ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงมีประโยชน์อย่างไร

หมายถึง สถานศึกษาที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาและจัดการศึกษาในสถานศึกษาในทุกมิติ (Whole School Approach) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้เป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดหลักปฏิบัติในการทำงานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดค่านิยมและบ่มเพาะอุปนิสัยและคุณลักษณะ “อยู่อย่างพอเพียง” รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งทางกายภาพ วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติ

คณะกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาคการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยกำหนดเป้าหมายให้มีการพัฒนาและขยายผลให้มี “สถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ไม่ต่ำกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2552 และสถานศึกษาทุกแห่งน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่สถานศึกษาภายในปี พ.ศ. 2554 และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ข้างต้น คณะทำงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาคการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาสื่อเรียนรู้ต่างๆ และวิทยากรขับเคลื่อนขยายผล เพื่อพัฒนาคุณภาพการดำเนินงาน และพัฒนาเครื่องมือประเมิน “สถานศึกษาพอเพียง” สำหรับผู้ประเมินของหน่วยงานต้นสังกัดที่มีสถานศึกษาในการกำกับดูแล เพื่อให้การขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียงเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ จนสามารถบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนในระยะแรก

โดยมีสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็นสถานพอเพียง 1,261 แห่ง จากทุกสังกัด ในปี พ.ศ. 2552 ต่อมา สพฐ.ได้กำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเพื่อขยายผลสถานศึกษาพอเพียง โดยกำหนดเป้าหมายให้มีสถานศึกษาพอเพียงในสังกัด สพฐ. ไม่น้อยกว่า 9,999 แห่ง ภายในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งก็ได้เกินเป้าหมาย คือ มีสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง 13,837 แห่ง และหน่วยงานอื่นๆ ที่มีสถานศึกษาในสังกัดก็ได้ดำเนินการขยายผลเช่นเดียวกับ สพฐ. อย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบันมีสถานศึกษาพอเพียงจากทุกสังกัดทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2559 จำนวน 23,796 แห่ง ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2560)

ด้วยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายมุ่งพัฒนาสถานศึกษาทุกแห่งให้สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วยความยั่งยืนจึงพัฒนา “สถานศึกษาพอเพียง” ให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา” เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายผลการขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียง โดยได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาและประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ดังนี้

ทฤษฎีใหม่ที่ดำเนินการโดยอาศัยแหล่งน้ำ ธรรมชาติ น้ำฝน จะอยู่ในลักษณะ “หมิ่นเหม่” เพราะหากปีใดฝนน้อย น้ำอาจจะไม่เพียงพอ ฉะนั้น การที่จะทำให้ทฤษฎีใหม่สมบูรณ์ได้นั้น จำเป็นต้องมีสระเก็บกักน้ำที่มีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ โดยการมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถเพิ่มเติมน้ำในสระเก็บกักน้ำให้เต็มอยู่ เสมอ ดังเช่น กรณีของการทดลองที่โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ จังหวัดสระบุรี

      สำหรับเรื่องสุขภาพ การใช้ EM มันจะโยงเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่เราทำเรื่องอาหารสุขภาพก็จะดี เศรษฐกิจและสังคมดี เพราะไม่ต้องไม่หางานทำที่กรุงเทพฯ ทำนาได้ผลผลิตดีก็อยู่กับบ้านครอบครัวก็อยู่เย็นเป็นสุข ยาเสพติดก็ไม่เกิด และขณะนี้ ซึ่งเราลงไปพบปะพี่น้องได้อย่างสะดวกใจ สวัสดีครับ..”

         การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง สรุปได้ว่า เป็นการปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ สร้างความสมบูรณ์ และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกิน และสมุนไพร พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรง และพลังงาน เช่น ไม้ฟืน ไม้ไผ่ เป็นต้น ประโยชน์ต่อระบบนิเวศ สร้างความสมบูรณ์ และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า