อาชีพที่เกี่ยวกับกฎหมาย มีอะไรบ้าง

อาชีพที่เกี่ยวกับกฎหมาย มีอะไรบ้าง

เรียนรู้เส้นทางสาย นิติศาสตร์ กับ SAU จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

    เมื่อกฎหมายกลายเป็นเรื่องสำคัญ คณะ นิติศาสตร์ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งคณะยอดฮิตที่หลายคนเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย นอกจากจะสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้แล้ว การเรียนในคณะนี้ยังสร้างโอกาสให้คุณสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายไม่ได้มีเพียงแค่อาชีพทนายความหรือผู้พิพากษาเท่านั้น อีกทั้งยังได้รับค่าตอบแทนที่ดีด้วย แล้วอาชีพน่าสนใจเหล่านั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย!

    เรียนจบคณะนิติศาสตร์ นอกจากจะประกอบอาชีพสายกฎหมายที่มีทั้งงานของภาครัฐและเอกชนแล้ว คุณยังสามารถนำความรู้ด้านกฎหมายไปใช้ในการทำงานในสายงานอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ด้านการเงิน, วิชาการ, สังคมสงเคราะห์ และการเมือง เป็นต้น โดยมีอาชีพที่น่าสนใจ ดังนี้

  • นิติกร ก้าวแรกของคนเรียนจบนิติศาสตร์
        นิติกร ทำหน้าที่ดูแลงานทุกอย่างด้านกฎหมายของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน เขียนโครงการ วางระเบียบ เสนอความเห็น หรืองานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้อาจจะยังไม่ต้องมีใบอนุญาตว่าความหรือตั๋วทนาย ทำให้เป็นอาชีพที่นิยมสำหรับเด็กจบใหม่ ซึ่งค่าตอบแทนที่จะได้เริ่มต้นประมาณ 15,000-18,000 บาท

  • ผู้จัดการและพนักงานฝ่ายบุคคล อีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ
        ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่สำคัญในการสรรหาแะจัดสรรคบุคลากรเข้ามาทำงาน โดยจะต้องบริหารจัดการ พัฒนา และประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยส่วนมากจะได้ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 17,000 บาทขึ้นไป

  • เจ้าหน้าที่สินเชื่อ สายงานด้านการเงินที่คุณก็ทำได้
         เจ้าหน้าที่สินเชื้อ เป็นตำแหน่งงานที่จะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย และกฎระเบียบด้านการเงินต่าง ๆ โดยจะทำหน้าที่ดูแลเรื่องของสภาวะลูกหนี้ทั้งหมด พิจารณาการให้สินเชื่อ และแจกแจงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 15,000-16,000 บาท

  • ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย อีกหนึ่งอาชีพสายกฎหมาย
         ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และแนะนำด้านกฎหมาย เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน การร่างสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาทขึ้นไป โดยจะเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์การทำงาน

  • ผู้พิพากษา ผู้ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ศาล
         ผู้พิพากษา มีหน้าที่หลักในการควบคุมการดำเนินคดีในชั้นศาล โดยมีอำนาจในการพิพากษาคดีที่ฟ้องร้องกันในศาลให้เป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 50,000 บาทขึ้นไป

  • นักวิชาการและอาจารย์ งานด้านกฎหมายสายวิชาการ
         มีหลายคนเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ต่อยอดความรู้ด้านกฎหมาย เพื่อประกอบอาชีพนักวิชาการและอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัย ซึ่งค่าตอบแทนที่ได้เริ่มต้นประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป

  • พนักงานอัยการ อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน
         พนักงานอัยการ มีหน้าที่สำคัญคือ รักษาผลประโยชน์ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนวยความยุติธรรมในสังคม โดยผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะได้รับค่าตอบแทนสูงถึงหลักแสนเลยทีเดียว

  • ทนายความ อาชีพอิสระที่คนเรียนสายกฎหมายทำได้
         ทนายความ มีหน้าที่สำคัญในการผดุงความยุติธรรม โดยรับปรึกษากฎหมาย ให้บริการด้านกฏหมายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านให้คำแนะนำต่อลูกความเกี่ยวกับปัญหาอื่นๆของกฎหมายในแง่ของธุรกิจและส่วนบุคคล รวมทั้งเป็นผู้ใช้กฎหมายดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญาและแพ่ง โดยค่าตอบแทนอาจสูงถึงหลักแสน หากมีประสบการณ์ในการทำงานมามาก อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับงานที่ได้รับด้วย

         นอกจากนี้ ยังมีงานราชการสายยุติธรรมของบรรดากระทรวงต่าง ๆ เช่น เจ้าพนักงานสรรพากร ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ตำรวจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานคุมประพฤติ ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ศุลกากร นายทหารฝ่ายพระธรรมนูญ ปลัดอำเภอ ปลัดเทศบาล ปลัดอบจ. เป็นต้น

         บรรดาอาชีพเหล่านี้ คงจะแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า เรียนจบนิติศาสตร์มีอาชีพรองรับที่แน่นอน และมีสายงานค่อนข้างหลากหลาย เพราะความรู้ด้านกฎหมายสามารถนำต่อยอดในการประกอบอาชีพสายอื่น ๆ ได้มากมาย ดังนั้น คณะนิติศาสตร์จึงเป็นอีกหนึ่งคณะน่าเรียนที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เปิดสอน ซึ่งใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสมัครเรียนได้ที่ www.sau.ac.th/

อาชีพที่เกี่ยวกับกฎหมาย มีอะไรบ้าง

 

 

 

นักกฎหมาย หนึ่งในอาชีพแห่งความทรงเกียรติและความภาคภูมิใจ ด้วยความมีคุณสมบัติแห่งจิตวิญญาณแห่งกฎหมายบนพื้นฐานของความถูกต้องและความเป็นธรรมสำหรับประชาชนทุกฝ่าย นักกฎหมายหลายคนที่ทำหน้าที่ด้วยความยุติธรรมมักจะได้ยินคำนี้เสมอว่า Spirit of Law (เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย) ตำแหน่งหน้าที่ของนักกฎหมายมีมากมาย แต่ละตำแหน่งเองก็จะมีหน้าที่และเงินเดือนต่างกันไป

เปิดรายได้อาชีพด้านกฎหมายในประเทศไทย

  1. ทนายความ – คือผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของบุคคล เป็นอาชีพที่มีคนนิยมทำกันมากเพราะเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดีและเป็นอาชีพที่มีเกียรติโดยผู้ที่เป็นทนายความสามารถทำงานมีเงินเดือนประจำขึ้นอยู่กับความสามารถประสบการณ์ และประเภทของหน่วยงานที่ทำ รายได้ 8,500 – 100,000 บาท ตามงานที่ได้รับ
  2. ที่ปรึกษากฎหมาย –เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่หน่วยงาน ห้างร้าน ธุรกิจ ภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ เพราะในปัจจุบันมีข้อพิพาทเกี่ยวกับด้านธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อาชีพนี้จะทำงานในตำแหน่งของบริษัท เดือนละ 50,000 – 100,000 บาท
  3. อัยการ – คือ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมายเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือของรัฐ มีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมทางอาญา ตรวจสอบถ่วงดุลทั้งของพนักงานและศาลเพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องชอบธรรม หน้าที่สอบสวนคดีอาญาระหว่างประเทศ หน้าที่งานด้านรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ให้คำแนะนำปรึกษาหารือปัญหาข้อกฎหมาย แก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ หน้าที่ตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง รวมถึงหน้าที่คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน  เงินเดือนอัยการและเงินประจำตำแหน่งตามชั้นเงินเดือนจากชั้นที่ 1 จนถึงชั้นที่ 8 อัยการสูงสุดจะได้รับเงินเดือนๆ ละ 62,000 บาท และเงินประจำตำแหน่งชั้น 8 เดือนละ 42,500บาท ลงมาถึงอัยการผู้ช่วยจะได้รับเงินเดือนชั้นที่ 1 โดยไม่มีเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดือนละ 14,850 บาท
  4. ผู้พิพากษา – ผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในศาล มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่ฟ้องร้องกันในศาลให้เป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษา (ศาลชั้นต้น) จะมีอัตราเงินเดือน 21,800 – 57,190 บาทศาลฎีกาถึงรองประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน 57,190 – 62,000 บาท ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน 64,000 บาท และมีเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยสำหรับนักกฎหมายที่ทำงานแล้วได้เงินมากแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนบวกเพิ่มกับเงินประจำตำแหน่ง ทำให้หลายคนถึงกับตกใจกับจำนวนเลขถึง 6 หลัก ยิ่งในปัจจุบันมีกรณีพิพาทหลายกรณีที่เกิดขึ้น มีให้เห็นบ่อยมากในสื่อออนไลน์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จึงต้องพึ่งพิงเหล่าบรรดานักกฎหมายตั้งแต่ระดับต้นๆ จนถึงระดับสูงสุด ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาภายในสังคมอย่างถูกต้องและยุติธรรม

คณะนิติศาสตร์ทำอาชีพอะไรได้บ้าง

คณะนิติศาสตร์ จบมาทำงานอะไร?.
ผู้พิพากษา/ตุลาการ.
พนักงานอัยการ.
ทนายความ.
ผู้สอนในสถานศึกษา.
ที่ปรึกษากฎหมาย/นิติกร.
ประกอบธุรกิจ/อาชีพอิสระ.
รับราชการ.

ทนายทำงานที่ไหนได้บ้าง

สถานที่ทำงาน งานของทนายความมีทั้งในสำนักงานและสถานที่อื่นๆ ที่ต้องไปติดต่อประสานงาน สำนักงานทนายความ หรือสำนักงานที่ตนเองสังกัด ในช่วงเวลาที่ไม่ต้องไปประสานงานกับใคร ทนายมักจะทำงานเตรียมเอกสารต่าง ๆ ในสำนักงานของตนเอง สถานที่เกิดเหตุ สถานที่สำคัญที่ทนายควรไปด้วยตัวเอง เพื่อสืบหาหลักฐานจากพยาน และข้อมูลต่างๆ

นักกฎหมายมีหน้าที่อะไรบ้าง

การทำงานเป็นนักกฎหมายเป็นการนำทฤษฎีและความรู้ทางกฎหมายซึ่งเป็นรูปธรรมไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาบางประการ หรือเพื่อส่งเสริมประโยชน์ของผู้แสวงหาความช่วยเหลือจากนักกฎหมาย บทบาทของนักกฎหมายแตกต่างกันอย่างมากตามเขตอำนาจต่าง ๆ

นักกฎหมาย มีอะไรบ้าง

นักกฎหมาย ความหมายของคำว่า “นักกฎหมาย” คือ ผู้ที่ใช้ความรู้ทางกฎหมายเป็นวิชาประกอบ การงานของตน คำาว่านักกฎหมายจึงไม่จํากัดแต่เฉพาะทนายความเท่านั้น แต่หมายความรวมถึง ผู้พิพากษา อัยการ ที่ปรึกษากฎหมาย นิติกร อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ตลอดจนนักกฎหมายในฝ่าย