สื่อวิทยุโทรทัศน์ มีอะไรบ้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายการโทรทัศน์ เป็นส่วนต่าง ๆ ของการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ การออกอากาศรายการโทรทัศน์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1936 ในกรุงลอนดอน [1]

รายการโทรทัศน์ อาจออกอากาศเพียงแค่ครั้งเดียว หรือมีตอนต่อ ที่เรียกว่า ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (TV series) ส่วนมากมักเป็นรายการประเภทละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์มักแบ่งเป็นภาค ๆ โดยในหนึ่งภาค ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่า ฤดูกาล (season) แต่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกว่า ชุด (series) แต่ละฤดูกาลหรือชุดจะมีความยาวประมาณ 6-26 ตอน

รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นพิเศษเพียงครั้งเดียว จะเรียกว่า รายการพิเศษ (special program) และสถานีวิทยุโทรทัศน์บางสถานี ยังมี ภาพยนตร์โทรทัศน์ (TV movies) ที่สร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์โดยเฉพาะ ไม่ได้ออกฉายทางโรงภาพยนตร์ หรือบันทึกลงในวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี หรือสื่ออื่น ๆ

ทุกวันนี้ การออกอากาศ ภาพยนตร์โฆษณา (commercial advertisement) ถือเป็นส่วนสำคัญของรายการโทรทัศน์ โดยมีข้อปฏิบัติเป็นเกณฑ์ว่า ในการออกอากาศรายการโทรทัศน์ 1 ชั่วโมง จะมีภาพยนตร์โฆษณาได้ไม่เกิน 15 นาที เหมือนในโรงภาพยนตร์

ประเภทของรายการโทรทัศน์[แก้]

รายการบันเทิงที่มีบทพูด[แก้]

  • ละครโทรทัศน์
    • เช่น ละครหลังข่าว, ละครซิตคอม, ละครชุดสืบเนื่อง, ละครเกาหลี ,โหนกระแส

เป็นต้น

  • ภาพยนตร์การ์ตูน
    • ในต่างประเทศ เช่น SpongeBob SquarePants, The Adventures of Jimmy Neutron: Boy Genius เป็นต้น
    • ในประเทศไทย เช่น ช่อง 9 การ์ตูน(ช่อง 9 เอ็มคอทเอชดี), การ์ตูนดังสุดสัปดาห์ (ช่อง 7 เอชดี) เป็นต้น
  • มินิซีรีส์ หรือ ทีวีมูวีส์
    • ในต่างประเทศ เช่น Family Ties, Sabrina, the Teenage Witch เป็นต้น
  • รายการวัยรุ่น
    • ในประเทศไทย เช่น รถโรงเรียน (จีเอ็มเอ็ม 25) เป็นต้น
  • รายการมอบรางวัลต่าง ๆ
    • ในต่างประเทศ เช่น รางวัลออสการ์, รางวัลแกรมมี่, เอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส เป็นต้น
    • ในประเทศไทย เช่น รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี, รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ, รางวัล ท็อป อวอร์ดส์ เป็นต้น

รายการบันเทิงที่ไม่มีบทพูด[แก้]

  • ทอล์กโชว์
    • ในต่างประเทศ เช่น Good Morning America, Larry King Live, The Oprah Winfrey Show เป็นต้น
    • ในประเทศไทย เช่น ทูเดย์โชว์ (ช่อง 3 เอชดี), เจาะใจ (ช่อง 9 เอ็มคอทเอชดี) เป็นต้น
  • ปกิณกะบันเทิง
    • มีลักษณะคล้ายทอล์กโชว์ แต่มีความหลากหลายกว่า บางช่วงอาจมีการแข่งขันหรือการแสดง เป็นต้น
    • ในประเทศไทย รายการแนวปกิณกะบันเทิงได้รับความนิยมอย่างสูงสุดช่วงปี พ.ศ. 2536-พ.ศ. 2540 เช่น สี่ทุ่มสแควร์ (ช่อง 7), ตีสิบ (ช่อง 3) เป็นต้น
  • เรียลลิตี้โชว์
    • ในต่างประเทศ เช่น อเมริกาส์ เน็กซ์ ท็อป โมเดล, เซอร์ไวเวอร์, อเมริกัน ไอดอล, แอน อเมริกัน แฟมิลี่ เป็นต้น
    • ในประเทศไทย เช่น เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ทางช่องวัน 31 เป็นต้น
  • เกมโชว์, ควิซโชว์
    • ในต่างประเทศ เช่น Who Wants to Be a Millionaire, Wheel of Fortune, Jeopardy!, โหด มัน ฮา (Takeshi's Castle), ทีวีแชมเปียน, ศึกอัจฉริยะ เป็นต้น
    • ในประเทศไทย เช่น I Can See Your Voice ทางช่องเวิร์คพอยท์

รายการประเภทให้ข้อมูล[แก้]

  • รายการข่าว
    • ในต่างประเทศ เช่น The NewsHour with Jim Lehrer เป็นต้น
    • ในประเทศไทย เช่น เรื่องเล่าเช้านี้ (ช่อง 3 เอชดี),สนามข่าว 7 สี (ช่อง 7 เอชดี), ไทยรัฐนิวส์โชว์ (ไทยรัฐทีวี), ข่าวข้นคนเนชั่น (เนชั่นทีวี), ทุบโต๊ะข่าว (อมรินทร์ทีวี), เข้มข่าวค่ำ (พีพีทีวี), ข่าวเย็นประเด็นร้อน (ช่อง 7 เอชดี),ข่าวเช้าช่องวัน (ช่องวัน 31) ข่าวเย็นช่องวัน (ช่องวัน 31) เป็นต้น
  • สารคดี
    • ในประเทศไทย เช่น กบนอกกะลา (ช่อง 9 เอ็มคอทเอชดี) เป็นต้น
  • สารคดีข่าวทางโทรทัศน์ (television news magazine) มีรูปแบบเหมือนข่าวในนิตยสาร แต่มีรูปแบบเป็นสารคดี
    • ในต่างประเทศ เช่น 60 Minutes, Primetime เป็นต้น
    • ในประเทศไทย เช่น เรื่องจริงผ่านจอ (ช่อง 7 สี) เป็นต้น
  • รายการแนะนำสินค้า (infomercial) เป็นรายการทีวีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอและจำหน่ายสินค้า
    • ในต่างประเทศ
      • Quantum Television (ออกอากาศใน 73 ประเทศ)
    • ในประเทศไทย เช่น TV Direct, True Shopping, O Shopping, High Shopping, RSMall, JKN Shopping

อ้างอิง[แก้]

  1. The History of Film & Television เก็บถาวร 2010-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ High-Tech Productions

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อรายการโทรทัศน์ไทย
  • การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย

สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิง

ก้าวสู่เส้นทางแห่งความคิดสร้างสรรค์ในงานด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิง ที่กําลังได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน โดยหลักสูตรการเรียนการสอนมุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการนําความคิดสร้างสรรค์สู่การปฏิบัติงานจริง ตลอดจนการประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการผลิตรายการเทียบเท่าระดับมืออาชีพ ทั้งยังสามารถเลือกศึกษากระบวนการผลิตรายการเฉพาะรูปแบบตามความถนัดและความสนใจ อีกทั้งยังได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตงานอันมีเอกลักษณ์ใหม่ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ                         

ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

ด้านการผลิตสื่อสตรีมมิง

เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคที่ 5G กำลังจะเข้ามามีบทบาท ตอบโจทย์สื่อยุคใหม่ไร้ขีดจำกัด ตอบรับทุกแพลตฟอร์มไปได้ทุกทิศทาง สื่อทุกอย่างที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต สร้างเนื้อหาการผลิตสื่อ เป็นผู้ผลิตสื่อได้หลากหลายแพลตฟอร์ม มีช่องทางอาชีพใหม่ๆ

ด้านการผลิตสื่อวิทยุและรายการโทรทัศน์

ภาควิชานี้ผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทั้งด้านการคิดและกระบวนการผลิตเข้าสู่วงการวิทยุและโทรทัศน์ แนวทางหลักในการเรียนการสอนที่ว่า “ความคิดสร้างสรรค์ สู่ฝันนักสื่อสาร”  ผู้เรียนจะถูกฝึกให้มีกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล  อีกทั้งยังได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์เครื่องมือระบบดิจิทัลที่ทันสมัยไปพร้อมกัน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือระบบดิจิทัลในการผลิตสื่อวิทยุและโทรทัศน์ที่ทันสมัยและมีคุณภาพดีเทียบเท่าอุปกรณ์ที่ใช้ในวงการวิชาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้เรียนจะมีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์มืออาชีพทันที

ด้านการบริหารจัดการรายการวิทยุและโทรทัศน์

นอกจากแนวทางในการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์แล้ว “การคิดอย่างนักธุรกิจ” ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่แฝงลงไปในการเรียนเช่นกัน นักศึกษาจะมีความรู้ความเข้าใจด้านงานการบริหารจัดการ ในการผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ในบริบทสังคมต่างๆ ผู้เรียนจะถูกปลูกฝังวิธีการบริหารงานอย่างมีจรรยาบรรณของนักสื่อสาร และรู้เท่าทันกลไกทางธุรกิจ ดังนั้น ผู้เรียนจะสามารถเป็น Producer ที่มีความรู้รอบด้าน และสามารถผลิตรายการที่มีคุณภาพอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างชาญฉลาด  

หลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความสามารถปฏิบัติงานจริง
ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือการผลิตรายการระบบดิจิทัลอันทันสมัย
ในทุกแพลตฟอร์มเทียบเท่าวงการวิชาชีพ

เทอมแรก   24,480

ตลอดหลักสูตร 4 ปี   347,580
ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร (ยังไม่รวมส่วนลด ทุน BU Bright)

ค่าเล่าเรียนปีการศึกษา 2566
ทุนการศึกษานี้มีจำนวนจำกัด โดยมีเงื่อนไขเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

นิเทศศาสตรบัณฑิต (วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิง)

Bachelor of Communication Arts (Broadcasting and Streaming Media Production)

คณะนิเทศศาสตร์

School of Communication Arts

สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิง

Broadcasting and Streaming Media Production


แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2566

ดาวน์โหลด

รายวิชา ปีการศึกษา 2566

ดาวน์โหลด

ทุนการศึกษาที่สามารถขอได้

กยศ. ลักษณะที่ 1

คุณสมบัติ

  • ม.6 หรือเทียบเท่า,
  • ปวช.,
  • ปวส. (เทียบโอนได้)

ทีวีเป็นสื่ออะไร

สื่อโทรทัศน์ (TV Advertising) เป็นสื่อที่มีทั้งภาพ เสียง การเคลื่อนไหว สามารถใช้สร้างสรรค์และลูกเล่น โฆษณาได้มาก เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวางทั่วประเทศกว่า 90% ของครัวเรือนมีเครื่องรับโทรทัศน์

ประเภทของวิทยุโทรทัศน์มีกี่ประเภท

การแบ่งประเภทของบทรายการวิทยุโทรทัศน์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ใหญ่ ๆ ได้แก่ การแบ่งตามเนื้อหา การแบ่งตามหน้าที่ของสื่อมวลชน และแบ่งตามผู้รับ

ข้อเสียของสื่อโทรทัศน์ คือ ข้อใด

ข้อเสียของโทรทัศน์ ไม่มีความคงทนถาวร เมื่อออกอากาศไปแล้วก็ยากที่จะรับชมได้ใหม่ ใช้ได้เฉพาะพื้นที่สัญญาณภาพสามารถไปถึงได้ เพราะอาจมีบางพื้นที่ที่ไม่สามารถส่งสัญญาณไปถึงได้ เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้ชมไม่สามารถตอบสนองได้จึงอาจเกิดการเข้าใจผิดในข่าวสารได้

ประเภทรายการโทรทัศน์ มีอะไรบ้าง

1 ประเภทของรายการโทรทัศน์ 1.1 รายการบันเทิงที่มีบทพูด 1.2 รายการบันเทิงที่ไม่มีบทพูด 1.3 รายการประเภทให้ข้อมูล