ประโยชน์ที่ได้รับจากโรงเรียนพอเพียงมีอะไรบ้าง

เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึด “คุณธรรมนำความรู้” ขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวาง ทั่วถึง เสริมสร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา เพื่อให้เกิดกิจกรรมเหล่านี้ขึ้นมา

         การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง สรุปได้ว่า เป็นการปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ สร้างความสมบูรณ์ และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกิน และสมุนไพร พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรง และพลังงาน เช่น ไม้ฟืน ไม้ไผ่ เป็นต้น ประโยชน์ต่อระบบนิเวศ สร้างความสมบูรณ์ และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า

หมายเหตุ : นางเล็ดถ้าต้องการเก็บไว้บริโภคให้นานยิ่งขึ้นควรเก็บในรูปนางเล็ดที่ยังไม่ทอดในภาชนะ บรรจุที่ปิดสนิท เนื่องจากข้าวนางเล็ดถ้านำไปทอดแล้วถึงแม้จะเก็บได้นานแต่บางครั้งก็มีปัญหาเรื่อง กลิ่นหืนของน้ำมันถ้าเราใช้น้ำมันที่มีคุณภาพไม่ดี

ประเทศไทยมีความพยายามอย่างจริงจังในการปลูกฝัง“หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”ให้เข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับต่าง ๆ เพื่อเป็นการวางรากฐานในการพัฒนาที่แข็งแกร่งให้แก่สังคมซึ่งหน่วยงานสำคัญที่อยู่เบื้องหลังในการดำเนินงานขับเคลื่อนเพื่อให้สถานศึกษาในประเทศไทย น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา การออกแบบการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติกับนักเรียนทุกคนที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ

ตลอดการดำเนินงาน9 ปีที่ผ่านมาศูนย์สถานศึกษาพอเพียงฯ ได้ร่วมมือและสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ ในการผลักดันให้หลักคิดของความพอเพียงเข้าไปบรรจุในหลักสูตรของโรงเรียน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเน้นไปที่การศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากการเรียนการสอนที่นักเรียนมีโอกาสเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองกิจกรรมต่างๆ ถูกหล่อหลอมให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของนักเรียนและการเรียนรู้ โดยครูผู้จัดการเรียนการสอนได้นำเอาแนวคิดของความพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและการปฏิบัติในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน เช่น การทำโครงการเกษตรเพื่อเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียนจะช่วยให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ฝึกคิดวางแผน และฝึกฝนทักษะในการบริหารที่ดิน น้ำ และทรัพยากรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบเกิดประสบการณ์ในการคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจบนพื้นฐานของความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และครูก็สามารถบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สาระการเรียนรู้ต่างๆ ที่ตนรับผิดชอบ

นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้ผู้บริหารนำหลักคิดพอเพียงมาบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพของบุคลากรให้อยู่บนพื้นฐานแนวคิดของความพอเพียง จนครูสามารถออกแบบการเรียนรู้ให้เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านความรู้ ความคิด จิตใจ และพฤติกรรม มีประสบการณ์ในการลงมือทำจริง (Head Heart Hands)ส่งผลให้เด็กสามารถพึ่งพาตนเองได้สามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาในทุกกิจกรรม เกิดเป็นการบูรณาการร่วมกันทั้งโรงเรียน หรือที่เรียกว่า whole school approach

ปัจจุบันในปี 2559 นี้ มีโรงเรียนกว่า 20,000โรงเรียนจากโรงเรียนทั้งหมดกว่า 40,000 โรงเรียนในประเทศไทย ที่ได้การรับรองเป็นสถานศึกษาพอเพียงในจำนวนนี้ มี 136 โรงเรียน ได้รับการรับรองให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติเป็นเลิศ  (Best Practice) สามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานได้ และมีโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงในการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน121 แห่งทั่วประเทศ

“2 เงื่อนไข 3หลักการ 4 มิติ” หลักคิดดำเนินชีวิตแห่ง “ความพอเพียง”

หัวใจสำคัญที่สุดของหลักความพอเพียง ก็คือ แนวปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ คือ ด้านวัตถุหรือเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยมีหลักในการจัดการอย่างพอเพียง 3หลักการ ได้แก่ “ความพอประมาณ”  “ความมีเหตุผล” และ “การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว”  และตัดสินใจอย่างพอเพียง บน 2 เงื่อนไข ก็คือ การใช้ “ความรู้” อย่างรอบรู้และรอบคอบ และจิตใจที่มี “คุณธรรม” เป็นพื้นฐานซึ่งหลัก 2-3-4 นี้ ทุกคนสามารถนำไปใช้ในทุกกิจกรรมให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน

ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา กรรมการมูลนิธิมั่นพัฒนา และผู้อำนวยการศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณยกตัวอย่างแนวทางปฏิบัติตามหลักความพอเพียงในโรงเรียน เช่น  การจัดทำโครงการอาหารกลางวันด้วยการปลูกผักในโรงเรียน ตามหลักความพอเพียง อย่างแรกจำเป็นต้องมีความรู้ก่อน เพื่อให้เกิดความรอบรู้และรอบคอบในการทำงาน เช่น สภาพดินที่จะปลูกผักในโรงเรียนเป็นอย่างไร เด็กขาดแคลนสารอาหารอะไรบ้างไหม  เด็กมีคุณธรรม เช่น ความขยันหมั่นเพียรแค่ไหน มีวินัยที่จะตื่นขึ้นมารดน้ำผักตรงเวลาหรือไม่  ตลอดจนความสามัคคีของเด็กๆและครูที่จะทำงานร่วมกัน จากนั้นก็มาพิจารณา หลักการพอประมาณ มีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  ซึ่งความพอประมาณก็คือ มีความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การเลือกพันธุ์ผักอะไร ให้พอเหมาะฤดูกาล สภาพอากาศ  ดินที่ปลูก เพื่อให้ปลูกผักได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของโรงเรียน  เหตุผลก็เพื่อให้ผักเจริญเติบโตงอกงาม และเกิดประโยชน์ เพราะสามารถเก็บกินได้ตลอดทั้งปี และให้สารอาหารกับนักเรียน ขณะเดียวกันก็ต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยไม่ประมาท และมีการเตรียมพร้อมรับปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น  เช่น การดูแลแปลงผักในช่วงวันหยุด จำเป็นต้องวางแผนหาเด็กนักเรียนที่เสียสละ และบ้านอยู่ใกล้โรงเรียนมาช่วยดูแลแปลงผัก เป็นต้น  สุดท้ายแล้วผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการอาหารกลางพอเพียงนี้ก็คือ ความสมดุล 4 มิติทั้งด้านเศรษฐกิจ คือการประหยัดค่าใช้จ่าย ด้านสังคม-ทำให้มีการทำกิจกรรมร่วมกันของนักเรียน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การแบ่งงานกันทำ ในด้านสิ่งแวดล้อมก็คือ การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ไม่ใช้สารเคมี และด้านวัฒนธรรม ทำให้เด็กได้เรียนรู้คุณค่าของผักพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นของตนเอง เป็นต้น  เหล่านี้ครูและนักเรียนจะต้องมาวางแผนร่วมกัน จึงจะสามารถเรียกได้ว่า เป็นโครงการปลูกผักเพื่ออาหารกลางวันที่ยึดหลักความพอเพียงในการดำเนินการ

ดร.ปรียานุช บอกว่าการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในโรงเรียน ทำได้ทุกที่ และใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่ใช่แต่เกษตรแต่อย่างเดียว เช่น โรงเรียนในเมือง อาจจะเริ่มต้นจากหลักความพอประมาณ คือต้องรู้จักตนเองให้ดีก่อนว่า โรงเรียนของเรามีปัญหาอะไร เช่น นักเรียนดื่มน้ำขวดแล้วทิ้งเลย ไม่ได้คัดแยกขยะ ก็อาจคิดโครงการที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะ ซึ่งเป็นการหาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน และหารือกันด้วยเหตุผลว่าจะวางแผนคัดแยกขยะอย่างไร และทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาตามมา (ไม่ประมาท – มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) และท้ายที่สุด การเรียนรู้ตามหลักพอเพียง คือต้องช่วยให้เด็กเห็นความสำคัญของการใช้ชีวิตที่สมดุลใน 4 มิติ คือ การใช้วัตถุสิ่งของ เงินทอง อย่างประหยัดคุ้มค่า การเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในสังคม การช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการเห็นคุณค่าของรากเหง้าวัฒนธรรมของท้องถิ่น

“ความพอเพียงจึงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติการดำเนินชีวิต ไม่ใช่เฉพาะกับการทำเกษตรอย่างเดียว แต่สามารถประยุกต์หลักคิดนี้ได้กับทุกเรื่อง เช่น  การใช้หลักพอเพียงกับวงการธุรกิจ ถ้าจะขยายการลงทุน ก็จะต้องดูศักยภาพตนเอง ดูสถานการณ์ก่อน ทั้งการตลาด การแข่งขันว่าควรจะลงทุนเพิ่มแค่ไหนถึงจะไม่เดือดร้อนในภายหลัง แต่ก็ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่จนอาจทำให้ธุรกิจถดถอย เหตุผลก็เพื่อต้องการให้ธุรกิจอยู่รอดยั่งยืน และต้องจัดการความเสี่ยงได้เพื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้ความรอยรู้ และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน จึงจะเป็นธุรกิจพอเพียง”    

หลักสูตรพอเพียง“สร้างเด็กให้คิดเป็น พึ่งตัวเองได้”

อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของคุณครูในสถานศึกษาพอเพียง คือการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับหลักพอเพียง โดยกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ให้เด็กได้ฝึกคิดและปฏิบัติตามหลักแห่งความพอเพียง ซึ่งทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของคุณครู คือการตั้งคำถามชวนนักเรียนคิด วางแผน และปฏิบัติ โดยใช้กรอบคิดพอเพียง เพื่อสร้างการเรียนรู้และปลูกฝังหลักพอเพียงให้กับเด็ก

ดร.ปรียานุช บอกว่า วิธีการถ่ายทอดให้เด็กฝึกคิดนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีการหนึ่งที่ใช้อยู่ก็คือ การให้เด็กได้ทำก่อนแล้วจึงมาถอดบทเรียนทีหลัง ยกตัวอย่างเช่น  ให้เด็กไปเก็บขยะแล้วกลับมาค่อยตั้งคำถามว่าทำตามหลักพอเพียงหรือไม่และอย่างไร เช่น ก่อนจะไปเก็บขยะ นักเรียนมีความรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับขยะว่ามีกี่ประเภท ขยะแต่ละอย่างควรจัดเก็บอย่างไรจึงจะถูกต้อง (เหตุผล) เหมาะสม (พอประมาณ) ปลอดภัย (มีภูมิคุ้มกัน)  ต้องเตรียมอุปกรณ์ หรือ ถุงเก็บขยะ แบบไหน อะไรบ้าง จึงจะเหมาะสม หากถุงใบใหญ่ก็ต้องประมาณตนในการเก็บ อาจต้องใช้2 คนช่วยกันถือ เป็นต้น ซึ่งเป็นการสอนวิธีการคิดแบบพอเพียงให้แก่เขา ในที่สุดเด็กก็จะค่อยๆถูกหล่อหลอมให้มีหลักคิดพอเพียงในการใช้ชีวิต

นอกจากนั้น ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพอเพียง จะเน้นให้เด็กได้เรียนรู้นอกห้องเรียนมากกว่าในห้องเรียนเหมือนโรงเรียนปกติทั่วไป โดยภายในโรงเรียนจะมีฐานการเรียนรู้จำนวนมาก เช่น ฐานปลูกผัก ฐานทอผ้า ฐานธนาคารโรงเรียน ฐานพืชสมุนไพร หรือฐานรีไซเคิลขยะ เป็นต้น  ตลอดจนการเน้นให้เด็กทำงานเป็นกลุ่ม แม้จะมีความเห็นต่างและขัดแย้งกันบ้าง แต่ก็ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ รับฟังผู้อื่น คิดอย่างมีเหตุผล และเกิดการคิดต่อยอด

“กระบวนการสอนเด็กของโรงเรียนพอเพียง แม้จะเป็นไปตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาฯ แต่ครูผู้สอนจะต้องใส่ใจมากกว่า ด้วยการเปิดช่องให้เด็กได้ฝึกคิดและปฏิบัติตลอด และเน้นแหล่งเรียนรู้ที่ครอบคลุมใน 4 มิติตามหลักการพอเพียง ทั้งด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม”

ดร.ปรียานุช เปิดเผยถึงผลการวิจัยคุณลักษณะพึงประสงค์ของเด็กนักเรียนในโรงเรียนพอเพียง ด้วยว่า เด็กที่ได้รับการบ่มเพาะด้วยแนวคิดของความพอเพียง จะ มีความรักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  อยู่อย่างพอเพียง  มีจิตสาธารณะ  คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ทำให้เป็นคนที่ไม่เพียงแต่เก่งวิชาการ แต่เป็นคนดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ความพอเพียง เริ่มต้น “บ่มเพาะ” ได้จากครอบครัว

แม้โรงเรียนพอเพียงจะช่วยปลูกฝังหลักคิดความพอเพียง แต่ครอบครัวหรือพ่อแม่ก็มีส่วนสำคัญต่อการบ่มเพาะเด็กๆในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน ดร.ปรียานุช ให้คำแนะนำว่า หากผู้ปกครองมีความเชื่อว่าหลักพอเพียงมีผลดีต่อลูกหลานและประเทศชาติ ก็สามารถนำหลักคิดนี้ไปใช้กับลูกหลานได้ที่บ้านเช่นกัน  เช่น การฝึกให้ลูกคิดว่าจะทำอะไรต้องพอเพียง คือให้รู้จักตนเอง ใช้ชีวิตบนพื้นฐานความเป็นจริง ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ จะทำอะไรก็ให้คิดถึงผลที่จะตามมา ด้วยความรอบรู้ รอบคอบไม่ประมาท และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ถ้าทำได้ชีวิตก็จะเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง

“คำว่าอยู่อย่างพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี 2541คือ การบ่มเพาะให้เด็กและเยาวชน “คิดอย่างพอเพียง พูดจาอย่างพอเพียง และปฏิบัติตนอย่างพอเพียง” ถ้าเด็กและเยาวชนสามารถคิดและปฏิบัติตนอย่างพอเพียงตามกระแสพระราชดำรัสแล้ว เขาก็จะคิดเป็นและคิดอย่างมีวิจารณญาณ รู้ควรรู้ไม่ควรซึ่งจะช่วยให้สังคมเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง”

ความท้าทายและการขยายผลเพื่อความยั่งยืน

ความท้าทายสำคัญในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาให้เกิดความยั่งยืนนั้น อาจต้องพิจารณาถึงกลไกที่สำคัญอันดับแรกได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่ามีวาระในการบริหารงานที่จะต้องเปลี่ยนทุกทุกสี่ปี สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริหารที่ย้ายมาใหม่ตระหนักถึงความสำคัญและสานต่อแนวคิดและสืบสานขยายผลเรื่องดังกล่าว

ความท้าทายต่อมาคือเราจะสามารถชักชวนให้โรงเรียนอื่นๆ น้อมรับแนวคิดของความพอเพียงเข้าสู่โรงเรียนอย่างจริงจังได้อย่างไร บทบาทสำคัญนี้อาจตกอยู่กับคุณครูจากโรงเรียนที่เป็นสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลงานปฏิบัติเป็นเลิศ และโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการเป็นพี่เลี้ยง การส่งต่อแนวคิด และช่วยถอดบทเรียนให้กับคุณครูท่านอื่นได้เกิดความเข้าใจและเรียนรู้ไปพร้อมกัน

และความท้าทายสุดท้ายนั้นอาจต้องคำนึงถึงการสร้างการรับรู้ในสังคม เพราะถึงแม้ว่าจะมีเยาวชนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ หรือ สถานศึกษาพอเพียงเป็นจำนวนมากก็ตามแต่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในระหว่างทางนั้นพวกเขาต้องเจอบททดสอบอีกมากมาย กว่าที่พวกเขาจะกลายเป็นพลเมืองที่สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สังคมได้อาจต้องใช้เวลา ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นชุมชนเอง หรือแม้กระทั่งภาคสื่อสารมวลชน ในการทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล และสาระสำคัญจากการพัฒนาโรงเรียนตลอดจนการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รับรู้แก่สาธารณชนว่า การน้อมนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการจัดการศึกษานั้น สามารถสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์สังคมในศตวรรษที่ 21 ได้จริงอันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของการพัฒนา ที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของประเทศได้ ดังผลเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียง

ด้วย “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เข้าไปสู่โรงเรียน จนกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ตามศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมูลนิธิมั่นพัฒนา และศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ ขอสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในการพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้คงอยู่สืบไป