ศิลปวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง10ข้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัฒนธรรมไทย ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม อินเดีย จีน และ ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธ และ ศาสนาฮินดู

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้ระบุไว้ว่า "วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี พิธีกรรม และภูมิปัญญา ซึ่งกลุ่มคนและสังคมได้ร่วมสร้างสรรค์ สั่งสม ปลูกฝัง สืบทอด เรียนรู้ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจและวัตถุอย่างสันติสุขและยั่งยืน" ถึงแม้คำนิยามของวัฒนธรรมจะมีความครอบคลุม และหลากหลาย ก็ยังยังมีการเน้นมิติของ ความดีงาม และมักจะใช้เป็นข้ออ้างในการ ควบคุม และ ครอบงำ สมาชิกในสังคม

ส่วนความหมายของวัฒนธรรมในทางสังคมวิทยานั้น หมายถึง ระบบความหมายและแบบแผนพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมนั้นนั้นยึดถือและปฏิบัติ

วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี[1]

ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเน้นว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถตรัสรู้และไปถึงนิพพาน และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของกัมพูชาและความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ นอกจากนี้ยังเน้นรูปแบบมากกว่าแก่นสาร[1]

คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผลพลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงการวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก หากสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกัน การไหว้เป็นแบบการทักทายและแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด คนไทยใช้ชื่อต้นมิใช่นามสกุล และใช้คำว่า "คุณ" ก่อนชื่อ[2]

คนไทยเคารพความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น ความสัมพันธ์ทางสังคมนิยามว่า บุคคลหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่ง บิดามารดาสูงกว่าบุตรธิดา ครูอาจารย์สูงกว่านักเรียนนักศึกษา และเจ้านายสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อคนไทยพบคนแปลกหน้า จะพยายามจัดให้อยู่ในลำดับชั้นทันทีเพื่อให้ทราบว่าควรปฏิบัติด้วยอย่างไร มักโดยการถามสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นมองว่าเป็นคำถามส่วนตัวอย่างยิ่ง สถานภาพกำหนดได้โดยเสื้อผ้า ลักษณะปรากฏทั่วไป อายุ อาชีพ การศึกษา นามสกุลและความเชื่อมโยงทางสังคม[2]

ครอบครัวเป็นเสาหลักของสังคมไทยและชีวิตครอบครัวมักอยู่ใกล้ชิดกว่าวัฒนธรรมตะวันตก ครอบครัวไทยเป็นลำดับชั้นทางสังคมอย่างหนึ่ง และเด็กถูกสอนให้เคารพบิดามารดา สังคมคาดหวังให้สมาชิกครอบครัวดูแลผู้อาวุโสและบ้านพักคนชราและโรงพยาบาลเป็นทางเลือกสุดท้าย คนชรามักอยู่บ้าน อยู่กับครอบครัวและหลานและเกี่ยวข้องในชีวิตครอบครัว

ดูเพิ่ม[แก้]

  • คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย
  • งานศพไทย
  • การแต่งงานแบบไทย
  • รายชื่อผีไทย
  • การไหว้
  • ชุดไทยเดิม
  • สตรีในประเทศไทย
  • กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
  • โซตัส

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 Otto F. von Feigenblatt. The Thai Ethnocracy Unravels: A Critical Cultural Analysis of Thailand’s Socio-Political Unrest[ลิงก์เสีย]. Journal of Alternative Perspectives in the Social Sciences. สืบค้น 7-9-2557.
  2. ↑ 2.0 2.1 Thai Cultural Profile 2012[ลิงก์เสีย]. Tablelands Regional Council Community Partners Program. สืบค้น 7-9-2557.

จาก wikipedia

ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ศิลปวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง10ข้อ

    ลักษณะของวัฒนธรรมไทย

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยมาจากแหล่งที่มาที่ต่างกันและเกิดการหล่อหลอมกันขึ้น  จนเป็นวัฒนธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ  ในที่นี้จะขอกล่าวถึงลักษณะที่สำคัญของวัฒนธรรมไทย  ดังนี้

1.  เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม  คนไทยมีความเกี่ยวข้องกับน้ำ  ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ทำการเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ดังนั้นวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตส่วนใหญ่จึงมักเกี่ยวกับน้ำและการเกษตร  เช่น  ประเพณีการทำขวัญข้าว  หรือประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว  ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปตามชนบท  เป็นต้น2.  เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือการกุศล  คนไทยนิยมทำบุญในงานเทศกาลต่าง ๆ เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่ออุทิศบุญกุศลให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว  ดังนั้นจึงสังเกตเห็นได้ว่างานพิธีมงคลหรืออวมงคลไทย  มักจะมีการทำบุญเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานพิธีเหล่านั้นด้วย3.  เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือเครือญาติ  สังคมไทยมีความสัมพันธ์กันโดยยึดหลักอาวุโส  คนที่มีอายุน้อยกว่าจะให้ความเคารพผู้ที่มีอายุมากกว่าหรืออาวุโสกว่า  เพราะถือว่าผู้อาวุโสเป็นผู้ที่สูงด้วยประสบการณ์  พบเห็นเรื่องราวในชีวิตมาก่อนผู้ที่มีอายุน้อย  การเข้าหาและพูดคุยกับท่านเหล่านั้นจะทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดี  แล้วนำมาปรับใช้ในชีวิตได้  ดังสุภาษิตของไทยประโยคหนึ่งว่า  "เดินตามหลังผู้ใหญ่  สุนัขไม่กัด"4.  เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือพิธีกรรม  มีขั้นตอนในการประกอบพิธีตามความเชื่อและมุ่งหวังความมีหน้ามีตาในการจัดงาน  เช่น  การแต่งงาน  โดยส่วนใหญ่ในสังคมไทยจะมีพิธีกรรมมากมาย  ตั้งแต่การแห่ขันหมากมาสู่ขอ  การรดน้ำสังข์อวยพรคู่บ่าวสาวและจัดงานเลี้ยงฉลองสมรสโดยเชิญญาติพี่น้อง  เพื่อนฝูงของเจ้าบ่าวเจ้าสาวมาร่วมเป็นเกียรติในงาน  เป็นต้น5.  เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน  กิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมไทยส่วนใหญ่จะมีการสอดแทรกความสนุกสนานไว้ด้วยเสมอ  มีการร้อง รำ ทำเพลง  จนเกิดเป็นเพลงฉ่อย  เป็นต้น  ซึ่งถือว่าเป็นการละเล่นเพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยหลังเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว6.  เป็นวัฒนธรรมที่มีการผสมผสาน  วัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้รับการผสมผสานมาจากการเผยแพร่ทางวัฒนธรรมของสังคมอื่น  เช่น  ศาสนาพราหมณ์เป็นที่มาของประเพณีต่าง ๆ ซึ่งได้รับการปฏิบัติสืบทอดในสังคม  เช่น  พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  การตั้งศาลพระภูมิ  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมตะวันตกที่กำลังเข้ามามีอิทธิพลมากในสังคมไทย  เช่น  ด้านเทคโนโลยี  การแต่งกาย  และอาหาร  เป็นต้น

ศิลปวัฒนธรรมไทยหมายถึงข้อใด

ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีไทย เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมการแสดงออกของคนในสังคมไทย อธิบายนัยความหมายของสภาพทางภูมิศาสตร์ความคิดความเชื่อ สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่สะท้อนตัวตนของคนในสังคมนั้นว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับ ธรรมชาติแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างไร

วัฒนธรรมที่สําคัญของไทยมีอะไรบ้าง

มารยาทไทย การไหว้ ยิ้มสยาม ความ เอื้อเฟื้อ ความไมตรี จิต ภาษาไทย วรรณคดีดนตรี- นาฏศิลป์ไทย สถาปัตยกรรมไทย โบราณสถาน โบราณวัฒถุ การ แต่งกาย เครื่องมือ เครื่องใช้ ยาไทย

ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมไทย มีอะไรบ้าง

1.วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม นับตั้งแต่อดีตคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น 2.วัฒนธรรมไทยมีแบบแผนทางพิธีกรรม มีขั้นตอน รวมถึงองค์ประกอบในพิธีหลายอย่าง เช่นการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพ พิธีมงคลสมรส เป็นต้น

ศิลปวัฒนธรรมไทยมีกี่ยุคมีอะไรบ้าง

1. สมัยศรีวิชัย มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช เมืองไชยา โดยมีศาสนาพุทธมหายานและศาสนาฮินดู เช่น ประติมากรรม เทวรูป พระโพธิสัตว์.
2. สมัยทราวดี ... .
3. สมัยลพบุรี ... .
4. สมัยสุโขทัย ... .
5. ศิลปะแบบอยุธยา ... .
6. ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ... .
7. ศิลปะวัฒนธรรมสมัยใหม่.