ระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีลักษณะเด่น อย่างไร

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) เป็นการผสมผสานระหว่าง “เศรษฐกิจแบบตลาด” กับ “ระบบเศรษฐกิจแบบตามสั่ง” และ “ระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม” มันได้ประโยชน์จากข้อดีของทั้งสาม ในขณะที่มีข้อเสียอยู่เพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ระบบแบบผสมนั้น มีลักษณะที่โดดเด่นดังนี้ คือเป็นระบบที่ปกป้องทรัพย์สินส่วนตัว, ช่วยให้ของอุปสงค์และอุปทานสามารถกำหนดราคาได้ และสุดท้าย ขับเคลื่อนโดยแรงจูงใจของผลประโยชน์ของตนเอง หรือแต่ละบุคคล

เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะบางอย่างของเศรษฐกิจแบบวางแผน อนุญาตให้รัฐบาลออกมาปกป้องสิทธิประโยชน์ของประชาชน ซึ่งรัฐบาลมีจะบทบาทอย่างมากในการทหาร การค้าระหว่างประเทศ บทบาทของรัฐบาลในด้านอื่นๆ ขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของพลเมือง เศรษฐกิจแบบผสมอาจอนุญาตให้รัฐบาลเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น สายการบิน การผลิตพลังงาน หรือแม้กระทั่งธนาคาร นอกจากนี้รัฐบาลอาจจัดการด้านดูแลสุขภาพ สวัสดิการ และโครงการเกษียณอายุด้วย

ข้อดีของระบบแบบผสม

เศรษฐกิจแบบผสมมีข้อดีทั้งหมดของระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ก่อนอื่นจะกระจายสินค้าและบริการไปยังที่ที่มีความต้องการมากที่สุด ช่วยให้สามารถวัดปริมาณการเปลี่ยนแปลงของความอุปสงค์-อุปทานได้ ประการที่สองมันตอบแทนผู้ผลิตพร้อมผลกำไรสูงสุด ประการที่สามส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างสร้างสรรค์ ถูก และมีประสิทธิภาพ ประการที่สี่จัดสรรเงินทุนให้กับผู้ผลิตที่มีนวัตกรรมทันสมัยมากที่สุดโดยอัตโนมัติ

เศรษฐกิจแบบผสมยังช่วยลดข้อเสียของเศรษฐกิจการตลาดให้เหลือน้อยที่สุด เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจตลาดไม่ได้รวมถึงการป้องกันชาติ เทคโนโลยี หรือ การบินและอวกาศ ในขณะที่มีรัฐบาลขนาดใหญ่จะทำหน้าที่ดูแลผู้แข่งขันทุกคนอย่างทั่วถึง โดยเป็นการลบข้อเสียเปรียบจากระบบเดิม ด้วยการเพิ่มจุดแข็งใหม่เข้าไปแทน ซึ่งจะให้ผลตอบแทนแก่ผู้ที่แข่งขัน หรือสร้างสรรค์มากที่สุดเท่านั้น

ข้อเสียของระบบแบบผสม

แน่นอนว่าระบบผสมยังคงมีข้อเสียเปรียบจากทั้งแต่ละรูปแบบอยู่ ซึ่งมันขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลต้องการที่จะเน้นจุดแข็งในส่วนไหนก็ปรับในส่วนนั้นให้เข้ากัน ยกตัวอย่างเช่น หากตลาดมีความเสรีมากเกินไป มันจะทำให้เกิดการแข่งขันน้อยลง แถมยังเป็นการจำกัดขนาดของธุรกิจไม่ให้มีขนาดใหญ่เกินไป ตามกฎระเบียบการต่อต้านการผูกขาด สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ถัดมาคือ “การจ่ายภาษีมากขึ้น” แน่นอนว่าการแทรกแซงของรัฐมากขึ้นในทางเศรษฐกิจนั้น ต้องอาศัยการลงทุนจากรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรายได้จากภาษี เมื่อมีการลงทุนมากขึ้นหมายความว่าประชาชนต้องจ่ายภาษีมากตามไปด้วย สิ่งนี้จะนำไปสู่ผลกระทบด้านลบหลายอย่าง เช่น แรงจูงใจในการทำงานลดลง เนื่องจากพนักงานเห็นสัดส่วนรายได้ที่หายไป เพราะต้องนำไปจ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้น ในขณะธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมากนั้น อาจล็อบบี้รัฐบาลเพื่อรับเงินอุดหนุนและลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น

ยกตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบแบบผสม

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ใช้เศรษฐกิจแบบผสม ช่วยปกป้องความเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว นอกจากนี้ยัง จำกัดการแทรกแซงของรัฐบาลในการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมนวัตกรรมที่เป็นจุดเด่นในตลาด ในขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญยังส่งเสริมให้รัฐบาลต้องส่งเสริมสวัสดิการทั่วไป ที่สร้างความสามารถในการใช้แง่มุมต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนเมื่อจำเป็น โดยยังคงให้สิทธิเสรีในการบริหารเช่นใน ”อามิช” รัฐเพนซิลเวเนีย ยังคงใช้ระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม

ในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจของโลกส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจแบบผสม โลกาภิวัตน์ทำให้ยากต่อการหลีกเลี่ยง ประชาชนส่วนใหญ่ได้สิ่งที่พวกเขาต้องการจากการค้าระหว่างประเทศ มันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าในการนำเข้าน้ำมันจากซาอุ เสื้อผ้าจากจีน เพราะการผลิตเองจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล ตลาดเสรีเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจโลกเพราะไม่ใช่มีแค่รัฐบาลเดียวที่ควบคุม อาจมีองค์กรระดับโลกมีอำนาจในการออกกฎระเบียบหรือข้อตกลง แต่ไม่มีใครที่สามารถควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ

ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบทุนนิยมและสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐและเอกชน

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1.เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว

2.มีความหลากหลายทางด้านของสินค้าและบริการ

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1.การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพสินอาจทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้

2.การที่รัฐสามารถเข้าแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด

2.1 ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง

2.2ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ( Laissez-faire or capitalism)
  2. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ( communism )
  3. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ( socialism )
  4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ( mixed economy )
  5. หน้าที่และเป้าหมายของบุคคลในระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีลักษณะเด่น อย่างไร

ระบบของเศรษฐกิจ

       ระบบเศรษฐกิจสามารถจำแนกออกเป็น ระบบด้วยกัน คือ ระบบทุนนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และแบบผสม โดยมีลักษณะสำคัญและข้อดี-ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี (Free Economy) หรือทุนนิยม (Capitalism)  

       เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยที่รัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือแทรกแซงในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและการจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้นเอกชนจึงเป็นผู้ตัดสินแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยใช้ระบบราคาหรือระบบตลาดช่วยในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ทั้งนี้ราคาเป็นตัวกำหนดว่ามีผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดหรือมีผู้ผลิตจำนวนเท่าใด ณ ราคานั้นๆ กำไรคือแรงจูงใจของการผลิต จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจนี้มีการแข่งขันทางราคาสูงมากและเป็นไปอย่างเสรี ทั้งนี้เพราะราคาถูกกำหนดขึ้นมาจากอุปสงค์และอุปทานของตลาด

       อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบบนี้ เพราะมีความรุ่งเรืองทางด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมมาก่อน ประชาชนชาวอังกฤษเองก็มีอาชีพทางด้านการค้ามาช้านานโดยใช้ทรัพยากรทั้งในและนอกประเทศมีอาณานิคมอยู่รอบโลก และภายใต้ระบบเศรษฐกิจในลักษณะนี้บุคคลมีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ที่จะถือทรัพย์สินส่วนตัว มีเสรีภาพที่จะเลือกการบริโภคการตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะทำโดยผ่านระบบตลาดแข่งขัน โดยที่ราคาในตลาดจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความต้องการของสังคม

       หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ในระบบแบบเสรีมีหลักการที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้

1.            การถือสิทธิ์ในทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยมยอมรับเรื่องกรรมสิทธิ์ คือ ยอมให้หน่วยธุรกิจหรือเอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตได้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เหล่านี้จึงมีสิทธิเสรีภาพในการจัดกระทำใดๆ กับทรัพย์ของตนก็ได้

2.            เสรีภาพในการประกอบการ ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลที่เป็นองค์การหรือหน่วยธุรกิจ ต่างมีเสรีภาพอย่างเต็มเปี่ยมในการประกอบการใดๆ เพื่อจัดดำเนินการกับปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินของตนได้อย่างอิสระ ปราศจากการบังคับควบคุมจากสิ่งใดทั้งสิ้น

3.            กำไรเป็นเครื่องจูงใจ ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี กำไรซึ่งเป็นส่วนของผลได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจให้หน่วยธุรกิจผู้ผลิตทำการผลิต โดยมุ่งนำเทคนิคใหม่ๆ ที่มาช่วยลดต้นทุนการผลิตมาใช้ในการดำเนินการ เพื่อที่จะได้กำไรสูงสุด ส่วนผู้บริโภคจะยึดเกณฑ์การเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่จะนำความพอใจสูงสุด ด้วยการจ่ายเงินน้อยที่สุด โดยทำการเปรียบเทียบความต้องการของตนเองจากบรรดาสินค้าชนิดค่างๆ

4.            กลไกของราคา ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีใช้ราคาเป็นตัวตัดสินปัญหาพื้นฐานด้านการผลิต คือ ผู้ผลิตตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร เป็นจำนวนเท่าใด โดยดูแนวโน้มความต้องการของผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าชนิดต่างๆ และดูระดับราคาสินค้าที่ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายซื้อ ถ้าผู้บริโภคต้องการสินค้าชนิดใดมากก็จะใช้เงินซื้อสินค้านั้นมาก แม้ราคาจะสูงก็ยังจะซื้ออยู่ เมื่อเป็นดงนั้นผู้ผลิตก็จะทุ่มทุนกำลังการผลิต ผลิตสินค้าชนิดนั้น เพราะแน่ใจว่าขายได้แน่นอน วิธีดูแนวโน้มของราคาและพฤติกรรมของผู้บริโภคนี้เองเป็นตัวกำหนดที่ผู้ผลิตใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ราคาในระบบเศรษฐกิจเสรีจึงทำหน้าที่บ่งชี้และควบคุมการทำงานภายในระบบเศรษฐกิจจนกล่าวกันว่า ราคาทำหน้าที่แทนผู้บริโภค ชี้ทางให้ผู้ผลิตผลิตเฉพาะสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ

5.            บทบาทของรัฐ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี รัฐจะไม่มีบทบาทในทางเศรษฐกิจเลย รัฐทำหน้าที่เพียงด้านความยุติธรรมและป้องกันประเทศ โดยที่รัฐบาลจะเป็นฝ่ายให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่เอกชนหรือผู้ผลิตสินค้าและบริการ ดังเช่น อดัม สมิธ ได้กำหนดและวางหน้าที่บางอย่างแก่รัฐ ดังนี้ 
การป้องกันประเทศจากการรุกรานโดยใช้กำลัง ไม่ว่ารูปแบบใดๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ 
การคุ้มครองมิให้พลเมืองได้รับความอยุติธรรม หรือการกดขี่ข่มเหงจากการกระทำของพลเมืองด้วยกันเอง 
การสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชน

2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism) หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy)  

       ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายผลผลิตแก่ประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจากส่วนกลาง ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังคงให้เอกชนมีสิทธิในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัว อาทิ ที่พักอาศัย

       หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน มีหลักที่สำคัญ ประการ คือ กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นขององค์การหรือหน่วยงานสาธารณะ (คือรัฐบาลและองค์การบริหารต่างๆ) ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมผลิตสำคัญที่มีขนาดใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมดำเนินการในวิถีทางที่จะยังผลประโยชน์แก่ส่วนรวม

1.            รัฐเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชาติทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย ทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติเป็นงานหน้าที่ของรัฐ โดยมีเป้าหมายให้บรรลุแผนเศรษฐกิจรวมของชาติ เพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

 ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้คือ

  • ประชาชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจมากกว่าระบบที่ต่างคนต่างอยู่
  • ประชาชนมีรายได้ใกล้เคียงกัน § เศรษฐกิจไม่ค่อยผันแปรขึ้นลงมากนัก
  • รัฐจะครอบครองปัจจัยขั้นพื้นฐานไว้ทั้งหมด และความคุมกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้

  • แรงจูงใจในการทำงานต่ำ เพระกำไรตกเป็นของรัฐ คนงานจะได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็น
  • ผู้บริโภคไม่มีโอกาสเลือกสินค้าได้มาก
  • ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถหรือต้องการจะทำ
  • ไม่ค่อยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะไม่มีการแข่งขัน สินค้าอาจไม่มีคุณภาพ

3.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐเป็นเจ้าของทุนแลละปัจจัยการผลิตทุกชนิด โดยรัฐเป็นผู้กำหนดการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด ซึ่งเป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง รัฐจะเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด โดยจะกำหนดว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร เอกชนไม่มีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่างๆ เช่น การถือครองที่ดิน เป็นต้น ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้นพัฒนามาจากแนวความคิดทางเศรษฐกิจของคาร์ล มาร์ค (Karl Marx) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ซึ่งได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์” และวาลาดิเนีย อิสยิช อัลยานอบ (Vladinir Ilych Ulyanov) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของ เลนิน (Lenin) นักปฏิวัติโซเวียต ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและนำระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาใช้กับสหภาพรัสเซียเป็นประเทศแรก

 ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มีลักษณะที่แตกต่างจากระบบทุนนิยม ที่เห็นได้เด่นชัด ดังนี้

1.            ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกสรรบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ตามความพอใจของตน เพระรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดสินค้าและบริการต่างๆ ให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคตามความเหมาะสมและความจำเป็นเท่านั้น

2.            ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองและเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ หรือนำไปแสวงหารายได้ เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ

3.            ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกทำงานหรืออาชีพตามอำเภอใจเพราะรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการทำงานและค่าจ้างให้แก่ประชาชนตามความสามารถ ประชาชนจึงมีสภาพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลทุกคน

4.            รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการผลิตสินค้าและบริการ ว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด เอกชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้เอง ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่จะใช้ผลิตสินค้าและบริการเป็นของรัฐ การกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ รัฐจะเป็นผู้กำหนดโดยไม่ใช้กลไกราคาดังเช่น ระบบทุนนิยม

 ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

  • ไม่เกิดการได้เปรียบ เสียเปรียบของประชาชนในเชิงเศรษฐกิจ
  • เกิดความเสมอภาค เพราะรัฐเป็นผู้แจกจ่ายผลผลิต ให้แก่บุคคลต่างๆ ในสังคมโดยเท่าเทียมกัน
  • ไม่เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยผลิตรายใด

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

       ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้น ความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจมีน้อยกว่าระบบทุนนิยม เพราะประชาชนเป็นลูกจ้างของรัฐ แต่จากอดีตที่เป็นความจริง ปรากฏว่าระบบนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ คือ

  • ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการไม่พัฒนาเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรทั้งนี้เพราะขาดแรงจูงใจในการผลิตไม่มีผลกำไรที่เป็นสิ่งล่อใจ
  • สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดโดยรัฐบาล
  • การดำเนินงานล่าช้าเพราะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย มีลักษณะคล้ายกับระบบราชการ

       ในปัจจุบันประเทศที่พอจะอนุโลมให้เป็นแบบอย่างของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ได้แก่ สหภาพโซเวียต (ซึ่งปัจจุบันล่มสลายไปแล้ว) สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้เนื่องจากระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จริงๆ นั้นเป็นเพียงอุดมคติยังไม่มีประเทศใดก้าวไปถึง

 4.ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

       ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆ ไปอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมใหม่” เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อันได้แก่จะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ผลิตอย่างไร และแบ่งปันผลผลิตในหมู่สมาชิกของสังคมอย่างไร ระบบนี้รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการวางแผนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประการ ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องนำทาง

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีดังนี้

1.            เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมกันในการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศว่าจะเป็นการผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด และการกระจายสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปสู่ใครอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล

2.            ทั้งเอกชนและรัฐบาลสามารถจะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการอย่างเสรี แต่อาจมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการบางประเภทที่รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหากปล่อยให้เอกชนดำเนินงานอาจไม่ปลอดภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเอกชนอยู่ในฐานะที่เหมาะสมซึ่งจะดำเนินงานได้เพราะอาจจะขาดแคลนเงินทุน ขาดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวนี้ เช่น กิจกรรมสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การรักษาความปลอดภัย การป้องกันประเทศ เป็นต้น

3.            กลไกราคายังเป็นสิ่งที่สำคัญในการกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมนี้ แต่รัฐบาลยังมีอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงภาคเอกชนเพื่อกำหนดราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

4.            รัฐจะคอยให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในภาคเอกชนด้วยการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนน สะพาน สนามบิน ฯลฯ ไว้คอยอำนวยประโยชน์ต่อเอกชนในการดำเนินธุรกิจ

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

  • เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธีทางรัฐสภา
  • รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ มิใช่ตามความจำเป็นแรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่า
  • เอกชนยังมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน สินค้าจึงมีคุณภาพสูง
  • ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควร
  • ความไม่เท่าเทียมในรายได้ และทรัพย์สินมีน้อย

ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบผสม

  • ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ยามสงคราม
  • การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน
  • การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้ากับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก
  • นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่

การบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐมีประสิทธิภาพไม่ดีไปกว่าสมัยที่อยู่ในมือของเอกชน

ระบบเศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะเด่นอย่างไร * 1 คะแนน

Q. ระบบเศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะเด่นอย่างไร รัฐไม่แทรกแซงราคาสินค้าหรือธุรกิจทุกขนาด รัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก รัฐเข้าไปดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมประเภทการบริการและการท่องเที่ยว

แบบผสมมีลักษณะอย่างไร

เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะบางอย่างของเศรษฐกิจแบบวางแผน อนุญาตให้รัฐบาลออกมาปกป้องสิทธิประโยชน์ของประชาชน ซึ่งรัฐบาลมีจะบทบาทอย่างมากในการทหาร การค้าระหว่างประเทศ บทบาทของรัฐบาลในด้านอื่นๆ ขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของพลเมือง เศรษฐกิจแบบผสมอาจอนุญาตให้รัฐบาลเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น สายการบิน การผลิต ...

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสาน คืออะไร

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธีทางรัฐสภา รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ มิใช่ตามความจำเป็นทำให้แรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่าระบบอื่น ๆ เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขันสูง สินค้าจึงมีคุณภาพสูง

ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

สังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของ ...