ยืนยันตัว ต้น 2 ชั้น Facebook ไม่ส่งรหัส

ช่วงนี้ Facebook มีนโนบายให้ทำ Facebook Protect กับบัญชีของเรา หลายคนติดปัญหาการยืนยันตัวตนสองชั้น ซึ่งคนที่เลือกการยืนยันแบบ SMS จากเบอร์โทรมือถือ แต่ sms ดันไม่ส่งมา ไม่มีข้อความยืนยันส่งมา ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเกิดจากอะไร และต้องแก้ไขเบื้องต้นอย่างไรได้บ้าง มาดูวิธีการแก้ไขที่พอคิดออกกัน

ยืนยันตัว ต้น 2 ชั้น Facebook ไม่ส่งรหัส

ในกรณีที่ส่งไม่ได้ อาจมีปัญหาอยู่ 3 อย่างใหญ่ๆด้วยกันไดแก่

คุณส่งคำขอส่งข้อความด้วยเบอร์โทรศัพท์ที่ผิด

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ใส่เบอร์โทรศัพท์การยืนยันตนตัวของ Facebook ถูกต้องรูปแบบเบอร์โทรหรือไม่

ยืนยันตัว ต้น 2 ชั้น Facebook ไม่ส่งรหัส

รูปแบบหากใส่เต็มๆเบอร์ของเราแล้ว อาทิเช่น 0811234567 แต่ไม่ได้ ให้ลองตัด 0 ออกไป และให้ใส่แค่ 811234567 เพราะตอนเพิ่มเบอร์มันมีรหัสของประเทศอยู่แล้ว เพราะถ้าเป็นรูปแบบเบอร์สากลจะเป็นแบบ +66811234567 ประมาณนี้ การใส่แบบตัด 0 ออกไปจึงถือว่าเป็นแบบสากลที่สุด แต่ส่วนใหญ่ใส่เต็มรูปแบบก็ได้ แต่ถ้าไม่ได้ให้ลองใส่แบบสากลดู

กดส่งรหัสบ่อยเกินไป

หากมีการส่งคำขอให้ส่ง sms ถี่เกินไปทางเฟสบุ๊คอาจมองว่าเราเป็นสแปม อาจทำให้เราโดนปิดกั้นช่วงขณะหนึ่ง ให้รอสักระยะแล้วส่งใหม่ภายหลัง

อาจมีการปิดกันการส่ง sms ด้วยเบอร์โทรนี้เอาไว้

หลายคนติดปัญหานี้กันเยอะว่า มันไม่ส่งมาเพราะเหมือนว่าจะมีการปิดกั้นเอาไว้ไม่ให้ facebook ส่งข้อความหาเราได้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร อาจทำการแก้ไขด้วยการ ลองสมัครบริการ sms รับข่าวสารจากทางเฟสบุ๊ค (จะมีค่าบริการ) ต้องบอกก่อนว่าวิธีนี้อาจเสียค่าบริการ เพราะมันเป็นบริการรับข่าวสารจากทาง Facebook มันมีให้ทดลองใช้ ไม่รู้ว่าจะอยู่ในช่วงให้ทดลองหรือเปล่า แต่หลายคนลองเปิดใช้บริการนี้แล้ว sms ของ facebook อื่นๆจะส่งมาหาเราได้ปกติ เปิดใช้งานแล้วสามารถปิดได้ ใครอยากลองให้ลองได้ที่

  • AIS ให้พิมพ์ F ส่ง SMS มาที่ 42665 หรือ หรือ 4266500 หากต้องการ ยกเลิก พิมพ์  Stop  ส่งไปที่ 426650
  • DTAC ให้พิมพ์ F ส่ง SMS มาที่ 42665 หากต้องการยกเลิก พิมพ์  Stop  ส่งไปที่ 42665
  • TRUE ให้พิมพ์ F ส่ง SMS มาที่ 42665 หากต้องการยกเลิกพิมพ์  Unreg ส่งไปที่ 42665
  • หากสมัครได้แล้ว หรือเสียเงิน และไม่สามารถยกเลิกบริการได้ ต้องติดต่อค่ายมือถือที่คุณใช้งานอยู่
  • ย้ำอีกครั้งว่าการทำแบบนี้อาจเสียค่าบริการ

หรือให้ลองติดต่อผู้ให้บริการเบอร์มือถือของคุณดูว่าสามารถแก้ไขเรื่องนี้ได้หรือไม่ บอกไปประมาณว่าไม่ได้รับ การยืนยัน sms จากทาง Facebook เพราะมีผู้ใช้หลายท่านติดต่อศูนย์บริการแล้วสามารถแก้ไขได้

ก่อนอื่นให้เรา login facebook ตามปกติ แต่ให้เราเลือก Need another way to authenticate? เพราะเราไม่มี code 6 หลัก ที่เจนจาก google authenticator

ยืนยันตัว ต้น 2 ชั้น Facebook ไม่ส่งรหัส

ใส่ email ที่สมัครfacebookไว้ กด Send

ยืนยันตัว ต้น 2 ชั้น Facebook ไม่ส่งรหัส

จากนั้นจะมี code ส่งไปที่email

ยืนยันตัว ต้น 2 ชั้น Facebook ไม่ส่งรหัส

เอาcodeที่ได้มากรอกแล้วกด Send

ยืนยันตัว ต้น 2 ชั้น Facebook ไม่ส่งรหัส

จากนั้นให้เลือกวิธีการยืนยันตัวตน แนะนำให้เลือก ยืนยันโดยใช้บัตรประชาชน จากนั้นให้ทำการอัพโหลดรูป
โดยรูปบัตรประชาชนจะต้องชัดเจน ไม่มีอะไรบัง
ขั้นตอนนี้จะผ่านถ้าขื่อเฟสของท่านตรงกับบัตร์ประชาชน

ในขั้นตอนอัพโหลดรูปไม่มีให้ดูนะครับ แค่อัพโหลดรูปให้เสร็จ เมื่ออัพโหลดรูปเสร็จก็เป็นอันเรียบร้อย
ปกติรอวันสองจะมีemail ตอบกลับจาก facebook  แต่ช่วงนี้มันไม่ปกติท่านอาจต้องใช้เวลานานหน่อย

ยืนยันตัว ต้น 2 ชั้น Facebook ไม่ส่งรหัส

หลังจากนั้นก็รอลุ้นกันว่าเฟสจะส่งรหัสกู้เฟสให้ หรือโดนรีเจค

 

Facebook Comments Box

The short URL of the present article is: https://mistercheckman.com/Oe33d

เจ็บคอ (Sore Throat) เป็นอาการเจ็บ คัน หรือระคายเคืองที่ลำคอ และอาจส่งผลให้ยากต่อการกลืนอาหารหรือดื่มน้ำ บางรายอาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คอแห้ง เสียงแหบ หรือกลืนลำบาก ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บคอ ส่วนใหญ่แล้วอาการมักจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เองในเวลาไม่กี่วันหากไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

แม้อาการเจ็บคอมักไม่ค่อยรุนแรง แต่หากเจ็บคอนานเกิน 1 สัปดาห์หรือพบอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น เสียงแหบนานเกิน 2 สัปดาห์ หายใจลำบาก น้ำลายหรือเสมหะปนเลือด ปวดตามข้อ เจ็บหู มีผื่นขึ้น มีไข้ขึ้นสูง พบก้อนที่คอ หรือมีอาการบวมบริเวณลำคอและใบหน้า ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม

ยืนยันตัว ต้น 2 ชั้น Facebook ไม่ส่งรหัส

สาเหตุของอาการเจ็บคอ

อาการเจ็บคอเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

การติดเชื้อไวรัส

อาการเจ็บคออาจเป็นผลมาจากการป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสบางชนิด โดยโรคที่พบได้บ่อย เช่น

  • โรคหวัด (Cold) มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ Coronaviruses หรือ Rhinoviruses ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยพบอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย และมีไข้ร่วมด้วย
  • โรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) จากการติดเชื้อไวรัส Influenza โดยนอกจากอาการเจ็บคอแล้ว ผู้ป่วยยังอาจพบอาการอื่น ๆ ในลักษณะคล้ายโรคไข้หวัดธรรมดาร่วมด้วย แต่มักมีความรุนแรงกว่า เช่น ไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อหรือร่างกายอย่างรุนแรง และอ่อนเพลียมาก เป็นต้น
  • โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส (Mononucleosis) เกิดจากเชื้อไวรัส Epstein–Barr ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ทางน้ำลาย โดยโรคนี้มักส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีไข้
  • โรคหัด (Measles) โรคนี้เป็นโรคที่แพร่กระจายได้ง่าย โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งนอกจากอาการเจ็บคอแล้ว ผู้ป่วยโรคนี้ยังอาจพบการเกิดผื่น และมีไข้ขึ้นร่วมด้วย
  • โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Varicella โดยโรคนี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บตามผิวหนัง
  • คอตีบเทียม (Croup) เป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในเด็ก โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส Parainfluenza บริเวณกล่องเสียง ซึ่งมักจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอรุนแรงและเสียงดัง
  • ไข้ตาเหลืองตัวเหลือง (Glandular Fever) ผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยล้า เป็นไข้ และพบก้อนที่คอ
  • โรคคางทูม (Mumps) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากไวรัส Mumps ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำลาย ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร และมีอาการเจ็บคอขณะกลืนได้
  • โรคมือเท้าปาก จากการติดเชื้อไวรัส Coxsackie A โรคนี้เป็นโรคที่พบได้มากในเด็ก โดยผู้ป่วยจะพบอาการเจ็บและอักเสบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และภายในปาก ร่วมกับอาการเจ็บคอ
  • การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในระยะแรกอาจมีอาการเจ็บคอร่วมกับอาการอื่น ๆ คล้ายหวัด หรือบางรายมีอาการเรื้อรังหรือกลับมาเจ็บคออีกครั้งเนื่องจากการติดเชื้อราช่องปาก (Oral Thrush) หรือเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อันตรายต่อผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

การติดเชื้อแบคทีเรีย

อาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียอาจบ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • โรคคออักเสบ (Streptococcal Pharyngitis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pyogenes บริเวณลำคอ ผู้ป่วยโรคนี้จะพบอาการเจ็บคออย่างรุนแรง ร่วมกับอาการกลืนลำบาก พบก้อนที่คอ ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือในบางกรณีอาจพบการเจ็บป่วยรุนแรง เช่น โรคไข้รูมาติก เป็นต้น
  • โรคคอตีบ (Diphtheria) เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียอย่างรุนแรงที่จะส่งผลกระทบต่อเยื่อเมือกของลำคอและจมูก โดยผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต เหนื่อยล้า หายใจลำบาก และพบแผ่นหนาสีเทาด้านหลังลำคอ
  • โรคไอกรน (Whooping Cough) ส่งผลต่อเยื่อเมือกในระบบทางเดินหายใจ อาการแรกเริ่มของโรคนี้มักคล้ายไข้หวัด แต่จะไอมาก ไอเป็นชุด หายใจมีเสียงหวีด และหายใจลำบาก
  • ฝีรอบต่อมทอนซิล (Peritonsillar Abscess) โรคนี้เป็นโรคที่พบได้น้อย โดยจะส่งผลให้มีอาการเจ็บที่หลังคอเนื่องจากการสะสมของหนอง หรือในกรณีรุนแรง อาจส่งผลให้อ้าปากหรือกลืนลำบาก
  • ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ (Epiglottitis) อาการเจ็บคอจากโรคนี้พบได้ไม่มาก แต่หากเป็นรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดอาการเสียงแหบ ร่วมกับอาการหายใจลำบากและกลืนอาหารลำบากได้
  • ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) ผู้ป่วยโรคนี้มักพบว่า ต่อมทอนซิลบวมและมีรอยจ้ำสีแดงหรือขาว มีก้อนที่ลำคอ กลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน มีกลิ่นปาก หรือในบางกรณีอาจมีไข้ร่วมด้วย
  • หนองบริเวณโพรงข้างคอหอย (Retropharyngeal Abscess) เกิดจากการติดเชื้อ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการกลืนแล้วเจ็บ ลำคอส่วนบนบวม และเป็นไข้

อาการเจ็บคอที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

นอกจากการติดเชื้อ อาการเจ็บคอยังอาจเป็นผลมาจากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น

  • การได้รับสารก่อภูมิแพ้ เชื้อรา รังแคสัตว์ เกสรดอกไม้ หรือสิ่งระคายเคือง สารเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งและการสะสมของน้ำมูก จนส่งผลให้คอเกิดการระคายเคือง เจ็บ และพุพองอักเสบ
  • อากาศแห้ง การเสียดสีและเจ็บระคายเคืองในลำคออาจเกิดจากอุณหภูมิที่ไม่ชุ่มชื้น โดยเฉพาะในตอนเช้าหลังตื่นนอน 
  • การหายใจทางปาก ผู้ที่มักหายใจทางปากอาจพบอาการคอแห้งและเจ็บคอได้
  • การได้รับสารก่อความระคายเคือง เช่น มลพิษทางอากาศ ควันบุหรี่ หรือสารเคมีต่าง ๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บคอเรื้อรังได้
  • การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารรสเผ็ด หรือการเคี้ยวยาสูบ อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบบริเวณคอได้
  • การใช้เสียงมากเกินไป การตะโกนหรือพูดคุยติดต่อเป็นเวลานานอาจส่งผลให้คอตึงจนเจ็บได้
  • โรคกรดไหลย้อน กรดจากกระเพาะที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหารอาจส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก หรือเกิดก้อนบวมในลำคอจนนำไปสู่อาการเจ็บคอได้
  • มีก้อนเนื้องอก เนื้องอกที่อาจกลายเป็นมะเร็งที่คอ ลิ้น หรือกล่องเสียงอาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บคอ เสียงแหบ มีก้อนในคอ กลืนลำบาก มีเลือดในน้ำลายหรือเสมหะ หรือหายใจเสียงดังได้

การวินิจฉัยอาการเจ็บคอ

แพทย์จะสอบถามอาการและใช้ไฟฉายส่องดูบริเวณลำคอ หู และโพรงจมูก เพื่อตรวจหาสัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการคออักเสบ เช่น แผลอักเสบ จุดแดง จุดขาวในคอหรือช่องปาก และอาจสัมผัสบริเวณคอเพื่อตรวจดูว่ามีก้อนที่คอหรือไม่ รวมถึงตรวจฟังเสียงการหายใจผู้ป่วยด้วยหูฟังทางการแพทย์ (Stethoscope) 

หลังการตรวจในเบื้องต้น แพทย์อาจมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยเก็บสารคัดหลั่งจากลำคอของผู้ป่วยเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย บางรายอาจต้องส่งตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อหาสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บคออย่างแน่ชัด เช่น ส่งตรวจกับแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก 

การรักษาอาการเจ็บคอ

แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการเจ็บคอ 

อาการเจ็บคอจากการติดเชื้อ

หากอาการเจ็บคอมาจากการติดเชื้อไวรัส แพทย์จะไม่ให้ผู้ป่วยรับประทานยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากยาฆ่าเชื้อมักจะใช้รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น และผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เองภายใน 5–7 วัน หรือแพทย์เพียงแนะนำให้รับประทานยาตามอาการเท่านั้น เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวดอย่างยาพาราเซตามอล 

อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินกับทารก เด็กเล็ก และเด็กวัยรุ่น เพราะเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการราย (Reye’s Syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่อาจส่งผลเสียต่อตับและสมองของเด็กได้

ในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาอะม็อกซี่ซิลลิน (Amoxicillin) ยาคลินดามัยซิน (Clindamycin) ยาเซฟาเลกซิน (Cephalexin) ซึ่งชนิดของยาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

ผู้ป่วยควรรับประทานยาปฏิชีวนะตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัดแม้อาการจะดีขึ้นแล้ว เนื่องจากการหยุดยาก่อนกำหนดอาจทำให้อาการแย่ลง หรือเชื้อแบคทีเรียยังหลงเหลืออยู่จนแพร่กระจายไปยังอวัยวะบริเวณอื่นได้

อาการเจ็บคอจากปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อ

แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามสาเหตุหรือโรคที่เป็นอยู่ เช่น การใช้ยาต้านฮีสทามีนร่วมกับหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ การใช้ยายับยั้งการหลั่งกรดในผู้ป่วยที่เป็นกรดไหลย้อน หรือแพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีเนื้องอกบริเวณคอ 

การดูแลตนเองเมื่อมีอาการเจ็บคอ 

นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยยังสามารถบรรเทาอาการเจ็บคอด้วยตัวเองที่บ้านได้ดังนี้

ใช้น้ำเกลืออมกลั้วคอและบ้วนปาก 

เด็กอายุมากกว่า 6 ปีและผู้ใหญ่อาจกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เพื่อให้น้ำเกลือช่วยล้างสิ่งสกปรกและขับเสมหะ โดยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์น้ำเกลือสำเร็จรูปที่สะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ไม่มีวัตถุกันเสีย ไพโรเจน และสารเติมแต่ง เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อในช่องปากเกิดความเสียหาย รวมถึงมีความเข้มข้นเป็นไอโซโทนิก (Isotonic) หรือมีส่วนผสมของโซเดียมคลอไรด์ 0.9% เพื่อความสมดุลกับน้ำในเซลล์ของร่างกาย

ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์น้ำเกลือ ควรเลือกน้ำเกลือที่บรรจุในขวดใส ซึ่งจะช่วยให้สังเกตเห็นสิ่งแปลกปลอมที่อาจปะปนเข้าไปในขวดได้ง่ายขึ้นทั้งก่อนและหลังเปิดใช้งาน บรรจุภัณฑ์มีฝาเกลียวล็อกปิดสนิทป้องกันการปนเปื้อนก่อนเปิด มีวันผลิตและวันหมดอายุแสดงบนผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน 

นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงปริมาณการใช้งานให้เหมาะสม หากใช้น้ำเกลือในปริมาณไม่มากแต่ละครั้งอาจจะเลือกขวดขนาดเล็ก แต่หากต้องใช้น้ำเกลืออย่างต่อเนื่องอาจจะเลือกเป็นขนาดใหญ่ขึ้นมา เพื่อคงคุณภาพของน้ำเกลือไว้ 

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอ และป้องกันภาวะขาดน้ำ แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม เนื่องจากส่วนผสมเหล่านี้อาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำได้

วิธีอื่น ๆ

  • อมยาอมแก้เจ็บคอ แต่ในกรณีเด็กเล็กควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการสำลักได้
  • ใช้เครื่องทำความชื้น เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และงดใช้เสียงหากไม่จำเป็น

ภาวะแทรกซ้อนของอาการเจ็บคอ

อาการเจ็บคอที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียหรือคออักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาโดยยาปฏิชีวนะ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอย่างหูชั้นกลางหรือโพรงจมูกต่อไป

การป้องกันอาการเจ็บคอ

ในการป้องกันอาการเจ็บคอในเบื้องต้น อาจทำได้โดยการป้องกันตนเองจากเชื้อโรค และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บคอได้ เช่น

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสของที่ใช้ร่วมกันหลายคนหรือบ่อยครั้ง และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียสะสม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อโรคหวัดหรือโรคอื่น ๆ ได้
  • ไม่ใช้ช้อนรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น หรือดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน เนื่องจากโรคบางชนิดสามารถแพร่ผ่านน้ำลายได้ เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส
  • หลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา และฝุ่น
  • หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่ ทั้งจากการสูบเอง และจากผู้อื่น เนื่องจากควันบุหรี่อาจส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองลำคอ และเจ็บคอ