เซลล์ แสงอาทิตย์(Solar Cell) ส่วนใหญ่ทำมาจากอะไร

ปัจจุบันการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์ กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายการอุปโภคและบริโภคจากการใช้ไฟฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของบ้านและที่พักอาศัย หรือในรูปแบบของธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้มีผู้ให้บริการรับติดตั้งโซล่าเซลล์ มารับรองความต้องการและให้ความสะดวกกับผู้ที่สนใจ บทความนี้เราได้รวบรวมสาระสำคัญและเรื่องที่ควรรู้และศึกษาก่อนตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์มาให้ได้อ่านกัน

Show

สารบัญเนื้อหา

  • ทำความรู้จัก “โซล่าเซลล์” คืออะไร?
  • โซล่าเซลล์ มีหลักการทำงานอย่างไร?
  • ลักษณะการใช้งานของโซล่าเซลล์
  • ประโยชน์ของโซลล่าเซลล์ ใช้ทําอะไรได้บ้าง
  • โซล่าโซลล์ มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร?
  • โซล่าเซลล์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
  • โซล่าเซลล์ มีกี่ระบบ ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร?
  • โซล่าเซลล์ มีกี่ขนาด กี่วัตต์
  • โซล่าเซลล์ ราคาแพงไหม?
  • รีวิว โซล่าเซลล์
  • สรุป

ทำความรู้จัก “โซล่าเซลล์” คืออะไร?

โซล่าเซลล์ (Solar Cell) หรือ เซลล์แสงอาทิตย์ และที่หลายๆคนรู้จักในชื่อ เซลล์โฟโตโวลตาอิก Photovoltaic cell เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า (Solar Cell) โดยพลังงานกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์นั้น เป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือ (DC) ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที

รีวิวงานติดตั้งโซล่าเซลล์ 5Kw จากลูกค้าจริงของ Nk Solar Group

โซล่าเซลล์ มีหลักการทำงานอย่างไร?

การทำงานของโซล่าเซลล์จะเป็นกระบวนการเปลี่ยนจากพลังงานแสงให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง โดยการใช้แสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ มีพลังงานไปกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน โดยพลังงานจากแสงจะทำให้เกิดอิเลคตรอน หรือ การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าขึ้นในสารกึ่งตัวนำ จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวทีาสามารถนำไปใช้งานได้

ลักษณะการใช้งานของโซล่าเซลล์

เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบ กับแผงโซล่าเซลล์แสงจากดวงอาทิตย์จะทำการถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน และโฮล ซึ่งจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น โดยอิเล็กตรอนจะมีการเคลื่อนไปรวมตัวกันที่ Front Electrode และโฮลก็จะเคลื่อนไหวไปรวมตัวกันที่ Back Electrode จากนั้นเมื่อมีการเชื่อมต่อระบบวงจรไฟฟ้าจาก Front Electrode และ Back Electrode เข้าด้วยกันแบบครบวงจร ก็จะเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้

โซล่าเซลล์สำหรับบ้านและที่พักอาศัย

เป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาเพื่อใช้สำหรับบ้านพักอาศัยซึ่งมีตั้งแต่ขนาด 1 – 12 กิโลวัตต์ (kWp.) หรือ 1,000-12,000 วัตต์ ซึ่งก็สามารถเลือกขนาดให้เหมาะแก่การใช้งานได้ เป็นการช่วยลดภาระการใช้ไฟตอนกลางวันได้มาก 30-70% ขึ้นอยู่กับขนาดที่ต้องการติดตั้งให้ตาม Requirement ที่ต้องการของแต่ละคน ซึ่งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านและที่พักอาศัยนิยมนิตั้งด้วยระบบออนกริดที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบของการไฟฟ้า เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้หากใช้ไฟเหลือยังสามารถเข้าร่วมโครงการภาคประชาชนขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย

โซล่าเซลล์สำหรับโรงงานและธรุกิจอุตสาหกรรม

การติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจหลายๆคนที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมต่างให้ความสำคัญในพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสภพาพแสดล้อมและไม่ทำให้ภาวะโลคร้อน ต่างพากันหันมาติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงาน เพื่อใช้สำหรับการผลิตและเครื่องจักรต่างๆ เพราะนอกจากจะไม่เป็นมลพิษแล้วยังช่วยให้สามารถประหยัดค่าไฟไปได้แบบครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว

ประโยชน์ของโซลล่าเซลล์ ใช้ทําอะไรได้บ้าง

พลังงานไฟฟ้าจากโซลล่าเซลล์ เป็นพลังงานที่ใช้ได้อย่างไม่จำกัดและไม่มีวันหมด ซึ่งหลังการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถใช้ได้เหมือนไฟฟ้าแบบปกติทั่วไป เช่น ใช้สำหรับใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้านได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ใช้กับเครื่องปรับอากาศ แอร์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ใช้กับคอมพิวเตอร์ ชาร์จรถยนต์ เครื่องเสียง และ อื่นๆอีกมากมาย หรือแม้แต่การเปิดไฟเพื่อความสว่างภายในบ้าน

โซล่าโซลล์ มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร?

การติดตั้งระบบโซล่าเซล์ เป็นระบบพลังงานไฟฟ้าทดแทนที่ได้รับความนิยมสูงมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน เพราะวิถีชีวิต การทำงาน หรือ การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปเช่นต้องอยู่บ้านมากขึ้น เป็นเหตุให้ต้องเสียค่าไฟที่สูงขึ้นหลายเท่า ทำให้ทุกคนต่างมองหาวิธีการประหยัด และ การลดค่าไฟในระยะยาวด้วยการติดตั้งระบบโซลล่าเซลล์ ซึ่งต้องบอกอย่างตรงไปตรงมาว่าการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์นั้นมีทั้งข้อดีข้อเสียที่ควรทราบก่อนตัดสินใจ ดังนี้

ข้อดีของระบบโซล่าเซลล์

  • เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
  • เป็นพลังงานที่ใช้ได้อย่างไม่จำกัด เพราะแสดจากดวงอาทิตย์ไม่มีวันหมด
  • เป็นพลังงานฟรีที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อมา เพียงแค่ติดตั้งระบบให้ได้มาตรฐานก็สามารถใช้ไปตอนกลางวันได้ฟรี
  • หากให้ไฟเหลือสามารถเข้าร่วมโครงขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย
  • ช่วยประหยัดค่าไฟได้ 30-70% ขึ้นอยู่กับขนาดของการติดตั้ง
  • มีอายุการใช้งานนาน 20 – 25 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา

ข้อเสียของระบบโซล่าเซลล์

  • ต้องทำการติดตั้งโดยทีมช่างผู้ชำนาญ มีประสบการณ์ ภายใต้การควบคุมจากวิศวะกร
  • การผลิตไฟฟ้าในแต่ละวันอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและแสงแดด
  • สามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงเวลากลางวัน หรือช่วงที่มีแสงแดดเท่านั้น

โซล่าเซลล์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

ระบบโซล่าเซลล์ มีส่วนประกอบสำคัญ หลักๆ คือ ตัวแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งจะทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสร้างไฟฟ้ากระแสตรง อินเวอร์เตอร์มีหน้าที่เปลี่ยนแปลงไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อให้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนได้

แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel)

แผงโซลาร์เซลล์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานได้ มีหลายประเภท ซึ่งประเภทที่นิยมกัน คือ แบบใช้สารกึ่งตัวนำซิลิคอน (Silicon Semiconductor) มีหน้าที่เป็นตัวดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนพลังงานเป็นกระแสไฟฟ้าแบบ DC แบ่งออกเป็นอีก 3 ชนิดคือ

  • โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
  • โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
  • แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

ซึ่งสามารถใช้งานได้เหมือนกันแต่มีความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ต่างกันซึ่งในประเทศไทยมันนิยมใช้แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ เพราะเป็นชนิดที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุด และ มีอายุการใช้งานนานที่สุด ถึง 25 ปี สามารถอ่านต่อเพิ่มเติมบทความแผงโซล่าเซลล์

เครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter)

Inverter เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง และจะส่งผ่านไปยัง Inverter Inverter มีหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  • แบบที่ใช้กับระบบสแตนอโลน (Stand-Alone System)
  • แบบระบบกริตไทน์ Inverter (Grid-Tied Inverter) ใช้กับระบบที่ทำงานสัมพันธ์กับการไฟฟ้า (ระบบออนกริต On-grid System)

มีการใช้งานต่างกันคือ แบบที่ใช้กับระบบสแตนอโลน (Stand-Alone System) จะใช้กับการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ Off-grid หรือ แบบที่สำรองไฟฟ้าไว้ใน แบตเตอรี่ แต่ กริตไทน์ Inverter (Grid-Tied Inverter) จะใช้กับการติดตั้งโซล่าเซลล์ด้วยระบบ On-grid ซึ่งสามารถอ่านต่อเพิ่มเติมบทความแผงโซล่าเซลล์

เครื่องควบคุมการชาร์จไฟฟ้า (Solar Charge Controller)

เป็นเครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่ของโซล่าเซลล์ โดยจะชาร์จเข้าแบตเตอรี่ต้องอาศัยเครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่ เนื่องจากหากต่อระบบโซล่าเซลล์เข้ากับแบตเตอรี่โดยตรง จะมีการแรงดันไฟฟ้าที่ดันกันระหว่างแรงดันไฟฟ้าของโซล่าเซลล์กับแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ โดยจะต้องเครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่ให้รองรับกับแรงดันระบบที่เลือกใช้

แบตเตอร์รี่ (Battery)

เป็นตัวที่จะช่วยเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า เมื่อนำแบตเตอรี่ไปใช้งานกระแสที่ปล่อยออกมาจะเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง แต่ถ้าต้องการให้กลายเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ตามที่อยู่อาศัย จะต้องมีการติดตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ ซึ่งแบตเตอร์รี่ในปัจจุบันจะมีหลายแบบหลายประเภท จะต้องเลือกใช้ให้เฟมาะสมกับประเภทของการใช้งาน สำหรับแบตเตอร์รี่ที่ใช้ แนะนำเป็นแบตเตอรี่ที่มีไว้สำรองไฟฟ้า (Stationary/Standby Battery) แบตเตอรี่นี้มีหน้าเก็บพลังงานไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน กรณีไฟตก ไฟดับ และไฟกระชาก เป็นต้น

อุปกรณ์ไฟฟ้า Dc/Ac

เป็นอุปกรณ์ไฟ้ฟ้าที่มีไว้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างไฟฟ้าแบบ DC กระแสไฟฟ้าตรง และ AC กระแสไฟฟ้าสลับ ในระบบการติดตั้งโซลล่าเซลล์ เพื่อให้ระบบนั้นมีความสมบูรณ์ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โซล่าเซลล์ มีกี่ระบบ ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร?

การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบหลักๆด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการรูปแบบของใช้งาน และ เหมาะสมกับพื้นที่การติดตั้ง ดังนี้

  1. ระบบออนกริด On Grid : เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ใช้ทั้งไฟจากการไฟฟ้า และไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมาก โดยระบบนี้จะไม่มีแบตเตอรี่ไว้สำรองไฟ ผลิตไฟฟ้าได้แล้วใช้เลย ซึ่งก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบนี้จะต้องขออนุญาตการไฟฟ้าก่อนในปัจจุบันระบบนี้นิยมติดมากที่สุด
  2. ระบบออฟกริด Off-Grid : เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า โดยจะมีผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วใช้ได้เลยทันทีในตอนกลางวัน และที่เหลือจะมีการสำรองไว้ในแบตเตอรี่ไว้ใช้ในตอนกลางคืน (หรือเรียกว่าเป็นระบบ Stand Alone ) ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า การติดตั้งด้วยระบบนี้เหมาะกับสถานที่ที่ไฟจากการไฟฟ้าไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ห่างไกล บนดอยสูง
  3. ระบบไฮบริด Hybrid : เป็นการผสมระหว่างระบบ Off Grid และ On Grid คือ มีการเชื่อมต่อไฟจากการไฟฟ้า ร่วมกับการใช้ไฟที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ และไฟจากแบตเตอร์รี่ ในกรณีที่แผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินกว่าการใช้งานกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ และสามารถดึงมาใช้ในช่วงเวลากลางคืน แต่ระบบไฮบริดจะไม่สามารถขายกระแสไฟให้กับภาครัฐได้ อีกทั้งยังมีราคาการติดตั้งที่สูงมากจึงทำให้ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม

โซล่าเซลล์ มีกี่ขนาด กี่วัตต์

โดยทั่วไปการติดตั้งโซล่าเซลล์จะติดตั้งตามขนาดของการใช้งานภายในบ้าน โดยวิศวะกรจะเป็นผู้ช่วยคำนวนขนาดการติดตั้งให้เหมาะสมกับขนาดการใช้ไฟ แต่แผงโซล่าเซลล์จะมีประสิทธิภาพสูงสุดกี่วัตต์นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องประเภท ขนาด และจำนวนแผงเซลล์ตั้งแต่ ขนาด 10 วัตต์ 20 วัตต์ 40 วัตต์ 60 วัตต์ 80 วัตต์ 120-130 วัตต์ 200 วัตต์ 225-235 วัตต์ 240-245 วัตต์ และ 285 วัตต์ การติดตั้งขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานไฟฟ้าว่าเป็นที่พักอาศัยหรือโรงงานอุตสาหกรรม

โซล่าเซลล์ ราคาแพงไหม?

สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไม่ได้แพงอย่างที่คิด เพราะราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดของการผลิต โดยแพ็คเก็จโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งกันทั่วไป จะมีด้วยกัน 3 ขนาดหลักๆ ดังนี้

โซล่าเซลล์ขนาด 3kw

มีกำลังการผลิต = 3,000 w สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทุกประเภท ด้วยระบบการติดตั้งแบบออนกริดที่เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า ช่วยลดค่าไฟได้มากถึง 1,500-2,000 บาท/เดือน

รายละเอียด

  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้ง 12 ตรางเมตร
  • ใช้แผงโซล่า ขนาด 450W จำนวน 6 แผง

อ่านเพิ่มเติม : ชุดโซล่าเซลล์ 3000w ราคา พร้อมใช้งาน ระบบออนกริด รวมค่าติดตั้งและค่าดำเนินการ

โซล่าเซลล์ขนาด 5kw

มีกำลังการผลิต = 5,000 w สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทุกประเภท ด้วยระบบการติดตั้งแบบออนกริดที่เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 2,500-4,000 บาท/เดือน

รายละเอียด

  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้ง 22 ตรางเมตร
  • ใช้แผงโซล่า ขนาด 450W จำนวน 11 แผง

อ่านเพิ่มเติม : ชุดโซล่าเซลล์ 5000w ราคา พร้อมใช้งาน ระบบออนกริด รวมค่าติดตั้งและค่าดำเนินการ

โซล่าเซลล์ขนาด 10kw

มีกำลังการผลิต = 10,000 w สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทุกประเภท ด้วยระบบการติดตั้งแบบออนกริดที่เชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้า ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 5,000-7,000 บาท/เดือน

รายละเอียด

  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้ง 22 ตรางเมตร
  • ใช้แผงโซล่า ขนาด 450W จำนวน 11 แผง

รีวิว โซล่าเซลล์

เซลล์ แสงอาทิตย์(Solar Cell) ส่วนใหญ่ทำมาจากอะไร
เซลล์ แสงอาทิตย์(Solar Cell) ส่วนใหญ่ทำมาจากอะไร
เซลล์ แสงอาทิตย์(Solar Cell) ส่วนใหญ่ทำมาจากอะไร
เซลล์ แสงอาทิตย์(Solar Cell) ส่วนใหญ่ทำมาจากอะไร
เซลล์ แสงอาทิตย์(Solar Cell) ส่วนใหญ่ทำมาจากอะไร

ดูรีวิวและผลงานแบบเต็มๆ

สรุป

การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว โดยสามารถช่วยลดค่าไฟได้สูงสุดถึง 70% ต่อเดือน และนอกจากนี้ยังเป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษทาอากาศและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานสูงสุดถึง 25 ปี โดยมีระยะการคืนสั่นๆอยู่ที่ 3-5 ปีเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีคำถามและข้อสงสัยอื่นๆ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจาก NK Solar Group โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านทาง Facebook Messenger หรือ AddLine ได้เลย ช่างที่ดูแลและติดตั้งระบบตอบเอง