พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของ นักเรียน

การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Solving the Undesirable Behaviors of the Lower Secondary Students of Ban Pueai Thantawan Phitthayasan School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2

ผู้แต่ง
วิศรุต พรมชัย, ศิกานต์ เพียรธัญญากรณ์, ชรินดา พิมพบุตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) หาแนวทางการแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3) ติดตามผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ ขั้นการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย  จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้วิจัย จำนวน 1 คน และผู้ร่วมวิจัย คือ  ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน รวม 2 คน ครูผู้ร่วมกิจกรรมพ่อครูแม่ครู 2 คน ครูชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 7 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน และกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1.ผลการศึกษาปัญหาของการมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2

1.1 ปัญหา พบว่า ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่มีปัญหามากที่สุดคือ พฤติกรรมการไม่ส่งงานและวิชาที่มีปัญหาคือ คณิตศาสตร์ ภาษาไทยและวิทยาศาสตร์

1.2 สาเหตุพบว่าพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนที่มีปัญหามากที่สุดคือ สถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวนักเรียนที่ไม่ดีกฎระเบียบทางโรงเรียนเข้มงวด และการคบเพื่อนที่ไม่ดี

2. แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ประกอบด้วย

2.1 การจัดกิจกรรมตามแนวทางในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้ คือ ในการพัฒนาทั้ง 2 วงรอบ ใช้กิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมการพบ พ่อครู แม่ครู 2) กิจกรรมการอบรมคุณธรรม 3) กิจกรรมการให้คำปรึกษาแบบเผชิญความจริง 4) กิจกรรมดนตรีพาเพลิน 5) กิจกรรมกีฬานอกเวลา 6) กิจกรรมการการเยี่ยมบ้าน

2.2 การนิเทศภายใน

3. ผลการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่า จากการติดตามและประเมินผลการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึง ที่กลุ่มผู้ร่วมวิจัยร่วมกันหาแนวทางขึ้นและได้นำปฏิบัติพบว่า สามารถนำไปใช้ได้จริง บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรวมทุกกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62) และส่งผลให้จำนวนนักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมการไม่ส่งงาน ลดลงร้อยละ 51.18 พฤติกรรมหนีเรียน ลดลงร้อยละ 69.03 พฤติกรรมการแต่งกายผิดระเบียบ ลดลงร้อยละ 60.51 และพฤติกรรมการไม่แสดงความเคารพ ลดลงร้อยละ 67.25

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to 1) investigate the undesirable behaviors of the Lower Secondary students, 2) find out guidelines to solve the undesirable behaviors of the Lower Secondary students, 3) monitor the application of problem solving on the undesirable behaviors of the Lower Secondary students of Ban PueaiThantawanPhitthayasan School under the Office of SakonNakhon Primary Educational Service Area 2. The study employed two spirals of four-stage participatory action research comprising planning, action, observation and reflection. The sampling group consisted of the researcher, and 11 co-researchers comprising 2 administrators, 9 classroom teachers in charge of PrathomSuksa 5 to MathayomSuksa 3. There were 30 informants. The target group was composed of 30 students in MathayomSuksa 1 to MathayomSuksa 3. The instruments used were composed of a form of interview and a questionnaire. The statistics applied for analyzing quantitative data were percentage, mean and standard deviation. To analyze qualitative data, descriptive analysis was utilized.

The findings of this study were as follows:

1. The effects of the problems on the undesirable behaviors of the Lower Secondary students at Ban PueaiThantawanPhitthayasan School could be Concluded that:

1.1 The problems revealed that, in the second semester of academic year 2014, the most found undesirable behaviors of the students included: behaviors on no submission of works assigned,. The subjects concerned were Thai and Science.

1.2 The causes of the students’ undesirable behaviors most found were: economic status of families, the strict school rules and regulations along with the association with bad friends.

2. The guidelines to solve the undesirable behaviors of the Lower Secondary students comprised:

2.1 The application of activities to solve the undesirable behaviors of the Lower Secondary students was composed of the following activities: 1) Teacher-parents/guardians meeting, 2) Moral training, 3) Counseling based on truth, 4) Music for fun, 5) Sports on leisure time, 6) Visiting of the students, places. In both the first and second spirals, the 6 activities were implemented and volunteer-mindedness was included.

2.2 The internal supervision

3.  The effects of the problem solution to solve undesirable behaviors of the Lower Secondary students revealed that from the monitoring and evaluation of the problem solution showed that what the co-researchers worked together and put into action able to be actually applied and achieved the goals set. The co-researchers involved in solving the problem of the students ,undesirable behaviors in every activity at the highest level in general leading to the decrease of the students ,undesirable behaviors. These were composed of: 1) no submission of assignments lowered at 51.18 percent, 2) the students’ truancy lowered at 69.03 percent, 3) clothing violation behaviors lowered at 60.51 percent and aggressive behaviors lowered at 67.25 percent.

คำสำคัญ

การแก้ไขปัญหา, พฤติกรรมไม่พึงประสงค์

Keyword

problem-solving, Undesirable Behaviors of the Lower Secondary Students


พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง

10 พฤติกรรมไม่น่าคบหา ที่คุณอาจทำโดยไม่รู้ตัว.
1.พูดถึงแต่เรื่องของตัวเอง ... .
2.สนใจแต่ภายนอก ละเลยสิ่งที่อยู่ภายใน ... .
3.ชอบแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ... .
4.มองมิตรเป็นศัตรู ... .
5.คอยทวงถามแต่ความสำคัญของตัวเอง ... .
6.ชอบออกคำสั่ง ... .
7.ไม่ซื่อสัตย์ ... .
8.หยาบคาย.

พฤติกรรมของนักเรียนมีอะไรบ้าง

พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในชั้นเรียนทั่วไป ตั้งแต่ชั้นเรียนระดับอนุบาลไปจนถึงระดับชั้นมะยมศึกษา ในชั้นเด็กเล็กๆ อาจพบปัญหาเกี่ยวกับการกิน การนอน ไม่เชื่อฟัง เจ้าอารมณ์ อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ พูดไม่ชัด ไม่พูด เป็นต้น ในระดับประถมศึกษา ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว ไม่ปฏิบัติตามกติกา ซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด ก่อกวน พูดปด ไม่สนใจ ...

พฤติกรรมที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง

1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง.
มีระเบียบวินัย.
มีความรับผิดชอบ.
มีสุขภาพดี.
มีความซื่อสัตย์.
รู้จักประหยัด.
มีความขยันอดทน.
ใฝ่เรียนใฝ่รู้.
มีนิสัยรักการอ่าน.

พฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียนมีอะไรบ้าง

2. พฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียน หมายถึง การแสดงออกของนักเรียนที่เกิดขึ้น ขณะครูสอนแล้ว พฤติกรรมนั้นเป็นอุปสรรคหรือขัดขวางการสอนของ ครูและการเรียนของเพื่อน ซึ่งได้แก่ การลุกออกจาก ที่นั่ง การแหย่หรือรังแกเพื่อน การคุยกับเพื่อน การเล่น กับเพื่อนหรือวัสดุอื่น