การบวชเณรมีประโยชน์อย่างไร

อานิสงส์ของการบวช

เผยแพร่เมื่อ: วันเสาร์, 06 มิถุนายน 2558 08:29 | เปิดอ่าน : 27579 ครั้ง

fShare

Tweet

การบวชเณรมีประโยชน์อย่างไร

     องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชามีอานิสงส์พิเศษ ซึ่งสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสว่า อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นั้น บุคคลที่จะพึงได้ต้องโมทนาก่อน แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า "สมมติว่าบุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่อุปสมบทบรรพชานั้น บิดามารดาไม่ทราบ แต่บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์นั้นโดยสมบูรณ์ การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่าเป็นกุศลพิเศษ

การบวชเณรมีประโยชน์อย่างไร


     คำว่า "บรรพชา" หมายความว่า บวชเป็นเณร คำว่า "อุปสมบท" หมายความว่า บวชเป็นพระท่านที่บรรพชาในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านผู้บรรพชาเอง คือ เณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดีก็เป็นการลงทุนซื้อสวรรค์ ถ้าปฏิบัติเลว การบวชพระบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ท่านที่บวชเป็นเณรเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามระบอบพระธรรมวินัย สำหรับท่านผู้เป็นเณรนั้นไซร้ ย่อมมีอานิสงส์ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดาไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน

     ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ได้ถึง 30 กัป ถ้าหากว่าทำจิตของตนเกือบเป็นฌาน ได้ฌานสมาบัติ ตายจากความเป็นคนจะเกิดเป็นพรหม มีอายุอยู่ถึง 30 กัปเช่นเดียวกันอายุเทวดาหรือพรหมย่อมมีกำหนดไม่ถึง 30 กัป ก็หมายความว่า เมื่อหมดอายุแล้วก็จะเกิดเป็นเทวดาใหม่ เกิดเป็นพรหมใหม่อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง 30 กัปหรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้าพระนิพพานก่อนบิดามารดาของสามเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ 15 กัป ครึ่งหนึ่งของเณรองค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสต่อไปว่า บุคคลผู้มีวาสนาบารมี คือมีศรัทธาแก่กล้า ตั้งใจอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเป็นพระสงฆ์ แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบ ประกอบไปด้วยคุณธรรม คือ มีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ ท่านที่บวชเป็นพระด้วยตนเอง จะมีอานิสงส์อยู่เป็นเทวดาหรือพรหม 60 กัป บิดามารดาจะได้คนละ 30 กัป นี่เป็นอานิสงส์พิเศษแต่ทว่าภิกษุสามเณรท่านใดทำผิดบทบัญญัติในพระพุทธศาสนา

     ก็พึงทราบว่า เมื่อเวลาตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกัน อานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่เพียงใด โทษก็มีเพียงนั้น สำหรับผู้ที่ช่วยในการบวช การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา คือบำเพ็ญกุศลร่วมกับเขา ด้วยจตุปัจจัยมากบ้าง น้อยบ้าง ช่วยขวนขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง อย่างนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลกคนละ 8 กัปอานิสงส์กุศลบุญราศีที่เราจะพึงได้สำหรับท่านผู้เป็นเจ้าภาพ ในฐานะคนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวนขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะได้อานิสงส์ 12 กัป จะมีผลลดหลั่นซึ่งกันและกัน
 
     การที่นำเอาอานิสงส์บรรพชากุลบุตรกุลธิดาไว้ในพระพุทธศาสนา มาแสดงแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะเห็นว่าในเวลานี้ บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายยังไม่ค่อยจะมีความเข้าใจคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วในข้อนี้ อีกประการหนึ่ง การจะบวชลูกหลานเข้าไว้ในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจจะเอาบุญ ถือทำกันตามประเพณีเป็นสำคัญ พอเริ่มการจัดงานก็มีการฆ่าไก่บ้าง ฆ่าปลาบ้าง ฆ่าหมูบ้าง ฆ่าวัวฆ่าควายบ้าง เอาสุราเบียร์เข้ามาเลี้ยงกันบ้าง ถ้าทำกันตามประเพณีแบบนี้ก็จะได้ชื่อว่า ไม่มีอานิสงส์กุศลบุญราศีอะไรเลย เพราะมีเจตนาชั่ว คือเริ่มต้นก็ทำบาปก่อนแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า ถ้าจิตเป็นอกุศล กุศลใดๆ ที่ตนคิดว่าจะทำมันก็ไม่ปรากฏ

ฉะนั้น ในการใด ถ้าเราจะบำเพ็ญกุศลบุญราศีให้ปรากฏเป็นผลดี ก็ขอให้การนั้นเป็นการที่บำเพ็ญกุศลจริงๆ จงเว้นกรรมที่เป็นอกุศลเสียให้หมด งดสิ่งที่เป็นความชั่วทุกประการ ตั้งใจไว้เฉพาะบำเพ็ญกุศลบุญราศีเท่านั้น

กุลบุตรที่บวชในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ความผ่องใสของท่านผู้บวชก็มีขึ้น คือ จิตผ่องใสปราศจากอารมณ์ที่เป็นกิเลส ต่อมาปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ คือเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน จนอารมณ์ชื่นบานเข้าถึงธรรมปีติ คำว่า ธรรมปีติ หมายความว่า ยินดีในการปฏิบัติความดีในด้านพระธรรมวินัยอย่างหนึ่ง ยินดีในการเจริญสมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา อานิสงส์กุศลบุญราศีก็เกิด

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปรียบเทียบไว้ว่า ผู้ใดอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว วันหนึ่งทำจิตใจว่างจากกิเลสเพียงวันละชั่วขณะจิตเดียว เวลานอกนั้นจิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ แต่พยายามควบคุมกำลังใจไม่พลาดพลั้งจากพระธรรมวินัย ท่านผู้นั้นบวชเข้ามาแม้แต่วันเดียว ก็ย่อมมีอานสงฆ์ดีกว่าพระที่บวชเข้าในพระพุทธศาสนาตั้ง 100 ปี มีศีลบริสุทธิ์ แต่ไม่เคยเจริญสมาธิจิต คือ ทำจิตว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว มีรัศมีกายสว่างไสวกว่า

รวมความว่า การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพาน และมีอานิสงส์เป็นสามัญผล คือผลที่เสมอกัน คนที่บวชในพระพุทธศาสนาจะลูกผู้ดีหรือยากจนเข็ญใจย่อมมีสิทธิเสมอกันในการทรงสิกขาบท และในการกำหนดจิตปฏิบัติสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

ถามพระท่านว่า ถ้าพระพวกนั้นจะทำบุญบวชพระบ้าง ทั้งๆ ที่ตัวเองก็บวช และทำบุญด้วยจะมีอานิสงส์เหมือนญาติโยมไหม

พระท่านก็บอกว่า ถ้าเขาจะทำบุญต้องทำบุญก่อนที่เขาจะบวช นั่นหมายความว่า ขณะที่บวชก็เอาเงินมาช่วยกับกองกลาง เท่าไรก็ตามที่จะพึงมีตั้งใจบวชพระทั้งหมด ท่านพวกนั้นจะมีอานิสงส์นอกจากของตัวเอง 60 กัปแล้ว จะมีอานิสงส์เป็นเจ้าภาพด้วย เอา 12 คูณ จำนวนองค์ที่บวช

ถามท่านว่า ถ้าพระทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อบวชแล้วจึงรู้อานิสงส์ เมื่อบวชแล้วเอาสตางค์มาร่วมในการทำบุญบวชพระ

ท่านบอก อันนี้ไม่ใช่แล้ว นั่นต้องเป็นทานบารมีปกติ เป็นถวายสังฆทานไป อานิสงส์นับกัปไม่ได้ แต่มีความร่ำรวยแน่ รวยทุกชาติ

โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน จากหนังสือ "พ่อสอนลูก"

บวชนี้ย่อมมีผลานิสงส์อย่างมากมาย องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสเทนาอานิสงส์แห่งการบรรพชาอุปสมบทไว้โดยอเนกประการว่า ทาสสฺส อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลใดมีศรัทธาบรรพชาทาสกรรมกรให้เป็นสามเณร หรือสามเณร มีอานิสงส์ ๔ กัลป์ บวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี มีอานิสงส์ ๘ กัลป์ และถ้าอุปสมบทจะได้รับอานิสงส์ ๑๖ กัลป์ หากอุปสมบทได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป์ ถ้าอุปสมบทตนเองในพระพุทธศาสนา ด้วยศรัทธาเลื่อมใสจะได้อานิสงส์ถึง ๖๔ กัลป์ บุคคลใดได้บรรพชาบุตรตนก็ดี

บุตรของผู้อื่นก็ดี ก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิแล้วพระองค์ตรัสอีกว่าดูกรอานนท์ ดังจะเห็นได้จากหญิงผู้หนึ่ง เขามีบุตรอยู่คนเดียว บุตรชายเขาขอไปบวชมารดาก็ไม่ให้บวชบุตรชายจึงหนีไปบวช อยู่มาวันหนึ่งมารดาของสามเณรนั้นออกจากบ้านไปแต่เช้า เพื่อจักแสวงหาฟืน มารดาสามเณรครั้นหาฟืนได้พอสมควรแล้วก็กลับบ้าน พอมาถึงระหว่างทางได้พักอยู่โคนต้นไม้ใหญ่ แล้วลงนอนพักผ่อนก็หลับไป ได้นิมิตฝันไปว่ามีพระยายมราชมาถามว่า ดูกรผู้หญิง เธอได้กระทำบุญหรือว่าไม่ได้กระทำเลย

มารดาของสามเณรนั้นตอบว่าข้าแต่เจ้า ดิฉันไม่ได้กระทำบุญอย่างไรเลย พระยายมราชทราบแล้ว ก็จับเอาผู้หญิงนั้นไปใส่นรกทันที ได้และเห็นไฟนรกลุกโพรงก็ถามพระยายมราชว่า อันไฟแดงนั้นเป็นอย่างไร พระยายมราชว่า อันไฟแดงนั้นเป็นไฟนรก ผู้หญิงจึงบอกว่าเหมือนกับผ้าจีวรของลูกชายของข้าพเจ้าอันได้บวชเป็นสามเณรนั้นแล ตั้งแต่นั้นนางก็เลื่อมใสในพุทธศาสนา เฝ้าปฏิบัติสามเณรลูกชายของตน มิได้ขาดจนนางได้ตายไปตามอายุขัยก็ไปบังเกิดในสวรรค์ ดั้งนี้ เป็นต้น


อานิสงส์ของการบวช

๑. ประโยชน์อานิสงส์ที่ตัวผู้ขอบรรพชาจะได้รับนี้อย่างหนึ่ง
๒. ประโยชน์อานิสงส์ที่ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดา เป็นต้น จะได้รับ นี้อย่างหนึ่ง
๓. ประโยชน์ที่เพื่อนมนุษย์สัตวโลกทั้งหลายจะพึงได้รับ ตลอดจนศาสนาจะพึงได้รับร่วมกัน นี้อีกอย่างหนึ่ง

อานิสงส์ที่ ๑ ที่ว่า ในส่วนตัวเขานั้น ต้องได้รับอะไรใหม่เป็นของใหม่ และดีที่สุดที่เขาจะได้รับ คือให้ได้ มีการบรรพชาจริงนั่นแหละ เรียกว่าบวชจริง ให้เรียนจริง ให้ปฏิบัติจริง ให้ได้ผลจริงๆ นี้เรียกว่า บรรพชาจริงๆ ได้ผลจริง ในระหว่างที่เขาบรรพชาอยู่ ได้สิ่งที่ดีที่สุด ที่เขาควรจะได้ คือเรื่องของพระธรรมที่ทำให้บุคคลพ้นจากความทุกข์ นี่ประโยชน์ส่วนตัวของเขา ก็มีอยู่อย่างนี้แล้วขอให้เขาได้รับ

อานิสงส์ที่ ๒ ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้น จะพึงได้อานิสงส์นี้ก็เพราะลูกของเราบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริงได้ผลจริง หรือว่าสอนผู้อื่นได้จริงด้วยก็ยิ่งดี ถ้าลูกหลานของเราบวชจริงอย่างนี้แล้ว บิดามารดาก็มีความปีติปราโมทย์ พอใจในธรรม ใน ศาสนานี้มากขึ้น การบวชของลูกจะทำให้มีอะไรๆ เกิดขึ้นหลายประการ เช่น ที่ว่า บิดามารดาจะมีศรัทธามากขึ้นมีความมั่นคงในพระศาสนามากขึ้น เรียกว่าเป็นญาติในพระศาสนามากขึ้นนั่นเอง เขาใช้คำอย่างนั้นมาแต่โบราณกาลแล้ว ที่ว่าพอลูกบวชแล้วพ่อแม่เป็นญาติในพระศาสนามากขึ้น เพราะฉะนั้นอานิสงส์ข้อนี้ได้แก่ ญาติทั้งหลาย มีบิดา มารดาเป็นต้นด้วย

อานิสงส์ที่ ๓ ก็ได้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ทั้งมนุษย์ ทั้งเทวดา กระทั่งสากลจักรวาล และได้แก่ศาสนาด้วย ข้อนี้มันสัมพันธ์กันที่ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงกับศาสนานั้นสัมพันธ์กัน อยู่ ถ้าศาสนายังมีอยู่ในโลก สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ปลอดภัยสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจะปลอดภัย ก็เพราะมีศาสนาอยู่ในโลก ฉะนั้นเราทำศาสนาให้มีอยู่ในโลก ก็คือทำประโยชน์ให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ศาสนานี้จะมีอายุอยู่ได้ไม่สูญหายไปเสีย ก็เพราะว่า

๑. มีคนบวชคนเรียน
๒. มีคนปฏิบัติถูกต้อง
๓.มีคนได้ผลของการปฏิบัติ

ทั้งหมดนี้ที่เขาเรียกว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นภาษาบาลี เราควรจะขอบใจคนที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เขาสืบอายุพระศาสนาไว้จนมาถึงเรา เราต้องช่วยกันสืบต่อไป บวช ๓ เดือนก็สืบ ๓ เดือน บวช ๒ เดือนก็สืบ ๒ เดือน พอเราสึกออกไป ยื่นมอบหมายให้คนอื่นต่อไปอีก อย่าให้ขาดตอนได้ ฯ

กล่าวโดยย่ออานิสงส์ของการบวชแบ่งออกได้ ๒ ประการ คือ

ประการที่ ๑ อานิสงส์หลัก ได้แก่
๑. กรณีของผู้ที่หมดกิเลส สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ย่อมได้อานิสงส์คือ
ก. ทุกข์เก่าหมดไป
ข. ทุกข์ใหม่ไม่เกิดขึ้น คือ หมดกิเลส
ค. เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐของมนุษย์ทั้งหลาย ที่ได้ทำบุญให้ทาน และถวายสักการะแก่ท่าน
๒. มองถึงด้านคุณธรรมในตัวของผู้บวช
ก. ทำให้ตัวเองเป็นผู้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ
ข. จะได้น้ำใจงาม ที่เรียกว่า เป็นคนมีน้ำใจ
ค. เป็นผู้มีปัญญา

ประการที่ ๒ อานิสงส์พลอได้ ได้แก่
๑. อานิสงส์ที่เกิดแก่ผู้อื่น
ก. ช่วยให้บิดามารดาได้มีโอกาสใกล้ชิดพระศาสนา เช่น ได้ฟังธรรม เป็นต้น เพราะต้องไปเยี่ยมเยียนผู้บวชอยู่เสมอ
ข. แม้สึกออกไปแล้ว ลูกเมียก็เป็นสุข เพราะได้นิสัยดี ๆ ที่เกิดจากการขัดเกลาติดตัวไป เมื่อก่อนเคยขี้เหล้าเมายา เมาขึ้นมาก็อาละวาด พอบวชแล้วสึกออกไปนิสัยดีขึ้น

ประโยชน์ของการบวชเรียนคืออะไร

1.บวชเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สังคมไทยส่วนใหญ่นับถือ และสืบทอดกันมาเป็นช้านาน ประเพณีบวชเรียน คือการบวชเพื่อที่จะเรียนหนังสือ ซึ่งอาจจะเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวรและเพื่อเชิดชูความรุ่งเรือง

บวชเณรได้บุญอย่างไร

สำหรับท่านผู้บวชเป็นเณร บวชแล้วมีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ ตามระบอบพระธรรมวินัย เมื่อตายจากความเป็นคน ถ้ามีจิตของตนเป็นกุศล แต่ว่าไม่สามารถทรงจิตเป็นฌาณ ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ ได้ถึง ๓๐ กัป

บวชเณรห้ามทำอะไรบ้าง

ศีลของสามเณร.
เว้นจากการไม่ฆ่าสัตว์.
เว้นจากลักทรัพย์.
เว้นจากประพฤติล่วงพรหมจรรย์.
เว้นจากพูดเท็จ.
เว้นจากดื่มสุราเมรัย.
เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (เที่ยงไปแล้ว).
เว้นจากฟ้อนรำขับร้องประโคมและการดูมหรสพ.
เว้นจากทัดทรงตกแต่งประดับประดาร่างกายด้วยดอกไม้ของ เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิว.

บวชเณรต้องบวชกี่วัน

ด้านพระพรหมเมธี โฆษกมส. กล่าวว่า ในส่วนของการบวชหน้าไฟ บวชแก้บน รวมไปถึงการบวชตามประเพณีที่มีระยะเวลาไม่ถึง 15 วันนั้น มส.ไม่ได้ห้าม แต่หากมีผู้ที่ต้องการจะบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ มส.จะเน้นให้ต้องบวชในระยะเวลา 15 วัน หรือ 30 วัน