คำประพันธ์ประเภทกลอนมีลักษณะอย่างไร

๑. วรรคเเรก หรือ วรรคสดับ คำสุดท้ายของวรรคนิยมใช้เสียงเต้น (คือนอกจากเสียงสามัญ) จะทำให้เกิดความไพเราะเเต่ถ้าจะใช้เสียงสามัญก้อไม่ห้าม

๒. วรรคสอง หรือ วรรครับ คำสุดท้ายของวรรคนิยมเสียงจัตวา จะใช้เสียงเอกเสียงโทบ้างก็ได้ เเต่ไม่ควรใช้เสียงสามัญหรือเสียงตรี ถ้าจะใช้เสียงเอกคำสุดท้ายของวรรครองควรเป็นเสียงตรี

      ๓. วรรคสาม หรือ วรรครอง คำสุดท้ายของวรรคนิยมใช้คำสามัญ ไม่ควรใช้คำตายเเละคำที่มีวรรณยุกต์

๔.วรรคสี่ หรือ วรรคส่ง คำสุดท้ายของวรรคนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตายเเละรูปที่มีวรรณยุกต์ จะใช้คำตายเสียงตรีบ้างก็ได้

กลอนของไทยเเบ่งออกเป็น๓ชนิด

๑.กลอนสุภาพ เป็นกลอนที่การใช้ถ้อยคำเเละการเรียบเรียงทำนองเรียบๆเเบ่งย่อยออกเป็น ๔ ชนิด ได้เเก่ กลอน๖ กลอน๗ กลอน๘ เเละกลอน๙โดยที่กลอนสุภาพนับว่าเป็นกลอนหลักของกลอนทุกชนิด โดยถ้าใครมีความเข้าใจในกลอนสุภาพได้ดีจะสามารถเข้าใจกลอนอื่นๆได้ง่าย

๒.กลอนสักวา เป็นร้อยกรองประเภทกลอนชนิดหนึ่ง หนึ่งบทมีสี่คำกลอนหรือเเปดวรรคขึ้นต้นด้วยคำว่า"สักวา"เเละลงท้ายตอนจบบทด้วยคำว่า"เอย"

๓.กลอนดอกสร้อย บทดอกสร้อยมีลักษณะคล้ายสักวาต่างกันตรงที่มีคำขึ้นต้นหนึ่งคำ เเละคำถัดถัดมาจะต้องเป็นคำว่าเอ๋ย ส่วนคำจบให้ลงท้ายด้วยคำว่าเอย เช่นเดียวกับบทสักวา

 กลอน  คือ  ลักษณะคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะบังคับคณะและสัมผัส  แต่ไม่บังคับ  เอกโท  และ  ครุ-ลหุ   กลอนสองวรรคเท่ากับหนึ่งบาท กลอนสี่บาทเท่ากับหนึ่งบท  วรรคทั้งสี่ของกลอนยังมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันอีก  คือ
          ๑.  วรรคแรก  หรือ วรรคสดับ    คำสุดท้ายของวรรคนิยมใช้เสียงเต้น  (คือนอกจากเสียงสามัญ)  จะทำให้เกิดความไพเราะ  แต่ถ้าจะใช้เสียงสามัญก็ไม่ห้าม


          ๒.  วรรคสอง หรือ  วรรครับ     คำสุดท้ายของวรรคนิยมเสียงจัตวา  จะใช้เสียงเอก  เสียงโทบ้างก็ได้  แต่ไม่ควรใช้เสียงสามัญหรือเสียงตรี  ถ้าจะใช้เสียงเอก  คำสุดท้ายของวรรครองควรเป็นเสียงตรี  


          ๓.  วรรคสาม หรือ วรรครอง    คำสุดท้ายของวรรคนิยมใช้เสียงสามัญ  ไม่ควรใช้  คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์


          ๔.  วรรคสี่  หรือ  วรรคส่ง   คำสุดท้ายของวรรคนิยมใช้เสียงสามัญ  ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์  จะใช้คำตายเสียงตรีบ้างก็ได้

    ในที่นี้เราจะมาเรียนรู้รูปแบบฉันทลักษณ์ในการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอน ๓ ประเภท ด้วยกัน คือ

คำประพันธ์ประเภทกลอนมีลักษณะอย่างไร


คำประพันธ์ คือ การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามรูปแบบที่กำหนดไว้ให้มีสัมผัสที่ไพเราะ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดมีรูปแบบและวิธีการประพันธ์ที่แตกต่างกัน

วิธีการแต่งคำประพันธ์
- กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะนำมาแต่งคำประพันธ์
- กำหนดชนิด รูปแบบของคำประพันธ์ว่าจะแต่งในรูปแบบใด
- กำหนดโครงเรื่อง พร้อมตั้งชื่อเรื่อง
- แต่งคำประพันธ์ตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้และให้เนื้อหาสอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้
- อ่านทบทวนคำประพันธ์ที่แต่งเสร็จแล้วอีกครั้งหนึ่งหากพบข้อผิดพลาดให้รีบแก้ไข

ลักษณะของคำประพันธ์ที่ดี
- รูปแบบถูกต้องตามลักษณะบังคับของแต่ละชนิด
- มีการใช้ข้อความหรือถ้อยคำที่ดี
- มีสัมผัสที่ดีเกิดความไพเราะ

โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย

โคลง คือ คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่บังคับรูปวรรณยุกต์เอก-โท และบังคับสัมผัส คำประพันธ์ประเภทโคลงมีหลักฐานปรากฏว่ามีต้นกำเนิดมาจากทางภาคเหนือและภาคอีสานก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าสู่ภาคกลางของไทย วรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงที่เก่าแก่ที่สุด คือ " โองการแช่งน้ำโคลงห้า " ซึ่งแต่งขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราว พ.ศ.๑๘๙๓ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทองสำหรับโคลงประเภทอื่น ๆ นั้น อาจได้รับอิทธิพลมาจากทางภาคเหนือหรือล้านนาเช่น โคลงสี่ดั้น ได้แก่ ลิลิตยวนพ่าย โคลงสุภาพ (ไม่ว่าจะเป็น โคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่ )

ฉันท์ เป็นลักษณ์หนึ่งของร้อยกรองในภาษาไทย ที่บังคับเสียงหนัก - เบาของพยางค์ ที่เรียกว่า ครุ - ลหุ ฉันท์ในภาษาไทยรับแบบมาจากประเทศอินเดีย ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤษ คือ ปิงคลฉันทศาสตร์
แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่คัมภีรวุต โตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี เถระชาวลังกา
แต่งเมื่อ พ.ศ. 1702 เป็นที่มาของคัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเป็นต้นตำหรับการแต่งฉันท์ของไทยเมื่อคัมภีร์วุตโตทัยแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย กวีจึงได้ปรับปรุงให้เหมาะกับขนบร้อยกรองไทย เช่น จัดวรรค เพิ่มสัมผัส และเปลี่ยนลักษณะครุ-ลหุแตกต่างไปเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความไพเราะของภาษาไทยลงไป

กาพย์ หรือ คำกาพย์ หมายถึง คำประพันธ์ หรือบทร้อยกรองประเภทหนึ่ง มีลักษณะวรรคที่ค่อนข้างเคร่งครัด คล้ายกับฉันท์ แต่ไม่บังคับ ครุ-ลหุ วรรคหนึ่งมีคำค่อนข้างน้อย (4-6 คำ) นิยมใช้แต่งร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือแต่งร่วมกับฉันท์ก็ได้

กลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัสไม่มีบังคับเอกโทและครุ-ลหุ เชื่อกันว่าเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นของไทยแถบภาคกลางและภาคใต้โดยพิจารณาจากหลักฐานในวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์
(เป็นตัวหนังสือ)และวรรณกรรมมุขปาฐะ(เป็นคำพูดที่บอกต่อกันมาไม่มีการจดบันทึก) โดยวรรณกรรมที่แต่งด้วยกลอนเก่าแก่ที่สุดคือ
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาว ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล กวีแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนหน้านั้นกลอนคงอยู่ในรูปแบบวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นร้อยกรองชาวบ้าน

ร่าย เป็นชื่อของคำประพันธ์ ชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่กำหนดว่า จะต้องมีบท หรือบาท เท่านั้น เท่านี้ จะแต่งให้ยาวเท่าไรก็ได้ เป็นแต่ต้อง เรียงคำ ให้คล้องจองกัน ตามข้อบังคับ เท่านั้น ลักษณะบังคับต่างๆ ใช้อย่างเดียวกับ โคลง 2 และโคลง 3 คำร่าย "ร่าย" แปลว่า อ่าน เสก หรือ เดิน ร่ายเป็นร้อยกรองแบบหนึ่ง มีสี่ประเภทได้แก่ ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น และร่ายโบราณ

คำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพมีลักษณะเด่นอย่างไร

๑. ลักษณะทั่วไปของกลอนสุภาพ กลอนสุภาพหรือกลอนแปด ในหนึ่งบทมี ๒ คากลอน หรือ ๒ บาท ซึ่งประกอบไปด้วย บาทเอกและบาทโท หนึ่งคากลอนหรือหนึ่งบาทมี ๒ วรรค แต่ละวรรคมีจานวนคา ๗ – ๙ คา แต่นิยม ๘ คา จึงเรียกว่า กลอน ๘ ตามจานวนคาในทุกวรรคนั่นเอง กลอนแปดหนึ่งบทจึงมีทั้งหมด ๔ วรรค ซึ่งมีชื่อเรียกแต่ละวรรค ดังต่อไปนี้

ลักษณะคำประพันธ์มีอะไรบ้าง

คำประพันธ์ คือ ถ้อยคำที่ได้ร้อยกรอง หรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำ และวรรคตอน ให้รับสัมผัสกันอย่างไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ คำประพันธ์ จำแนกออกเป็น ๔ ชนิดใหญ่ๆ คือ โคลง ลิลิต ฉันท์ กาพย์ และ กลอน คำประพันธ์ที่ดี จะต้องประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ ๑.มีข้อความดี ๒.มีสัมผัสดี

กลอนดอกสร้อยมีลักษณะคล้ายคำประพันธ์ประเภทใดมากที่สุด

กลอนดอกสร้อยมีรูปแบบคล้ายกับกลอนสุภาพ ฉันทลักษณ์คล้ายกันในเรื่องสัมผัส แตกต่างกันที่วรรคแรกที่มีเพียง 4 คำ โดยคำที่ 1 และคำที่ 3 เป็นคำเดียวกัน และคำที่ 2 ต้องใช้คำว่า “เอ๋ย” เช่น “วัดเอ๋ย วัดโบสถ์”

ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนดอกสร้อยใช้การประพันธ์แบบใด

ลักษณะของกลอนดอกสร้อย ๑. มีการสัมผัสบังคับเหมือนกลอนสุภาพทุกประการ ๒. บทหนึ่งมี ๔ คากลอน หรือ ๘ วรรค - วรรคที่๑ เรียกว่า วรรคสดับ - วรรคที่๓ เรียกว่า วรรครอง - วรรคที่๒ เรียกว่า วรรครับ - วรรคที่๔ เรียกว่า วรรคส่ง ๓. แต่ละวรรคใช้คา ๖ - ๘ คา แต่วรรคแรกจะมี๔ คา