริงและวิธีการแก้ไขปัญหาควบคู่กัน

3.ภาครัฐควรสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีบทบาทในการพัฒนากลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถูกละเมิดสิทธิ เช่น มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ กลุ่มการป้องกันและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก ให้มากยิ่งขึ้น เพราะองค์กรเหล่านี้เป็นกลไกหนึ่งในการที่จะช่วยบรรเทาปัญหา

4.ภาคเอกชนและสื่อมวลชนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มากยิ่งขึ้น และช่วยประชาสัมพัมธ์หรือเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิเด็ก เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสัมพันธ์ของปัญหาที่เกิดขึ้น

5.ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานของตนเองอย่างใกล้ชิด โดยจะต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กเข้าไปในสถานที่เสี่ยงอันตราย พยายามมิให้เด็กออกนอกบ้านในเวลากลางคืน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น

6.ผู้ปกครองจะต้องจัดให้เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านต่างๆ อย่างเหมาะสมกับสติปัญญาและความสามารถของตน เช่น การสนับสนุนให้บุตรหลานเข้าร่วมทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้พัฒนาจิตใจและเรียนรู้สังคมผ่านการทำกิจกรรมเหล่านั้น

6.3 ปัญหาการละเมิดสิทธิสตรี

            การละเมิดสิทธิสตรีในประเทศโดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมซึ่งสามารถแยกออกได้ 2 ประเด็น ได้แก่ การกระทำรุนแรงทางกายภาพ เช่น สามีทำร้ายร่างกายภรรยา สามีบังคับขืนใจทางเพศภรรยา เป็นต้น หรือแรงงานหญิงถูกเลือกปฏิบัติจากนายจ้าง เช่น ถูกเอาเปรียบในเรื่องของค่าจ้างและการเลื่อนตำแหน่ง แรงงานหญิงที่เป็นแรงงานข้ามชาติถูกกดขี่ ไม่ได้รับสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น

            อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเลือกปฏิบัติต่อสตรี ได้แก่ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิทางเพศของทั้งหญิงและชาย ความไม่รู้กฎหมาย หรือแม้กระทั่งการตีความกฎหมายที่ก่อให้เกิดช่องว่างในการเอาเปรียบทางเพศ

แนวทางการแก้ไขปัญหา

            ปัญหาที่เกิดกับสตรีในสังคมไทยส่วนใหญ่สะท้อนเห็นถึงสภาพและความคิดของคนในสังคมไทยที่ยังคงมีความคิดว่าผู้ชายเป็นใหญ่ ซึ่งครอบงำสังคมไทยมาโดยตลอด แม้ว่าในปัจจุบันสภาปัญหาอาจดูเหมือนรุนแรงน้อยลง และมีโครงสร้างทางกฎหมายยอมรับในความเท่าเทียมกันของหญิงและชายเป็นหลักการพื้นฐานทางสังคม ตลอดจนมีการเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในองค์กรทางการเมืองระดับต่างๆมากขึ้นก็ตาม แต่ปัญหาและความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อสตรีก็ยังปรากฎให้เห็นมาโดยตลอด

            ฉะนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การกระตุ้นให้คนในสังคมเรียนรู้หลักสิทธิมนุษยชนและเคารพในศักดิ์ศรีของสตรี ตระหนักถึงความซับซ้อนและความละเอียดอ่อนของผู้หญิง ตระหนักถึงความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในด้านการทำงาน ค่าจ้าง การประกันสังคม การตัดสินใจมีบุตร สิทธิในการพัฒนาทั้งการศึกษาและสันทนาการ รวมทั้งได้รับความเท่าเทียมในทางการเมือง และได้รับการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ราชการในทุกๆระดับ

            นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีนโยบายหรือมาตรการพิเศษที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิสตรีอย่างจริงจรัง เช่น การจัดตั้งหน่วยงาน หรือองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิสตรีและป้องกันการละเมิดสตรีขึ้นมาโดยเฉพาะ เป็นต้น