โรค ทางเดินหายใจเรื้อรัง ในเด็ก มี อะไรบ้าง

โรค ทางเดินหายใจเรื้อรัง ในเด็ก มี อะไรบ้าง

โรคระบบทางเดินหายใจ รู้จักไว้ปลอดภัยกว่า

ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกบ่อย ปริมาณความชื้นในอากาศก็จะเพิ่มขึ้น แต่บางวันอากาศกลับร้อนกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้ ในหน้าฝนมักมีการระบาดของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจหลายชนิด ทำให้เด็กๆ รวมถึงคุณพ่อ คุณแม่ ติดโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจมากขึ้น โดยโรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่พบบ่อย สามารถจำแนกแบบง่ายๆ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ดังนี้

“โรคหวัด” โรคของระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่ไม่ควรละเลย

โรคของระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่พบได้บ่อยที่สุดคงหนีไม่พ้นโรคหวัดซึ่งพบได้ราว 60-70% ของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งจริงๆ แล้วเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจมีมากกว่า 200 ชนิดขึ้นไป และนอกจากนี้ยังอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย

หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสจะทำให้มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เจ็บคอ ไอจาม คัดจมูก แสบตา น้ำตาไหล ตาแดง ส่วนใหญ่จะมีอาการอยู่ประมาณ 5-7 วัน ก็จะหายเป็นปกติ ถ้าเป็นหวัดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้สูง บายรายอาจหนาวสั่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ซึ่งลักษณะของน้ำมูกมักจะมีสีเขียวปนเหลืองให้เห็นตั้งแต่วันแรกๆ ของการเป็นโรค อาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ และกดเจ็บร่วมด้วย

โรคของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง…เรื่องนี้ต้องรู้

ในที่นี้จะกล่าวถึง โรคหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย และมีอาการตั้งแต่รุนแรงน้อยจนถึงมาก อาการของโรคหลอดลมอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การแพ้ และการระคายเคืองจากสารเคมี แต่จะขอกล่าวถึงเฉพาะโรคหลอดลมอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ

โดยทั่วไปมักเริ่มด้วยอาการของโรคหวัดนำมาก่อน เช่น มีไข้ น้ำมูกใส ต่อมามีอาการไอ เริ่มต้นมักจะไอแห้งๆ แล้วตามมาด้วยไอมีเสมหะขาวใสหรือเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ เป็นได้ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย อาการไอเป็นอาการเด่นที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ บางคนจะให้ประวัติว่าไอมากจนอาเจียน หรือไอจนนอนไม่ได้ บางครั้งจะมีลักษณะของอาการหอบร่วมด้วย

โรคปอดอักเสบ พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และมักจะรุนแรงกว่า เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาการที่พบจะประกอบด้วย มีไข้ ไอ หายใจหอบ หรือมีลักษณะหายใจลำบาก ในเด็กเล็กมักจะมีอาการงอแงมากกว่าปกติ ไม่ยอมกินอาหารและน้ำ สาเหตุมักเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งพบได้ทั้งจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย นอกจากนั้น อาจเกิดจากการสูดสำลักอาหารและน้ำ รวมทั้งสารเคมีต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา ในเด็กที่เป็นปอดอักเสบหลายๆ ครั้ง อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจอย่างถาวรได้ เช่น อาจจะทำให้เกิดเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง ส่งผลทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ถดถอย และจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

โรคระบบทางเดินหายใจ” เป็นแล้วรีบรักษา…ไม่สายเกินแก้

สำหรับข้อบ่งชี้ที่ต้องรีบนำผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจมาพบแพทย์ ก็คือ

  • เป็นผู้ป่วยเด็กอายุน้อย โดยเฉพาะถ้าน้อยกว่า 3 เดือน

  • มีอาการไข้สูง หายใจหอบ เหนื่อย

  • เจ็บคอ หรือมีน้ำมูกเขียวเหลืองร่วมกับมีไข้สูงตั้งแต่ 38.5 องศา ขึ้นไป

  • มีอาการปวดบริเวณโพรงจมูก

  • ปฏิเสธไม่ยอมกินอาหารและน้ำ

  • อาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์

รู้เท่าทัน ป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ

จะเห็นได้ว่าในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว เด็กจะป่วยด้วยปัญหาทางเดินหายใจจำนวนมากและบ่อยกว่าปกติ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เกิดจากสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการแพร่ระบาดของเชื้อโรค หากคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่อยากจะให้ลูกหลานต้องป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ก็ควรให้การดูแลที่เหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่เข้าไปบริเวณที่มีคนแออัด หรือบริเวณที่คนพลุกพล่าน ล้างมือก่อนรับประทานขนมหรืออาหาร ออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีวัคซีนมากมายที่สามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางระบบหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ หากมีโอกาสควรปรึกษาแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไว้

เด็กที่คลอดก่อนกำหนดเร็วเกินไป อาจพัฒนารูปแบบโรคทางปอดชนิดหนึ่งที่มีระยะเวลายาวนาน หรือที่เรียกว่าเรื้อรังโรคนี้ว่า โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด “BPD”

การตรวจวินิจฉัย

เด็กที่มีความต้องการออกซิเจนหรือความช่วยเหลือด้านการหายใจอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลาหลายสัปดาห์อย่างน้อย 4 สัปดาห์ ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการ BPD เมื่อเด็กมีอายุเทียบเท่ากับอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 36 จะมีการกำหนดระดับ BPD: ระดับเบาคือไม่จำเป็นต้องให้ออกซิเจนอีกต่อไป ระดับกลางคือความต้องการออกซิเจนยังมีอยู่ และระดับหนักคือยังคงมีความต้องการออกซิเจนมากกว่า 30% และ/หรือต้องการความช่วยเหลือด้านการหายใจอื่น ๆ (ซีแพพหรือเครื่องช่วยหายใจ)

สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้เกิด BPD เนื่องจากปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ในตอนที่คลอด และปอดพัฒนาได้ไม่ดีนักโดยมีโครงสร้างง่าย ๆและมีถุงลมจำนวนน้อยซึ่งทำให้รับออกซิเจนเข้าไปได้ไม่ดี การอักเสบของปอดสามารถเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อ หรือการบำบัดระบบทางเดินหายใจด้วยแรงดันสูงเป็นเวลานาน การอักเสบพัฒนาไปสู่การเป็น BPD และอาจเป็นเหตุให้ปอดบวมได้

การรักษา

ไม่มีวิธีการใดที่ดีที่จะรักษา BPD ได้อย่างแท้จริง แต่เราสามารถรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาขับของเหลวออกเพื่อลดการบวม สิ่งที่สำคัญคือการสร้างเงื่อนไขให้ปอดเจริญเติบโต ด้วยการเสริมสร้างโภชนาการ ถุงลมจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายในช่วงปีแรกหลังจากการคลอด ซึ่งจะทำให้การทำงานของปอดเป็นไปด้วยดี

เด็กที่ป่วยเป็น BPD บางส่วนจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนที่บ้านในช่วงระยะเวลาหลังจากออกจากแผนก เด็กทารกแรกเกิดแล้ว แต่เด็กส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดไม่จำเป็นต้องใช้ก๊าซออกซิเจนภายใน 1-2 เดือน

เนื้อหา: Kajsa Bohlin Blennow

อ่านเพิ่มเติม

  • อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนที่บ้าน

    บนเว็บไซต์ของหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน (hemsjukvården) คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนที่บ้าน